![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อรรถกถากรรมสูตรที่ ๑ บทว่า นวปุราณานิ แปลว่า ใหม่และเก่า. บทว่า จกฺขุํ ภิกฺขเว ปุราณกมฺมํ ความว่า จักษุ ไม่เป็นของเก่า. กรรมต่างหากเป็นของเก่า แต่ท่านกล่าวอย่างนั้น ตามชื่อแห่งปัจจัยเพราะเกิดแต่กรรม. บทว่า อภิสงฺขตํ ความว่า อันปัจจัยประชุมปรุงแต่งขึ้น. บทว่า อภิสญฺเจตยิตํ ได้แก่ สำเร็จด้วยเจตนา. บทว่า เวทนิยํ ทฏฺฐพฺพํ ความว่า พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา. บทว่า นิโรธา วิมุตฺตึ ผุสติ ความว่า นิโรธย่อมถูกต้องวิมุตติ เพราะกรรม ๓ อย่างนี้ดับไป. บทว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า นิโรธ ความดับอันเป็นอารมณ์แห่งวิมุตตินั้น นี้ท่านเรียกว่ากรรมนิโรธ ดับกรรม. ดังนั้น จึงตรัสวิปัสสนาอันเป็นบุพภาค ส่วนเบื้องต้นไว้ในพระสูตรนี้. จบอรรถกถากรรมสูตรที่ ๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ นวปุราณวรรคที่ ๕ ๑. กรรมสูตร จบ. |