ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ

๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการด่าบริภาษภิกษุ
เรื่องพระกัปปิตกะ
[๑๐๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระกัปปิตกะผู้เป็นอุปัชฌาย์ของท่านพระ อุบาลีพักอยู่ในป่าช้า คราวนั้นมีภิกษุณีรูปหนึ่งอายุมากกว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ มรณภาพ พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ช่วยกันนำ(ศพ)ภิกษุณีนั้นออกไปเผาแล้วก่อสถูป ไว้ไม่ไกลที่พักของพระกัปปิตกะแล้วร่ำไห้ที่สถูปนั้น ลำดับนั้น ท่านพระกัปปิตกะ รำคาญเสียงนั้นจึงทำลายสถูปนั้นเสียแหลกละเอียด พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “พระกัปปิตกะทำลายสถูปแม่เจ้าของพวก เรา มาเถิด พวกเราจะฆ่าพระกัปปิตกะนั้น” ภิกษุณีรูปหนึ่งบอกความนั้นให้ท่านพระอุบาลีทราบ ท่านพระอุบาลีนำเรื่องนั้น ไปบอกท่านพระกัปปิตกะ ท่านพระกัปปิตกะหนีออกจากวิหารไปซ่อนอยู่ คราวนั้นพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เข้าไปที่วิหารของท่านพระกัปปิตกะตั้งอยู่ ครั้น แล้วช่วยกันขนก้อนหินและก้อนดินทับวิหารของท่าน แล้วจากไปด้วยเข้าใจว่า “พระกัปปิตกะมรณภาพแล้ว” ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ท่านพระกัปปิตกะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตในกรุงเวสาลีแต่เช้า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เห็นท่านเดินเที่ยวบิณฑบาตอยู่ กล่าวกันอย่างนี้ว่า “พระกัปปิตกะยังมีชีวิตอยู่ ใครกันนะที่นำแผนการของพวกเรา ไปบอก” ครั้นได้ทราบว่า “พระคุณเจ้าอุบาลีนำแผนการของพวกเราไปบอก” จึง พากันด่าท่านพระอุบาลีว่า “ท่านผู้เป็นทาสรับใช้เมื่อเวลาอาบน้ำ คอยถูขี้ไคล มี ตระกูลต่ำคนนี้ ไฉนจึงนำแผนการของเราไปบอกเล่า” บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงด่าพระคุณเจ้าอุบาลีเล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอก ภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๖๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลีเล่า ภิกษุ ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๒๙] ก็ภิกษุณีใดด่าหรือบริภาษภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระกัปปิตกะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบัน คำว่า ด่า คือ ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ อย่าง๑- ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า บริภาษ คือ แสดงอาการที่น่ากลัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ อักโกสวัตถุ คำที่ใช้ด่า ๑๐ อย่าง ในวินัยท่านว่า ได้แก่ โอมสวาท คือคำกล่าวเสียดสี ๑๐ อย่าง @(วิ.ป. ๘/๓๓๐/๒๙๗, วิ.อ. ๓/๓๓๐/๔๗๓, ดูวินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒) ส่วนในธรรมบท @อรรถกถา หมายถึงคำที่ใช้ด่า ๑๐ อย่าง คือคำด่าว่า (๑) เจ้าเป็นโจร (๒) เป็นคนพาล (๓) เป็นคนหลง @(๔) เป็นอูฐ (๕) เป็นโค (๖) เป็นลา (๗) เป็นสัตว์นรก (๘) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๙) เป็นคนไม่มีสุคติ @(๑๐) เป็นคนหวังได้เฉพาะทุคติ (ขุ.ธ.อ. ๒/๑๕/๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๖๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๓๑] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีด่าหรือบริภาษอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๐๓๒] ๑. ภิกษุณีมุ่งอรรถ ๒. ภิกษุณีมุ่งธรรม ๓. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=80              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=4519&Z=4570                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=334              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=334&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11678              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=334&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11678                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.334 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc52/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc52/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :