บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
คำว่า ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสัทธินทรีย์ คือ ไม่เข้าใจชัดด้วยอำนาจสมุทัยสัจ ไม่เข้าใจชัดนิโรธด้วยสามารถแห่งนิโรธสัจ ไม่เข้าใจชัดทางปฏิบัติด้วยอำนาจมรรคสัจ อย่างนี้แล. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้แหละ. ส่วนในฝ่ายขาว การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจอธิโมกข์ (การน้อมใจเชื่อ). การเกิดขึ้นพร้อมแห่งวิริยินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจการประคับประคองจิตไว้. การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสตินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจการเข้าไปตั้งจิตใจ (การปรากฏ). การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสมาธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจความไม่ซัดส่าย (ไม่ฟุ้งซ่าน). การเกิดขึ้นพร้อมแห่งปัญญินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจ ทรรศนะ (ความเห็น). อีกอย่างหนึ่ง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจฉันทะ (ความพอใจ). การเกิดขึ้นพร้อมแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์และปัญญินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจฉันทะ. การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจมนสิการ. พึงทราบใจความแม้ด้วยประการฉะนี้. ใน ๖ สูตรตามลำดับเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงเกี่ยวกับสัจจะสี่ประการนั่นเอง. จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ สุทธิกวรรคที่ ๑ ๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ จบ. |