ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๐. ปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาเช้าเป็นฤกษ์ดีเป็นต้น
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต(ความประพฤติชอบ ด้วยกาย) วจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา) และมโนสุจริต(ความประพฤติชอบ ด้วยใจ) ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. มังคลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา๑- วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข งอกงามในพุทธศาสนา จงไม่มีโรค ถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล
ปุพพัณหสูตรที่ ๑๐ จบ
มังคลวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อกุสลสูตร ๒. สาวัชชสูตร ๓. วิสมสูตร ๔. อสุจิสูตร ๕. ปฐมขตสูตร ๖. ทุติยขตสูตร ๗. ตติยขตสูตร ๘. จตุตถขตสูตร ๙. วันทนาสูตร ๑๐. ปุพพัณหสูตร
ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ เบื้องขวา ในที่นี้หมายถึงความเจริญหรือพฤติกรรมฝ่ายดี (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๕๖/๒๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=200              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7802&Z=7826                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=595              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=595&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6368              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=595&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6368                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i586-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an3.155/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :