ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
             [๒๙๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถีตามพุทธาภิรมย์
แล้วเสด็จจาริกทางกิฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้ง
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะได้ทราบ
ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาสู่กิฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
๕๐๐ รูป ทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท่านทั้งหลายพวกเราตกลงแบ่ง
เสนาสนะของสงฆ์ให้หมด เพราะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความปรารถนา
ลามก ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนาอันชั่วช้า พวกเราจะได้ไม่ต้องจัดหาเสนาสนะ
ถวายท่าน ภิกษุเหล่านั้นได้แบ่งเสนาสนะของสงฆ์หมดแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาค
เสด็จจาริกโดยลำดับ ได้ถึงชนบทกิฏาคิรีแล้ว จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงไปหาภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะแล้วบอกอย่างนี้ว่า ท่าน
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเสด็จมาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้ง
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ขอท่านจงช่วยจัดหาเสนาสนะถวายพระผู้มีพระ
ภาค ภิกษุสงฆ์ และพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระดำรัส
แล้วเข้าไปหาภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ครั้นแล้วได้แจ้งว่า ท่าน
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้งพระ
สารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็แล พวกท่านจงจัดหาเสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาค
ภิกษุสงฆ์ และพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ
ปุนัพพสุกะตอบว่า ท่านทั้งหลาย เสนาสนะของสงฆ์ไม่มี พวกผมแบ่งกันหมดแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๘.

พระผู้มีพระภาคเสด็จมาดีแล้ว พระองค์ทรงพระประสงค์จะประทับในวิหารใด ก็จักประทับในวิหารนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ มีความปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจของความปรารถนาอันชั่วช้า พวกผมจักไม่จัดหาเสนาสนะถวายท่าน ภิ. ท่านทั้งหลาย พวกท่านแบ่งเสนาสนะของสงฆ์หรือ อ. เป็นเช่นนั้น ขอรับ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉน ภิกษุ พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจึงได้แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ... พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุพวกอัสสชิ และปุนัพพสุกะ แบ่งเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุโมฆ บุรุษเหล่านั้น จึงได้แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่งมี ๕ หมวดนี้ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งไปแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ของไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด อะไรบ้าง คืออาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของไม่ ควรแบ่งหมวดที่ ๑ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่งแม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอัน แบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๒ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคล ก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๓ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๙.

หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๔ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน เครื่องไม้ เครื่องดิน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๕ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวดนี้แล สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคล ก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๕๘๐-๒๖๒๙ หน้าที่ ๑๐๗-๑๐๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=2580&Z=2629&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=293&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=293&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=7&item=293&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=7&item=293&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=293              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]