ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๖. อเจลกวรรค

๖. อเจลกวรรค
หมวดว่าด้วยคนเปลือย
ว่าด้วยปฏิปทา ๓ อย่าง
[๑๕๗-๑๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการ ปฏิปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิปทาอย่างหยาบ ๒. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ ๓. ปฏิปทาอย่างกลาง ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โทษในกามทั้งหลาย ไม่มี” เขาย่อมตกเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร คือ คนเปลือยบางคนในโลกนี้ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษา๑- ก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาเจาะจงทำไว้ ไม่ยินดีกิจนิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อม ธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาที่คนสอง คนบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียคน ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ ที่รับเลี้ยงดูลูกสุนัข ไม่รับภิกษาในที่แมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับภิกษาเฉพาะที่เรือนหลังเดียว เยียว ยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียว รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยา อัตภาพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ หรือรับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำ เยียวยาอัตภาพ ด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง @เชิงอรรถ : @ ภิกษา คืออาหาร ของขบเคี้ยว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๖. อเจลกวรรค (๑. สติปัฏฐานสูตร)

ฯลฯ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วัน เดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ ๒ วันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บค้างไว้เจ็ดวันบ้าง เขาหมั่นประกอบในการบริโภคที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้อยู่ คนเปลือยนั้นกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินลูก เดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง๑- เป็นอาหารบ้าง กินรำ เป็นอาหารบ้าง กินข้าวตังเป็นอาหารบ้าง กินกำยานเป็นอาหารบ้าง กินหญ้าเป็น อาหารบ้าง กินมูลโคเป็นอาหารบ้าง กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง กิน ผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้า ห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่ม หนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มคากรองบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่ม ผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขน สัตว์ร้ายบ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบ การถอนผมและหนวดบ้าง ยืนอย่างเดียวปฏิเสธการนั่งบ้าง นั่งกระโหย่ง ประกอบ ความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งบ้าง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง หมั่นประกอบการลงน้ำบ้าง เขาหมั่นประกอบการทำร่างกาย ให้เดือดร้อนหลายวิธีดังกล่าวมานี้อยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
(๑. สติปัฏฐานสูตร)
ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณา เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ คำว่า ยาง (หฏะ) หมายรวมถึงสาหร่ายและยางไม้ด้วย (องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๖. อเจลกวรรค (๓. อิทธิปาทสูตร)

(๒. สัมมัปปธานสูตร)
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้ ปฏิปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิปทาอย่างหยาบ ๒. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ ๓. ปฏิปทาอย่างกลาง ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๑- เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
(๓. อิทธิปาทสูตร)
ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธาน- สังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญ อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวีมังสาและความ เพียรสร้างสรรค์) ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๙๔-๓๙๗ เอกกนิบาต หน้า ๔๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๖. อเจลกวรรค (๗. มัคคสูตร)

(๔. อินทริยสูตร)
เจริญสัทธินทรีย์ เจริญวีริยินทรีย์ เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญ ปัญญินทรีย์ ฯลฯ
(๕. พลสูตร)
เจริญสัทธาพละ เจริญวีริยพละ เจริญสติพละ เจริญสมาธิพละ เจริญ ปัญญาพละ ฯลฯ
(๖. สัมโพชฌังคสูตร)
เจริญสติสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) เจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) เจริญวีริย- สัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) เจริญปีติสัมโพชฌงค์(ธรรม เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการ ตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความวางใจเป็นกลาง) ฯลฯ
(๗. มัคคสูตร)
เจริญสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) เจริญสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) เจริญสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) เจริญสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) เจริญสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) เจริญสัมมาวายามะ(พยายามชอบ) เจริญสัมมาสติ(ระลึกชอบ) เจริญสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้แล
อเจลกวรรคที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๗. กัมมปถเปยยาล (๑. ปาณ - อปาณสูตร)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สติปัฏฐานสูตร ๒. สัมมัปปธานสูตร ๓. อิทธิปาทสูตร ๔. อินทริยสูตร ๕. พลสูตร ๖. สัมโพชฌังคสูตร ๗. มัคคสูตร
๗. กัมมปถเปยยาล
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการมีหลายนัย
(๑. ปาณ - อปาณสูตร)
[๑๖๔-๑๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือน ได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๗. กัมมปถเปยยาล (๔. มุสาวาที - อมุสาวาทีสูตร)

(๒. อทินนาทาน - อนทินนาทานสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
(๓. มิจฉา - สัมมาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ๓. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
(๔. มุสาวาที - อมุสาวาทีสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๗. กัมมปถเปยยาล (๗. สัมผัปปลาป - อสัมผัปปลาปสูตร)

(๕. ปิสุณา - อปิสุณาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ๓. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ฯลฯ
(๖. ผรุส - อผรุสสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ฯลฯ
(๗. สัมผัปปลาป - อสัมผัปปลาปสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๗. กัมมปถเปยยาล (๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิสูตร)

(๘. อภิชฌา - อนภิชฌาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ
(๙. พยาปาท - อัพยาปาทสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท ๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท ฯลฯ
(๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิสูตร)
๑. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๓. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๑. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ๓. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
กัมมปถเปยยาลที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๘. ราคเปยยาล

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. ปาณ-อปาณสูตร ๒. อทินนาทาน-อนทินนาทานสูตร ๓. มิจฉา-สัมมาสูตร ๔. มุสาวาที-อมุสาวาทีสูตร ๕. ปิสุณา-อปิสุณาสูตร ๖. ผรุส-อผรุสสูตร ๗. สัมผัปปลาป-อสัมผัปปลาปสูตร ๘. อภิชฌา-อนภิชฌาสูตร ๙. พยาปาท-อพยาปาทสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ-สัมมาทิฏฐิสูตร
๘. ราคเปยยาล
[๑๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด) ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง) ๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต) ๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา) บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ [บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ(สมาธิที่มีวิตกวิจาร) ๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ(สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) ๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ(สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร) บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แลเพื่อรู้ยิ่งราคะ]๑- @เชิงอรรถ : @ เนื้อความที่ปรากฏใน [ ] นี้ ฉบับฉัฏฐสังคีติและฉบับพม่ามีปรากฏ แต่ในอรรถกถาไม่มี @(องฺ.ติก. ๒๐/๑๘๔/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

รวมธรรมที่มีในราคเปยยาล

เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้น ไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ ... เพื่อ ความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อสละราคะ ... เพื่อสละคืนราคะ บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ ... เพื่อความ คลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความสละโทสะ ... เพื่อความ สละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ... บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ [เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค]
ราคเปยยาลที่ ๘ จบ
รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้ คือ
๑. ราคะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ ๔. โกธะ ๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ ๗. ปลาสะ ๘. อิสสา ๙. มัจฉริยะ ๑๐. มายา ๑๑. สาเถยยะ ๑๒. ถัมภะ ๑๓. สารัมภะ ๑๔. มานะ ๑๕. อติมานะ ๑๖. มทะ ๑๗. ปมาทะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

รวมธรรมที่มีในราคเปยยาล

ธรรมเหล่านี้อยู่ในราคเปยยาล พระผู้มีพระภาคตรัสโดยเทียบเคียงกับ โอปัมมสูตร ทรงประสงค์ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ อภิญญา(รู้ยิ่ง) ปริญญา(การกำหนดรู้) ปริกขยา(ความสิ้น) ปหานะ(การละ) ขยะ(ความสิ้นไป) วยะ(ความเสื่อมไป) วิราคะ(ความคลายไป) นิโรธะ(ความดับไป) จาคะ(ความสละ) ปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน) และทรงกำหนดธรรม ๓ ประการ คือ (๑) สุญญตะ (ความว่าง) (๒) อนิมิตตะ(ธรรมไม่มีนิมิต) (๓) อัปปณิหิตะ(ธรรมไม่มีความ ตั้งปรารถนา) มีสมาธิเป็นมูล แม้ในเปยยาลทั้งหมดแล
ติกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๑๑}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๔๐๑-๔๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=201              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7827&Z=11719                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=596              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=596&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6388              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=596&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6388                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i596-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i596-02-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i596-03-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-164.html https://suttacentral.net/an3.156-162/en/sujato https://suttacentral.net/an3.163-182/en/sujato https://suttacentral.net/an3.183-352/en/sujato https://suttacentral.net/an3.183-352/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :