บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า พราหมณคคหปติกา ได้แก่ ผู้เป็นทั้งพราหมณ์ เป็นทั้งคหบดี คนทุกจำพวกเมื่อครองเรือน ยกเว้นพวกพราหมณ์ พึงทราบว่า ชื่อว่าเป็นคหบดี ในที่นี้ บทว่า เย เท้าความถึงผู้ที่อ้างมาโดยไม่แน่นอน. บทว่า เต เป็นทุติยาวิภัตติพหุวจนะ. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ว่า ทรงแสดงว่าคฤหัสถ์มีอุปการะแก่ภิกษุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยการถวายอามิส คือโดยการแจกแบ่งอามิส ได้แก่โดยการอนุเคราะห์ด้วยอามิสอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า แม้ภิกษุทั้งหลายก็มีอุปการะแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น (เหมือนกัน) โดยการให้ธรรม คือการแจกแบ่งพระธรรม ได้แก่โดยการอนุเคราะห์ด้วยพระธรรม จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว คำนั้น ก็มีนัยดุจที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง. ด้วยคำนี้ พระองค์ตรัสถึงอะไร? ตรัสถึง ความอ่อนน้อมต่อบิณฑบาต (เคารพบิณฑบาต). ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พราหมณคหบดีเหล่านี้ ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ไม่ใช่ลูกหนี้ของเธอทั้งหลาย โดยที่แท้แล้ว เขาต้องการผลวิเศษโดยเข้าใจว่า สมณะเหล่านี้เป็น ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า เอวมิทํ ภิกฺขเว มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างก็อาศัยกันด้วยอำนาจอามิสทานและธรรมทานมีประการดังที่กล่าวมานี้อย่างนี้แล้ว อยู่ประพฤติศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์ ด้วยอำนาจการนิยมอุโบสถศีลเป็นต้น และด้วยอำนาจปาริสุทธศีล ๔ เป็นต้น เพื่อต้องการถอนโอฆะทั้ง ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งกาม (โอฆะ) เป็นต้น และเพื่อทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์แม้ทั้งหมดโดยชอบนั่นเอง. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป บทว่า สาคารา ได้แก่ คฤหัสถ์ทั้งหลาย. บทว่า อนาคารา ได้แก่ ผู้สละเรือนออกบวช. บทว่า อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา ความว่า ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นต่างก็อาศัยกัน. อธิบายว่า คฤหัสถ์ผู้มีเรือนอาศัยธรรมทานของบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน และบรรพชิตผู้ไม่มีเรือนก็อาศัยการถวายปัจจัยของคฤหัสถ์ผู้มีเรือน. บทว่า อาราธยนฺติ ความว่า ให้สำเร็จ คือให้ถึงพร้อม. บทว่า สทฺธมฺมํ ได้แก่ ปฏิบัติสัทธรรมและปฏิเวธสัทธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงพระธรรมที่สูงสุดในบรรดาสัทธรรมเหล่านั้น จึงได้ตรัสว่า โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ (คือ) พระอรหัตและพระนิพพาน. บทว่า สาคาเรสุ ความว่า จากคฤหัสถ์ผู้มีเรือนทั้งหลาย. บทนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในความหมายปัญจมีวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง (หมายความว่า) ในสำนักของคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้มีเรือน. บทว่า ปจฺจยํ ได้แก่ ปัจจัย ๒ อย่าง ที่เหลือจากที่กล่าวมาแล้ว คือบิณฑบาตและเภสัช. บทว่า ปริสฺสยวิโนทนํ ได้แก่ ที่อยู่อาศัยมีวิหารเป็นต้น ที่บำบัดอันตรายมีอันตรายที่เกิดจากฤดูเป็นต้น. บทว่า สุคตํ ได้แก่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกพร้อมด้วยกัลยาณปุถุชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติชอบแล้ว. ความจริง พระสาวกพระองค์ทรงประสงค์เอาว่า สุคต ในพระคาถานี้. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหาเรือน. อธิบายว่า ผู้มีปกติอยู่บ้านครอบครองเรือนแสวงหาอุปกรณ์แห่งโภคทรัพย์และคุณธรรมมีศีลของคฤหัสถ์เป็นต้น. บทว่า สทฺทหนฺตา อรหตํ ความว่า ผู้เชื่อถ้อยคำของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันต์ หรือเชื่อข้อปฏิบัติชอบของท่านเหล่านั้น. อธิบายว่า เชื่อมั่นอยู่ว่า ท่านเหล่านี้เป็นผู้ปฏิบัติชอบแน่นอน สำหรับผู้ปฏิบัติตามที่ท่านเหล่านี้บอก การปฏิบัตินั้นก็จะเป็นไปเพื่อสวรรคสมบัติและนิพพานสมบัติ. ปาฐะว่า สทฺทาตา ดังนี้ก็มี. บทว่า อริยปญฺญาย ความว่า ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ดีแล้ว. บทว่า ฌายิโน ความว่า ผู้เพ่งด้วยฌานทั้ง ๒ คืออารัมมณูปนิชฌานและ บทว่า อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน ความว่า ครั้นปฏิบัติธรรมมีศีลเป็นต้นที่เป็นทางแห่งโลกิยสุขและโลกุตรสุข ในอัตภาพนี้หรือในศาสนานี้แล้ว จะไปสู่สุคติ ตลอดเวลาที่ยังไม่บรรลุปรินิพพาน. บทว่า นนฺทิโน ความว่า ชื่อว่าผู้มีปกติเพลิดเพลิน เพราะประกอบด้วยปีติและโสมนัส. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ธมฺมํ จริตฺวาน มคฺคํ ความว่า บรรลุโสดาปัตติมรรค. บทว่า เทวโลกสฺมึ ความว่า ในเทวโลกชั้นกามาพจรทั้ง ๖ ชั้น. บทว่า โมทนฺติ กามกามิโน ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่กาม คือเป็นผู้ประสงค์บันเทิงอยู่ เพราะสำเร็จตามวัตถุที่ประสงค์แล้ว. จบอรรถกถาพหุการสูตรที่ ๘ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต พหุการสูตร จบ. |