บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [๑] [๒] พึงทราบวินิจฉัยในจุลลหัตถิปโทปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า สพฺพเสเตน วฬวาภิรเถน ความว่า รถที่เทียมด้วยลา ๔ จำพวก ขาวสิ้นที่ท่าน ก็ธรรมดาว่า รถนี้มี ๒ อย่าง คือ รถรบกับรถประดับ. บรรดารถทั้ง ๒ นั้น รถรบมีทรง ๔ เหลี่ยมไม่ใหญ่นัก สามารถจุคนได้ ๒-๓ คน รถประดับคันใหญ่ทั้งยาวทั้งกว้าง. ในรถประดับ คน ๘ คน หรือ ๑๐ คน คือคนกั้นร่ม คนถือพัดวีชนี คนถือพัดใบตาล สามารถจะยืน นั่ง หรือนอนได้ตามสะดวก แม้รถนี้ชื่อว่า รถประดับอย่างเดียว. รถนั้นทั้งหมดพร้อมด้วยล้อ หน้าต่างและธูปรถ ขลิบด้วยเงิน. ลาตามปกติก็สีขาว แม้เครื่องประดับลาเหล่านั้นก็ทำด้วยเงิน แม้เชือกที่ชุบน้ำประสานเงิน แม้แส้ก็ขลิบด้วยเงิน แม้พราหมณ์ก็นุ่งผ้าขาวห่มผ้าขาว ลูบไล้เครื่องไล้ขาว ประดับมาลัยขาว สวมแหวนทั้ง ๑๐ นิ้ว ติดตุ้มหูทั้ง ๒ ข้าง รวมความดังกล่าวมานี้เป็นต้น แม้เครื่องประดับของรถนั้นก็เป็นเงินทั้งนั้น. แม้พราหมณ์ผู้เป็นบริวารของพราหมณ์นั้น ก็ประดับด้วยผ้าเครื่องลูบไล้ของหอมและมาลัยขาวอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพเสเตน วฬวาภิรเถน. บทว่า สาวตฺถิยา นิยฺยาติ ความว่า ได้ยินว่า ทุก ๖ เดือน พราหมณ์นั้นจะทำประทักษิณพระนครครั้งหนึ่ง. จะมีการโฆษณาล่วงหน้าไว้ว่า พราหมณ์จะทำประทักษิณพระนครวันเท่านี้นับจากวันนี้. คนทั้งหลายฟังเรื่องนั้นแล้ว พวกที่ไม่ไปจากพระนครก็ไม่ไป แม้พวกที่ไปแล้วก็กลับมาด้วยหมายจะชมสิริสมบัติของผู้มีบุญ. วันใด พราหมณ์ทำประทักษิณพระนคร วันนั้นแต่เช้าตรู่ ผู้คนก็จะกวาดถนนในพระนคร เกลี่ยทราย โปรยดอกไม้พร้อมข้าวตอก ตั้งหม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม ยกต้นกล้วยและธง ทำพระนครทั้งสิ้นให้หอมตลบไปด้วยกลิ่นธูป. แต่เช้าตรู่ พราหมณ์ก็อาบน้ำดำเกล้า กินอาหารเบาก่อนอาหารหนัก แต่งตัวด้วยผ้าขาวเป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ลงจากปราสาทแล้วขึ้นรถ. ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้นประดับด้วยผ้าเครื่องลูบไล้และมาลาขาวทั้งสิ้น ถือร่มขาวล้อมชาณุโสณิพราหมณ์นั้น. ต่อแต่นั้น ก็แจกผลไม้น้อยใหญ่แก่พวกเด็กรุ่นๆ ก่อนทีเทียว เพื่อให้มหาชนประชุมกัน ต่อแต่นั้นก็โปรยมาสกและกหาปณะ มหาชนก็ชุมนุมกัน ต่างก็ส่งเสียงโห่ร้องกึกก้องและยกผ้าโบกสะบัดไปทั่ว. ลำดับนั้น เมื่อมังคลิกพราหมณ์และโสวัตถิกพราหมณ์เป็นต้น ทำการมงคลและสวัสดิ์มงคล ทำประทักษิณพระนครด้วยสมบัติอันใหญ่. มนุษย์ผู้มีบุญทั้งหลายก็ขึ้นไปปราสาทชั้นเดียวเป็นต้น เปิดหน้าต่างและประตูเสมือนภาชนะขาวมองดู. ฝ่ายพราหมณ์มุ่งหน้าไปทางประตูด้านทิศใต้ ประหนึ่งครอบพระนครไว้ด้วยสมบัติ คือยสและสิริของตน. ด้วยเหตุนั้น. ท่านจึงกล่าวว่า สาวตฺถิยา นิยฺยาติ. บทว่า ทิวาทิวสฺส แปลว่า วันของวัน. อธิบายว่า เวลากลางวัน. บทว่า ปิโลติกํ ปริพฺพาชกํ ได้แก่ ปริพาชกผู้ได้ชื่อโดยเรียกเป็นเพศหญิงอย่างนี้ว่า ปิโลติกา. ได้ยินว่า ปริพาชกนั้นเป็นหนุ่มอยู่ในปฐมวัยมีวรรณดังทองคำ เป็นพุทธอุปฐาก กระทำอุปัฏ บทว่า เอตทโวจ ความว่า ชาณุโสณิพราหมณ์จำได้ว่า ปิโลติกปริพาชกเคยมาสำนักโดยลำดับ จึงกล่าวคำระบุโคตร ตระกูลว่า เชิญซิ ท่านวัจฉายนะไปไหนมา. ในบทว่า ปณฺฑิโต มญฺญติ นี้ มีความอย่างนี้ว่า ท่านวัจฉายนะยังสำคัญพระ บทว่า โก จาหํ โภ ความว่า ข้าพเจ้าจะรู้ความมีปัญญาและความฉลาดของพระสมณโคดม ได้แต่ไหนเล่า. ด้วยคำว่า โก จ สมณสฺส โคตมสฺส ปญฺญาเวยฺยตฺติยํ ชานิสฺสามิ นี้ ปิโลติกปริพาชกแสดงว่า ตนไม่รู้ แม้ทุกประการอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักรู้ความมีปัญญาและความฉลาดของพระสมณโคดมได้แต่ที่ไหน จักรู้ด้วยเหตุไร. ด้วยบทว่า โสปิ นูนสฺส ตาทิโส จ นี้ ปิโลติกปริพาชกแสดงว่า ผู้ใดจะพึงรู้ความมีปัญญาและความฉลาดของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธ บทว่า อุฬาราย แปลว่า สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า โก จาหํ โภ ความว่า เราจะพึงสรรเสริญพระสมณโคดม ได้แต่ไหน. บทว่า โก จ สมณํ โคตมํ ปสํสิสฺสามิ ความว่า ข้าพเจ้าจักสรรเสริญด้วยเหตุไร. บทว่า ปสฎฺฐปฺปสฏฺโฐ ความว่า เป็นผู้ประเสริฐโดยคุณของตนเหนือคนอื่น โดยคุณทั้งปวงที่ชาวโลกเขาสรรเสริญแล้ว พระองค์ไม่มีกิจคือสรรเสริญด้วยคุณอย่างอื่น เปรียบเหมือนดอกจัมปา ดอกอุบล ดอกปทุมหรือจันทน์แดง ย่อมสดใสและมีกลิ่นหอมโดยสิริแห่งสีและกลิ่นของมัน มันไม่มีกิจที่จะชมเชยโดยสีและกลิ่นที่จรมา และเปรียบเหมือนแก้วมณีหรือดวงจันทร์ ย่อมโอภาสโดยแสงสว่างของตนเท่านั้น มันหามีกิจด้วยแสงสว่างด้วยอย่างอื่นไม่ฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้น เป็นผู้อันบัณฑิตสรรเสริญ ชมเชยโดยคุณของตนที่โลกทั้งปวงเขาสรรเสริญแล้ว คือให้ถึงความประเสริฐสุดแห่งโลกทั้งปวง พระองค์หามีกิจคือการสรรเสริญด้วยการสรรเสริญอย่างอื่นไม่ อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้ประเสริฐกว่าผู้ประเสริฐทั้งหลาย แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปสัฏฐัปปสัฏฐะ ผู้ประเสริฐสุดกว่าผู้ประเสริฐสุดทั้งหลาย. ก็คนอื่นๆ เหล่าไรเล่า ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด. พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวกาสีและโกศลทั้งหลาย พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวอังคะและชาวมคธะ เจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลีประเสริฐกว่าชาวแคว้นวัชชี เจ้ามัลละกรุงปาวา เจ้ามัลละกรุงโกสินารา แม้เจ้านั้นๆ องค์อื่นประเสริฐกว่าชาวชนบทนั้นๆ พราหมณ์มีจังกีพราหมณ์เป็นต้นประเสริฐกว่าหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย อุบาสกมีท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นประเสริฐกว่าหมู่อุบาสก อุบาสิกามีนางวิสาขาอุบาสิกาเป็นต้นประเสริฐกว่าอุบาสิกาหลายร้อย ปริพาชกมีสกุลุทายิเป็นต้นประเสริฐกว่าปริพาชกหลายร้อย มหาสาวิกามีอุบลวรรณาเถรีเป็นต้นประเสริฐกว่าภิกษุณีหลายร้อย พระมหาสาวกมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นประเสริฐกว่าภิกษุหลายร้อย เทพทั้งหลายมีท้าวสักกะเป็นต้นประเสริฐกว่าเทพทั้งหลาย พรหมทั้งหลายมี บทว่า อตฺถวสํ แปลว่า อานิสงส์ประโยชน์. ครั้งนั้น ปริพาชกเมื่อบอกเหตุแห่งความเลื่อมใสของตนแก่ชาณุโสณิ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาควนิโก ได้แก่ บุรุษผู้เรียนศิลปะชาวนาควัน. ก็บุรุษผู้เรียนศิลปะจากผู้อื่น เรียกว่านาควนิกะ. บทว่า จตฺตาริ ปทานิ ได้แก่ บทคือญาณ คือรอยคือญาณ ๔. อธิบายว่า ฐานที่ญาณเหยียบ. บทว่า ปณฺทิเต ในคำว่า ขตฺติยปณฺทิเต เป็นต้น ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต. บทว่า นิปุเณ แปลว่า ผู้ละเอียด คือผู้รู้อรรถอันละเอียด ได้แก่ผู้สามารถแทงตลอดอรรถอันละเอียดอื่นๆ. บทว่า กตปรปฺปวาเท ได้แก่ รู้ปรัปปวาทและทำการย่ำยีปรัปปวาทะ. บทว่า วาลเวธิรูเป แปลว่า เสมือนนายขมังธนูผู้ยิงขนทราย. บทว่า เต ภินฺทนฺตา มญฺเญ จรนฺติ ความว่า เที่ยวไปประหนึ่งทำลายทิฏฐิของผู้อื่น แม้อย่างละเอียดด้วยปัญญาของตนเหมือนนายขมังธนูผู้ยิงขนทราย. บทว่า ปญฺหํ อภิสงฺขโรนฺติ ได้แก่ ตั้งปัญหา ๒ บทบ้าง ๓ บทบ้าง ๔ บทบ้าง. บทว่า วาทํ อาโรเปสฺสาม ได้แก่ ยกโทษขึ้น. บทว่า น เจว สมณํ โคตมํ ปญฺหํ ปุจฺฉนฺติ ความว่า เพราะเหตุไรจึงไม่ถาม. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมท่ามกลางบริษัท จึงทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัท แต่นั้นก็ทรงเห็นว่า ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นมาแต่งปัญหาที่ลี้ลับ ชื่อว่าโอวัฏฏิกสาระ ปัญหาวกวน พระองค์มิได้ถูกขัตติยบัณฑิตถามเลย เมื่อตรัสถามปัญหาเหล่านี้ว่า ในการถามปัญหา มีโทษเพียงเท่านี้ ในการตอบปัญหา มีโทษเพียงเท่านี้ ในอรรถ บท อักขระ มีโทษเพียงเท่านี้ พึงตรัสถามอย่างนี้ เมื่อจะทรงตอบ พึงตอบอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงใส่ไว้ในระหว่างธรรมกถา แล้วทรงกำจัดปัญหาที่ขัตติยบัณฑิตนำมาแต่งเป็นโอวัฏฏิกปัญหาเสียด้วยประการฉะนี้. เหล่าขัตติยบัณฑิตย่อมจะดีใจว่า เป็นการดีสำหรับเราหนอที่พวกเราไม่ต้องถามปัญหานี้ ก็ถ้าพึงถามไซร้ พระสมณ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อแสดงธรรมย่อมแผ่เมตตาไปยังบริษัท มหาชนย่อมมีจิตเลื่อมใสในพระทศพล ด้วยการแผ่เมตตา. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระรูปพระโฉมเลอเลิศ น่าชม มีพระสุรเสียงไพเราะ มีพระชิวหาอ่อนนุ่ม มีไรพระทนต์เรียบสนิท ตรัสธรรมเหมือนโสรจสรงหทัยด้วยน้ำอมฤต. ณ ที่นั้น คนเหล่านั้นที่มีจิตเลื่อมในเพราะทรงแผ่เมตตา ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราไม่อาจทำตัวเป็นข้าศึกกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสพระวาจาไม่เป็นสอง พระวาจาไม่เป็นโมฆะ พระวาจาที่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เห็นปานฉะนี้ จึงไม่ทูลถาม เพราะตนเลื่อมใสเสียแล้ว. บทว่า อญฺญทตฺถุํ แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า สาวกา สมฺปชฺชนฺติ ได้แก่ เป็นสาวกโดยการถึงสรณะ. บทว่า ตทนุตฺตรํ ตัดบทเป็น ตํ อนุตฺตรํ บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสานํ ได้แก่ พระอรหัตตผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. จริงอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบวชเพื่ออรหัตตผลนั้น. บทว่า มนํ วต โภ อนสฺสาม ความว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเราไม่พึงเข้าไปเฝ้าไซร้ เราจะพึงเสียหาย. เพราะเพียงไม่ได้เข้าใกล้เล็กน้อยเท่านี้ แต่พวกเราไม่ได้เสียหายเลย ด้วยเหตุเพียงเข้าเฝ้า. บทที่ ๒ ก็เป็นไวพจน์ของบทต้นนั่นแหละ ในคำว่า อสฺสมณาว สมา บทว่า อุทานํ อุทาเนสิ ได้แก่ นำขึ้นซึ่งสิ่งควรนำขึ้น. เหมือนอย่างว่า น้ำมันใดไม่สามารถจะจับเครื่องตวงอยู่ได้ ไหลเลยไป น้ำมันนั้นท่านเรียกว่า อวเสกะ ซึมไปเอง และน้ำใดไม่อาจจะติดสระอยู่ ได้ล้นไปเอง น้ำนั้นเรียกว่าโอฆะ น้ำหลาก ฉันใด ถ้อยคำที่เกิดจากปีติอันใด ย่อมไม่สามารถจะยึดหทัยไว้ได้ก็ล้นออกไปข้างนอก ไม่อยู่ข้างใน คำนั้นก็เรียกว่า อุทาน ฉันนั้น. อธิบายว่า เปล่งคำที่เกิดจากปีติ เห็นปานฉะนี้. บทว่า หตฺถิปโทปโม วิเคราะห์ว่า รอยเท้าช้างเป็นอุปมาของธรรมะนั้น เหตุนั้น ธรรมะนั้นชื่อว่า มีรอยเท้าช้างเป็นอุปมา. ท่านแสดงว่า ธรรมนั้นย่อมไม่บริบูรณ์กว้างขวางอย่างนี้. บทว่า นาควนิโก ได้แก่ คนต่อช้างผู้ศึกษาศิลปช้างแล้ว. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ในที่นี้จึงไม่กล่าวว่า ผู้ฉลาด. ตอบว่า เพราะจะแสดงแบ่งให้รู้ว่า คนใดฉลาดไว้ข้างหน้า. จริงอยู่ ผู้ที่จะเข้าไป ถ้าเป็นผู้ฉลาด เขาจะยังไม่ตกลงใจก่อน เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ท่านจึงไม่กล่าวว่า ผู้ฉลาด แต่กล่าวไว้ข้างหน้า. บทว่า วามนิกา ได้แก่ ช้างพังท้องใหญ่ สั้น ไม่ยาวว่าโดยส่วนยาว. บทว่า อุจฺจา จ นิเสวิตํ ได้แก่ ที่ที่ช้างสีในที่ลำต้นไทรเป็นต้นซึ่งสูง ๗-๘ ศอก. บทว่า อุจฺจา กฬาริกา ได้แก่ มีเท้าสูงเหมือนไม้เท้าและที่ชื่อว่ากฬาริกา เพราะมีขนายดำแดง. เขาว่า ช้างพังเหล่านั้นมีขนายอันหนึ่งงอนขึ้นอันหนึ่งงอนลง และทั้งสองห่างกัน ไม่ใกล้กัน. บทว่า อุจฺจา จ ทนฺเตหิ อารญฺชิตานิ ความว่า ที่ที่กรามตัดขาดเหมือนกับเอาขวานฟัน ในที่ลำต้นไทรเป็นต้นซึ่งสูง ๗-๘ ศอก. บทว่า อุจฺจา กเรณุกา นาม ได้แก่ มีเท้ายาวเหมือนไม้เท้า และที่ชื่อว่า กเรณุกา เพราะมีขนายตูม. ได้ยินว่า ช้างพังเหล่านั้นมีงาตูม เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า กเรณุกา. บทว่า โส ทิฏฺฐํ คจฺฉติ ความว่า คนต่อช้างนั้นยังไม่ตกลงใจว่า เรามาตามรอยเท้าช้างใด ช้างนั้นคือตัวนี้แหละ ไม่ใช่ตัวอื่น เราเห็นรอยเท้าแรกใด ยังไม่ตกลงใจว่าจักเป็นรอยเท้าของพังค่อม เราไปเห็นรอยเท้าใดในที่ต่ำก็ยังไม่ตกลงใจว่าจักเป็นรอยเท้าของช้างพังกฬาริกา หรือของช้างพังกเรณุกา ครั้นเห็นช้างใหญ่เท่านั้น ก็ตกลงใจว่ารอยเท้านั้นทั้งหมดเป็นรอยเท้าของช้างใหญ่ตัวนี้นี่เอง. ในคำว่า เอวเมว โข นี้ เทียบข้ออุปมาดังนี้. พึงทราบพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงละนีวรณ์ว่า เหมือนดงช้าง. โยคาวจรเหมือนคนต่อช้างผู้ฉลาด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนพญาช้าง ฌานและอภิญญาเหมือนรอยเท้าช้างใหญ่ ข้อที่พระโยคาวจรไม่ตกลงใจว่า ธรรมดาว่าฌานและอภิญญาเหล่านี้ย่อมมีแม้แก่ปริพาชกนอกพระศาสนา เหมือนข้อที่คนต่อช้าง แม้เห็นรอยเท้าในที่นั้นๆ ก็ไม่ตกลงใจว่า จักเป็นรอยเท้าของช้างพังวามนิกา ของช้างพังกฬาริกาหรือของช้างพังกเรณุกา ข้อที่พระอริยสาวกบรรลุพระอรหัตต์แล้วตกลงใจ ก็เหมือนคนต่อช้างเห็นช้างใหญ่แล้วก็ตกลงใจว่า รอยเท้าที่เราเห็นในที่นั้นๆ ต้องเป็นรอยเท้าของช้างใหญ่เชือกนี้เท่านั้น ไม่ใช่เชือกอื่น ก็แลจะทำการเทียบเคียงข้ออุปมานี้จนจบก็ควร. แม้ในที่นี้ก็ควรเหมือนกัน. แต่ต้องยึดบทบาลีที่มาตามลำดับกระทำในที่นี้อย่างเดียว. ศัพท์ว่า อิธ ในคำนั้นเป็นนิบาต ใช้ในอรรถอ้างเทศะที่อยู่. อิธศัพท์นี้นั้น บางแห่งท่าน บางแห่งท่าน บางแห่งท่าน เมื่อเราเป็นเทพอยู่ในโอกาสนี้นั่นแล เราก็ได้อายุมาอีก ผู้นิรทุกข์ท่านจงรู้อย่างนี้. บางแห่งท่าน แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ท่าน ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม. ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่าตถาคต ท่าน ก็ในคำว่า โลเก อุปฺปชฺชติ นี้ บทว่า โลกมี ๓ คือ โอกาสโลก สัตวโลก สังขารโลก. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสัตว์โลก. พระตถาคตแม้เมื่อเกิดในสัตวโลกย่อมไม่เกิดในเทวโลก ไม่เกิดในพรหมโลก ย่อมเกิดแต่ในมนุษย์โลกเท่านั้น แม้ในมนุษย์โลก ก็ไม่เกิดในจักรวาลอื่นเกิดในจักรวาลนี้เท่านั้น. แม้ในจักรวาลนั้นก็ไม่เกิดในที่ทุกแห่ง ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศ ซึ่งยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ โดยรอบ ๙๐๐ โยชน์ ท่านกำหนดไว้อย่างนี้คือ ทิศบูรพามีนิคม ชื่อว่ากชังคละ ต่อแต่นั้นเป็นมหาสาละ ต่อแต่นั้นเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ทิศอาคเนย์มี ไม่ใช่แต่พระตถาคตอย่างเดียวเท่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิและพราหมณมหาสาล คหบดีมหาศาลเหล่าอื่น ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศนี้ทั้งนั้น. ในมัชฌิมประเทศนั้น พระตถาคต ชื่อว่าอุบัติ นับตั้งแต่เสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายจนถึงพระอรหัตตมรรค ชื่อว่าผู้อุบัติ ในอรหัตตผล ชื่อว่าย่อมอุบัติตั้งแต่ออกมหาอภิเนษกรมณ์จนถึงพระอรหัตต์ ตั้งแต่ดุสิตภพจนถึงอรหัตตมรรค หรือตั้งแต่บาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร จนถึงพระอรหัตตมรรค ชื่อว่าผู้อุบัติในอรหัตตผล ในที่นี้ท่านหมายเอาภาวะที่พระตถาคตอุบัติก่อนกว่าเขาทั้งหมด จึงกล่าวว่า อุปฺปชฺชติ. จริงอยู่ ในที่นี้ได้ความว่า ตถาคโต โลเก อุปฺปนฺโน โหติ พระตถาคตย่อมอุบัติในโลก. บทว่า โส อิมํ โลกํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงโลกนี้ว่า ควรกล่าว ณ บัดนี้. บทว่า สเทวกํ แปลว่า พร้อมด้วยเทพ ชื่อว่าสเทวกะ. พร้อมด้วยมาร ชื่อว่าสมารกะ. พร้อมด้วยพรหม ชื่อว่าสพรหมกะ. พร้อมด้วยสมณและพราหมณ์ ชื่อว่าสัสสมณพราหมณึ. ชื่อว่าปชา เพราะเกิดทั่วไป. พร้อมด้วยเทพและมนุษย์ ชื่อว่าสเทวมนุสสะ. ในคำเหล่านั้น พึงทราบศัพท์ว่ากามาวจรเทพ ๕ ด้วยคำว่าสเทวกะ ศัพท์ว่ากามาวจรเทวที่ ๖ ด้วยคำว่าสมารกะ. ศัพท์ว่าพรหมกายิกะเป็นต้น ด้วยคำว่าสพรหมกะ. ศัพท์ว่าสมณและพราหมณ์ผู้เป็นข้าศึกศัตรูของพระศาสนาและผู้สงบบาป ผู้ลอยบาป ด้วยคำว่าสัสสมณพราหมณึ. ศัพท์ว่าสัตตโลก ด้วยคำว่าปชา. ศัพท์ว่าเทพโดยสัมมุติเทพและมนุษย์ที่เหลือ ด้วยคำว่าสเทวมนุสสะ. สัตว์โลกกับโอกาสโลก พึงทราบว่าท่านถือเอาด้วย ๓ บท สัตว์โลกอย่างเดียวพึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วยอำนาจปชา ด้วยบททั้ง ๒ ในคำนี้ด้วยประการฉะนี้. อีกนัยหนึ่ง อรูปาวจรโลก ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่าสเทวกะ ฉกามาวจรเทวโลก ด้วยศัพท์สมาร อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ท่าน อนึ่ง เมื่อจะทรงกำจัดความสงสัยของเหล่าชนผู้มีความคิดว่า พรหมผู้มีอานุภาพมากใช้องคุลีหนึ่ง แผ่รัศมีไปใน ๑,๐๐๐ จักรวาล แผ่รัศมีไปใน ๑๐,๐๐๐ จักรวาลด้วย ๒ องคุลี ฯลฯ ๑๐ องคุลี และเสวยสุขอันเกิดแต่ฌานสมาบัติอันยอดเยี่ยม พรหมแม้นั้นพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้วหรือดังนี้ จึงตรัสว่า สพฺรหฺมกํ. แต่นั้น เมื่อจะทรงกำจัดความสงสัยของเหล่าชนผู้มีความคิดว่า สมณ ลำดับนั้น เมื่อจะทรงประกาศความที่พระองค์ทรงทำให้แจ้งสัตว์โลกที่เหลือ โดยกำหนดอย่างสูง หมายถึงสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ จึงตรัสว่า สเทวมนุสฺสํ ในคำนี้มีลำดับความแจ่มแจ้งดังนี้. ก็พระโบราณาจารย์กล่าวว่า บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกที่เหลือกับเหล่าเทวดา. บทว่า สมารกํ ได้แก่ โลกที่เหลือกับมาร. บทว่า สพฺรหฺมกํ ได้แก่ โลกที่เหลือกับเหล่าพรหม. ท่านใส่เหล่าสัตว์ที่เข้าถึงไตรภพแม้ทั้งหมด ลงในบททั้งสามด้วยอาการสามด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะกำหนดถือเอาด้วยบทต้นทั้งสองอีก จึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺรหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ ดังนี้. เป็นอันว่า ท่านกำหนดถือเอาไตรธาตุเท่านั้น ด้วยอาการนั้นๆ ด้วยบททั้งห้าด้วยประการฉะนี้. ในคำว่า สยํ อภิญญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ บทว่า สยํ แปลว่า เอง. บทว่า อภิญญา แปลว่า รู้. อธิบายว่า รู้ด้วยญาณอันยิ่ง. บทว่า สจฺฉิกตฺวา ได้แก่ ทำให้ประจักษ์. เป็นอันท่านปฏิเสธการคาดคะเนเป็นต้น ด้วยข้อนี้. บทว่า ปเวเทติ ได้แก่ ทำให้ตื่น ให้รู้ให้แจ้งประกาศ. บทว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิมชฺฌปริโยสานกลฺยาณํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ทรงแสดงธรรมมีสุขอันเกิดแต่วิเวกอันยอดเยี่ยม เมื่อทรงแสดงธรรมนั้นไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ทรงแสดงประการมีความงามในเบื้องต้นเป็นต้น. อธิบายว่า ทรงแสดงความงามความเจริญไม่มีโทษในเบื้องต้น ทรงแสดงความงามความเจริญไม่มีโทษทั้งในเบื้องกลาง ทั้งในเบื้องปลาย. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โส ธมฺมํ เทเสติ เป็นต้นนั้นดังต่อไปนี้ เทศนาก็มีเบื้องต้นเบื้องกลางเบื้องปลาย ศาสนาก็มีเหมือนกัน. ก่อนอื่น คาถาแม้ ๔ บาท บาทแรกชื่อว่าเบื้องต้นของเทศนา ต่อจากนั้น ๒ บาทชื่อว่าเบื้องกลาง บาทสุดท้ายชื่อว่าเบื้องปลาย. พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว คำนิทานเป็นเบื้องต้น คำว่า อิทมโวจ เป็นเบื้องปลาย ระหว่างคำทั้งสองชื่อว่าเบื้องกลาง. พระสูตรที่มากอนุสนธิ อนุสนธิแรกเป็นเบื้องต้น อนุสนธิท้ายเป็นเบื้องปลาย ตรงกลางอนุสนธิเดียว สองอนุสนธิ หรือ สมจริงดังคำที่ท่าน จริงอยู่ ผลท่านเรียกว่าเบื้องปลายในคำนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้มีประโยชน์อย่างนี้ มีสาระอย่างนี้ มีเบื้องปลายอย่างนี้. นิพพานเรียกว่าเบื้องปลายในคำนี้ว่า ท่านวิสาขะ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่หยั่งในพระนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นเบื้องปลาย. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเบื้องต้น เบื้องกลางและเบื้องปลายของเทศนา. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรม ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น แสดงมรรคเป็นเบื้องกลาง แสดงนิพพานเป็นเบื้องปลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ ดังนี้. เพราะฉะนั้น พระธรรมกถึกแม้อื่นเมื่อกล่าวธรรม พึงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น แสดงมรรคเป็น เบื้องกลาง แสดงนิพพานเป็นเบื้องปลาย นี้เป็นจุดยืน (หลัก) ของพระธรรมกถึก. บทว่า สาตฺถ สพฺยญฺชนํ ความว่า เทศนาของพระธรรมกถึกใดอาศัยพรรณนาเรื่องข้าวต้มข้าวสวยผู้หญิงผู้ชายเป็นต้น พระธรรมกถึกนั้นชื่อว่าไม่แสดงธรรมเป็นสาตถะมีประโยชน์. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนาเช่นนั้น ทรงแสดงเทศนาอาศัยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทรงแสดงธรรมเป็นสาตถะมีประโยชน์. อนึ่ง เทศนาของภิกษุใดประกอบด้วยพยัญชนะเดี่ยวเป็นต้น หรือมีพยัญชนะบอดทั้งหมด หรือมีพยัญชนะเปิดทั้งหมดกดทั้งหมด เทศนาของภิกษุนั้น ชื่อว่าอพยัญชนะ เพราะไม่มีความบริบูรณ์ด้วยพยัญชนะ เหมือนภาษาของคนมิลักขะ เช่นเผ่าทมิฬ เผ่าคนป่าและคนเหลวไหลเป็นต้น. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนาเช่นนั้น ทรงไม่แตะต้องพยัญชนะ ๑๐ อย่าง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ๑. ลิถิล ๒. ธนิต ๓. ทีฆะ ๔. รัสสะ ๕. ลหุ ๖. ครุ ๗. นิคคหิต ๘. สัมพันธะ ๙. ววัตถิตะ ๑๐. วิมุตตะ ซึ่งเป็นหลัก การขยายตัวพยัญชนะ ๑๐ ประเภท ทรงแสดงธรรมมีพยัญชนะบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าทรงแสดง คำว่า เกวลํ ในคำว่า เกวลปริปุณฺณํ นี้ แปลว่า สิ้นเชิง. บทว่า ปริปุณฺณํ แปลว่า ไม่ขาดไม่เกิน. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ทรงแสดงธรรมบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว แม้เทศนาสักอย่างหนึ่งที่ไม่บริบูรณ์ไม่มี. บทว่า ปริสุทฺธํ แปลว่า ปราศจากความหม่นหมอง. จริงอยู่ พระธรรมกถึกใดอาศัยธรรมเทศนานี้ แสดงธรรมด้วยมุ่งจักได้ลาภหรือสักการะ เทศนาของพระธรรมกถึกนั้นไม่บริสุทธิ์. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงมุ่งโลกามิสแสดงธรรม มีพระหทัยอ่อนโยนด้วยเมตตาภาวนา ด้วยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูล ทรงแสดงด้วยจิตที่ตั้งอยู่ในสภาพที่จะยกให้สูงขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทรงแสดงธรรมบริสุทธิ์. สกลศาสนาที่สงเคราะห์สิกขา ๓ ท่านเรียกว่าพรหมจรรย์ ในคำนี้ว่า พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าทรงประกาศพรหมจรรย์. ในคำว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ ฯเปฯ บริสุทฺธํ นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระ ท่านอธิบายว่า ความประพฤติอย่างประเสริฐ หรือความประพฤติของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้ประเสริฐ เพราะอรรถว่าประเสริฐสุด ชื่อ บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ธรรมที่ถึงพร้อมด้วยประการดังกล่าวแล้วนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชี้เอาคหบดีก่อนว่า สุณาติ คหปติ. ตอบว่า เพราะคหบดีขจัดมานะเสียได้และมีจำนวนมาก. จริงอยู่ โดยมากคนที่บวชจากขัตติยตระกูลย่อมอาศัยชาติกระทำมานะ ที่บวชจากตระกูลพราหมณ์อาศัยมนต์กระทำมานะ ที่บวชจากตระกูลที่มีชาติต่ำก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะตนมีชาติต่างออกไป. ส่วนเด็กๆ ตระกูลคหบดีมีเหงื่อไหลไคลย้อยหลังขึ้นส่าเกลือไถดิน กำจัดมานะและความกระด้างได้ เด็กเหล่านั้นบวชแล้วก็ไม่มีมานะหรือกระด้าง เรียนพระพุทธวจนะตามกำลัง กระทำกิจในวิปัสสนา ย่อมสามารถดำรงอยู่ในพระอรหัตต์ได้ ก็คนที่ชื่อว่าออกบวชจากตระกูล นอกจากนี้มีไม่มาก พวกคหบดีเท่านั้นมีมาก ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชี้คหบดีก่อน เพราะกำจัดมานะได้และมีมาก. บทว่า อญฺญตรสฺมึ วา ได้แก่ หรือในตระกูลนอกนี้ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง. บทว่า ปจฺฉา ชาโต แปลว่า เกิดภายหลัง. บทว่า ตถาคเต สทฺธํ ปฏิลภติ ความว่า ฟังธรรมที่บริสุทธิ์แล้ว กลับได้ศรัทธาในพระตถาคตผู้เป็นเจ้าของธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสัมมาสัมพุทธะหนอ. บทว่า อิติปฏิสญฺจิกฺขติ ได้แก่ พิจารณาเห็นอย่างนี้. บทว่า สมฺพาโธ ฆราวาโส ความว่า แม้ถ้าว่า สองสามีภรรยาอยู่ในเรือนห่าง ๖๐ ศอก หรือระหว่างร้อยโยชน์ แม้เช่นนั้น ฆราวาสก็ชื่อว่าคับแคบ เพราะอรรถว่าสองสามีภรรยานั้นมีความกังวลมีความห่วงใยกัน. คำว่า รชาปโถ ท่าน จริงอยู่ ผู้บวชแล้ว แม้อยู่ในเรือนยอดปราสาทแก้วและเทพวิมานเป็นต้น ที่มีประตูหน้าต่างปิดที่เขาปกปิดไว้ ก็ไม่ข้องไม่ขัดไม่ติด. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า บรรพชาว่างอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ฆราวาสชื่อว่าคับแคบ เพราะไม่มีโอกาสทำบุญ ชื่อว่ารชาปถะ เพราะเป็นที่รวมแห่งธุลีคือกิเลส ดุจสถานที่กองขยะที่เขาไม่ระวัง บรรพชาชื่อว่าอัพโภกาส เพราะมีโอกาสทำบุญได้ตามสะดวก. ในคำว่า นยิทํ สุกรํ ฯเปฯ ปพฺพเชยฺยํ นี้ จะกล่าวอย่างสังเขปดังนี้ พรหมจรรย์ คือสิกขา ๓ นี้ใด ชื่อว่าบริบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะทำไม่ขาดแม้วันเดียวพึงให้ถึงจริมกจิต และชื่อว่าบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เพราะไม่หม่นหมองด้วยมลทินคือกิเลสแม้แต่วันเดียวให้ถึงจริมกจิต. บทว่า สงฺขลิขิตํ ได้แก่ พึงประพฤติเช่นเดียวกับสังข์ขัด คือเทียบด้วยสังข์ที่ขัดแล้ว. ผู้อยู่ครองเรือน คือผู้อยู่ท่ามกลางเรือนประพฤติพรหมจรรย์ที่บริสุทธิบริบรูณ์โดยส่วนเดียวดังสังข์นี้ กระทำไม่ได้ง่าย. ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด ครองคือนุ่งห่มผ้าที่ชื่อกาสายะ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาดที่เหมาะสำหรับผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน. ก็เพราะเหตุที่การงานมีไถนาและค้าขายเป็นต้น เกื้อกูลแก่เรือน เรียกว่าอคาริยะ และอคาริยกิจนั้นไม่มีในบรรพชา ฉะนั้น บรรพชาพึงทราบว่า อนคาริยะ ในคำนี้. ไม่มีกิจของผู้ครองเรือนนั้น. บทว่า ปพฺพเชยฺยํ แปลว่า พึงปฏิบัติ. บทว่า อปฺปํ วา ความว่า โภคะต่ำกว่าพันลงมา ชื่อว่าน้อย สูงกว่าพันขึ้นไป ชื่อว่ามาก. เครือคือญาติ ชื่อว่าเครือญาติ เพราะอรรถว่าเกี่ยวพัน เครือญาตินั้นต่ำกว่า ๒๐ ลงมาชื่อว่าน้อย สูงกว่า ๒๐ ขึ้นไปชื่อว่ามาก. บทว่า ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน ความว่า ภิกษุผู้ชื่อว่าสมาปันนะ เพราะศึกษาในสิกขากล่าวคืออธิศีล และสาชีพกล่าวคือสิกขาบท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ร่วมกัน มีชีวิตเป็นอันเดียวกัน มีความประพฤติเสมอกัน ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สิกขาสาชีวสมาปันนะ สำหรับภิกษุทั้งหลาย. ความว่า ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์ และไม่ล่วงละเมิดสาชีพ เข้าถึงสิกขาและสาชีพทั้งสองนั้น. กถาว่าด้วยปาณาติบาตเป็นต้น ในคำว่า ปาณาติปาตํ ปหาย เป็นต้น ท่าน บทว่า ปหาย ได้แก่ ละความทุศีล กล่าวคือเจตนาฆ่าสัตว์นี้. บทว่า ปฏิวิรโต โหติ ความว่า งดเว้นจากความทุศีลนั้น ตั้งแต่เวลาที่ละได้แล้ว. บทว่า นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ ความว่า ชื่อว่าทิ้งไม้ทิ้งมีด เพราะไม่ถือไปเพื่อจะฆ่าเขา. ก็ในที่นี้เครื่องมือที่เหลือแม้ทั้งหมดเว้นไม้เสีย พึงทราบว่ามีด เพราะเป็นเครื่องเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายถือไม้เท้าหรือมีดเหลาไม้สีฟันหรือมีดพับ ไม่ใช่เพื่อจะฆ่าเขา ฉะนั้น จึงนับว่าทิ้งไม้ทิ้งมีด. บทว่า ลชฺชี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความละอาย มีความเกลียดบาปเป็นลักษณะ. บทว่า ทยาปนฺโน ได้แก่ ถึงความเอ็นดู คือความเป็นผู้มีจิตเมตตา. บทว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปิ ได้แก่ เป็นผู้อนุเคราะห์สรรพสัตว์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดูนั้น. บทว่า วิหรติ ได้แก่ ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปคือเลี้ยงอัตภาพ. บุคคลผู้ชื่อว่า ทินฺนาทายี เพราะถือเอาสิ่งของที่เขาให้แล้วเท่านั้น. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะหวังเฉพาะแต่สิ่งที่เขาให้ด้วยจิตเท่านั้น. บุคคลใดย่อมลัก บุคคลนั้นชื่อว่าขโมย. ด้วยขโมยหามิได้ ชื่อว่า อถเนน มิใช่ด้วยขโมย. ชื่อว่าเป็นผู้สะอาด เพราะเป็นผู้ไม่ขโมยนั่นเอง. .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค จูฬหัตถิปโทปมสูตร อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง |