บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
#- บาลี เป็นโอวาทวรรค พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :- [ว่าด้วยการชักชวนกันโดยสารเรือลำเดียวกัน] บทว่า อุทฺธคามินึ คือ แล่นทวนกระแสของแม่น้ำขึ้นไป. ก็เพราะผู้ซึ่งเล่นกีฬาทางเรือที่แล่นขึ้นทวนน้ำ โดยวิ่งทวนขึ้นไป ท่านเรียกว่า โดยสารเรือขึ้นน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อุทฺธคามินึ นั้น เพื่อแสดงเฉพาะอรรถเท่านั้น จึงตรัสว่า อุชฺชวนิกาย (แล่นขึ้นทวนน้ำ) ดังนี้. บทว่า อุโธคามินึ คือ แล่นตามกระแสน้ำลงไป. ก็เพราะผู้ซึ่งเล่นกีฬาทางเรือที่แล่นลงตามน้ำ โดยแล่นลงไปทางใต้ ท่านเรียกว่า โดยสารเรือล่องน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแม้แห่งบทว่า อโธคามินึ นั้นเพื่อแสดงแต่อรรถเหมือนกัน จึงตรัสว่า โอชวนิกาย (แล่นลงตามน้ำ) ดังนี้. ในเรือนั้น ชนทั้งหลายย่อมแล่นเรือใดไปเหนือ หรือใต้เพื่อให้ถึงท่าจอดเรือ, ไม่เป็นอาบัติในการแล่นเรือนั้นไปที่นั่น. คำว่า ติริยนฺตรณาย นี้ เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- แม่น้ำใดมีฝั่งข้างหนึ่งต่อเนื่องกันด้วยหมู่บ้าน กำหนดชั่วไก่บินตก, ฝั่งข้างหนึ่งเป็นป่าไม่มีบ้าน, ในเวลาไปทางริมฝั่งที่มีหมู่บ้านแห่งแม่น้ำนั้น เป็นปาจิตตีย์หลายตัวด้วยจำนวนละแวกบ้าน. ในเวลาไปทางข้างริมฝั่งที่ไม่มีบ้าน เป็นปาจิตตีย์มากตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์. แต่แม่น้ำใดมีความกว้าง ๑ โยชน์ แม้ในการไปโดยท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็พึงทราบปาจิตตีย์หลายตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์. ในคำว่า อนาปตฺติ ติรยนฺตรณาย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ไม่ใช่ในแม่น้ำอย่างเดียว, แม้ภิกษุใดออกจากท่าชื่อมหาดิษฐ์ ไปสู่ท่าชื่อตามพลิตติก็ดี ชื่อสุวรรณภูมิก็ดี ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. จริงอยู่ ในทุกๆ อรรถกถา ท่านวิจารณ์อาบัติไว้ในแม่น้ำเท่านั้น ไม่ใช่ในทะเล. ในคำว่า วิสงฺเกเตน แม้นี้ ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะผิดนัดเวลาเท่านั้น. แต่เมื่อไปโดยผิดนัดท่าเรือโดยผิดนัดเรือ เป็นอาบัติทีเดียว. คำที่เหลือพร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นกับปฐมสิกขาบททั้งนั้นแล. นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ ๘ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ โอวาทวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๘ จบ. |