![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() [แก้อรรถเวหาสกุฎีและกิริยานั่งทับ] คำว่า มญฺจํ สหสา อภินิสีทติ ได้แก่ นั่งทับ คือ นั่งคร่อมเตียงโดยแรง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มญฺจํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. ความว่า นั่งลงบนเตียง. ก็คำว่า อภิ นี้เป็นเพียงอุปสรรค เพื่อทำให้บทสวยงามเท่านั้น. บทว่า ปติตฺวา คือ ตกลงหรือหลุดออกแล้ว. เพราะว่า ในเบื้องบนของเท้าเตียงนั้น แม้สลักก็ไม่ใส่ เพราะฉะนั้น, เท้าเตียงจึงหลุดออก. บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือ ได้ทำเสียงร้องครวญครางผิดรูป. คำว่า เวหาสกุฏี นาม มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส อสีสฆฏฺฏา มีความว่า กุฎีใดไม่กระทบศีรษะแห่งบุรุษผู้มีขนาดปานกลาง ด้วยขื่อที่ต่ำกว่าเขาทั้งหมด, (กุฎีนั้น ชื่อว่า เวหาสกุฎี). ด้วยคำนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวหาสกุฎีที่ทรงประสงค์แล้วในสิกขาบทนี้. (แต่) หาได้ทรงแสดงลักษณะของเวหาสกุฎีไว้ไม่. จริงอยู่ กุฎีมี ๒ ชั้นก็ดี กุฎีมี ๓ ชั้นเป็นต้นก็ดี ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเบื้องบนไม่ได้ปูพื้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า เวหาสกุฎี. แต่ในสิกขาบทนี้ประสงค์เอาเวหาสกุฎีที่ไม่กระทบศีรษะ. บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งอาบัติ ในการนั่งทับเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งประโยค โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล. บทว่า อเวหาสกุฏิยา มีความว่า ไม่เป็นอาบัติในศาลาใบไม้ที่เขาสร้างไว้บนพื้นดินเป็นต้น. เพราะว่า ไม่อาจเพื่อจะทำความเบียดเบียนแก่คนอื่นในกุฎีมีบรรณศาลาเป็นต้นนั้น. บทว่า สีสฆฏฺฏาย มีความว่า กุฎีใดกระทบศีรษะได้, ไม่เป็นอาบัติในกุฎีแม้นั้น. เพราะว่า ใครๆ ไม่ก้มตัวลงไม่อาจเพื่อจะเที่ยวไปในปราสาทชั้นล่าง (พื้นชั้นล่าง) ในกุฎีนั่นได้ ฉะนั้น จักไม่มีความเบียดเบียนแก่ผู้อื่น เพราะไม่ใช่สถานที่สัญจร. สามบทว่า เหฏฺฐา อปริโภคํ โหติ มีความว่า ภายใต้เป็นที่ใช้สอยไม่ได้ เพราะเก็บทัพสัมภาระเป็นต้น. แม้ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ. สองบทว่า ปทรสญฺจิตํ โหติ มีความว่า พื้นข้างบนกุฎีใดเขาปู แน่นทึบด้วยแผ่นกระดานไม้ก็ดี ทำการบริกรรมด้วยปูนขาวเป็นต้นก็ดี. แม้ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ. ข้อว่า ปฏฺฏาณิ ทินฺนา โหติ มีความว่า ได้ตรึงสลักไว้ที่ปลาย เท้าเตียงและตั่งเป็นต้น. แม้เมื่อภิกษุนั่งบนเตียงและตั่งใด, (เท้าเตียง) ไม่ตกลงมา, แม้ภิกษุผู้นั่งบนเตียงและตั่งเช่นนั้น ก็ไม่เป็นอาบัติ. ข้อว่า ตสฺมึ ฐิโต มีความว่า ภิกษุยืนบนเตียงและตั่งที่มีเท้าเสียบ (เข้าไว้ในตัวเตียงตั่ง) หยิบจีวรหรือวัตถุอะไรๆ ที่แขวนไว้บนไม้ฟันมังกรเป็นต้นข้างบน, หรือว่าจะแขวนวัตถุอื่น, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางกายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ ๘ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘ จบ. |