ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
             [๔๘๗] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณากุศลนั้น
             บุคคลพิจารณากุศลทั้งหลาย ที่สั่งสมไว้ดีแล้วในก่อน
             บุคคลออกจากฌาน แล้วพิจารณาฌาน
             พระเสขะ พิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน
             พระเสขะ ออกจากมรรค พิจารณามรรค
             พระเสขะ หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             บุคคลรู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ
             อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกุศล โดยอารัมมณปัจจัย
             อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล โดยอารัมมณปัจจัย
             อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล โดยอารัมมณปัจจัย
             กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมุปคญาณ และอนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย
             [๔๘๘] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วยินดี เพลิดเพลินซึ่งกุศล
นั้น เพราะปรารภกุศลนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น
             บุคคลยินดีเพลิดเพลิน ซึ่งกุศลทั้งหลายที่ตนสั่งสมไว้แล้วในก่อน เพราะปรารภกุศล
นั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น
             บุคคลออกจากฌานแล้ว ยินดีเพลิดเพลินซึ่งฌาน เพราะปรารภฌานนั้น มี ราคะ
ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ เกิดขึ้น สำหรับท่านผู้มีวิปฏิสาร เมื่อฌานเสื่อมแล้ว มีโทมนัส
เกิดขึ้น
             [๔๘๙] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาถึงธรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว
ในก่อน พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้ซึ่งจิต
ของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ
             พระเสขะ หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก เกิดขึ้น
             บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศล เพราะปรารภกุศลนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิต อันเป็นวิบาก เกิดขึ้น
             อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบาก และกิริยา โดย
อารัมมณปัจจัย
             อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก และกิริยา โดย
อารัมมณปัจจัย
             ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมุปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย
             [๔๙๐] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งราคะ เพราะปรารภราคะนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น
             บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งทิฏฐิ เพราะปรารภทิฏฐินั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น
             เพราะปรารภวิจิกิจฉา มีวิจิกิจฉา ทิฏฐิ อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น
             เพราะปรารภอุทธัจจะ มีอุทธัจจะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และโทมนัส เกิดขึ้น
             เพราะปรารภโทมนัส มีโทมนัส ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และอุทธัจจะ เกิดขึ้น
             [๔๙๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ พระเสขะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิด
มาแล้วแต่ก่อนๆ
             พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งอกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ
             ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมุปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย
             [๔๙๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว รู้กิเลสที่เคย เกิดขึ้น มาแล้ว แต่ก่อนๆ
พิจารณาเห็นแจ้งอกุศลธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคล
ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ
             พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งอกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก เกิดขึ้น
             บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งอกุศล เพราะปรารภอกุศลนั้น มี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ และโทมนัส เกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก เกิดขึ้น
             ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมุปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย
             [๔๙๓] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ พระอรหันต์พิจารณาผลจิต พิจารณาพระนิพพาน
             พระนิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผลจิต และอาวัชชนจิต โดยอารัมมณปัจจัย
             พระอรหันต์พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ
และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา
             พระอรหันต์เห็นซึ่งรูปด้วยทิพจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของท่าน ผู้มี
ความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ
             อากาสานัญจายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกิริยา โดยอารัมมณปัจจัย
             อากิญจัญญายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา โดยอารัมมณปัจจัย
             รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอารัมมณปัจจัย
             สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ
รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอารัมมณ-
*ปัจจัย
             ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิ-
*วาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย
             [๔๙๔] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ พระเสขะทั้งหลายพิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน
             นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค  โดยอารัมมณปัจจัย
             พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของท่าน ผู้มี
ความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ
             ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิ-
*วาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย
             [๔๙๕] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น
             บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา เพราะปรารภสิ่งเหล่านั้น
มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๕๘๐๕-๕๘๙๙ หน้าที่ ๒๒๗-๒๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=40&A=5805&Z=5899&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=40&siri=43              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=487              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [487-495] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=40&item=487&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=11291              The Pali Tipitaka in Roman :- [487-495] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=40&item=487&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=11291              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :