ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
ธาตุกถา
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อุทเทส๑-
๑. นยมาติกา๒- (๑๔ นัย)
[๑] ๑. สงฺคโห อสงฺคโห สภาวธรรมที่สงเคราะห์๓- เข้าได้ สภาวธรรมที่ สงเคราะห์เข้าไม่ได้ (๖-๑๗๐) ๒. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับสภาวธรรมที่ สงเคราะห์เข้าได้ (๑๗๑-๑๗๘) ๓. อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมที่ สงเคราะห์เข้าไม่ได้ (๑๗๙-๑๙๐) ๔. สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมที่ สงเคราะห์เข้าได้ (๑๙๑-๑๙๒) @เชิงอรรถ : @ อุทเทส คือ หัวข้อธรรมที่ท่านยกขึ้นไว้เป็นบทตั้ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑) @ นยมาติกา คือ หัวข้อธรรมที่กล่าวถึงการจำแนกขันธ์ ๕ เป็นต้น แบ่งออกเป็นนัยต่างๆ กัน มี ๑๔ นัย @เรียกมูลมาติกาก็ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑) @ สงเคราะห์ หมายถึง การรวบรวม การประมวล มี ๔ อย่าง คือ (๑) ชาติสงเคราะห์ (การรวบรวมสิ่งที่ @เสมอกันโดยชาติ) (๒) สัญชาติสงเคราะห์ (การรวบรวมสิ่งที่มีแหล่งเกิดจากที่เดียวกัน) (๓) กิริยาสงเคราะห์ @(การรวบรวมสิ่งที่มีการกระทำร่วมกัน) (๔) คณนสงเคราะห์ (การรวบรวมสิ่งที่มีจำนวนเท่ากัน) แต่ในที่นี้ @หมายเอาคณนสงเคราะห์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕/๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา อุทเทส ๑. นยมาติกา

๕. อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับสภาวธรรม ที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ (๑๙๓-๒๒๗) ๖. สมฺปโยโค วิปฺปโยโค สภาวธรรมที่สัมปยุต(ประกอบเข้าได้) สภาวธรรม ที่วิปปยุต(ประกอบเข้าไม่ได้) (๒๒๘-๓๐๕) ๗. สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสภาวธรรมที่สัมปยุต (๓๐๖-๓๑๖) ๘. วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่วิปปยุต (๓๑๗-๓๑๘) ๙. สมฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่สัมปยุต (๓๑๙-๓๕๒) ๑๐. วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสภาวธรรมที่วิปปยุต (๓๕๓-๔๐๘) ๑๑. สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้สัมปยุต และวิปปยุต(จากขันธ์ อายตนะ และธาตุ) (๔๐๙-๔๑๖) ๑๒. สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ สภาวธรรมที่สัมปยุตสงเคราะห์เข้าได้ และสงเคราะห์เข้าไม่ได้(กับขันธ์ อายตนะ และธาตุ) (๔๑๗-๔๔๗) ๑๓. อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ สัมปยุตและวิปปยุต(จากขันธ์ อายตนะ และธาตุ) (๔๔๘-๔๕๕) ๑๔. วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ สภาวธรรมที่วิปปยุตสงเคราะห์เข้า ได้และสงเคราะห์เข้าไม่ได้(กับขันธ์ อายตนะ และธาตุ) (๔๕๖-๕๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา อุทเทส ๒. อัพภันตรมาติกา

๒. อัพภันตรมาติกา๑- (๒๒ นัย)
[๒] ๑. ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ๕ ๒. ทฺวาทสายตนานิ อายตนะ ๑๒ ๓. อฏฺฐารส ธาตุโย ธาตุ ๑๘ ๔. จตฺตาริ สจฺจานิ สัจจะ ๔ ๕. พาวีสตินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๒๒ ๖. ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ปฏิจจสมุปบาท ๗. จตฺตาโร สติปฏฺฐานา สติปัฏฐาน ๔ ๘. จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา สัมมัปปธาน ๔ ๙. จตฺตาโร อิทฺธิปาทา อิทธิบาท ๔ ๑๐. จตฺตาริ ฌานานิ ฌาน ๔ ๑๑. จตสฺโส อปฺปมญฺญาโย อัปปมัญญา ๔ ๑๒. ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕ ๑๓. ปญฺจ พลานิ พละ ๕ ๑๔. สตฺต โพชฺฌงฺคา โพชฌงค์ ๗ ๑๕. อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค อริยมรรคมีองค์ ๘ ๑๖. ผสฺโส ผัสสะ ๑๗. เวทนา เวทนา ๑๘. สญฺญา สัญญา ๑๙. เจตนา เจตนา ๒๐. จิตฺตํ จิต ๒๑. อธิโมกฺโข อธิโมกข์ ๒๒. มนสิกาโร มนสิการ @เชิงอรรถ : @ อัพภันตรมาติกา คือ หัวข้อสภาวธรรม ๑๒๕ บทมีขันธ์ ๕ เป็นต้นของคัมภีร์ธาตุกถา แต่ที่พระผู้มี @พระภาคทรงยกขึ้นแสดงตามนัยทั้ง ๑๔ มีจำนวน ๑๐๕ บท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปกิณณกมาติกาก็ได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา อุทเทส ๕. พาหิรมาติกา

๓. นยมุขมาติกา๑- (๔ นัย)
[๓] ๑. ตีหิ สงฺคโห สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้โดยสภาวธรรม ๓ ประการ ๒. ตีหิ อสงฺคโห สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยสภาวธรรม ๓ ประการ ๓. จตูหิ สมฺปโยโค สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนามขันธ์ ๔ ๔. จตูหิ วิปฺปโยโค สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนามขันธ์ ๔
๔. ลักขณมาติกา๒- (๒ ลักษณะ)
[๔] ๑. สภาโค สภาวธรรมที่มีส่วนเสมอกัน ๒. วิสภาโค สภาวธรรมที่มีส่วนไม่เสมอกัน
๕. พาหิรมาติกา๓-
[๕] ธัมมสังคณีแม้ทั้งหมดเป็นมาติกาแห่งธาตุกถา @เชิงอรรถ : @ นยมุขมาติกา คือหัวข้อธรรมที่ตั้งไว้เพื่อแสดงเป็นตัวอย่างได้ตามความเหมาะสมซึ่งมี ๑๔ นัย @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓/๒) @ ลักขณมาติกา คือหัวข้อธรรมที่มีการสงเคราะห์เข้าได้กับธรรมเหล่าอื่นที่มีลักษณะเหมือนกัน แต่ไม่มี @การสงเคราะห์เข้ากับธรรมที่มีลักษณะแตกต่างจากตน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔/๒) @ พาหิรมาติกา คือหัวข้อธรรมที่นำมาจากคัมภีร์อื่น นั่นคือ ธัมมสังคณี ได้แก่ จากติกมาติกา ๖๖ บท @และทุกมาติกา ๒๐๐ บท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕/๒-๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑-๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=36&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=36&A=1&Z=67                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=36&item=1&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=36&item=1&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :