ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
             เจ้าพนักงานรักษาไม้ตอบว่า เรื่องไม้เหล่านั้น ขอรับ.
	ธ. ไปเถิด ท่าน แม้อาตมาก็จะไป.
	จ. ใต้เท้าควรไป ขอรับ ก่อนที่กระผมจะถูกประหาร.
	จึงท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ได้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสารจอม
เสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว นั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดถวาย ขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา
มาคธราช เสด็จเข้าไปหาท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร ทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามท่านพระธนิยะกุมภการบุตรถึงเรื่องไม้นั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ทราบว่าไม้
ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร ซึ่งเขาเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวมีอันตราย โยมได้
ถวายแก่พระคุณเจ้า จริงหรือ?
	ธ. จริงอย่างนั้น ขอถวายพระพร.
	พ. ข้าแต่พระคุณเจ้า โยมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีกิจมาก มีกรณียะมาก แม้ถวายแล้ว
ก็ระลึกไม่ได้ ขอพระคุณเจ้าโปรดเตือนให้โยมระลึกได้.
	ธ. ขอถวายพระพร พระองค์ทรงระลึกได้ไหม ครั้งพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ใหม่ๆ
ได้ทรงเปล่งพระวาจาเช่นนี้ว่า หญ้า ไม้ และน้ำข้าพเจ้าถวายแล้วแก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
ขอสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายโปรดใช้สอยเถิด.
	พ. ข้าแต่พระคุณเจ้า โยมระลึกได้ สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้มีความละอาย
มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา มีอยู่ ความรังเกียจแม้ในเหตุเล็กน้อยจะเกิดแก่สมณะและพราหมณ์
เหล่านั้น คำที่กล่าวนั้น โยมหมายถึงการนำหญ้าไม้และน้ำของสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น แต่ว่า
หญ้าไม้และน้ำนั้นแลอยู่ในป่า ไม่มีใครหวงแหน พระคุณเจ้านั้น ย่อมสำคัญเพื่อจะนำไม้ที่เขา
ไม่ได้ให้ไปด้วยเลศนั้น พระเจ้าแผ่นดินเช่นโยม จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศ ซึ่งสมณะ
หรือพราหมณ์อย่างไรได้ นิมนต์กลับไปเถิด พระคุณเจ้า รอดตัวเพราะบรรพชาเพศแล้วแต่อย่าได้
ทำอย่างนั้นอีก.
ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
[๘๓] คนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ ไม่ ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มี แก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นพราหมณ์ย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นสมณะของ พระสมณะเหล่านี้ เสื่อมแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ เสื่อมแล้ว ความเป็น สมณะของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ ไหน และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้ ปราศจากความเป็นพราหมณ์แล้ว แม้พระเจ้าแผ่นดิน พระสมณะเหล่านี้ยังหลอกลวงได้ ไฉนจัก ไม่หลอกลวงคนอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร จึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรว่า ดูกรธนิยะ ข่าวว่า เธอ ได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป จริงหรือ? ท่านพระธนิยะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้ถือเอาไม้ ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไปเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อม ใสแล้ว ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่งบวชในหมู่ภิกษุ นั่งอยู่ไม่ห่างพระผู้มี พระภาค จึงพระองค์ได้ตรัสพระวาจานี้ต่อภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา มาคธราชจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิตเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์ ประมาณเท่าไรหนอ? ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่าบาทหนึ่งบ้าง เกิน บาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร โดยเอนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน เลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่เหมาะสม การปรารภความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำ ธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม- *ใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระปฐมบัญญัติ
๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็น ขโมย พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้วพึงประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศ เสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ ไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร จบ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๖๑๕๙-๖๒๓๔ หน้าที่ ๒๓๙-๒๔๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=6159&Z=6234&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=6159&w=อบ&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=14              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=79              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=1&A=1459#82top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=7185              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=1&A=1459#82top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=7185              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj2/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]