ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องพระอุปนนท์
[๑๖๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนนทศากยบุตร จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้ไปอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน ภิกษุ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๗๗.

เหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วน แบ่งไหม ขอรับ ท่านพระอุปนนท์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วน จีวรแต่อาวาสนั้นไปวัดอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นก็ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน และ พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ท่านพระอุปนนท์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาส นั้นไปวัดอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นก็ปรารถนาจะแบ่งจีวรจึงประชุมกัน และก็พูดอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ท่าน พระอุปนนท์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับจีวรแต่อาวาสแม้นั้น ถือจีวร ห่อใหญ่กลับมาพระนครสาวัตถีตามเดิม. ภิกษุทั้งหลายชมเชยอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้าอุปนนท์ ท่านเป็นผู้มีบุญมาก จีวรจึงเกิดขึ้น แก่ท่านมากมาย. อุป. อาวุโสทั้งหลาย บุญของผมที่ไหน ผมจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถีนี้ ได้ไป อาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง พวกภิกษุในวัดนั้น ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน พวกเธอกล่าว กะผมอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสนั้นไปวัดอื่น แม้ภิกษุในวัดนั้น ก็ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน และพวกเธอก็ได้กล่าวกะผมอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่งจีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสนั้น ไปวัดอื่น แม้ภิกษุในวัดนั้น ก็ปรารถนาจะแบ่งจีวร จึงประชุมกัน และกล่าวกะผมอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุทั้งหลายจักแบ่ง จีวรของสงฆ์เหล่านี้แล ท่านจักยินดีส่วนแบ่งไหม ขอรับ ผมตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมยินดี ขอรับ แล้วได้รับส่วนจีวรแต่อาวาสแม้นั้น เพราะอย่างนี้ จีวรจึงเกิดขึ้นแก่ผมมากมาย. ภิ. พระคุณเจ้าอุปนนท์ ท่านจำพรรษาในวัดหนึ่ง แล้วยังยินดีส่วนจีวรในอีกวัด หนึ่งหรือ?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๗๘.

อุป. อย่างนั้น ขอรับ. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระ อุปนนทศากยบุตร จำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว จึงได้ยินดีส่วนจีวรในอีกวัดหนึ่งเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนนท์ว่า ดูกรอุปนนท์ ข่าวว่าเธอจำพรรษาในวัด หนึ่งแล้ว ยินดีส่วนจีวรในอีกวัดหนึ่ง จริงหรือ? ท่านพระอุปนนท์ทูลรับว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ไฉน จึงได้ยินดีส่วนจีวรในอีกวัดหนึ่งเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ จำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ไม่พึงยินดีส่วนจีวรในวัดอื่น รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ท่านพระอุปนนทศากยบุตร รูปเดียวจำพรรษาอยู่สองวัด ด้วยคิดว่าโดยวิธี อย่างนี้ จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามาก ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า พวกเราจักให้ส่วน จีวรแก่ท่านพระอุปนนทศากยบุตรอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสแนะว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงให้ส่วนแก่โมฆบุรุษส่วนเดียว. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ภิกษุรูปเดียว จำพรรษาอยู่ ๒ วัด ด้วยคิดว่าโดยวิธีอย่างนี้ จีวร จักเกิดขึ้นแก่เรามาก ถ้าภิกษุจำพรรษาในวัดโน้นกึ่งหนึ่ง วัดโน้นกึ่งหนึ่ง พึงให้ส่วนจีวรในวัด โน้นกึ่งหนึ่ง วัดโน้นกึ่งหนึ่ง หรือจำพรรษาในวัดใดมากกว่า พึงให้ส่วนจีวรในวัดนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๔๓๑๓-๔๓๕๖ หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4313&Z=4356&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=44              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=165              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [165] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=165&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4990              The Pali Tipitaka in Roman :- [165] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=5&item=165&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4990              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:25.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.24.6

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :