พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์


: ค้นหาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :


417 พระพุทธเจ้ากับการบำเพ็ญตบะ

ปัญหา นายบ้านชื่อราสิยะทูลถามพระพุทธองค์ว่ามีผู้กล่าวหาว่าพระพุทธเจ้าทรงตำหนิการบำเพ็ญตบะทุกชนิด จริงหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนนายคามณี ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง ด่าว่าก้าวร้าวผู้บำเพ็ญตบะ ผู้ดำรงชีพอย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียวดังนี้ ชนเหล่านั้นไม่เป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวและกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ คำไม่จริง
“ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก คือ บุคคลผู้มีตบะ.... บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ถ้ากระไรเราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์อันนี้ เขาย่อมทรมานตนเอง ย่อมทำตัวเองให้เร่าร้อน แต่ก็ไม่บรรลุกุศลธรรม ไม่ทำให้แจ้งซึ่งอุตรมนุสธรรม (คนประเภทนี้) พึงถูกติเตียน โดย ๓ สถาน คือ สถานที่ ๑... ทรมานตนเองให้ลำบาก สถานที่ ๒... ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๓.... ไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนรุสธรรม...
“ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ บางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิต ทรมานตนเอง บรรลุกุศลอย่างเดียว ไม่ได้กระทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม (คนประเภทนี้) ควรถูกติเตียน โดย ๒ สถาน คือ สถานที่ ๑... ทรมานตนเองให้ลำบาก สถานที่ ๒...ไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนรุสธรรม... ควรได้รับสรรเสริญสถานเดียว คือ ได้บรรลุกุศลธรรม
“ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ บางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิต ทรมานตนเอง ได้บรรลุกุศลอย่างเดียว และทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม (คนประเภทนี้) พึงถูกตำหนิ โดยสถานเดียว คือ ทำตัวให้เร่าร้อนกระวนกระวาย ควรได้รับสรรเสริญ โดย ๒ สถาน คือ ได้บรรลุกุศลธรรมและกระทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมได้
“ดูก่อนนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้เป็นธรรมเนื่องในปัจจุบัน อันวิญญูชนพึงเห็นเอง คือการที่บุคคลมีใจกำหนัด การที่บุคคลถูกความโกรธประทุษร้ายแล้ว การที่บุคคลหลงมัวเมาแล้วตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบาง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะราคะเป็นเหตุ เพราะโทสะเป็นเหตุ เพราะโมหะเป็นแหตุ เมื่อละราคา โทสะ โมหะได้แล้ว ย่อมตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น นี้เป็นธรรมเนื่องด้วยปัจจุบัน อันวิญญูชนพึงเห็นเอง....”

ราสิยสูตร สฬา. สํ. (๖๔๔-๖๔๘)
ตบ. ๑๘ : ๔๑๕-๔๑๘ ตท. ๑๘ : ๓๖๗-๓๖๙
ตอ. K.S. ๔ : ๒๔๑-๒๔๔

<หน้าก่อน<<< สารบัญ >>>หน้าถัดไป>

:: อธิบายอักษรย่อแหล่งอ้างอิง ::
:: ค้นหาความหมายของศัพท์ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ::


: ถ้าหน้านี้มีการพิมพ์ผิดขอความกรุณาส่งข้อความถึง webmaster :
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;