บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า ปฏิภาเณยฺยกา มีความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยไหวพริบในศิลปะของตน. บทว่า ทกฺขา เป็นผู้ฉลาดหรือเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน. บทว่า ปริโยทาตสิปฺปา ได้แก่ ผู้มีศิลปะหาโทษมิได้ บทว่า นาฬิยาวาปเกน ได้แก่ ทะนานและถุง. มีคำอธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมกรอก คือย่อมใส่ข้าวสารที่ได้แล้วๆ ในภาชนะใด ภาชนะนั้นชื่ออาวาปกะ แปลว่า ถุง. วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นหาปิตปุพฺเพน ขุรภณฺฑํ นี้พึงทราบดังนี้ :- ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผม ไม่ควรเก็บรักษามีดโกนไว้เลย แต่จะปลงผมด้วยมีดโกนเป็นของผู้อื่น ควรอยู่. ถ้าจะถือเอาค่าจ้างปลง ไม่ควร. ภิกษุใดไม่เคยเป็นช่างโกนผม แม้ภิกษุนั้นจะรักษามีดโกนไว้ ย่อมควร ถึงแม้จะถือเอามีดโกนเล่มนั้นหรือเล่มอื่นปลงผม ก็ควร. สองบทว่า ภาคํ ทตฺวา มีความว่า พึงให้ส่วนที่ ๑๐. ได้ยินว่า การให้ส่วนที่ ๑๐ นี้เป็นธรรมเนียมเก่าในชมพูทวีป เพราะเหตุนั้น พึงแบ่งเป็น ๑๐ ส่วนแล้วให้แก่พวกเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่ง. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ เรื่องวุฑฒบรรพชิตเป็นต้น จบ. |