ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ว่าด้วยพระโวหาร
[๓๔๗] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ ไม่กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกุตตระ รับรู้ไม่ได้ด้วย วิญญาณที่เป็นโลกิยะ พระอริยสาวกรับรู้ได้ แต่ปุถุชนรับรู้ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๘๗-๑๘๘) @ เพราะมีความเห็นว่า พระโวหารที่พระพุทธองค์ทรงใช้แสดงธรรมล้วนเป็นโลกุตตระ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๘๗-๑๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๑๐. โวหารกถา (๑๙)

สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับรู้ได้ด้วยโลกิยวิญญาณมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับรู้ได้ด้วยโลกิยวิญญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ” สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ปุถุชนก็รับรู้ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ปุถุชนก็รับรู้ได้ ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ” [๓๔๘] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คนบางพวกที่จะฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โลกุตตรธรรมรับรู้ได้ด้วยโสตะ กระทบที่โสตะ มาสู่คลองแห่งโสตะ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โลกุตตรธรรมรับรู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่ง โสตะมิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๑๐. โวหารกถา (๑๙)

สก. หากโลกุตตรธรรมรู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่ง โสตะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็น โลกุตตระ” [๓๔๙] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คนบางพวกที่จะพึงยินดีในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี เป็นที่ตั้งแห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด เป็นที่ตั้งแห่งความ ลุ่มหลงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด ไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด ไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ” สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๑๐. โวหารกถา (๑๙)

สก. คนบางพวกที่จะพึงขัดเคืองในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เป็นที่ตั้ง แห่งความกระทบกระเทือนใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือนใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือนใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ” สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คนบางพวกที่จะพึงหลงในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โลกุตตรธรรมที่เป็นที่ตั้งของโมหะ ทำความไม่รู้ ทำให้เป็นผู้ไม่มีจักษุ เป็นที่ปิดกั้นแห่งปัญญา เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานมิใช่หรือ ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ไม่ทำให้เป็นผู้ไม่มี จักษุ เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน มิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๑๐. โวหารกถา (๑๙)

สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ไม่ทำให้เป็นผู้ ไม่มีจักษุ เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ” [๓๕๐] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชน เหล่านั้นทั้งหมดเจริญมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชน เหล่านั้นทั้งหมดเจริญมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พาลปุถุชนฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชื่อว่าเจริญ มรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ ทำร้ายพระพุทธเจ้า จนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าอยู่ ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๕๑] ปร. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าทองชี้บอกได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกุตตระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๑๐. โวหารกถา (๑๙)

สก. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าต้นละหุ่งชี้บอกได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกิยะ [๓๕๒] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็ เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อตรัสโลกิยธรรม พระโวหารนั้นกระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัส โลกุตตรธรรม กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ชนทั้งหลายรับรู้ได้ ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็น โลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ปุถุชนรับรู้ได้ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม พระสาวก รับรู้ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส โลกิยธรรมก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรม ดังนั้น ท่าน จึงควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็ เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ” สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็เป็น โลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๑๑. นิโรธกถา (๒๐)

สก. เมื่อตรัสมรรคก็เป็นมรรค เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่มรรคก็เป็นสภาวธรรม ที่มิใช่มรรค เมื่อตรัสผลก็เป็นผล เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่ผลก็เป็นสภาวธรรมที่ มิใช่ผล เมื่อตรัสนิพพานก็เป็นนิพพาน เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่นิพพานก็เป็น สภาวธรรมที่มิใช่นิพพาน เมื่อตรัสสังขตธรรมก็เป็นสังขตธรรม เมื่อตรัสอสังขตธรรม ก็เป็นอสังขตธรรม เมื่อตรัสรูปก็เป็นรูป เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่รูปก็เป็นสภาว- ธรรมที่มิใช่รูป เมื่อตรัสเวทนาก็เป็นเวทนา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่เวทนาก็เป็น สภาวธรรมที่มิใช่เวทนา เมื่อตรัสสัญญาก็เป็นสัญญา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่ สัญญาก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สัญญา เมื่อตรัสสังขารก็เป็นสังขาร เมื่อตรัสสภาว- ธรรมที่มิใช่สังขารก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สังขาร เมื่อตรัสวิญญาณก็เป็นวิญญาณ เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โวหารกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๒๙-๓๓๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=39              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=7204&Z=7346                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=671              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=671&items=20              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4211              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=671&items=20              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4211                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv2.10/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :