![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเญหิ จ ความว่า พร้อมกันพระสาวกเป็นอันมากผู้มีชื่อเสียงแม้เหล่าอื่น ยกเว้นพระเถระ ๑๐ รูปที่มาในพระบาลี. ว่ากันว่า ในคราวนั้น ได้มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่นับจำนวนไม่ได้. บทว่า โอวทนฺติ อนุสาสนฺติ ความว่า สงเคราะห์ด้วยการสงเคราะห์ ๒ ประการ คือ สงเคราะห์ด้วยอามิส สงเคราะห์ด้วยธรรม แล้วโอวาทและพร่ำสอนด้วยการให้โอวาทและพร่ำสอนกรรมฐาน. จ อักษรในบทว่า เต จ นี้ เป็นเพียงอาคมสนธิ. บทว่า อุฬารํ ปุพฺเพนาปรํ วิเสสํ สญฺชานนฺติ ความว่า ย่อมรู้คุณวิเศษมีกสิณบริกรรมเป็นต้นอื่นที่โอฬารกว่าคุณพิเศษเบื้องต้นมีความบริบูรณ์แห่งศีลเป็นต้น. บทว่า อารทฺโธ แปลว่า ยินดีแล้ว. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา คือ เพื่อบรรลุพระอรหัตที่ยังไม่ได้บรรลุ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีเนื้อความดังกล่าวนี้เหมือนกัน. ดิถีที่มีพระจันทร์เพ็ญครบ ๔ เดือน ท้ายเดือน ๑๒ ชื่อว่า โกมุที จาตุมาลินี. แท้จริงดิถีนั้น ชื่อว่า โกมุที เพราะมีดอกโกมุทบาน. เรียกว่า จาตุมาสินี (ครบ ๔ เดือน) เพราะเป็นวันสุดท้ายของเดือนอันมีในฤดูฝน ๔ เดือน. บทว่า อาคเมสฺสามิ ความว่า เราจักคอย. อธิบายว่า เราปวารณาในวันนี้แล้วยังไม่ไปที่ไหน๑- จักอยู่ในที่นี้แหละจนกว่าดิถีนั้น (คือวันเพ็ญเดือน ๑๒) จะมาถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตปวารณาสงเคราะห์ (สงเคราะห์ด้วยปวารณากรรม) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการดังนี้ จึงได้ตรัสอย่างนั้น. ____________________________ ๑- บาลีเป็น อาคนตวา ฉบับพม่าเป็น อคนตวา แปลตามคำหลัง. ธรรมดาปวารณาสงเคราะห์ สงฆ์ย่อมให้ด้วยญัตติทุติยกรรม. ถามว่า ปวารณาสงเคราะห์นี้สงฆ์จะให้แก่ใคร ไม่ให้แก่ใคร? ตอบว่า เบื้องต้น ไม่ให้แก่พาลปุถุชนผู้ไม่ใช่การกบุคคล ภิกษุผู้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาและพระอริยสาวก ก็ไม่ให้เหมือนกัน. อนึ่ง ไม่ให้แก่ภิกษุผู้มีสมถะหรือวิปัสสนายังอ่อน. ในคราวนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพิจารณาวาระจิตของภิกษุทั้งหลาย ทรงทราบว่าสมถะและวิปัสสนายังอ่อน จึงทรงพระดำริว่า เมื่อเราไม่ปวารณาในวันนี้ ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้ว จักเที่ยวไปในกรุงสาวัตถีนี้ (ต่างรูปต่างไป) ในทิศทั้งหลาย แต่นั้น ภิกษุเหล่านี้จักไม่สามารถทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ ในเมื่อภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า ถือเอาเสนาสนะเสียเต็มหมด (ธรรมเนียมที่ทรงอนุญาตให้ผู้แก่พรรษากว่าจับจองเสนาสนะได้ก่อน) ถ้าแม้เราออกจาริกไป ภิกษุเหล่านี้ก็จักหาสถานที่อยู่ได้ยาก แต่เมื่อเราไม่ปวารณา แม้ภิกษุเหล่านี้จักไม่เที่ยวไป ตลอดกรุงสาวัตถีนี้ แม้เราก็จักยังไม่ออกจาริก เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุเหล่านี้ก็จักไม่เป็นกังวล (เรื่อง) สถานที่อยู่ เธอทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุกในสถานที่อยู่ของตนๆ สามารถเพื่อจะทำสมถะและวิปัสสนาให้แก่กล้า แล้วยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้. พระองค์จึงไม่ทรงทำปวารณาในวันนั้น ทรงอนุญาตปวารณาสงเคราะห์แก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราจักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ก็เมื่อภิกษุทั้งหลายได้ปวารณาสงเคราะห์แล้ว อาจารย์และอุปัชฌาย์ของภิกษุรูปใดผู้ยังถือนิสัย พากันหลีกไปเสีย แม้ภิกษุรูปนั้นก็จะอยู่ได้จนถึงเดือนสุดท้ายของฤดูร้อน. ด้วยความหวังว่า ถ้า (จักมี) ภิกษุผู้สมควรให้นิสัยมา เราจักถือนิสัยในสำนักของภิกษุนั้น. ถึงแม้จะมีภิกษุ ๖๐ พรรษามา ก็จะถือเอาเสนาสนะของเธอไม่ได้. ก็แหละปวารณาสงเคราะห์ นี้แม้จะให้แก่ภิกษุรูปเดียว ก็ย่อมเป็นการให้แก่ภิกษุทุกรูปทีเดียว. บทว่า สาวตฺถึ โอสรนฺติ นี้ ตรัสโดยถือพวกผู้อยู่ได้เดือนหนึ่ง ตามภาวะของตน ในที่ที่พอได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานปวารณาสงเคราะห์ จึงพากันทำอุโบสถกรรม ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ แล้วพากันหลั่งไหลมา. บทว่า ปุพฺเพนาปรํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายกระทำกรรมในสมถะและวิปัสสนาที่ยังอ่อน ได้ทำให้สมถะและวิปัสสนาทั้งหลายมีกำลังขึ้นในที่นี้ นี้ชื่อว่าคุณวิเศษในกาลก่อน. ต่อแต่นั้น ภิกษุทั้งหลายมีจิตตั้งมั่นพิจารณาสังขารทั้งหลาย บางเหล่าทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บางเหล่าทำให้แจ้งอรหัตผล. นี้ชื่อว่าคุณวิเศษอันกว้างขวางยิ่ง. บทว่า อลํ แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่า โยชน์เดียวก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน แม้ ๑๐ โยชน์ก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน เกินกว่านั้นเรียกว่า โยชนคณนานิ (นับเป็นโยชน์ๆ) แต่ในที่นี้ประสงค์เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. เสบียงสำหรับผู้เดินทาง ท่านเรียกว่า ปูโฏส ในคำว่า ปูโฏเสนาปิ อธิบายว่า แม้การถือเอาเสบียงนั้นเข้าไปหาก็ควรแท้. ปาฐะว่า ปูฏํเสน ดังนี้ก็มี. อธิบายความของปาฐะนั้นว่า ชื่อว่า ปูฏํส (ผู้มีเสบียงคล้องบ่า) เพราะที่บ่าของเขามีเสบียงอันบุคคลผู้มีเสบียงคล้องบ่านั้น. อธิบายว่า แม้เอาห่อเสบียงสะพายบ่า. บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้ มีอยู่ในที่นี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุนฺนํ สติปฏฺฐานานํ ดังนี้เป็นต้น ตรัส ในบทว่า อนิจฺจสญฺญาภาวนานุโยคํ นี้ ตรัสวิปัสสนาโดยมีสัญญาเป็นตัวการสำคัญ. ก็เพราะเหตุที่ในที่นี้ภิกษุทั้งหลายสนใจมาก ด้วยอำนาจแห่งอานาปาน ก็อานาปาน บทว่า กายญฺญตรํ ความว่า เรากล่าว อีกอย่างหนึ่ง โกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ คือ รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร ชื่อว่ารูปกาย บรรดาโกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ นั้น อานาปานะ (ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า) เป็นกายชนิดหนึ่ง เพราะสงเคราะห์เข้าในโผฏฐัพพายตนะ แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ตสฺมาติห ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุย่อมตามเห็นวาโยกายอันเป็นกายอย่างหนึ่งในกาย ๔ หรือย่อมตามเห็นอานาปานะอันเป็นกายอย่างหนึ่งในโกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ อันเป็นรูปกาย เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย. พึงทราบเนื้อความในที่ทุกๆ บทเหมือนอย่างนั้น. บทว่า เวทนาญฺญตรํ นี้ ตรัสหมายเอาสุขเวทนาอย่างหนึ่งในเวทนา ๓. บทว่า สาธุกํ มนสิการํ ได้แก่ การใส่ใจดีอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่งการกำหนดรู้ปีติเป็นต้น. ก็การใส่ใจเป็นสุขเวทนาได้อย่างไร? ก็คำนี้เป็นหัวข้อเทศนา. เหมือนอย่างว่า ตรัสปัญญาโดยชื่อว่าสัญญาในคำนี้ว่า อนิจฺจสญฺญาภาวนานุโยคมนุ ก็ในจตุกกะนี้ ตรัสเวทนาไว้ในบทที่ ๑ โดยหัวข้อว่า ปีติ. ตรัสเวทนาโดยรูปของตนเองว่า สุข ในบทที่ ๒. ในจิตต ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุที่เวทนานี้ไม่เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น เวทนาจึงไม่ถูกต้อง? ตอบว่า ไม่ใช่ไม่ถูก เพราะแม้ในการพรรณนาสติปัฏฐานก็กล่าวว่า เวทนาย่อมเสวย (อารมณ์) เพราะทำที่ตั้งแห่งเวทนามีสุขเป็นต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์. ก็เพราะถือเอาความเป็นไปของเวทนาดังกล่าวนั้น คำที่ว่า เราเสวยอารมณ์ย่อมเป็นสักแต่ว่าพูดกันไป. อีกอย่างหนึ่ง ในการพรรณนาเนื้อความของบทว่า ปีติปฏิสํเวที เป็นต้น ท่านได้กล่าวเฉลยคำถามนั้นไว้แล้วทีเดียว. สมจริงดังคำที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ปีติย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ ๑ โดยความไม่หลง ๑ ปีติย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้ว โดยอารมณ์อย่างไร? พระโยคีเข้าฌาน ๒ ฌาน (คือปฐมฌาน ทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ ในขณะที่พระโยคีนั้นเข้าสมาบัติ ปีติย่อมเป็นอันรู้แล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌาน เพราะได้กำหนดรู้อารมณ์. ปีติย่อมเป็นอันได้กำหนดรู้ โดยความไม่หลงอย่างไร? พระโยคีเข้าฌาน ๒ ฌานอันมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณาปีติอันสัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ในขณะที่พระโยคีนั้นเห็นแจ้ง ปีติย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้วโดยความไม่หลง เพราะแทงตลอดไตรลักษณ์. สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า สติย่อมปรากฏแก่พระโยคีผู้รู้ถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (แน่วแน่) ไม่ฟุ้งซ่าน เนื่องด้วยการหายใจเข้าออกยาว. ปีตินั้นย่อมเป็นอันกำหนดรู้ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น. แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบความหมายโดยนัยนี้นั้นแล. ดังกล่าวมานั้น ปีติ สุขและจิตตสังขารย่อมเป็นอันกำหนดรู้โดยอารมณ์ เพราะการได้ฌานฉันใด เวทนาย่อมเป็นอันกำหนดรู้โดยอารมณ์ เพราะการได้มนสิการ (การใส่ใจ) กล่าวคือเวทนาอันสัมปยุตด้วยฌานแม้นี้ก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น คำนี้นั้นว่า ในสมัยนั้น ภิกษุมีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา ในคำนี้ที่ว่า นาหํ ภิกฺขเว มุฏฺฐสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส ดังนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ดังนี้ ชื่อว่าทำอัสสาสปัสสาสนิมิตให้เป็นอารมณ์ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น ภิกษุนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตเหมือนกัน เพราะจิตของภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติและสัมปชัญญะในอารมณ์เป็นไป. เพราะอานาปานสติภาวนาย่อมไม่มีแก่ผู้มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว. เพราะฉะนั้นในสมัยนั้น ภิกษุย่อมเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตเป็นต้นโดยอารมณ์. ในคำนี้ที่ว่า โส ยนฺตํ อภิชฺฌาโทมนสฺสานํ ปหานํ ตํ ปญฺญาย ทิสฺวา สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ (ภิกษุนั้นเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา ย่อมเป็นผู้วางเฉยเป็นอันดี) ดังนี้ ทรงแสดงกามฉันทนิวรณ์ด้วยอภิชฌา ทรงแสดงพยาบาทนิวรณ์ด้วยโทมนัส. ก็ ๔ หมวดนี้ ตรัสด้วยอำนาจวิปัสสนาเท่านั้น. ก็ธัมมานุปัสสนามี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจนิวรณบรรพ (คือการแบ่งเป็นข้อมีข้อที่ว่าด้วยนิวรณ์) เป็นต้น นิวรณบรรพเป็นข้อต้นของธัมมานุปัสสนานั้น นิวรณ์ ๒ อย่างนี้ (คือ บทว่า ปหานํ ท่านประสงค์เอาญาณเป็นเครื่องทำการละอย่างนี้ว่า ละนิจจ ด้วยบทว่า ตํ ปญฺญาย ทิสฺวา ท่านแสดงวิปัสสนาที่สืบต่อกันอย่างนี้ คือ (แสดง) ปหาน บทว่า อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ความว่า ชื่อว่าย่อมเพ่งดูโดยส่วนสอง คือเพ่งดูผู้ปฏิบัติสมถะและเพ่งดูความปรากฏร่วมกัน. ในการเพ่งดูสองส่วนนั้น การเพ่งดูสห บทว่า ตสฺมาติห ภิกฺขเว ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมเป็นผู้เห็นธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นแล้วเพ่งดูอย่างเดียวหามิได้ แต่แม้ญาณเป็นเครื่องละธรรมทั้งหลายที่กล่าวโดยหัวข้อ คืออภิชฌาและโทมนัส ก็ย่อมเป็นของอันภิกษุเห็นด้วยปัญญาแล้วเพ่งดูอยู่. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุมีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ในสมัยนั้น. บทว่า ปวิจินติ ได้แก่ ย่อมไตร่ตรอง ด้วยอนิจจลักษณะเป็นต้น สองบทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า ปวิจินติ นี้นั่นแหละ. บทว่า นิรามิสา แปลว่า หมดกิเลส. บทว่า ปสฺสมฺภติ ความว่า เพราะกิเลสทางกายและทางใจสงบ แม้กายและจิตก็ย่อมสงบ. บทว่า สมาธิยติ ได้แก่ ตั้งไว้โดยชอบ คือเป็นเหมือนถึงความแนบแน่น (อัปปนา). บทว่า อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้เพ่งดูด้วยการเพ่งดูสหชาตธรรม. สติในกายนั้นของภิกษุนั้น ผู้กำหนดกายด้วยอาการ ๑๔ อย่างด้วยประการอย่างนี้ เป็นสติสัมโพช ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวถึงอะไร? กล่าวถึงวิปัสสนา พร้อมด้วยลักษณะต่างๆ ที่เป็นชั่วขณะจิตเดียวว่า ชื่อว่าสัม บทเป็นต้นว่า วิเวกนิสฺสิตํ มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็ในที่นี้ สติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นโลกิยะ. อานาปานสติอันเป็นโลกิยะ ย่อมทำสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะให้บริบูรณ์ โลกิย ส่วนพระเถระกล่าวว่า ในสูตรอื่นเป็นอย่างนั้น แต่ในสูตรนี้ โลกุตระจะมาข้างหน้า (ต่อไป) โลกิย จบอรรถกถาอานาปานสติสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค อานาปานสติสูตร จบ. |