ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หมวด ๔
[๒๒๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
สติปัฏฐาน ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสใน โลกเสียได้ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตใน จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสียได้ ฯ [๒๓๐] สัมมัปปธาน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่ เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ เกิดขึ้นแล้ว ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่ เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความตั้งมั่นไม่เลือนลาง จำเริญยิ่ง ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ฯ [๒๓๑] อิทธิบาท ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร ฯ [๒๓๒] ฌาน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มี- *ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระ- *อริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่ มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ [๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่ เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่ มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง ญาณทัสสนะ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอัน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ สัญญาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่ง เวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ [๒๓๔] อัปปมัญญา ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย เมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตาม นัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก สถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก สถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตาม นัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ [๒๓๕] อรูป ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูป สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการ ว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ ว่าน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ [๒๓๖] อปัสเสนะ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของ อย่างหนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วอดกลั้น ของอย่างหนึ่ง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเว้นของ อย่างหนึ่ง ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วบรรเทา ของอย่างหนึ่ง ฯ [๒๓๗] อริยวงศ์ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วย จีวรตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร และไม่ได้ จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มี ปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้ อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจ คร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยจีวรนั้น ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วย บิณฑบาตตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่ง บิณฑบาต และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยว เกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี ตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นใน สันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วย เสนาสนะตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะ ตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะแล้วก็ไม่เกี่ยว เกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตาม ได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษ ด้วยเสนาสนะนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของ เก่าอันยอดเยี่ยม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะความ ยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีใน ภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นใน ปหานะและภาวนานั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ [๒๓๘] ปธาน ๔ อย่าง ๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง] ๒. ปหานปธาน [เพียรละ] ๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ] ๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม ในโสตินทรีย์ ฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม ในฆานินทรีย์ ฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน ชิวหินทรีย์ ฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม- *อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึง ความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความ สำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังวรปธาน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิด ขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหาน- *ปธาน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความสงัด อาศัย ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ- *สัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อัน น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ- *สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ผู้มีอายุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ [๒๓๙] ญาณ ๔ อย่าง ๑. ธัมมญาณ [ความรู้ในธรรม] ๒. อันวยญาณ [ความรู้ในการคล้อยตาม] ๓. ปริจเฉทญาณ [ความรู้ในการกำหนด] ๔. สัมมติญาณ [ความรู้ในสมมติ] ญาณ ๔ อย่าง ๑. ทุกขญาณ [ความรู้ในทุกข์] ๒. ทุกขสมุทยญาณ [ความรู้ในทุกขสมุทัย] ๓. ทุกขนิโรธญาณ [ความรู้ในทุกขนิโรธ] ๔. ทุกขนิโรธคามินี- [ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา]       ปฏิปทาญาณ [๒๔๐] องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง ๑. สัปปุริสสังเสวะ [การคบสัตบุรุษ] ๒. สัทธัมมัสสวนะ [การฟังพระสัทธรรม] ๓. โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย] ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม] [๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก- *ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระ ผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของ บูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็น บุญเขตของชาวโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วย ศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อัน วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ [๒๔๒] สามัญญผล ๔ อย่าง ๑. โสดาปัตติผล ๒. สกทาคามิผล ๓. อนาคามิผล ๔. อรหัตตผล [๒๔๓] ธาตุ ๔ อย่าง ๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน] ๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ] ๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ] ๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม] [๒๔๔] อาหาร ๔ อย่าง ๑. กวฬิงการาหาร [อาหารคือคำข้าวหยาบหรือละเอียด] ๒. ผัสสาหาร [อาหารคือผัสสะ] ๓. มโนสัญเจตนาหาร [อาหารคือมโนสัญเจตนา] ๔. วิญญาณาหาร [อาหารคือวิญญาณ] [๒๔๕] วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ย่อม ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ ย่อม ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อม ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ [๒๔๖] การถึงอคติ ๔ อย่าง ๑. ถึงความลำเอียงเพราะความรักใคร่กัน ๒. ถึงความลำเอียงเพราะความขัดเคืองกัน ๓. ถึงความลำเอียงเพราะความหลง ๔. ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว [๒๔๗] ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุ แห่งจีวร ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุ แห่งบิณฑบาต ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุ แห่งเสนาสนะ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุ แห่งความมียิ่งๆ ขึ้นไป ฯ [๒๔๘] ปฏิปทา ๔ อย่าง ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า] ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว] ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า] ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว] [๒๔๙] ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง ๑. อักขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติไม่อดทน] ๒. ขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติอดทน] ๓. ทมา ปฏิปทา [ปฏิบัติฝึก] ๔. สมา ปฏิปทา [ปฏิบัติระงับ] [๒๕๐] ธรรมบท ๔ อย่าง ๑. บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง ๒. บทธรรมคือความไม่พยาบาท ๓. บทธรรมคือความระลึกชอบ ๔. บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ [๒๕๑] ธรรมสมาทาน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์ เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุข เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์ เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน และมีสุข เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ ฯ [๒๕๒] ธรรมขันธ์ ๔ อย่าง ๑. ศีลขันธ์ [หมวดศีล] ๒. สมาธิขันธ์ [หมวดสมาธิ] ๓. ปัญญาขันธ์ [หมวดปัญญา] ๔. วิมุตติขันธ์ [หมวดวิมุติ] [๒๕๓] พละ ๔ อย่าง ๑. วิริยะพละ [กำลังคือความเพียร] ๒. สติพละ [กำลังคือสติ] ๓. สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ] ๔. ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา] [๒๕๔] อธิฏฐาน ๔ อย่าง ๑. ปัญญาธิฏฐาน [อธิษฐานคือปัญญา] ๒. สัจจาธิฏฐาน [อธิษฐานคือสัจจะ] ๓. จาคะธิฏฐาน [อธิษฐานคือจาคะ] ๔. อุปสมาธิฏฐาน [อธิษฐานคืออุปสมะ] [๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง ๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว ๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้ ๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้ ๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย ฯ [๒๕๖] กรรม ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้ง ฝ่ายดำฝ่ายขาวมีอยู่ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ฯ [๒๕๗] สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง ๑. พึงทำให้แจ้งซึ่งขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ ๒. พึงทำให้แจ้งซึ่งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ ๓. พึงทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์แปดด้วยกาย ๔. พึงทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา [๒๕๘] โอฆะ ๔ อย่าง ๑. กาโมฆะ [โอฆะคือกาม] ๒. ภโวฆะ [โอฆะคือภพ] ๓. ทิฏโฐฆะ [โอฆะคือทิฐิ] ๔. อวิชโชฆะ [โอฆะคืออวิชชา] [๒๕๙] โยคะ ๔ อย่าง ๑. กามโยคะ [โยคะคือกาม] ๒. ภวโยคะ [โยคะคือภพ] ๓. ทิฏฐิโยคะ [โยคะคือทิฐิ] ๔. อวิชชาโยคะ [โยคะคืออวิชชา] [๒๖๐] วิสังโยคะ ๔ อย่าง ๑. กามโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือกาม] ๒. ภวโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือภพ] ๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ] ๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา] [๒๖๑] คันถะ ๔ อย่าง ๑. อภิชฌากายคันถะ [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา] ๒. พยาปาทกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือพยาบาท] ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส] ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้ เป็นจริง] ฯ [๒๖๒] อุปาทาน ๔ อย่าง ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม] ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ] ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต] ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน] [๒๖๓] โยนิ ๔ อย่าง ๑. อัณฑชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่] ๒. ชลาพุชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์] ๓. สังเสทชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล] ๔. โอปปาติกโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น] ฯ [๒๖๔] การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าว ลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว อยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว คลอด จากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้ สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว คลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอด จากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สี่ ฯ [๒๖๕] การได้อัตภาพ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตน อย่างเดียว ไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น เท่านั้น ไม่ตรงกับความจงใจของตนมีอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความจงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ [๒๖๖] ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง ๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ ๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกมีอยู่ ฯ ๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ ๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ [๒๖๗] สังคหวัตถุ ๔ อย่าง ๑. ทาน [การให้ปัน] ๒. ปิยวัชช [เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน] ๓. อัตถจริยา [ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์] ๔. สมานัตตตา [ความเป็นผู้มีตนเสมอ] [๒๖๘] อนริยโวหาร ๔ อย่าง ๑. มุสาวาท [พูดเท็จ] ๒. ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด] ๓. ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ] ๔. สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ] [๒๖๙] อริยโวหาร ๔ อย่าง ๑. มุสาวาทา เวรมณี [เว้นจากพูดเท็จ] ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดส่อเสียด] ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดคำหยาบ] ๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ] [๒๗๐] อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง ๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน ๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ ๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง ฯ [๒๗๑] อริยโวหารอีก ๔ อย่าง ๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน ๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ ๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าไม่ได้รู้แจ้ง ฯ [๒๗๒] อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง ๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น ๒. เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน ๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ ๔. เมื่อรู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง ฯ [๒๗๓] อริยโวหารอีก ๔ อย่าง ๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น ๒. เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน ๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ ๔. เมื่อได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง [๒๗๔] บุคคล ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือด ร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือด ร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่น เดือดร้อนด้วย ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้ เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิว ดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุขมีตนเป็นเสมือนพรหมอยู่ในปัจจุบัน ฯ [๒๗๕] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ฯ [๒๗๖] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. บุคคลผู้มืดมา กลับมืดไป ๒. บุคคลผู้มืดมา กลับสว่างไป ๓. บุคคลผู้สว่างมา กลับมืดไป ๔. บุคคลผู้สว่างมา กลับสว่างไป ฯ [๒๗๗] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. สมณมจละ [เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว] ๒. สมณปทุมะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวหลวง] ๓. สมณปุณฑรีกะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว] ๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะ ทั้งหลาย ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์ นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบหมวด ๔
-----------------------------------------------------
หมวด ๕
[๒๗๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภท ๕ เป็นไฉน
ขันธ์ ๕ อย่าง
๑. รูปขันธ์ [กองรูป] ๒. เวทนาขันธ์ [กองเวทนา] ๓. สัญญาขันธ์ [กองสัญญา] ๔. สังขารขันธ์ [กองสังขาร] ๕. วิญญาณขันธ์ [กองวิญญาณ] ฯ [๒๗๙] อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง ๑. รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ) ฯ [๒๘๐] กามคุณ ๕ อย่าง ๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ [๒๘๑] คติ ๕ อย่าง ๑. นิรยะ [นรก] ๒. ติรัจฉานโยนิ [กำเนิดดิรัจฉาน] ๓. ปิตติวิสัย [ภูมิแห่งเปรต] ๔. มนุสสะ [มนุษย์] ๕. เทวะ [เทวดา] ฯ [๒๘๒] มัจฉริยะ ๕ อย่าง ๑. อาวาสมัจฉริยะ [ตระหนี่ที่อยู่] ๒. กุลมัจฉริยะ [ตระหนี่สกุล] ๓. ลาภมัจฉริยะ [ตระหนี่ลาภ] ๔. วัณณมัจฉริยะ [ตระหนี่วรรณะ] ๕. ธัมมมัจฉริยะ [ตระหนี่ธรรม] ฯ [๒๘๓] นีวรณ์ ๕ อย่าง ๑. กามฉันทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือ ความพอใจในกาม] ๒. พยาปาทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความพยาบาท] ๓. ถีนมิทธนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความที่จิตหดหู่และ เคลิบเคลิ้ม] ๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความฟุ้งซ่านและ รำคาญ] ๕. วิจิกิจฉานีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความสงสัย] ฯ [๒๘๔] โอรัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องต่ำ] ๕ อย่าง ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน] ๒. วิจิกิจฉา [ความสงสัย] ๓. สีลัพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามี ได้ด้วยศีลหรือพรต] ๔. กามฉันทะ ๑- [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม] ๕. พยาบาท ๒- [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น] [๒๘๕] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] ๕ อย่าง ๑. รูปราคะ [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม] ๒. อรูปราคะ [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม] ๓. มานะ [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่] ๔. อุทธัจจะ [ความคิดพล่าน] ๕. อวิชชา [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง] @๑. ในที่อื่นเป็นกามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งกาม @๒. ในที่อื่นเป็นปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต [๒๘๖] สิกขาบท ๕ อย่าง ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์] ๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการ ลักทรัพย์] ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม] ๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการ พูดเท็จ] ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท] ฯ [๒๘๗] อภัพพฐาน ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จาก ชีวิต ๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์ อันเป็นส่วนแห่งความเป็น ขโมย ๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม ๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่ ๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกามเหมือนเมื่อ ครั้งยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ ฯ [๒๘๘] พยสนะ ๕ อย่าง ๑. ญาติพยสนะ [ความฉิบหายแห่งญาติ] ๒. โภคพยสนะ [ความฉิบหายแห่งโภคะ] ๓. โรคพยสนะ [ความฉิบหายเพราะโรค] ๔. สีลพยสนะ [ความฉิบหายแห่งศีล] ๕. ทิฏฐิพยสนะ [ความฉิบหายแห่งทิฐิ] ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหาย ก็ดี เพราะเหตุที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลายย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ฯ [๒๘๙] สัมปทา ๕ อย่าง ๑. ญาติสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยญาติ] ๒. โภคสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยโภคะ] ๓. อาโรคยสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค] ๔. สีลสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยศีล] ๕. ทิฏฐิสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ] ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภค สัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฐิ- *สัมปทา สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ฯ [๒๙๐] โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความ เสื่อมแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก กิตติศัพท์อันเสียหายของคน ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหา บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขินเข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคน หลงทำกาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีลข้อที่ห้า ฯ [๒๙๑] อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลในโลกนี้ย่อม ประสบกองแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีล สมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก กิตติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมระบือไป นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือ สมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคน มีศีลข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทำกาละ นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีล สมบัติของคนมีศีลข้อที่ห้า ฯ [๒๙๒] ธรรมสำหรับโจทน์ ๕ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง ธรรม ๕ ประการไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบ ด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เราจักกล่าวด้วย เมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็น โจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจท ผู้อื่น ฯ [๒๙๓] องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระ- *ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็น สารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ ๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วย เตโชธาตุอันมีวิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ ความเพียร ฯ ๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตน ตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ฯ ๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระ ในบรรดาธรรมที่เป็นกุศล ฯ ๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็น เกิดและดับ เป็นปัญญาอย่างประเสริฐ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส จะให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ ฯ [๒๙๔] สุทธาวาส ๕ ๑. อวิหา ๒. อตัปปา ๓. สุทัสสา ๔. สุทัสสี ๕. อกนิฏฐา ฯ [๒๙๕] พระอนาคามี ๕ ๑. อันตราปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่าง อายุยังไม่ทันถึงกึ่ง] ๒. อุปหัจจปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุ พ้นกึ่งแล้ว จวนถึงที่สุด] ๓. อสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้อง ใช้ความเพียรนัก] ๔. สสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ ความเพียร] ๕. อุทธโสโต อกนิฏฐคามี [พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ ชั้นอกนิฏฐภพ] ฯ [๒๙๖] ความกระด้างแห่งจิต ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความ กระด้างแห่งจิตข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิต อันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือน ตะปู ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำ เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่ห้า ฯ [๒๙๗] ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความ ทะยานอยากในกามทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน อยากในกามทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิต ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน อยากในกาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความ พอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไป ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน อยากในรูป ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความ พอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไป ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบริโภคอิ่มหนำพอแก่ความ ต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขใน การหลับอยู่ ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้บริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็น ไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนา หมู่เทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น เทพเจ้า หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่ห้า ฯ [๒๙๘] อินทรีย์ ๕ อย่าง ๑. จักขุนทรีย์ [อินทรีย์คือตา] ๒. โสตินทรีย์ [อินทรีย์คือหู] ๓. ฆานินทรีย์ [อินทรีย์คือจมูก] ๔. ชิวหินทรีย์ [อินทรีย์คือลิ้น] ๕. กายินทรีย์ [อินทรีย์คือกาย] [๒๙๙] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ๑. สุขินทรีย์ [อินทรีย์คือสุข] ๒. ทุกขินทรีย์ [อินทรีย์คือทุกข์] ๓. โสมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโสมนัส] ๔. โทมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโทมนัส] ๕. อุเปกขินทรีย์ [อินทรีย์คืออุเบกขา] [๓๐๐] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา] ๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ] ๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ] ๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ] ๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา] [๓๐๑] นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกาม ทั้งหลายอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะ กามทั้งหลาย แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจาก อาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกามเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อม ไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความ พยาบาทอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะ ความพยาบาท แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาท และเธอ พ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็น ปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง ความพยาบาท ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความ เบียดเบียนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ใน เพราะความเบียดเบียน แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล จิต ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่เบียดเบียน จิตของ เธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความ เบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่ง มีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าว ได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความเบียดเบียน ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลาย อยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะรูปทั้งหลาย แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะอรูป จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากรูปทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวน กระวาย ซึ่งมีรูปเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของ ตนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งใจอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกาย ของตน แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะความดับแห่งกายของตน จิตของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกายของตน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตน เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง กายของตน ฯ [๓๐๒] วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์ หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงแก่เธอ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกาย สงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดน วิมุตติข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนได้แสดงแก่คนอื่นๆ นั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อม เสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอ กระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้ง อรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนกระทำการสาธยายนั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอ ตรึกตรองตามซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ ภิกษุนั้นย่อม รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตาม ด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อม เกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอ เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทง ตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการ ที่ได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาแล้วนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบ ด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า ฯ [๓๐๓] สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง ๑. อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง] ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณา เห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง] ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณา เห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์] ๔. ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่า ควรละเสีย] ๕. วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความ คลายเสียซึ่งความกำหนัด] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดย ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๕
-----------------------------------------------------
หมวด ๖
[๓๐๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ แล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
อายตนะภายใน ๖ อย่าง
๑. อายตนะ คือตา ๒. อายตนะ คือหู ๓. อายตนะ คือจมูก ๔. อายตนะ คือลิ้น ๕. อายตนะ คือกาย ๖. อายตนะ คือใจ [๓๐๕] อายตนะภายนอก ๖ อย่าง ๑. อายตนะ คือ รูป ๒. อายตนะ คือ เสียง ๓. อายตนะ คือ กลิ่น ๔. อายตนะ คือ รส ๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ ๖. อายตนะ คือ ธรรม [๓๐๖] หมวดวิญญาณ ๖ ๑. จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา] ๒. โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู] ๓. ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก] ๔. ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น] ๕. กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย] ๖. มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ] [๓๐๗] หมวดผัสสะ ๖ ๑. จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา] ๒. โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู] ๓. ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก] ๔. ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น] ๕. กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย] ๖. มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ] [๓๐๘] หมวดเวทนา ๖ ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา] ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู] ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก] ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น] ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย] ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ] [๓๐๙] หมวดสัญญา ๖ ๑. รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] ๒. สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] ๓. คันธสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] ๔. รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] ๕. โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] ๖. ธัมมสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์] [๓๑๐] หมวดสัญเจตนา ๖ ๑. รูปสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] ๒. สัททสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] ๓. คันธสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] ๔. รสสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] ๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] ๖. ธัมมสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์] [๓๑๑] หมวดตัณหา ๖ ๑. รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] ๒. สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] ๓. คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] ๔. รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] ๕. โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] ๖. ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์] [๓๑๒] อคารวะ ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการศึกษาอยู่ ๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่ ๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ [๓๑๓] คารวะ ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เคารพยำเกรง ในพระศาสดาอยู่ ๒. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่ ๓. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ๔. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการศึกษาอยู่ ๕. เป็นผู้เคารพยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่ ๖. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ [๓๑๔] โสมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็น ที่ตั้งแห่งโสมนัส ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส ฯ [๓๑๕] โทมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอัน เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส ฯ [๓๑๖] อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอัน เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา ฯ [๓๑๗] สาราณียธรรม ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมข้อ นี้เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้ เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไป ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็น เครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อ ความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไป ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็น เครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อ ความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบ ด้วยธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหารในบาตร ไม่หวงกันด้วย ลาภเห็นปานดังนั้น แบ่งปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ธรรมแม้ข้อนี้ก็ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็น ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหา และทิฐิ เป็นไปเพื่อสมาธิ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลในศีลเห็น ปานดังนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้ เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำ ทิฐินั้น ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกัน โดยทิฐิในทิฐิเห็นปานดังนั้น กับเพื่อน สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความ ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไป เพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ [๓๑๘] มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มักผูก โกรธไว้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้นั้น ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่ เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้ บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ลบหลู่ตีเสมอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลบหลู่ตีเสมอย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ใน สิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้ บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักริษยา มีความ ตระหนี่ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักริษยามีความตระหนี่ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่ เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อ ความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อ ความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาท เห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลว ทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความ วิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้นเสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม เช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้โอ้อวดมีมารยา ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดา อยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรง แม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความ วิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นใน สงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้น เสีย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายใน ภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีก ต่อไป ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา ลามก มีความเห็นผิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็น ผิด ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็น ผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงใน พระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์ อยู่ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายาม ที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสียได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้า พวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายาม ได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติ ได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยึดมั่นในความ เห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยึดมั่นในความเห็น ของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ใน พระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่ง เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศ แก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้ง ภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้ง ภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้ อีกต่อไป ฯ [๓๑๙] ธาตุ ๖ อย่าง ๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน] ๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ] ๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ] ๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม] ๕. อากาศธาตุ [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย] ๖. วิญญาณธาตุ [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้] ฯ [๓๒๐] นิสสารณียธาตุ ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้ เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าว ดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี- *พระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้ เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ยานแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบ ด้วยเมตตา แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังจักครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึง อย่างนั้น วิเหสาก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่ประกอบ ด้วยกรุณา แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิเหสา ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึง อย่างนั้น อรติก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่า ได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา แต่ถึง อย่างนั้น อรติก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบ ด้วยมุทิตานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ ฯ ๔. ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้ กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าว ตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วย อุเบกขานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิตแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตนี้ ก็ยังมีอยู่แก่เรา ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่หานิมิต มิได้ แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตก็ยังจักมีแก่เขา ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ไม่มี นิมิตนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิตทุกอย่าง ฯ ๖. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการ ถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี พระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อการถือว่าเรามีอยู่ดังนี้ หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศร คือความเคลือบแคลงสงสัย ก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือการ เพิกถอน การถือว่าเรามีอยู่นี้ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลง สงสัย ฯ [๓๒๑] อนุตตริยะ ๖ อย่าง ๑. ทัสสนานุตตริยะ [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม] ๒. สวนานุตตริยะ [การฟังอย่างยอดเยี่ยม] ๓. ลาภานุตตริยะ [การได้อย่างยอดเยี่ยม] ๔. สิกขานุตตริยะ [การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม] ๕. ปาริจริยานุตตริยะ [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม] ๖. อนุสสตานุตตริยะ [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม] [๓๒๒] อนุสสติฐาน ๖ อย่าง ๑. พุทธานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า] ๒. ธัมมานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระธรรม] ๓. สังฆานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์] ๔. สีลานุสสติ [ระลึกถึงศีล] ๕. จาคานุสสติ [ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค] ๖. เทวตานุสสติ [ระลึกถึงเทวดา] [๓๒๓] สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๒. ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็น ผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฯ [๓๒๔] อภิชาติ ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพ ธรรมฝ่ายดำ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพ ธรรมฝ่ายขาว ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพ พระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพ ธรรมฝ่ายขาว ๕. ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพ ธรรมฝ่ายดำ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพ พระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว ฯ [๓๒๕] นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง ๑. อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง] ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง] ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่ เป็นทุกข์] ๔. ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ] ๕. วิราคสัญญา [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด] ๖. นิโรธสัญญา [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่ง แย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบหมวด ๖
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๔๙๓๒-๖๑๕๗ หน้าที่ ๒๐๓-๒๕๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=4932&Z=6157&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=229&items=97              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=229&items=97&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=11&item=229&items=97              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=11&item=229&items=97              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=229              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]