![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงอย่างนี้ว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี ดุจการขึ้นไปแห่งอรุณ อริยมรรคพร้อมกับวิปัสสนาอันดำรงอยู่ เพราะความเป็นผู้มีมิตรดีแล้วทำให้เกิดขึ้น ดุจความปรากฏแห่งพระอาทิตย์. บทว่า สีลสมฺปทา ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล. บทว่า ฉนฺทสมฺปทา ได้แก่ กัตตุกามยตาฉันทะอันเป็นกุศล. บทว่า อตฺตสมฺปทา คือ ความเป็นผู้มีจิตสมบูรณ์แล้ว. บทว่า ทิฏฺฐิสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งญาณ. บทว่า อปฺปมาทสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทอันเป็นตัวการ. บทว่า โยนิโสมนสิการสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยอุบาย. ท่านกล่าวบทว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้นอีก เพื่อแสดงภาวะโดยอาการแม้อื่นแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. พระสูตรเหล่านี้ทั้งหมด ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของบุคคลโดยเฉพาะ. จบอรรถกถาสุริยเปยยาลที่ ๖ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ ๒. สีลสัมปทาสูตรที่ ๑ ๓. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑ ๔. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑ ๕. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑ ๖. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑ ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ ๘. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒ ๙. สีลสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๐. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๑. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๒. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๓. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒ .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มัคคสังยุตต์ สุริยเปยยาลที่ ๖ จบ. |