![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ปุพฺพงฺคมา ได้แก่ เป็นหัวหน้าโดยอาการ ๒ อย่าง คือโดยสหชาตปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย. หรือเป็นประธานแห่งอกุศลธรรมเบื้องหน้า. จริงอยู่ การเกิดขึ้นแห่งอกุศล เว้นจากอวิชชาเสียแล้วย่อมมีไม่ได้. บทว่า สมาปตฺติยา ได้แก่ ความเป็นไปเพื่อได้ความจริงอันถึงเฉพาะหน้า. ความเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยความเป็นปัจจัยแห่งอโยนิโสมนสิการ ด้วยการปกปิดโทษแห่งความเป็นไปของอกุศล และโดยความที่ยังละไม่ได้ ย่อมปรากฏในความนั้น. คติแม้ทั้งหมด ชื่อว่าทุคติในคาถานี้ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์มีพยาธิและมรณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง กายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต ชื่อว่าทุคติ เพราะคติที่ถูกกิเลสมีราคะเป็นต้นประทุษร้ายเป็นไปทางกาย วาจาและใจ. บทว่า อสฺมึ โลเก ได้แก่ ในโลกนี้หรือในมนุษยคติ. บทว่า ปรมฺหิ จ ได้แก่ ในคติอื่นจากมนุษยคตินั้น. บทว่า อวิชฺชามูลิกา สพฺพา ได้แก่ ความวิบัติแห่งทุจริต แม้ทั้งหมดนั้นมีอวิชชาเป็นมูลอย่างเดียว เพราะมีอวิชชาเป็นหัวหน้าโดยนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา ความว่า ชื่อว่า อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา เพราะอันความปรารถนามีลักษณะแสวงหาสิ่งอันยังไม่ถึงพร้อม และอันความโลภมีลักษณะอยากได้สิ่งอันถึงพร้อมแล้ว ก่อขึ้น คือสะสม. บทว่า ยโต ได้แก่ เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุ เป็นผู้ถูกอวิชชาปกปิด. บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ผู้มีความปรารถนาลามกไม่เห็นโทษ ทำความหลอกลวงเป็นต้นด้วยการยกย่องคุณที่ไม่มี เพราะมีความปรารถนาลามก เพราะถูกอวิชชาปกปิด. พึงเห็นว่า แม้ความปรารถนาในตนก็เป็นอันถือเอาด้วยความโลภเหมือนกัน. บทว่า อนาทโร ได้แก่ เว้นจากความเอื้อเฟื้อในเพื่อนสพรหมจารี เพราะไม่มีโอตตัปปะอันถือโลกเป็นใหญ่. บทว่า ตโต ได้แก่ เพราะเป็นเหตุแห่งอวิชชาความปรารถนาลามก ความไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ. บทว่า ปสวติ ได้แก่สะสมบาป มีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า อปายํ เตน คจฺฉติ ได้แก่ ย่อมไป คือย่อมเข้าถึงอบายมีนรกเป็นต้น เพราะบาปตามที่ขวนขวายนั้น. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะอวิชชาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นรากเหง้าแห่งทุจริตทั้งปวง และเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองอันเป็นแดนเกิดในทุคติทั้งปวงอย่างนี้ ฉะนั้น ภิกษุสำรอกความปรารถนา ความโลภ อวิชชา อหิริกะ และอโนตตัปปะได้ ละด้วยสมุจเฉท. ถามว่า สำรอกอย่างไรจึงจะให้วิชชาเกิดขึ้นได้. ตอบว่า ขวนขวายตามลำดับวิปัสสนาและตามลำดับมรรคแล้วยังวิชชา คืออรหัตมรรคให้เกิดในสันดานของตน. บทว่า สพฺพา ทุคฺคติโย ได้แก่ พึงละ คือพึงสละพึงก้าวล่วงทุคติ กล่าวคือทุจริตแม้ทั้งปวง หรือคติ ๕ ทั้งปวงอันชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. จริงอยู่ กรรมวัฏและวิปากวัฏเป็นอันละได้ด้วยการละกิเลสวัฏนั่นแล ด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาวิชชาสูตรที่ ๓ ------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ทุกนิบาต ทุติยวรรค วิชชาสูตร จบ. |