ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๑. โกธนสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้มีผิว พรรณทรามเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู มีผิวพรรณงาม ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้อาบน้ำดีแล้ว ไล้ทาดีแล้ว ตัดผม โกนหนวดแล้วนุ่งผ้าขาวก็จริง แต่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้น ก็เป็นคนมีผิวพรรณทรามอยู่นั่นเอง นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ที่ศัตรู มุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ๒. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้นอน เป็นทุกข์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู นอนสบาย ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้นอนอยู่บนเตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย ลาดด้วยพรม ขนสัตว์ ลาดด้วยเครื่องลาดมีลายรูปดอกไม้ มีเครื่องลาดหนังชะมด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๑๑. โกธนสูตร

เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้างก็จริง แต่บุคคลผู้ ถูกความโกรธครอบงำนั้น ก็นอนเป็นทุกข์ อยู่นั่นเอง นี้เป็นธรรม ประการที่ ๒ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ๓. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้ อย่าได้ มีความเจริญเลย’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ ศัตรูมีความเจริญ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้ได้ความเสื่อมก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเจริญ’ แม้ได้ความเจริญก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเสื่อม’ ธรรมเหล่านี้เป็น ข้าศึกต่อกันและกัน ที่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นยึดถือแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน นี้เป็นธรรมประการ ที่ ๓ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ๔. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็นคน ไม่มีโภคทรัพย์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ ศัตรูมีโภคทรัพย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรมก็จริง แต่พระราชาก็รับสั่งให้ริบโภคทรัพย์ของบุคคล ผู้ถูกความโกรธครอบงำ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ๕. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็น คนไม่มียศเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู มียศ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้มียศที่ได้มาด้วยความไม่ประมาทก็จริง แต่บุคคลผู้ ถูกความโกรธครอบงำก็เสื่อมจากยศนั้น นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ๖. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็น คนไม่มีมิตรเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๑๑. โกธนสูตร

มีมิตร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้มีมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต๑- ก็จริง แต่คน เหล่านั้นก็พากันหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นไปห่างไกล นี้เป็นธรรมประการที่ ๖ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ๗. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้ หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเถิด’ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรูไปสู่สุคติ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ โกรธจัดนี้ ประพฤติทุจริต ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจาก ตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นธรรม ประการที่ ๗ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ย่อมมา ถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม บุคคลผู้มักโกรธนั้น มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์ ได้ความเจริญแล้ว ก็ยังถึงความเสื่อม บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ ทำการเข่นฆ่าทางกาย วาจา ย่อมประสบความเสื่อมทรัพย์ @เชิงอรรถ : @ อำมาตย์ หมายถึงเพื่อนที่รักกันมาก (สุหัชชา) สามารถปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกโอกาส @ญาติ หมายถึงบิดามารดาของสามีและเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและ @เครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา @สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่ หรือตา ย่า หรือยาย บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา @พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว (เทียบ องฺ.ติก.อ. ๒/๗๖/๒๒๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๘, @องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๔๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๑๑. โกธนสูตร

บุคคลผู้มัวเมาด้วยความมัวเมาเพราะโกรธ ย่อมถึงความเสื่อมยศ ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเว้นบุคคลผู้มักโกรธ ความโกรธก่อความเสียหาย ความโกรธทำจิตให้กำเริบ บุคคลผู้มักโกรธย่อมไม่รู้ภัยที่เกิดจากภายใน บุคคลผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ บุคคลผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม ความโกรธครอบงำนรชนในกาลใด ความมืดย่อมมีในกาลนั้น บุคคลผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยาก๑- ก่อน เหมือนไฟแสดงควันก่อน ความโกรธเกิดขึ้นในกาลใด คนทั้งหลายย่อมโกรธในกาลนั้น บุคคลผู้โกรธไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีคำพูดที่น่าเคารพ บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำไม่มีความสว่างแม้แต่น้อย กรรมเหล่าใดห่างไกลจากธรรม เป็นเหตุให้เดือดร้อน เราจักบอกกรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้นไปตามลำดับ @เชิงอรรถ : @ ความเก้อยาก ในที่นี้หมายถึงความทุศีล อาการที่ล่วงละเมิดสิกขาบท โดยไม่รู้สึกละอาย ไม่ยอมรับ ทั้งยัง @รุกรานสงฆ์ว่า ‘ท่านเห็น ท่านได้ยินหรือว่าข้าพเจ้าทำผิดอะไร พวกท่านยกอาบัติอะไรขึ้นปรับข้าพเจ้า’ @(เทียบ องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๑/๓๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๑๑. โกธนสูตร

บุคคลผู้โกรธ ฆ่าบิดาก็ได้ บุคคลผู้โกรธ ฆ่ามารดาก็ได้ บุคคลผู้โกรธ ฆ่าพราหมณ์๑- ก็ได้ บุคคลผู้โกรธ ฆ่าปุถุชนก็ได้ ลูกที่มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตามองโลกนี้ เป็นผู้มีกิเลสหนา โกรธขึ้นมา ย่อมฆ่าแม้มารดาผู้ให้ชีวิตนั้น สัตว์เหล่านั้นมีตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เพราะตนเป็นที่รักอย่างยิ่ง ผู้โกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ๒- ย่อมฆ่าตนเองเพราะเหตุต่างๆ คือฆ่าตนเองด้วยดาบบ้าง กินยาพิษตายบ้าง ใช้เชือกผูกคอตายบ้าง กระโดดลงในซอกเขาตายบ้าง คนเหล่านั้นเมื่อทำกรรม อันมีแต่ความเสื่อมและทำลายตน ก็ไม่รู้สึก ความเสื่อมเกิดจากความโกรธ ตามที่กล่าวมา ความโกรธนี้ เป็นบ่วงแห่งมัจจุ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย โดยรูปของความโกรธ พึงตัดความโกรธนั้นด้วยทมะ (ความข่มใจ) คือปัญญา๓- ความเพียร๔- และทิฏฐิ๕- @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงพระอรหันตขีณาสพ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๔/๑๙๗) @ รูปต่างๆ ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ต่างๆ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๔/๑๙๗) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๔/๑๙๗) @ ความเพียร ในที่นี้หมายถึงความเพียรทางกายและจิตอันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๔/๑๙๗) @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งอริยมรรค (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๔/๑๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรมแต่ละอย่าง พึงศึกษาในธรรมเหมือนอย่างนั้น เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า ‘ขอความเป็นผู้เก้อยากอย่าได้มีแก่เราทั้งหลาย’ บุคคลผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ ปราศจากความโลภ ไม่มีความริษยา ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน
โกธนสูตรที่ ๑๑ จบ
อัพยากตวรรคที่ ๖ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัพยากตสูตร ๒. ปุริสคติสูตร ๓. ติสสพรหมสูตร ๔. สีหเสนาปติสูตร ๕. อรักเขยยสูตร ๖. กิมิลสูตร ๗. สัตตธัมมสูตร ๘. จปลายมานสูตร ๙. เมตตสูตร ๑๐. ภริยาสูตร ๑๑. โกธนสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๒๕-๑๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2036&Z=2138                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=61              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=61&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4386              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=61&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4386                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i051-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.060.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.060.nymo.html https://suttacentral.net/an7.64/en/sujato https://suttacentral.net/an7.64/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :