ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 173อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 182อ่านอรรถกถา 2 / 197อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๒

               มุสาวาทวรรค โอมลวาทสิกขาบทที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

               [แก้อรรถเรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์และโคนันทิวิสาล]               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอมสนฺติ คือ ย่อมกล่าวเสียดแทง.
               บทว่า ขุํสนฺติ คือ ย่อมด่า.
               บทว่า วมฺเภนฺติ คือ ย่อมขู่กรรโชก.
               ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องนี้มาแสดงเพื่อทรงตำหนิการกล่าวเสียดแทง.
               คำว่า นนฺทิ ในคำว่า นนฺทิวิสาโล นาม (นี้) เป็นชื่อของโคถึกนั้น.
               ก็โคถึกนั้นมีเขายาวใหญ่ เพราะเหตุนั้น เจ้าของจึงตั้งชื่อว่า นันทิวิสาล. โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เป็นโคถึกชื่อนันทิวิสาล. พราหมณ์เลี้ยงดูโคถึกนั้นอย่างดีเหลือเกิน ด้วยอาหารมียาคูและข้าวสวยเป็นต้น. ครั้งนั้น โคนันทิวิสาลนั้น เมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์ จึงกล่าวคำว่า เชิญท่านไปเถิด ดังนี้เป็นต้น.
               สองบทว่า ตตฺเถวอฏฺฐาสิ มีความว่า แม้ในกาลแห่งอเหตุกปฏิสนธิ โคนันทิวิสาลย่อมรู้จักคำกล่าวเสียดแทงของผู้อื่นได้ โดยเป็นคำไม่เป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น มันใคร่เพื่อแสดงโทษแก่พราหมณ์ จึงได้ยืนนิ่งอยู่.
               หลายบทว่า สกฏสตํ อติพทฺธํ ปวฏฺเฏสิ มีความว่า พระโพธิสัตว์ เมื่อจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่จอดไว้ตามลำดับสอดไม้ไว้ภายใต้ กระทำให้ต่อเนื่องกันอันบรรทุกเต็มด้วยถั่วเขียว ถั่วเหลืองและทรายเป็นต้น. เกวียน ๑๐๐ เล่ม เป็นของอันตนจะต้องลากไปอีก ในเมื่อกำถึงส่วนของกำแรกตั้งอยู่ก่อนแล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น (พระโพธิสัตว์) ก็ได้ลากไปตลอดที่ประมาณชั่ว ๑๐๐ เล่มเกวียน เพื่อให้เกวียนเล่มหลังจอดในที่เกวียนเล่มหน้าจอดอยู่.
               จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่มีการกระทำที่ย่อหย่อน.
               บาทคาถาว่า เตน จตฺตมโน อหุ มีความว่า โคนันทิวิสาลนั้นมีใจเบิกบาน เพราะการได้ทรัพย์นั้นของพราหมณ์ และเพราะการงานของตน.
               ก็ในคำว่า อกฺโกเสนปิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกไว้ข้างหน้าว่า คำด่ามี ๒ อย่าง คือคำด่าที่เลว ๑ คำด่าที่ดี ๑ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในก่อนว่า ย่อมด่าด้วยคำที่เลวบ้าง ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อกฺโกเสน (โดยคำสบประมาท) ดังนี้.

               [แก้อรรถโอมสวาทเป็นต้น]               
               ชาติแห่งคนการช่างถากไม้ชื่อว่า เวณชาติ.
               อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เวฬุการชาติ ดังนี้ก็มี.
               ชาติแห่งพรานเนื้อเป็นต้น ชื่อว่า เนสาทชาติ.
               ชาติแห่งคนการช่างทำหนัง ชื่อว่า รถการชาติ (ชาติแห่งคนทำรถ).
               ชาติแห่งคนเทดอกไม้ ชื่อว่า ปุกฺกุสชาติ.
               คำว่า อวกณฺณกา เป็นชื่อของพวกทาส เพราะฉะนั้น จึงเป็นคำเลว.
               บทว่า โอญาตํ แปลว่า ที่เขาเย้ยหยัน.
               ภิกษุบางพวกสวดว่า อุญฺญาตํ ดังนี้ก็มี.
               บทว่า อวญฺญาตํ แปลว่า ที่เขาเหยียดหยาม.
               บทว่า หีฬิตํ แปลว่า ที่เขาเกลียดชัง.
               บทว่า ปริภูตํ แปลว่า ที่เขาดูหมิ่นว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยคนนี้.
               บทว่า อจิตีกตํ แปลว่า ที่เขาไม่กระทำความเคารพยกย่อง.
               การงานช่างไม้ ชื่อว่า โกฏฐกกรรม. นิ้วหัวแม่มือ ชื่อว่า มุทธา (วิชาการช่างนับ). การนับที่เหลือมีการนับไม่ขาดสายเป็นต้น ชื่อว่า คณนา (วิชาการช่างคำนวณ). อักษรเลข ชื่อว่า เลขา (วิชาการช่างเขียน). โรคเบาหวาน ท่านเรียกว่า โรคอุกฤษฏ์ เพราะไม่มีเวทนา.
               บทว่า ปาฏิกงฺขา แปลว่า พึงปรารถนา.
               สองบทว่า ยกาเรน วา ภกาเรน วา มีความว่า คำด่าที่ประกอบ อักษร และ อักษร (ชื่อว่า เป็นคำด่าที่เลว).
               ในคำว่า กาฏโกฏจิกาย วา (นี้) นิมิตแห่งบุรุษชื่อว่า กาฏะ นิมิตแห่งสตรีชื่อว่า โกฏจิกา. คำด่าที่ประกอบด้วยบททั้งสองนั่นอันใด คำด่านั่นชื่อว่า เลวแล.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกอาบัติขึ้นปรับ ด้วยอำนาจแห่งชนิดของอักโกสวัตถุมีชาติเป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อุปสมฺปนฺโน อุปสมฺปนฺนํ ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น สามบทว่า ขุํเสตุกาโม วมฺเภตุกาโม มงฺกุกตฺตุกาโม มีความว่า ผู้ประสงค์จะด่า ประสงค์จะติเตียน ประสงค์จะทำให้อัปยศ.
               สองบทว่า หีเนน หีนํ ได้แก่ ด้วยคำกล่าวถึงชาติอันเลว คือด้วยชาติที่เลว.
               บัณฑิตพึงทราบอรรถในบททั้งปวง โดยอุบายอย่างนี้.
               อนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ภิกษุ เมื่อกล่าวให้เลวด้วยถ้อยคำอันเลว ถึงจะกล่าวคำจริงก็ตาม ถึงอย่างนั้น เธอก็ต้องปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด เพราะเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดแทง. และเมื่อกล่าวให้เป็นคนเลวด้วยคำที่ดี แม้จะกล่าวคำไม่จริงก็ตาม.
               ถึงอย่างนั้น ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้ เพราะเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดสี ไม่ใช่ด้วยสิกขาบทก่อน. ฝ่ายภิกษุใดกล่าวคำเป็นต้นว่า เจ้าเป็นจัณฑาลดี เจ้าเป็นพราหมณ์ดี เจ้าเป็นจัณฑาลชั่ว เจ้าเป็นพราหมณ์ชั่ว ดังนี้, แม้ภิกษุนั้น พระวินัยธรพึงปรับด้วยอาบัติเหมือนกัน.
               ก็ในวาระว่า สนฺติ อิเธกจฺเจ เป็นต้นนี้ เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะเป็นคำกล่าวกระทบกระทั่ง. แม้ในวาระว่า เย-นูน-น-มยํ ดังนี้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               แต่ในอนุปสัมบันเป็นทุกกฏอย่างเดียว ในวาระทั้ง ๔.
               แต่ด้วยคำว่า โจโรสิ คณฺฐิเภทโกสิ (เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนทำลายปม) เป็นต้น ทุกๆ วาระเป็นทุกกฏเหมือนกัน ทั้งอุปสัมบันทั้งอนุปสัมบัน.
               อนึ่ง เพราะความประสงค์จะเล่น เป็นทุพภาษิตทุกๆ วาระ ทั้งอุปสัมบัน ทั้งอนุปสัมบัน. ความเป็นผู้มีความประสงค์ในอันล้อเลียนและหัวเราะ ชื่อว่าความเป็นผู้มีความประสงค์จะเล่น.
               ก็ในสิกขาบทนี้ เว้นภิกษุเสีย สัตว์ทั้งหมดมีนางภิกษุณีเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอนุปสัมบัน.
               ในคำว่า อตฺถปุเรกฺขารสฺส เป็นต้น พึงทราบว่า ภิกษุผู้กล่าวอรรถแห่งพระบาลี ชื่อว่า อัตถปุเรกขาระ (ผู้มุ่งอรรถ). ผู้บอกสอนพระบาลี พึงทราบว่า ธัมมปุเรกขาระ (ผู้มุ่งธรรม). ผู้ตั้งอยู่ในการพร่ำสอน กล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า ถึงบัดนี้ เจ้าเป็นคนจัณฑาล, เจ้าก็อย่าได้ทำบาป, อย่าได้เป็นคนมีมืดมามืดไปเป็นเบื้องหน้า ดังนี้. พึงทราบว่า ชื่อว่า อนุสาสนีปุเรกขาระ (ผู้มุ่งสอน).
               บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ฉะนี้แล.
               แต่ในอาบัติเหล่านี้ อาบัติทุพภาษิต เกิดทางวาจากับจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตกะ อกุศลจิต มีเวทนา ๒ คือ สุขเวทนา ๑ อุเปกขาเวทนา ๑.

               โอมสวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 173อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 182อ่านอรรถกถา 2 / 197อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=4906&Z=5021
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6032
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6032
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :