ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 467อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 468อ่านอรรถกถา 20 / 469อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓
๙. อันธสูตร

               อรรถกถาอันธสูตรที่ ๙               
               พึงทราบวินิจฉัยในอันธสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า จกฺขุ น โหติ ได้แก่ ไม่มีปัญญาจักษุ.
               บทว่า ผาตึ กเรยฺย ความว่า พึงทำโภคะ (ที่ได้มาแล้ว) ให้คงอยู่ คือให้เจริญ.
               บทว่า สาวชฺชานวชฺเช ได้แก่ ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ.
               บทว่า หีนปฺปณีเต ได้แก่ ธรรมขั้นต่ำและขั้นสูง.
               บทว่า กณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาเค ความว่า ธรรมดำและธรรมขาวนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความเป็นปฏิภาคกัน โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เพราะขัดขวางกันและกัน.
               ก็ในบทนี้มีความย่อดังต่อไปนี้
               บุคคลพึงรู้จักกุศลธรรมว่า เป็นกุศลธรรม. พึงรู้จักอกุศลธรรมว่า เป็นอกุศลธรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ธรรมที่มีโทษเป็นต้นก็มีนัยนี้แล.
               ส่วนในธรรมที่มีความเป็นปฏิภาคกัน ทั้งธรรมดำและธรรมขาว ธรรมดำ บุคคลพึงรู้ว่ามีความเป็นปฏิภาคกับธรรมขาว. ธรรมขาว บุคคลพึงรู้ว่าเป็นปฏิภาคกับธรรมดำ ด้วยปัญญาจักษุใด จักษุแม้เห็นปานนั้นของบุคคลนั้นไม่มี
               นักศึกษาพึงทราบความหมาย แม้ในวาระที่เหลือโดยนัยดังกล่าวมานี้แล.
               บทว่า น เจว โภคา ตถารูปา ความว่า แม้โภคะชนิดนั้นย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.
               บทว่า น จ ปุญฺญานิ กุพฺพติ ความว่า และเขาย่อมไม่ทำบุญ.
               ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันตรัสถึงความไม่มีแห่งจักษุที่เป็นเหตุให้โภคะเกิดขึ้น และจักษุที่ทำให้เกิดญาณ (ปัญญาจักษุ).
               บทว่า อุภยตฺถ กลิคฺคโห ได้แก่ ถือผิด. อธิบายว่า ถือพลาดในโลกทั้ง ๒ คือ ในโลกนี้และในโลกหน้า.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุภยตฺถ กลิคฺคโห คือ ถือประโยชน์ทั้ง ๒ คือที่เป็นไปในทิฏฐธรรม และสัมปรายภพว่าเป็นโทษ. อธิบายว่า ถือเป็นความผิด.
               บทว่า ธมฺมาธมฺเมน ได้แก่ ด้วยธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ บ้าง ด้วยธรรมคืออกุศลกรรมบถ ๑๐ บ้าง.
               บทว่า สโฐ ได้แก่ มักโอ่.
               บทว่า โภคานิ ปริเยสติ คือ แสวงหาโภคะทั้งหลาย.
               บทว่า เถยฺเยน กูฏกมฺเมน มุสาวาเทน จูภยํ ความว่า แสวงหาโภคะทั้งหลายด้วยกรรมทั้งสอง ในบรรดากรรมมีไถยกรรมเป็นต้น.
               ถามว่า แสวงหาด้วยกรรมทั้งสองอย่างไร.
               ตอบว่า อย่างนี้คือ แสวงหาโภคะทั้งหลายด้วยไถยกรรม (การลักขโมย) และกูฏกรรม (การฉ้อโกง) ได้แก่ แสวงหาด้วยไถยกรรมและมุสาวาท และแสวงหาด้วยกูฏกรรม และมุสาวาท.
               บทว่า สงฺฆาตุํ แปลว่า เพื่อรวบรวม.
               บทว่า ธมฺมลทฺเธหิ ได้แก่ ที่ได้มาโดยไม่ให้เสียธรรม คือกุศลกรรมบถสิบ.
               บทว่า อุฏฺฐานาธิคตํ คือ ที่ได้มาด้วยความเพียร.
               บทว่า อพฺยคฺคมานโส คือมีจิตปราศจากวิจิกิจฉา.
               บทว่า ภทฺทกํ ฐานํ คือ สถานที่ที่ดีที่สุด ได้แก่เทวสถาน.
               บทว่า น โสจติ คือ ไม่เศร้าโศกด้วยความเศร้าโศกภายใน ในที่ใด.

               จบอรรถกถาอันธสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓ ๙. อันธสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 467อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 468อ่านอรรถกถา 20 / 469อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3373&Z=3405
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2410
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2410
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :