![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() วรรควรรณนาที่ ๑ อรรถกถาอกุศลมูลสูตร บทว่า ตีณิ เป็นการกำหนดนับจำนวน. บทว่า อิมานิ เป็นคำชี้ชัดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า. บทว่า อกุสลมูลานิ เป็นตัวอย่างแห่งธรรมที่ทรงกำหนดไว้. ในบทว่า อกุสลมูลานิ นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ กิเลสชาติชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะมันเป็นทั้งอกุศล เป็นทั้งรากเหง้า (ของ เรียกว่า ปัจจัย เพราะเป็นเหตุให้ผลอาศัยเป็นไป. เรียกว่า ปภวะ เพราะเป็นแดนเกิดก่อนแห่งผล. เรียกว่า ชนกะ เพราะยังผลของตนให้เกิด. เรียกว่า สมุฏฐาปกะ เพราะให้เผล็ดผล และ เรียกว่า นิพัตตกะ เพราะยังผลให้เกิดขึ้นฉันใด กิเลสชาติมีโลภะเป็นต้น ชื่อว่าเป็นรากเหง้า เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง (แห่งอกุศลทั้งหลาย) ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า บทว่า อกุสลมูลานิ หมายความว่า เป็นเหตุให้ (อกุศลธรรมทั้งหลาย) สำเร็จความเป็นธรรมที่ตั้งไว้สมบูรณ์แล้ว. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความโลภที่ให้อกุศลทั้งหลายสำเร็จความเป็นอกุศล เป็นมูลฐานของอกุศลทั้งหลายมีโลภเป็นต้น เหมือนพืช (พันธุ์) ของข้าวสาลีเป็นต้น เป็นมูลฐานของข้าวสาลีเป็นต้น และเหมือนน้ำใสดุจแก้วมณีเป็นต้น เป็นมูลฐานของประกายของอัญญมณีเป็นต้น ฉะนั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น ในรูปที่มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่พึงมีความที่อกุศลธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพราะว่า รูปที่มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐานเหล่านั้นให้สำเร็จความเป็นอกุศลธรรมแก่มันไม่ได้ แต่ว่าไม่ใช่จะเป็นปัจจัยไม่ได้. สมจริงดังคำที่ตรัสไว้ว่า เหตุเป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยเหตุ และรูปทั้งหลายที่มีธรรมสัมปยุตด้วยเหตุเหล่านั้น เป็นสมุฏฐาน. ____________________________ ๑- อภิ. ป. เล่ม ๔๐/ข้อ ๒ ก็ความที่มีโมหะเป็นอกุศล ไม่พึงมีแก่อเหตุกสัตว์ เพราะไม่มีรากเหง้าอย่างอื่น ที่ให้สำเร็จความเป็นอกุศล. อนึ่ง ความที่ธรรมทั้งหลายมีโลภะเป็นต้น เป็นอกุศลเป็นต้น สำเร็จแล้วโดยสภาวะพึงมีได้ แต่ความที่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยโลภะเป็นต้นเหล่านั้นเป็นอกุศลเป็นต้น เป็นธรรมเนื่องด้วยโลภะเป็นต้น พึงมีได้ดังนี้ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความที่อกุศลธรรมทั้งหลาย แม้มีอโลภะเป็นต้น เป็นกุศลสำเร็จได้โดยสภาวะ เหมือนความที่โลภะเป็นต้นเป็นอกุศลสำเร็จได้โดยสภาวะนั้น. ดังนั้น อโลภะเป็นต้นพึงเป็นกุศลอย่างเดียว ไม่เป็นอัพยากฤตและไม่มีอยู่ด้วย. เพราะฉะนั้น นักศึกษาควรแสวงหาสภาพของกุศลธรรมเป็นต้น แม้ในรากเหง้าทั้งหลายเหมือนในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย บัณฑิตพึงถือเอามูล (รากเหง้านั่นแหละ) ว่าเป็นเหตุ ดุจโยนิโสมนสิการเป็นต้นเป็นเหตุแห่งความเป็นกุศล (และ) ดุจอโยนิโสมนสิการเป็นต้นเป็นเหตุแห่งความเป็นอกุศล. เมื่อไม่ถือเอามูลฐานแห่งความโลภเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการยังความเป็นอกุศลให้สำเร็จ แล้วถือเอา (มูลฐาน) ด้วยอำนาจแห่งการยังความเป็นธรรมที่ เพื่อจะทรงแสดงอกุศลมูลเหล่านั้นโดยสรุป จึงตรัสคำมีอาทิว่า โลโภ อกุสลมูลํ ความโลภเป็นอกุศลมูล ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น คำที่จะต้องกล่าวในความโลภเป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล้วทั้งนั้น ก็ในตอนนั้นความโลภเป็นต้น อันมรรคที่ ๓ จะพึงฆ่ามีมาแล้ว แต่ในพระสูตรนี้ ความโลภเป็นต้นไม่มีเหลือเลย นี่แหละเป็นข้อที่แตกต่างกัน. พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี้ บทว่า ปาปเจตสํ ได้แก่ จิตลามก เพราะประกอบด้วยอกุศลธรรม. บทว่า หึสนฺติ ความว่า ย่อมเบียดเบียนในขณะแห่งความเป็นไปของตน และในขณะแห่งวิบากในอนาคต. บทว่า อตฺตสมภูตา ความว่า เกิดแล้วในตน. บทว่า ตจสารํ ได้แก่ ไม้มีหนาม อธิบายว่า ไม้ไผ่. บทว่า สมฺผลํ ได้แก่ ผลของตน. มีอธิบายว่า ไม่เป็นไม้มีแก่นข้างในเหมือนไม้ตะเคียนและไม้ประดู่ลายเป็นต้น (แต่) เป็นไม้ไผ่เป็นต้นที่ได้นามว่า ตจสาระ เพราะมีแก่นอยู่ข้างนอก คือความโลภเป็นต้นที่เกิดในตนนั่นเอง จะยังบุคคลผู้มีจิตลามก ปราศ จบอรรถกถาอกุศลมูลสูตรที่ ๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปฐมวรรค อกุศลมูลสูตร จบ. |