ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๑๘๒.

๖. ปาฏลิคามิยสูตร
[๑๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงปาฏลิคาม อุบาสก (และอุบาสิกา) ชาวปาฏลิคามได้ สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ ใหญ่ เสด็จไปถึงปาฏลิคามแล้ว ลำดับนั้นแล อุบาสกชาวปาฏลิคามพากันเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค ทรงรับเรือนสำหรับพักของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับโดย ดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล อุบาสกชาวปาฏลิคาม ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังเรือน สำหรับพัก ครั้นแล้วลาดเครื่องลาดทั้งปวง ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตาม ประทีปน้ำมันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรือนสำหรับพัก ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดแล้ว ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตาม ประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคทรงสำคัญกาลอันควรเถิด ครั้งนั้น แล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เสด็จถึงเรือน สำหรับพัก พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท เสด็จเข้าไปยังเรือน สำหรับพัก ประทับนังพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา แม้ภิกษุสงฆ์ล้าง เท้าแล้ว เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหลังผินหน้าไปทางทิศบูรพา แวด ล้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ แม้อุบาสกชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังเรือน สำหรับพัก นั่งพิงฝาด้านหน้าผินหน้าไปทางทิศประจิม แวดล้อมพระผู้มี- *พระภาคอยู่ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๓.

[๑๗๐] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะอุบาสกชาวปาฏลิคามว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะ- *ใหญ่เพราะความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการ ที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันลามกของบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจรไป แล้ว นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใด คือ ขัตติย- *บริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมไม่แกล้ว กล้า เก้อเขินเข้าไปหา นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๕ ดูกร คฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประการนี้แล ฯ ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีศีลผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมได้กองแห่งโภคะใหญ่เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีล- *สมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด คือ ขัตติย- *บริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมเป็นผู้แกล้ว กล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มี ศีลประการที่ ๓ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๔.

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลง ใหลกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๕ ดูกรคฤหบดี ทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕ ประการนี้แล ฯ [๑๗๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกชาวปาฏลิคาม เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา สิ้นราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ราตรีล่วงไปแล้ว ท่าน ทั้งหลายจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ลำดับนั้น อุบาสกชาวปาฏลิคาม ทั้งหลายชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี- *พระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้น เมื่ออุบาสกชาวปาฏลิคาม หลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปยังสุญญาคาร ฯ [๑๗๒] ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ในแคว้นมคธชื่อสุนีธะและ วัสสการะ จะสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ก็สมัยนั้นแล เทวดาเป็นอันมากแบ่งเป็นพวกละพัน ย่อมรักษาพื้นที่ในปาฏลิคาม เทวดาผู้มีศักดิ์ ใหญ่รักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาผู้มีศักดิ์ปานกลางรักษาพื้นที่ อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ปานกลาง ย่อม น้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ใน ประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อ จะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นเป็น จำนวนพันๆ รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ มนุษย์ คือ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ... เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๕.

ในประเทศนั้น ครั้งนั้น เมื่อปัจจุสสมัยแห่งราตรีนั้นตั้งขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสถาม ท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม ท่านพระ- *อานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อ สุนีธะและวัสสการะจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอานนท์ มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ประหนึ่งว่าปรึกษากับ เทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วสร้างเมืองฉะนั้น ดูกรอานนท์ เราได้เห็นเทวดาเป็น จำนวนมากแบ่งเป็นพวกละพัน รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ณ ตำบลนี้ คือ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ... เทวดาผู้ มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ดูกรอานนท์ เมืองนี้จักเป็น เมืองเลิศแห่งที่ประชุมของเหล่ามนุษย์ผู้เป็นอริยะ และเป็นทางค้าขาย เป็นที่แก้ ห่อสินค้า อันตราย ๓ อย่างจักมีแก่เมืองปาฏลิคาม จากไฟ ๑ จากน้ำ ๑ จาก ความแตกแห่งกันและกัน ๑ ฯ [๑๗๓] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและ วัสสการะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตของข้าพระองค์ทั้งหลาย เพื่อเสวยในวันนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับ นิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและ วัสสการะ ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วเข้าไปยังที่พักของตน ครั้น แล้วสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีตในที่พักของตน แล้วกราบทูล ภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตเสร็จแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๖.

ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้า ไปยังที่พักของมหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดถวาย ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุขด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ให้อิ่มหนำสำราญด้วยมือของตน ครั้ง นั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว มหา- *อำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่ง อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนากะมหาอำมาตย์ในแว่น แคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะผู้นั่งอยู่แล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วย พระคาถาเหล่านี้ว่า บุรุษชาติบัณฑิต ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศใด พึงเชิญ ท่านผู้มีศีล สำรวมแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริโภค ในประเทศนั้น ควรอุทิศทักษิณาทานเพื่อเทวดาผู้สถิตอยู่ ในที่นั้นๆ เทวดาเหล่านั้นอันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือ บูชา ย่อมนับถือบูชาบุรุษชาติบัณฑิตนั้น แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์ บุรุษชาติบัณฑิตนั้น ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตรแล้วก็ย่อม เห็นความเจริญทุกเมื่อ ฯ [๑๗๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทรงอนุโมทนาแก่มหาอำมาตย์ใน แว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจาก อาสนะหลีกไป ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและ วัสสการะ ติดตามพระผู้มีพระภาคไปข้างหลังๆ ด้วยตั้งใจว่า วันนี้ พระสมณ- *โคดมจักเสด็จออกโดยประตูใด ประตูนั้นจักชื่อว่าโคตมประตู จักเสด็จข้ามแม่น้ำ คงคาโดยท่าใด ท่านั้นจักชื่อว่าโคตมติฏฐะ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จ ออกประตูใด ประตูนั้นชื่อว่าโคตมประตู พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังแม่น้ำคงคา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๗.

ก็สมัยนั้นแล แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำเต็มเปี่ยมพอกาดื่มกินได้ มนุษย์บางจำพวก แสวงหาเรือ บางพวกแสวงหาพ่วง บางพวกผูกแพต้องการจะข้ามไปฝั่งโน้น ครั้ง นั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ไปปรากฏอยู่ที่ฝั่งโน้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นมนุษย์เหล่านั้นบางพวกแสวงหาเรือ บางพวก แสวงหาพ่วง บางพวกผูกแพ ต้องการจะข้ามไปฝั่งโน้น ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทาน นี้ในเวลานั้นว่า ชนเหล่าใดจะข้ามห้วงน้ำ คือ สงสาร และสระ คือ ตัณหา ชนเหล่านั้นกระทำสะพาน คือ อริยมรรค ไม่แตะต้อง เปือกตมคือกามทั้งหลายจึงข้ามสถานที่ลุ่มอันเต็มด้วยน้ำได้ ก็ ชนแม้ต้องการจะข้ามน้ำมีประมาณน้อย ก็ต้องผูกแพ ส่วน พระพุทธเจ้า และพุทธสาวกทั้งหลายเป็นผู้มีปัญญา เว้น จากแพก็ข้ามได้ ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๔๑๔๕-๔๒๗๙ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=4145&Z=4279&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=111              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=169              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [169-174] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=169&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=9729              The Pali Tipitaka in Roman :- [169-174] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=169&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=9729              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.8.06.than.html https://suttacentral.net/ud8.6/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud8.6/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :