ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ภิกขุวิภังค์
โสฬสมหาวาร ตอน ๑
๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาราชิกกัณฑ์
[๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็น พระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อ ปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ใครทรง เอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พระสุทินกลันทบุตรเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยา ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน บัญญัติอยู่หรือ ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ ไม่มีอนุปปันนบัญญัติ ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ตอบ : มีสาธารณบัญญัติ ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีอุภโตบัญญัติ ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัด เข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส ถาม : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน ตอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสที่ ๒ ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน ตอบ : เป็นสีลวิบัติ ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิก ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์ ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนก๑- เป็นอภิวินัย ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็น อธิปาติโมกข์ @เชิงอรรถ : @ การจำแนก หมายถึงบทภาชนีย์,สิกขาบทวิภังค์ (วิ.อ. ๓/๒/๔๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์ ถาม : อะไรเป็นวิบัติ ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ ถาม : อะไรเป็นสมบัติ ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ ตอบ : การที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีล๑- ตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำกรรม อย่างนี้อีก” แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ ถาม : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจ ประโยชน์เท่าไร ตอบ : ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย @เชิงอรรถ : @ อาปาณโกฏิกศีล หมายถึงศีลที่สมาทานแล้วประพฤติตามนั้นจนตลอดชีวิต (วิสุทฺธิ. ๑/๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ถาม : ใครศึกษาอยู่ ตอบ : ภิกษุผู้เป็นพระเสขะและกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่ ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว ตอบ : พระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล(บุคคลผู้ใคร่ศึกษา) ถาม : ใครทรงเอาไว้ ตอบ : พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ได้ทรงเอาไว้ ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถาม : ใครนำมา ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
[๓] พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป เป็นผู้นำพระวินัยสืบๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ และพระภัททบัณฑิต เดินทางจากชมพูทวีปมาที่เกาะสิงหลนี้ ท่านเหล่านั้นสอนพระวินัยปิฎกที่เกาะตามพปัณณิ สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗ จากนั้นพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตบัณฑิต พระกาฬสุมนะ ผู้เชี่ยวชาญ พระทีฆเถระ และพระทีฆสุมนบัณฑิต ต่อมา พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ พระติสสเถระผู้มีปัญญา และพระเทวเถระผู้เป็นบัณฑิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระจูฬนาคะเป็นพหูสูต ดุจช้างซับมัน พระธัมมปาลิตะ เป็นผู้อันสาธุชนในโรหนชนบทพากันบูชาเป็นอย่างดี ศิษย์ของพระธัมมปาลิตะนั้น มีปัญญามากชื่อว่าเขมะ ทรงจำพระไตรปิฎกได้รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองอยู่ พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญา พระมหาปทุมะ๑- เป็นพหูสูต พระมหาสีวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด ต่อมา พระอุบาลีผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย พระมหานาคะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม ต่อมา พระอภยะผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด พระติสสเถระผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย พระสุมนา๒- มีปัญญามากผู้เป็นศิษย์ของพระติสสเถระนั้น เป็นพหูสูต รักษาพระศาสนาต่อกันมาอยู่ในชมพูทวีป พระจูฬาภยะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระติสสเถระผู้มีปัญญาฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม พระจูฬเทวะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย และพระสิวเถระผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งหมด @เชิงอรรถ : @ พระมหาปทุมะ แปลมาจากคำว่า “ปุปฺผนาโม” ซึ่งตามตัวอักษรแปลว่า “พระเถระชื่อว่าบุปผา” ในที่นี้ @พระธรรมสังคาหกาจารย์ท่านใช้คำปริศนาให้นึกเดา ปุปฺผ ดอกไม้ หมายถึงดอกปทุม คือเป็นคำแทนชื่อ @พระมหาปทุมะนั่นเอง (วชิร.ฏีกา ๓๕, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๑๘๖, วิมติ.ฏีกา ๑/๔๑) @ พระสุมนะ แปลมาจากคำว่า “ปุปฺผนาโม (ปุสฺสนาโม)” ท่านใช้คำปริศนาอีกเช่นกัน (สารตฺถ.ฏีกา ๑/๑๘๖, @วิมติ.ฏีกา ๑/๔๑) ดุจคำว่า “ชลชุตฺตมนามโก” (ขุ.อป. ๓๒/๒๘/๘๐, ขุ.อป. ๓๓/๓๔/๑๐๖, ๑๐๕/๒๗๒) @หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า “ปทุมุตตระ” (ขุ.อป.อ. ๒/๒๘/๗, ๒/๑๘๓/๓๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์ ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพระธนิยกุมภการบุตร ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พระธนิยกุมภการบุตร ถือเอาไม้ของหลวงที่ยังไม่ได้ พระราชทาน ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี อนุปปันนบัญญัติ ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่ เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจา กับจิต ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
[๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป ฆ่ากันและกัน ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี อนุปปันนบัญญัติ ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่ เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับ จิต ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม ของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี อนุปปันนบัญญัติ ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์

รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม ปาราชิก ๔ สิกขาบทเหล่านี้เป็นมูลแห่งการตัดขาด (ขาดจากความเป็นภิกษุ) อย่างไม่ต้องสงสัย


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๑-๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=1&Z=149                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=9420              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=9420                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :