ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ยาก ๕ อย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้พยาบาลได้ยาก คือ ไม่ทำ ความสบาย ๑ ไม่รู้ประมาณในความสบาย ๑ ไม่ฉันยา ๑ ไม่บอกอาการไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาล ที่มุ่งประโยชน์ คือ ไม่บอกอาการไข้ที่กำเริบว่า กำเริบ อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่ทรง อยู่ว่าทรงอยู่ ๑ มีนิสัยเป็นคนไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดปรากฏในร่างกาย อันกล้าแข็ง รุนแรง ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันจะพร่าชีวิตเสีย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบ ด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ยาก.
องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ง่าย ๕ อย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้พยาบาลได้ง่าย คือทำความ สบาย ๑ รู้ประมาณในความสบาย ๑ ฉันยา ๑ บอกอาการป่วยไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่ง ประโยชน์ คือบอกอาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบอาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่ ๑ มีนิสัยเป็นคนอดทนต่อทุกขเวทนา อันกล้าแข็ง รุนแรง ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อัน จะพร่าชีวิตเสีย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้พยาบาล ได้ง่าย.
องค์ของภิกษุผู้ไม่เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรพยาบาลไข้ คือเป็นผู้ ไม่สามารถเพื่อประกอบ ๑ ไม่รู้จักของแสลงและไม่แสลง คือ นำของแสลงเข้าไปให้ กันของ ไม่แสลงออกเสีย ๑ พยาบาลไข้เห็นแก่อามิส ไม่มีจิตเมตตา ๑ เป็นผู้เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียนออกไป ๑ เป็นผู้ไม่สามารถจะชี้แจงให้คนไข้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาในกาลทุกเมื่อ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แล ไม่ควรพยาบาลไข้.
องค์ของภิกษุผู้เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพยาบาลไข้ คือเป็นผู้ สามารถประกอบยา ๑ รู้จักของแสลง และไม่แสลง คือกันของแสลงออก นำของไม่แสลง เข้าไปให้ ๑ มีจิตเมตตาพยาบาลไข้ ไม่เห็นแก่อามิส ๑ เป็นผู้ไม่เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียนออกไปเสีย ๑ เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้คนไข้ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ในกาลทุกเมื่อ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพยาบาลไข้ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพยาบาลไข้.
เรื่องให้บาตรจีวรของผู้ถึงมรณะภาพแก่คิลานุปัฏฐาก
[๑๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปในโกศลชนบทได้เข้าไปอยู่อาวาส แห่งหนึ่ง บรรดาภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งอาพาธ จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษาตกลงกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญการพยาบาลภิกษุอาพาธ ผิฉะนั้น พวกเราจง พยาบาลภิกษุรูปนี้เถิด แล้วพากันพยาบาลภิกษุอาพาธนั้น เธออันภิกษุเหล่านั้นพยาบาลอยู่ได้ถึง มรณภาพ จึงภิกษุเหล่านั้นถือบาตรจีวรของเธอไปพระนครสาวัตถี แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุ ผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตร แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้.
วิธีให้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของท่าน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้ไตรจีวรและบาตร ของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้ พยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้ไตรจีวรและบาตร ของเธอ สงฆ์ให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ การให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด. สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สามเณรถึงมรณภาพ
สมัยต่อมา สามเณรรูปหนึ่งถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสามเณรถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้.
วิธีให้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้จีวรและบาตรอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สามเณรชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้จีวรและบาตร
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตร ของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรและบาตรนี้แก่ผู้พยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตร ของเธอ สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ การให้จีวรและบาตรนี้ แก่ ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด. สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
ภิกษุและสามเณรช่วยกันพยาบาลไข้
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณรรูปหนึ่ง ช่วยกันพยาบาลภิกษุอาพาธ เธออันภิกษุ และสามเณรนั้นพยาบาลอยู่ ได้ถึงมรณภาพ จึงภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น ได้มีความปริวิตกว่า เรา พึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี- *พระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนแก่สามเณร ผู้พยาบาลไข้เท่าๆ กัน. สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีของใช้มาก มีบริขารมาก ได้ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุถึง มรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบ ไตรจีวรและบาตรให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นลหุภัณฑ์ ลหุบริขาร สิ่งนั้นเราอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันแบ่ง บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร สิ่งนั้นเป็นของสงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ไม่ควรแบ่ง ไม่ควรแจก.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๔๓๙๔-๔๔๗๔ หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=4394&Z=4474&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=5&A=4394&w=๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาณในค๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝสบ๏ฟฝ๏ฟฝ&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=45              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=166              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=5&A=4695              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5014              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=5&A=4695              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5014              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:26.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#BD.4.431

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]