ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 1อ่านอรรถกถา 18 / 2อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ อนิจจวรรคที่ ๑
๑. อัชฌัตติกอนิจจสูตร

               สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย               
               สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์               
               ปฐมปัณณาสก์               
               อรรถกถาอัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑               
               ในสฬายตนวรรค อัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า จกฺขุํ ได้แก่ จักษุ ๒ คือ ญาณจักษุ ๑ มังสจักษุ ๑.
               ในจักษุ ๒ อย่างนั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ สมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ.
               ในจักษุ ๕ อย่างนั้น ที่ชื่อว่าพุทธจักษุ ได้แก่ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณ ซึ่งมาในพระบาลีว่า ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. ที่ชื่อธรรมจักษุ ได้แก่ มรรคจิต ๓ ผลจิต ๓ ซึ่งมาในพระบาลีว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ธรรมจักษุปราศจากกิเลสดุจธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่าสมันตจักษุ ได้แก่ สัพพัญญุตญาณ ที่มาในพระบาลีว่า ปาสาทมารุยฺห สมนฺตจกฺขุํ สมันตจักษุขึ้นสู่ปราสาท. ที่ชื่อว่าทิพยจักษุ ได้แก่ ญาณที่เกิดขึ้นด้วยการขยายอาโลกกสิณ ที่มาในพระบาลีว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน ด้วยทิพยจักษุอันหมดจด. ที่ชื่อว่าปัญญาจักษุ ได้แก่ ญาณในการกำหนดสัจจะ ๔ ซึ่งมาในพระบาลีว่า จกฺขุํ อุทปาทิ จักษุ (ธรรมจักษุ) เกิดขึ้นแล้ว.
               แม้มังสจักษุก็มี ๒ อย่าง คือ สัมภารจักษุ ๑ ปสาทจักษุ ๑.
               ใน ๒ อย่างนั้นว่าโดยสังเขป ชิ้นเนื้ออันชั้นของตาล้อมไว้ในกระบอกตา มีองค์ประกอบ ๑๓ อย่าง คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา สัมภวรูป ชีวิตรูป ภาวรูป จักษุปสาทรูป กายปสาทรูป.
               แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร รูป ๙ เหล่านี้ คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา สัมภวรูป ว่าด้วยอำนาจสมุฏฐาน ๔ (๙x๔) เป็นรูป ๓๖ รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ๔ เหล่านี้ คือ ชีวิตรูป ๑ ภาวรูป ๑ จักษุปสาทรูป ๑ กายปสาทรูป ๑ จึงรวมเป็นสสัมภารรูป ๔๐ นี้ชื่อว่าสสัมภารจักษุ.
               ก็ในสสัมภารจักษุรูปเหล่านี้ รูปใดที่สามารถเพื่ออันเห็นรูปที่ตั้งอยู่ในลูกตาที่เห็นได้แวดล้อมด้วยแววตาดำที่กำหนดไว้ด้วยลูกตาขาว รูปนี้ชื่อว่าปสาทจักษุ. กถาว่าโดยพิสดารแห่งจักขุปสาทรูปและโสตปสาทรูปเป็นต้นอื่นจากจักษุปสาทรูปนั้น กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคแล.
               ในรูปเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาจักขุปสาทรูป จึงตรัสว่า จกฺขุํ ภิกฺเว อนิจฺจํ ดังนี้ เป็นต้น. ในพระบาลีนั้น กถาว่าโดยพิสดารท่านประกาศไว้แล้วในหนหลัง โดยนัยมีอาทิว่า จตูหิ การเณหิ อนิจฺจํ อุทยพฺพยวนฺตตาย รูปชื่อว่า ไม่เที่ยงด้วยเหตุ ๔ ประการ เพราะมีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา.
               บทว่า โสตญฺจ ท่านประสงค์เอาเฉพาะโสตปสาทรูป. ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูปและกายปสาทรูปก็เหมือนกัน.
               บทว่า มโน ได้แก่ จิตที่ดำเนินไปในการพิจารณาอันเป็นไปในภูมิ ๓. ดังนั้น พระสูตรนี้ พระองค์ตรัสไว้ตามอัธยาศัยของสัตว์ผู้ตรัสรู้ ในเพราะเมื่อพระองค์ตรัสแสดงลักษณะ ๓ ในอายตนะภายใน ๖ ไว้แล้ว.

               จบอรรถกถาอัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ อนิจจวรรคที่ ๑ ๑. อัชฌัตติกอนิจจสูตร จบ.
อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 1อ่านอรรถกถา 18 / 2อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=1&Z=25
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :