บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
คำว่า สีมาย เทติ เป็นอาทิ ตรัสโดยนัยปุคคลาธิษฐาน. ก็บรรดามาติกาเหล่านี้ การถวายแก่สีมาเป็นมาติกาที่ ๑, การถวายตามกติกาเป็นมาติกาที่ ๒, การถวายในที่ซึ่งตกแต่งภิกษาเป็นมาติกาที่ ๓, การถวายแก่สงฆ์เป็นมาติกาที่ ๔, การถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายเป็นมาติกาที่ ๕, การถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาเป็นมาติกาที่ ๖, การถวายจำเพาะเป็นมาติกาที่ ๗, การถวายแก่บุคคลเป็นมาติกาที่ ๘. วินิจฉัยในมาติกาเหล่านั้น พึงทราบดังนี้ :- เมื่อทายกถวายพาดพิงถึงสีมาอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สีมา ชื่อถวายแก่สีมา. ในมาติกาทั้งปวงก็นัยนี้แล. ถวายแก่สีมา ขัณฑสีมา อุปจารสีมา สมานสังวาสสีมา อวิปปวาสสีมา ลาภสีมา คามสีมา นิคมสีมา นครสีมา อัพภันตรสีมา อุทกุกเขปสีมา ชนปทสีมา รัฐสีมา รัชสีมา ทีปสีมา จักก บรรดาสีมาเหล่านั้น ขัณฑสีมา ได้กล่าวแล้วในสีมากถา. อุปจารสีมาเป็นแดนที่กำหนดด้วยเครื่องล้อมแห่งวัดที่ล้อม ด้วยที่ควรแก่การล้อมแห่งวัดที่ไม่ได้ล้อม. อีกอย่างหนึ่ง จากสถานที่ภิกษุประชุมกันเป็นนิตย์ หรือจากโรงฉัน แต่ในมหาปัจจรีแก้ว่า อุปจารสีมานั้น เมื่อภิกษุเพิ่มขึ้น ย่อมกว้างออก เนื่องด้วยลาภ, ถ้าภิกษุทั้งหลายนั่งเต็ม ๑๐๐ โยชน์ติดเนื่องเป็นหมู่เดียว กับพวกภิกษุผู้ประชุมในวัด. แม้ที่ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ย่อมเป็นอุปจารสีมาด้วย, ลาภย่อมถึงแก่ภิกษุทั่วกัน. แม้สมานสังวาสสีมาและอวิปปวาสสีมาทั้ง ๒ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ขึ้นชื่อว่า ลาภสีมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหาได้ทรงอนุญาตไม่, พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายก็ไม่ได้ตั้งไว้, ก็แต่ว่าพระราชาและมหาอมาตย์ของพระราชาให้สร้างวัดแล้ว กำหนดพื้นที่โดยรอบคาวุตหนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง ปักเสาจารึกชื่อว่า นี้เป็นลาภสีมาสำหรับวัดของเรา แล้วปักแดนไว้ว่า สิ่งใดเกิดขึ้นภายในเขตนี้, สิ่งนั้นทั้งหมด เราถวายแก่วัดของเรา นี้ชื่อว่า ลาภสีมา. ถึงคามสีมา นิคมสีมา นครสีมา อัพภัน ชนปทสีมา นั้น ชนบทเป็นอันมาก มีภายในแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น, ในชนบทเหล่านั้น แดนกำหนดแห่งชนบทอันหนึ่งๆ ชื่อชนปทสีมา. แดนกำหนดแห่งแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น ชื่อรัฐสีมา.๑- สถานเป็นที่เป็นไปแห่งอาณาของพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งๆ อย่างนี้ คือ พหิโภค โจลโภค เกรฏฺฐโภค ชื่อรัชสีมา. ____________________________ ๑- สทฺธมฺมปฺชโชติกา ปฐม ๑๖ ว่า รฏฐนฺติ ชนปเทกเทสํฯ ชนปโทติ กาสิโกสลาทิชนปโท? ถือเอาความว่า รัฐ เล็กกว่าชนบท ชนบทคือประเทศ. แต่ตามที่แก้ในที่นี้ กลับตรงกันข้าม จึงขอฝากนักศึกษาไว้ด้วย. เกาะใหญ่ และเกาะเล็ก ซึ่งกำหนดด้วยสมุทรเป็นที่สุด ชื่อทีปสีมา. แดนที่กำหนดด้วยภูเขาจักรวาลเท่านั้น ชื่อจักกวาฬสีมา. ในสีมาเหล่านี้ ที่กล่าวแล้วด้วยประการอย่างนี้ เมื่อทายกเห็นสงฆ์ประชุมกันในขัณฑ อนึ่ง จีวรที่ทายกถวายว่า ถวายแก่สงฆ์ในอุปจารสีมานี้ ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในขัณฑสีมาและสีมันตริก. ส่วนจีวรที่ทายกถวายว่า ถวายแก่สมานสังวาสสีมา ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในขัณฑ จีวรที่ทายกถวายในอวิปปวาสสีมา และลาภสีมา ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ร่วมในสีมาเหล่านั้น. ส่วนจีวรที่ทายกถวายในคามสีมาเป็นต้น ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในพัทธ จีวรที่ถวายในอัพภันตรสีมา และอุทกกุกเขปสีมา ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในสีมาเหล่านั้นเท่านั้น. ในชนปทสีมา รัฐสีมา รัชสีมา ทีปสีมา และจักกวาฬสีมา มีวินิจฉัยเช่นดังกล่าวแล้วในคามสีมาเป็นต้นนั่นแล. ก็ถ้าว่าทายกอยู่ในชมพูทวีป กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสงฆ์ในตามพปัณณิทวีป ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไปจากตามพปัณณิทวีป ย่อมได้เพื่อรับแทนภิกษุทั้งปวง. แม้หากว่า ภิกษุผู้ชอบพอกันรูปหนึ่งในชมพูทวีปนั้นเอง จะรับส่วนแทนภิกษุทั้งหลายที่ชอบพอกันไซร้, ไม่พึงห้ามเธอ. ในการถวายของทายกผู้ถวายของพาดพิงถึงสีมา พึงทราบวินิจฉัยอย่างนี้ก่อน. ฝ่ายทายกใดไม่เข้าใจที่จะพูดว่า ในสีมาโน้น รู้แต่เพียงคำว่า สีมา อย่างเดียวเท่านั้น มาวัดกล่าวว่า ถวายแก่สีมา หรือว่า ถวายสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในสีมา ดังนี้. พึงถามทายกนั้นว่า ขึ้นชื่อว่าสีมา มีหลายอย่าง, ท่านพูดหมายเอาสีมาอย่างไหน? ถ้าเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้จักว่า สีมาชนิดโน้นๆ สงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในสีมาจงแบ่งกันถือเอาเถิด ดังนี้. สงฆ์ในสีมาไหน จะพึงแบ่งกัน? ได้ยินว่า พระมหาสิวัตเถระกล่าวว่า สงฆ์ในอวิปปวาสสีมาพึงแบ่งกัน. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า ธรรมดาอวิปปวาสสีมา ประมาณตั้ง ๓ โยชน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน ๓ โยชน์จักรับลาภได้. ผู้ตั้งอยู่ใน ๓ โยชน์ จึงพึงบำเพ็ญอาคันตุกวัตรเข้าสู่อาราม, ผู้เตรียมจะไปจักเดินทาง ๓ โยชน์ จึงจักบอกมอบเสนา ถวายตามกติกา ในหลายอาวาสมีลาภเสมอกันนั้น พึงตั้งกติกาอย่างนี้ :- ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวิหารหนึ่ง ระบุชื่อวัดที่ตนมีประสงค์จะสงเคราะห์ ปรารถนาจะทำให้เป็นแดนมีลาภเสมอกัน กล่าวเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งว่า วัดโน้นเป็นวัดเก่า หรือว่า วัดโน้นเป็นที่พระพทุธเจ้าเคยอยู่ หรือว่า วัดโน้นมีลาภน้อย แล้วประกาศ ๓ ครั้งว่า การที่ทำวัดนั้นกับวัดแม้นี้ ให้เป็นแดนมีลาภอันเดียวกัน พอใจสงฆ์ ดังนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนั้น เธอย่อมเป็นเหมือนนั่งแล้วในวัดนี้, อันสงฆ์แม้ในวัดนั้น พึงทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุแม้นั่งแล้วในวัดนี้, เธอย่อมเป็นเหมือนผู้นั่งแล้วในวัดนั้น. เมื่อแบ่งลาภกันอยู่ในวัดหนึ่ง, อันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอีกวัดหนึ่ง สมควรได้รับส่วนแบ่งด้วย. วัดแม้มาก ก็พึงกระทำให้เป็นที่มีลาภอันเดียวกันกับวัดอันหนึ่งโดยอุบายอย่างนั้น. ถวายในที่ชึ่งตกแต่งภิกษา พึงทราบเนื้อความแห่งคำนั้นดังนี้ :- ภัตทานของสงฆ์ ซึ่งเป็นของทายกผู้ถวายจีวรนี้ เป็นไปในวัดใดก็ได้, ทายกทำภิกษุทั้งหลายในวัดใด ให้เป็นภาระของตน นิมนต์ให้ฉันในเรือนทุกเมื่อก็ดี, ในวัดใดเขาสร้างที่อยู่ไว้ก็ดี, ในวัดใดเขาถวายสลากภัตเป็นต้นเป็นนิตย์ก็ดี, แต่วัดแม้ทั้งสิ้นอันทายกใดสร้าง, ในวัดนั้น ของทายกนั้น ไม่มีคำที่จะพึงกล่าวเลย. ภัตบริจาคเหล่านี้ จัดเป็นภัตบริจาคประจำ, เพราะเหตุนั้น ถ้าเขากล่าวว่าภัตบริจาคประจำของข้าพเจ้ากระทำอยู่ในวัดใด, ข้าพเจ้าถวายในวัดนั้น หรือว่า ท่านจงให้ในวัดนั้น แม้หากว่า มีภัตบริจาคประจำในที่หลายแห่ง, จีวรนั้นเป็นอันเขาถวายทั่วทุกแห่งทีเดียว. ก็ถ้าว่า ในวัดหนึ่งมีภิกษุมากกว่า, ภิกษุเหล่านั้นพึงบอกว่า ในวัดที่มีภัตบริจาคเป็นประจำของพวกท่าน วัดหนึ่งมีภิกษุมาก วัดหนึ่งมีภิกษุน้อย. ถ้าหากเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาตามจำนวนภิกษุเถิด สมควรแบ่งถือเอาตามนั้น. ก็ในคำว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาตามจำนวนภิกษุเถิด นี้ ผ้าและเภสัชเป็นต้น แม้น้อย ย่อมแบ่งกันได้โดยง่าย. แต่ถ้าว่าเตียงหรือตั่งมีตัวเดียวเท่านั้น, พึงถามเขาแล้ว พึงให้สำหรับวัดหรือเสนาสนะแม้ในวัดหนึ่งที่เขาสั่ง ถ้าเขากล่าวว่า ภิกษุโน้นจงถือเอา ดังนี้ควรอยู่. หากว่าเขากล่าวว่า ท่านจงให้สำหรับวัดที่มีภัตบริจาคเป็นประจำของข้าพเจ้า ดังนี้แล้ว ไม่ทันได้สั่งการไปเสีย, แม้สงฆ์จะสั่งการก็ควร. ก็แล สงฆ์พึงสั่งการอย่างนี้ :- พึงสั่งว่า ท่านจงให้ในสถานเป็นที่อยู่ของพระสังฆเถระ. ถ้าในที่นั้นมีเสนา ถวายแก่สงฆ์ ข้อว่า สมฺมุขีภูเตน มีความว่า สงฆ์ผู้ตั้งอยู่ในอุปจารสีมา พึงตีะระฆัง ให้ประกาศเวลาแล้วแจกกัน. ภิกษุผู้จะรับส่วนแทนภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสีมาแต่มาไม่ทัน ไม่ควรห้าม. วัดใหญ่, เมื่อถวายผ้าตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา, พระมหาเถระผู้เฉื่อยช้าย่อมมาภายหลัง, อย่าพึงกล่าวกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถวายถึงภิกษุมีพรรษา ๒๐, ลำดับของท่าน เลยไปเสียแล้ว, พึงเว้นลำดับไว้ถวายแก่พระมหาเถระเหล่านั้น เสร็จแล้วจึงถวายตามลำดับภายหลัง. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังข่าวว่า ได้ยินว่า ที่วัดโน้น จีวรเกิดขึ้นมาก จึงพากันมาจากวัดซึ่งตั้งอยู่ในระยะโยชน์หนึ่งบ้าง, พึงให้จำเดิมแต่ที่ซึ่งเธอทั้งหลายมาทันแล้วๆ เข้าลำดับ. เฉพาะที่เธอมาไม่ทันเข้าอุปจารสีมาแล้ว เมื่ออันเตวาสิกเป็นต้นจะรับแทน ก็ควรให้แท้. อันเตวาสิกเป็นต้น กล่าวว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมาดังนี้ ไม่พึงให้. ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ประตูวัดของตน หรืออยู่ภายในวัดของตนทีเดียว เป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกับภิกษุทั้งหลายผู้เข้าอุปจารสีมาไซร้, สีมาชื่อว่าขยายออกด้วยอำนาจบริษัท ; เพราะฉะนั้น ควรให้. แม้เมื่อให้จีวรแก่สังฆนวกะแล้ว, ก็ควรถวายแก่พระเถระทั้งหลายผู้มาภายหลังเหมือนกัน. อนึ่ง เมื่อส่วนที่สองได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่หนึ่ง ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุทั้งหลายที่มาแล้ว, พึงให้ตามลำดับพรรษา ตั้งแต่ส่วนที่สองไป. ถ้าในวัดหนึ่ง มีภิกษุ ๑๐ รูป, ทายกถวายผ้า ๑๐ ผืนว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ; ผ้าเหล่านั้น พึงแจกกันรูปละผืน. ถ้าภิกษุเหล่านั้น ถือเอาไปทั้งหมดทีเดียว ด้วยคิดว่า ผ้าเหล่านี้ ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ไซร้, เป็นอันให้ถึง (แก่ตน) ไม่ดี ; ทั้งเป็นอันถือเอาไม่ดี ; ผ้าเหล่านั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่ซึ่งเธอไปถึงเข้าแล้วนั่นแล. อนึ่ง จะชักออกผืนหนึ่ง ถวายแก่สังฆเถระว่า ผืนนี้ถึงแก่ท่าน ดังนี้แล้ว ถือเอาผ้าที่เหลือด้วยคิดว่า ผ้าเหล่านี้ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ ควรอยู่. ทายกนำผ้ามาผืนเดียว ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายไม่แบ่งกัน ถือเอาด้วยคิดว่า ผ้านี้ถึงแก่พวกเรา ; ผ้านั้นเป็นอันเธอทั้งหลายให้ถึงแก่ตน ไม่ชอบ ทั้งเป็นอันถือเอาไม่ชอบ. ควรเอามีดหรือขมิ้นเป็นต้น ทำให้เป็นรอย ให้ส่วนหนึ่งแก่พระสังฆเถระว่า ตอนนี้ถึงแก่ท่าน แล้วถือเอาส่วนที่เหลือว่า ตอนนี้ถึงแก่พวกเรา. จะทำการกำหนดปันกัน ด้วยลายดอกไม้ หรือผลไม้ หรือเครือวัลย์แห่งผ้านั้นเอง ไม่ควร. ถ้าชักเส้นด้ายออกเส้นหนึ่ง ถวายแก่พระเถระว่า ตอนนี้ ถึงแก่ท่าน แล้วถือเอาว่า ส่วนที่เหลือถึงแก่พวกเรา ควรอยู่. ผ้าที่ภิกษุตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แบ่งกัน ควรแท้. เมื่อจีวรทั้งหลายเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในวัด ซึ่งมีภิกษุรูปเดียว, หากภิกษุนั้นถือเอาว่า จีวรทั้งหมดย่อมถึงแก่เรา ตามนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง, เป็นอันเธอถือเอาชอบ, ส่วนลำดับไม่ตั้งอยู่. หากเธอยกขึ้นทีละผืนๆ ถือเอาว่า ผ้านี้ถึงแก่เรา. ลำดับย่อมตั้งอยู่. บรรดาลำดับที่ไม่ตั้งอยู่ และตั้งอยู่ทั้งสองนี้ เมื่อลำดับไม่ตั้งอยู่ครั้นจีวรอื่นเกิดขึ้นอีก ถ้าภิกษุรูปหนึ่งมา, เธอทั้งสองพึงตัดตรงกลางถือเอา. เมื่อลำดับตั้งอยู่ ครั้นจีวรอื่นเกิดขึ้นอีก ถ้าภิกษุอ่อนกว่ามา, ลำดับย่อมถึงภายหลัง ; ถ้าภิกษุผู้แก่กว่ามา, ลำดับย่อมถึงก่อน. ถ้าไม่มีภิกษุอื่น, พึงให้ถึงแก่ตนถือเอาอีก. แต่จีวรที่เขาถวายพาดพิงถึงสงฆ์ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ก็ดี ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล, เพราะเหตุที่เธอกล่าวคำว่า ข้าพเจ้างดคหบดีจีวรเสีย, สมาทานองค์ของผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล เพราะเหตุที่จีวรนั้น เป็นอกัปปิยะหามิได้, แม้ภิกษุสงฆ์อปโลกน์ให้แล้วก็ไม่ควรรับ. ก็และภิกษุให้จีวรใดซึ่งเป็นของตน, จีวรนั้นชื่อของที่ภิกษุให้ควรอยู่ ; แต่ว่าจีวรนั้นไม่เป็นผ้าบังสุกุล. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ธุดงค์ย่อมไม่เสีย. อนึ่ง เมื่อทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย, ข้าพเจ้าถวายแก่พระเถระทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล. แม้จีวรที่ทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้านี้แก่สงฆ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงทำถุงใส่รองเท้า ถุงบาตร ผ้ารัดเข่าและสายสะพายเป็นต้นด้วยผ้านี้ ดังนี้ ย่อมควร. ผ้าที่ทายกถวายเพื่อประโยชน์แก่ถุงบาตรเป็นต้น มีมาก, เป็นของเพียงพอแม้เพื่อประโยชน์แก่จีวรจะกระทำจีวรจากผ้านั้นห่ม ก็ควร. ก็หาก แม้เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อประโยชน์แก่ผ้าผูกกระบอกกรองเป็นต้น แก่สงฆ์ผู้ถือผ้าบังสุกุล ดังนี้ สมควรถือเอา. ขึ้นชื่อว่าบริขาร แม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล ก็พึงปรารถนา ในผ้าที่เขาถวายเพื่อให้เป็นผ้าผูกกระบอกกรองเป็นต้นเหล่านั้น ผ้าใดเป็นของเหลือเฟือ จะน้อมผ้านั้นเข้าในจีวรบ้าง ก็ควร. ทายกถวายด้วยแก่สงฆ์ ด้วยนั้น แม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล ก็ควรรับ. วินิจฉัยในผ้าที่ทายกเข้าไปสู่วัดแล้วถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้แก่สงฆ์ เท่านี้ก่อน. ก็ถ้าว่า ทายกเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เดินทางไปภายนอกอุปจารสีมาแล้ว บอกแก่พระสังฆเถระ หรือพระสังฆนวกะว่า ข้าพเจ้าถวายสงฆ์ แม้ถ้าบริษัทตั้งแผ่ไปโยชน์หนึ่ง เนื่องเป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่วกัน ; ฝ่ายภิกษุเหล่าใดไม่ทันบริษัทเพียง ๑๐ ศอก ไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น. ถวายแก่สงฆ์สองฝ่าย เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย ก็ดี ถวายแก่สงฆ์โดยส่วน ๒ ก็ดี ถวายแก่สงฆ์ ๒ พวกก็ดี กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีสงฆ์ด้วยก็ดี ผ้านั้นเป็นอันเขาถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายแท้. ข้อว่า อุปฑฺฒํ ทาตพฺพํ มีความว่า พึงทำเป็นสองส่วนเท่าๆ กันในส่วนหนึ่ง. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วย แก่ท่านด้วย ถ้ามีภิกษุ ๑๐ รูป ภิกษุณี ๑๐ รูป พึงทำให้เป็น ๒๑ ส่วน ให้แก่บุคคลส่วนหนึ่ง ให้แก่สงฆ์ ๑๐ ส่วน ให้แก่ภิกษุณีสงฆ์ ๑๐ ส่วน ส่วนเฉพาะบุคคลอันภิกษุใดได้แล้ว ภิกษุนั้น ย่อมได้เพื่อถือเอาตามลำดับพรรษาของตนจากสงฆ์อีก. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่เธออันเขารวมเข้าด้วยศัพท์ว่า อุภโตสงฆ์. แม้ในผ้าที่เขาบอกถวายว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วย แก่เจดีย์ด้วย ก็มีนัยเหมือนกัน. แต่ในคำถวายนี้ ไม่มีส่วนที่จะถึงแก่เจดีย์จากสงฆ์ มีแต่ส่วนที่เท่ากับส่วนที่ถึงแก่บุคคลผู้หนึ่งเท่านั้น. อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วย แก่ท่านด้วยแก่เจดีย์ด้วย พึงทำให้เป็น ๒๒ ส่วน ให้ภิกษุ ๑๐ ส่วน ให้แก่ภิกษุณี ๑๐ ส่วน. ให้แก่บุคคลส่วนหนึ่ง ให้แก่เจดีย์ส่วนหนึ่ง ; ในบุคคลและเจดีย์นั้น บุคคลย่อมได้เพื่อถือเอาอีกตามลำดับพรรษาของตน จากสงฆ์ด้วย, สำหรับเจดีย์พึงได้ส่วนเดียวเท่านั้น. อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วย อย่าแบ่งกลางให้ พึงนับภิกษุและภิกษุณีแล้วให้. อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วยแก่ท่านด้วย บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง ย่อมได้เฉพาะส่วนเดียว จากลำดับที่ถึงเท่านั้น เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่บุคคลอันเขารวมเข้าด้วยศัพท์ว่าภิกษุสงฆ์ แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์ได้ส่วนเท่าบุคคลผู้หนึ่ง บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง เพราะฉะนั้น พึงให้แก่เจดีย์ส่วนหนึ่ง ที่เหลือพึงนับภิกษุและภิกษุณีแจกกัน. แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย อย่าแบ่งกลางให้ พึงแบ่งตามจำนวนบุคคลเท่านั้น เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ว่า ถวายแก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่ท่านด้วย ดังนี้ก็ดี, กล่าวอย่างนี้ว่า ถวายแก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่เจดีย์ด้วย ดังนี้ก็ดี, กล่าวอย่างนี้ว่า ถวายแก่ภิกษุด้วย แก่ภิกษุณีด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย ดังนี้ก็ดี, เจดีย์ได้ส่วนเดียว บุคคลไม่มีส่วนอีกแผนกหนึ่ง พึงนับภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น แจกกัน. เหมือนอย่างว่า ข้าพเจ้ายก ภิกษุสงฆ์ให้เป็นต้น อธิบายความฉันใด บัณฑิตพึงยกภิกษุณีสงฆ์ให้เป็นต้นบ้าง อธิบายความ ฉันนั้น. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ท่านด้วย. บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง พึงถือเอาตามลำดับพรรษาเท่านั้น. อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่เจดีย์ด้วย, เจดีย์ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง, แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย, เจดีย์เท่านั้น ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง บุคคลไม่ได้. แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่ท่านด้วย, บุคคลไม่ได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์ย่อมได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง แม้เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย แก่ท่านด้วย แก่เจดีย์ด้วย เจดีย์เท่านั้น ย่อมได้ส่วนอีกแผนกหนึ่ง บุคคลไม่ได้. พึงยกภิกษุณีสงฆ์ให้เป็นต้นบ้าง ประกอบเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. ถามว่า เฉพาะในกาลก่อน ทายกทั้งหลายถวายทานแก่สงฆ์สองฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งตรงกลาง ภิกษุนั่งข้างขวา ภิกษุณีนั่งข้างซ้าย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสังฆเถระแห่งสงฆ์ ๒ ฝ่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคปัจจัยที่พระองค์ได้ด้วยพระองค์เองบ้าง รับสั่งให้แก่ภิกษุทั้งหลายบ้าง. ส่วนในบัดนี้ คนผู้ฉลาดทั้งหลายตั้งพระปฏิมาหรือพระเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ แล้วถวายทานแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตั้งบาตรบนเชิงข้างหน้าแห่งพระปฏิมาหรือพระเจดีย์ แล้วถวายทักษิโณทกกล่าวว่า ขอถวายแด่พระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว ใส่ของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันใดเป็นที่หนึ่งในบาตรนั้น หรือนำมายังวัด ถวายบิณฑ ตอบว่า วัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น ควรยกวางไว้ที่พระเจดีย์ก่อน, ผ้าพึงใช้ทำธงแผ่นผ้า น้ำมันพึงใช้ตามประทีป; ส่วนบิณฑบาตและเภสัชมีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น พึงให้แก่บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระเจดีย์เป็นประจำ เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเป็นประจำ สมควรจะตั้งไว้ดังภัตที่ตนเองนำมากระทำวัตรแล้วฉัน. ในเวลากระชั้น ฉันเสียแล้ว จึงทำวัตรต่อภายหลัง ก็ควรเหมือนกัน. ก็เมื่อเขากล่าว ขอท่านทั้งหลายจงนำสิ่งนี้ไปทำการบูชาพระเจดีย์ ดังนี้ บรรดาวัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ในที่ไกล ก็ควรนำไปบูชา แม้เมื่อเขากล่าวว่า ขอจงนำไปเพื่อภิกษุสงฆ์ ควรนำไป. ก็หากว่าเมื่อภิกษุกล่าวว่า เราจักเที่ยวบิณฑบาต ที่อาสนศาสามีภิกษุ เธอทั้งหลายจักนำไป เขากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถวายท่านนั่นแล สมควรฉัน. ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุกำลังนำไปตั้งใจว่า จักถวายภิกษุสงฆ์ เวลาจวนเสียในระหว่างทางเทียว สมควรให้ถึงแก่ตนแล้วฉันเถิด. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา ข้อว่า ยาวติกา ภิกฺขู ตสฺมึ อาวาเส วสฺสํ วุตฺถา มีความว่า ภิกษุมีจำนวนเท่าไร จำพรรษาแรก ไม่ทำให้ขาดพรรษา ภิกษุเหล่านั้น พึงแจกกัน ; จีวรนั้นไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่าอื่น. เมื่อผู้รับแทนมี พึงให้แม้แก่ภิกษุผู้หลีกไปสู่ทิศจนกว่าจะรื้อกฐิน. พระอาจารย์ทั้งหลายผู้เข้าใจลักษณะกล่าวว่า แต่เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ก็แลจีวรที่เขาบอกถวายอย่างนั้น ในภายในเหมันตฤดู ย่อมถึงแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาหลัง. ส่วนในอรรถกถาทั้งหลาย หาได้สอดส่องข้อนี้ไว้ไม่. ก็ถ้าว่า ทายกตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา, จีวรนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งปวงผู้มาถึงเข้า. ถ้าเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดโน้น. ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น จนกว่าจะรื้อกฐิน. ก็ถ้าว่าเขากล่าวอย่างนั้น จำเดิมแต่วันต้นแห่งคิมหฤดูไป ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งปวงผู้พร้อมหน้ากันในวัดนั้น. เพราะเหตุไร? เพราะจีวรนั้นเกิดขึ้นภายหลังสมัย. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา ดังนี้ ในภายในพรรษาทีเดียว ภิกษุผู้ขาดพรรษา ย่อมไม่ได้ เฉพาะภิกษุผู้จำพรรษาตลอดจึงได้. ส่วนในจีวรมาส เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา. ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาในปัจฉิมพรรษาเท่านั้น, ไม่ถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในปุริมพรรษาและผู้ขาดพรรษา. จำเดิมแต่จีวรมาสไปจนถึงวันสุดท้ายแห่งเหมันตฤดู เมื่อเขากล่าวว่า ถวายผ้าจำนำพรรษา, กฐินจะได้กรานหรือไม่ได้กรานก็ตามที ผ้านั้นย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาที่ล่วงไปแล้วเท่านั้น. อนึ่ง เมื่อเขากล่าวจำเดิมแต่วันต้นแห่งคิมหฤดูไป. พึงยกมาติกาขึ้นว่า สำหรับกาลจำพรรษาที่เป็นอดีต ล่วงไปแล้ว ๕ เดือน กาลจำพรรษาที่เป็นอนาคต ต่อล่วงไป ๔ เดือน จึงจักมี ท่านให้แก่สงฆ์ผู้จำพรรษาไหน. ถ้าเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาที่ล่วงไปแล้ว ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่จำตลอดภายในพรรษานั้นเท่านั้น. ภิกษุผู้ชอบกัน ย่อมได้เพื่อรับแทนภิกษุผู้หลีกไปสู่ทิศ. ถ้าเขากล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษาในพรรษาที่จะมาข้างหน้า พึงเก็บผ้านั้นไว้ ถือเอาในวันเข้าพรรษา หากว่าที่อยู่คุ้มครองไม่ได้ ทั้งมีโจรภัย; เมื่อภิกษุกล่าวว่า ไม่อาจเก็บไว้ หรือไม่อาจถือเที่ยวไป เขาบอกว่า ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่พร้อมแล้ว ; พึงแจกกันถือเอา. หากว่า เขากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ได้ถวายผ้าใด แก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา ในพรรษาที่ ๓ แต่พรรษานี้ไป ข้าพเจ้าถวายผ้านั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาภายในพรรษานั้น. ถ้าภิกษุเหล่านั้นหลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว ภิกษุอื่นผู้คุ้นเคยกันจะรับแทน พึงให้. ถ้าเหลืออยู่รูปเดียวเท่านั้น นอกจากนั้น มรณภาพหมด ย่อมถึงแก่ภิกษุรูปเดียวนั่นแลทั้งหมด. ถ้าว่า แม้รูปเดียวก็ไม่มี ย่อมเป็นของสงฆ์ ผ้านั้นภิกษุผู้พร้อมหน้ากัน พึงแจกกัน. ถวายจำเพาะ ในบทว่า ยาคุยา เป็นอาทิ มีเนื้อความดังนี้ :- เขาเจาะจงถวายในข้าวต้ม หรือข้าวสวย หรือของควรเคี้ยวหรือจีวร หรือเสนา ในบทเหล่านั้น มีโยชนาดังนี้ :- ทายกนิมนต์ภิกษุด้วยข้าวต้มประจำวันนี้ หรือประจำวันพรุ่ง แล้วถวายข้าวต้มแก่พวกเธอผู้เข้าสู่เรือนแล้ว, ครั้นถวายเสร็จแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายฉันข้าวต้มแล้วจึงถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้ แก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายผู้ฉันข้าวต้มของข้าพเจ้า. จีวรนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ ได้ฉันข้าวต้มแล้วเท่านั้น ส่วนข้าวต้มอันภิกษุเหล่าใดผู้ผ่านไปทางประตูเรือน หรือผู้เข้าไปสู่เรือนด้วยภิกขาจารวัตรจึงได้ หรือข้าวต้มที่ชนทั้งหลายนำบาตรของภิกษุเหล่าใดมาจากอาสนศาลาแล้วนำไปถวาย, หรือข้าวต้มอันพระเถระทั้งหลายส่งไปเพื่อภิกษุเหล่าใด ย่อมไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น. แต่ถ้าว่าภิกษุแม้เหล่าอื่น กับภิกษุที่ได้รับนิมนต์มากันมาก นั่งเต็มทั้งภายในเรือนและนอกเรือน, หาก บทว่า จีวเร วา มีความว่า ถ้าทายกผู้เคยถวายจีวรแก่ภิกษุทั้งหลายซึ่งตนนิมนต์ให้จำพรรษาแม้ในกาลก่อน ให้ภิกษุฉันแล้วกล่าวว่า ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ถวายจีวรแก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด จีวรนี้ก็ดี เนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นก็ดี จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นแล ทุกอย่างย่อมถึงแก่ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น. บทว่า เสนาสเน วา มีความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าใดอยู่ในที่อยู่หรือในบริเวณที่ข้าพเจ้าสร้าง ผ้านี้จงเป็นของพระผู้เป็นเจ้านั้น ย่อมเป็นของภิกษุนั้นเท่านั้น. บทว่า เภสชฺเช วา มีความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าถวายเภสัชมีเนยใสเป็นต้น แก่พระเถระทั้งหลายทุกเวลา, เภสัชเหล่านั้น อันพระเถระเหล่าใดได้แล้ว; ผ้านี้จงเป็นของพระเถระเหล่านั้นเท่านั้น ดังนี้, ย่อมเป็นของพระเถระเหล่านั้นเท่านั้น. ถวายแก่บุคคล คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้นฉะนี้แล. อรรถกถาจีวรขันธกะ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ จีวรที่เกิดขึ้นมี ๘ มาติกา จบ. |