ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
อปโลกนกรรมเป็นต้น
[๑๓๕๓] ถามว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะเท่าไร? ญัตติกรรมถึงฐานะเท่าไร? ญัตติ- *ทุติยกรรมถึงฐานะเท่าไร? ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะเท่าไร? ตอบว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ อย่าง ญัตติกรรมถึงฐานะ ๙ อย่าง ญัตติ ทุติยกรรมถึงฐานะ ๗ อย่าง ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะ ๗ อย่าง.
ฐานะแห่งอปโลกนกรรม
[๑๓๕๔] ถามว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณ นิสสารณา ภัณฑุกรรม พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรมลักษณะเป็น คำรบ ๕ อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ นี้.
ฐานะแห่งญัตติกรรม
[๑๓๕๕] ถามว่า ญัตติกรรมถึงฐานะ ๙ เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้ การรับ การเลื่อนปวารณาออกไป ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๙ ญัตติกรรมถึงฐานะ ๙ นี้.
ฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม
[๑๓๕๖] ถามว่า ญัตติทุติยกรรม ถึงฐานะ ๗ อย่าง เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ การถอน การแสดง ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติทุติยกรรมถึงฐานะ ๗ นี้.
ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม
[๑๓๕๗] ถามว่า ญัตติจตุตถกรรม ถึงฐานะ ๗ อย่าง เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ สมนุภาสน์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะ ๗ นี้.
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำเป็นต้น
[๑๓๕๘] ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และ ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตะนอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่ เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอก นั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ นอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม.
กรรมวรรคที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๓๑๘๙-๑๓๒๒๔ หน้าที่ ๕๐๙-๕๑๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=13189&Z=13224&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=8&siri=123              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1340              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1353-1358] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1353&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=12305              The Pali Tipitaka in Roman :- [1353-1358] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=1353&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=12305              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr21/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr21/en/horner-brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :