ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๔. สูจิฆรสิกขาบท นิทานวัตถุ

๙. รตนวรรค
๔. สูจิฆรสิกขาบท
ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น นายช่างแกะสลักงาช้างคนหนึ่งปวารณาภิกษุ ทั้งหลายไว้ว่า “กระผมจะถวายกล่องเข็มแก่พระคุณเจ้าผู้ต้องการกล่องเข็ม” ครั้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมาก พวกภิกษุผู้มีกล่องเข็มขนาดเล็ก ก็ออกปากขอกล่องเข็มขนาดใหญ่ พวกภิกษุผู้มีกล่องเข็มขนาดใหญ่ ก็ออกปากขอ กล่องเข็มขนาดเล็ก นายช่างมัวทำกล่องเข็มเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายจนไม่ สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพก็ไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอย ลำบากไปด้วย คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกสมณะเชื้อสายศากย บุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า นายช่างมัวทำกล่องเข็ม เป็นอันมากให้ภิกษุเหล่านี้จนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพ ก็ไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย” พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงไม่รู้จักประมาณ ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย ตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุไม่รู้จักประมาณ ออก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๐๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๔. สูจิฆรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงไม่รู้จักประมาณ ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๑๗] ก็ ภิกษุใดทำกล่องเข็มด้วยกระดูก ด้วยงา หรือด้วยเขา ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเภทนกะ๑-
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า กระดูก ได้แก่ กระดูกชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า งา พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงงาช้าง ที่ชื่อว่า เขา ได้แก่ เขาชนิดใดชนิดหนึ่ง คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเอง หรือใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องทำลายแล้วแสดงอาบัติ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “เภทนกะ” เป็นชื่อเฉพาะอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการทำลาย คือต้องทำลายวัตถุก่อน @จึงแสดงอาบัติตก (วิ.อ. ๒/๕๑๘/๔๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๐๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๔. สูจิฆรสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๑๙] ภิกษุทำกล่องเข็มที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำกล่องเข็มที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุทำกล่องเข็มที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำกล่องเข็มที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุได้กล่องเข็มที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๒๐] ๑. ภิกษุทำลูกดุม ๒. ภิกษุทำตะบันไฟ ๓. ภิกษุทำลูกถวิน (ห่วงร้อยสายประคด) ๔. ภิกษุทำกลักยาตา ๕. ภิกษุทำไม้ป้ายยาตา ๖. ภิกษุทำฝักมีด ๗. ภิกษุทำกระบอกกรองน้ำ ๘. ภิกษุวิกลจริต ๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
สูจิฆรสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๐๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๐๕-๖๐๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=15244&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=122              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=14427&Z=14479&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=751              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=751&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=751&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]