บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
มีอุบัติอย่างไร? มีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถาม. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกเหมวตยักษ์ทูลถามจึงตรัสพระดำรัสว่า ฉสุ โลโก สมุปฺปนฺโน เมื่ออายตนะหกเกิด โลกก็เกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น ในสูตรนั้น คำว่า อชฺช ปณฺณรโส เป็นต้น สาตาคิรยักษ์กล่าว. คำว่า อิติ สาตาคิโร เป็นต้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว. คำว่า กจฺจิ มโน เป็นต้น เหมวตยักษ์กล่าว. คำว่า ฉสุ โลโก เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส. คำทั้งหมดนั้นรวมเข้ากัน เรียกว่า เหมวตสูตร. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สาตาคิรสูตร ดังนี้ก็มี. ในสูตรนั้น คาถาว่า อชฺช ปณฺณรโส เป็นต้น มีอุบัติดังนี้ :- ในภัทรกัปนี้นั่นแล มนุษย์ทั้งหลายได้กระทำสรีรกิจด้วยการบูชาอย่างใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ผู้ทรงอุบัติในสมัยคนทั้งหลายมีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ทรงดำรงพระชนมายุได้ ๑๖,๐๐๐ ปีแล้วปรินิพพาน. พระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป นั้นไม่กระจัดกระจาย ตั้งอยู่เป็นก้อนเดียวกันดุจก้อนทองคำฉะนั้น เพราะนั่นเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชนมายุยืนทั้งหลาย. ส่วนพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชนมายุน้อยทั้งหลายอันชนจำนวนมากยังไม่ทันเห็น ก็เสด็จปรินิพพานก่อน เพราะฉะนั้น จึงทรงอธิษฐานว่า ขอพระธาตุทั้งหลายจงกระจัดกระจาย ด้วยทรงอนุเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายในที่นั้นๆ ทำแม้การบูชาพระธาตุแล้วจักประสบบุญ ด้วยเหตุนั้น พระธาตุทั้งหลายของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชนมายุน้อยเหล่านั้น จึงกระจัดกระจายไปดุจเศษส่วนของทองคำ เหมือนพระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ฉะนั้น. มนุษย์ทั้งหลายได้ทำเรือนบรรจุพระธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นให้มีแห่งเดียวเท่านั้น ให้ประดิษฐ์พระเจดีย์ โดยส่วนสูงและโดยรอบ ๑ โยชน์ พระเจดีย์นั้นมีประตู ๔ แห่งห่างกันประตูละ ๑ คาวุต. พระเจ้ากิงกราชทรงสร้าง ๑ ประตู. พระราชโอรสของพระองค์พระนามว่าปฐวินธร ทรงสร้าง ๑ ประตู. อำมาตย์ผู้เป็นหัวหน้าของเสนาบดีทั้งหลายสร้าง ๑ ประตู. ชาวชนบทมีเศรษฐีเป็นหัวหน้าสร้าง ๑ ประตู. อิฐก้อนเดียวสำเร็จด้วยทองคำสีสุกปลั่ง และสำเร็จด้วยรัตนะต่างๆ เทียบเทียมกับรสแห่งทองคำสีสุกปลั่ง แต่ละก้อนมีราคาหนึ่งแสนกหาปณะ มนุษย์เหล่านั้นได้ทำกิจด้วยดินเหนียวหรดาลและมโนศิลาทั้งหลาย และกิจด้วยน้ำด้วยน้ำมันหอม ได้ประดิษฐ์พระเจดีย์นั้นไว้. เมื่อพระเจดีย์ประดิษฐ์อย่างนี้แล้ว กุลบุตร ๒ คนเป็นสหายกันออกบวชในสำนักของพระสาวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย. จริงอยู่ พระสาวกผู้ใหญ่ทั้งหลายของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชนมายุยืนเท่านั้น ย่อมให้บรรพชา ให้อุปสมบท ให้นิสัย สาวกทั้งหลายนอกนี้ย่อมไม่ได้. แต่นั้น กุลบุตรเหล่านั้นถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในศาสนามีธุระเท่าไร. พระเถระกล่าวว่า ธุระมี ๒ อย่าง คือ วาสธุระ ๑ ปริยัติธุระ ๑. ในธุระ ๒ อย่างนั้น กุลบุตรผู้บวชแล้วอยู่ในสำนักของพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์สิ้น ๕ ปี บำเพ็ญข้อวัตรและปฏิบัติทำปาฏิโมกข์ และภาณวารและสูตร ๒-๓ สูตร ให้คล่องแคล่ว เรียนกรรมฐานเข้าสู่ป่าโดยไม่มีความอาลัยในตระกูลหรือคณะ สืบต่อ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต นี้ชื่อว่าวาสธุระ. ส่วนกุลบุตรเล่าเรียน ๑ นิกาย ๒ นิกายหรือ ๕ นิกายตามกำลังของตน พึงตามประกอบศาสนาให้บริสุทธิ์ดีโดยปริยัติและโดยอรรถ นี้เรียกว่าปริยัติธุระ. ลำดับนั้น กุลบุตรเหล่านั้นกล่าวว่า บรรดาธุระ ๒ อย่าง วาสธุระเท่านั้นประเสริฐ คิดว่า ก็พวกเรายังหนุ่มจักบำเพ็ญวาสธุระในเวลาตนแก่จักบำเพ็ญปริยัติธุระก่อน จึงปรารภปริยัติ. ท่านทั้งสองโดยปกติเทียวเป็นคนมีปัญญา ต่อกาลไม่นานนักก็มีความรู้อันกระทำแล้วในพุทธพจน์ทั้งสิ้น และเป็นผู้ฉลาดในการวินิจฉัยในวินัยอย่างยิ่ง ท่านทั้งสองนั้นเพราะอาศัยปริยัติจึงมีบริวารเกิดขึ้น เพราะอาศัยบริวารจึงมีลาภ แต่ละรูปมีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร ท่านเหล่านั้นแสดงอยู่ซึ่งศาสนาของพระศาสดา เป็นเหมือนพุทธกาลอีก. ในกาลนั้น ภิกษุ ๒ รูป คือ พระธรรมวาที ๑ พระอธรรมวาที ๑ อยู่ในวัดใกล้บ้าน พระอธรรมวาทีเป็นคนดุร้าย หยาบคาย ปากจัด อัชฌาจารของพระอธรรมวาทีนั้นปรากฏแก่พระธรรมวาทีนอกนี้ แต่พระธรรมวาทีเตือนพระอธรรมวาทีนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ กรรมนี้ของท่านไม่สมควรแก่ศาสนา. พระอธรรมวาทีจึงคัดค้านว่า ท่านเห็นอะไร ท่านฟังอะไร. พระธรรมวาทีอีกรูปจึงกล่าว พระวินัยธรทั้งหลายจักรู้. แต่นั้น พระอธรรมวาทีรู้ว่า ถ้าพระวินัยธรทั้งหลายจักวินิจฉัยเรื่องนี้ไซร้ ที่พึ่งของเราในศาสนาจักไม่มีแน่ ประสงค์จะทำเป็นฝักฝ่ายของตน จึงถือบริขารทั้งหลายก่อนเทียว เข้าหาพระเถระ ๒ รูปนั้น ถวายสมณบริขาร ปรารภเพื่ออยู่ด้วยนิสัยต่อพระเถระเหล่านั้น และได้ทำการบำรุงทั้งหมดแก่พระเถระเหล่านั้น ดุจประสงค์เพื่อบำเพ็ญข้อวัตรและปฏิบัติโดยเคารพ. แต่นั้น ในวันหนึ่ง พระอธรรมวาทีไปสู่ที่บำรุง ไหว้แล้วแม้อันพระเถระเหล่านั้นปล่อยไปอยู่ก็ยังยืนอยู่นั่นเทียว พระเถระทั้งหลายจึงถามพระอธรรมวาทีนั้นว่า มีอะไรจะพึงพูดอีกหรือ? พระอธรรมวาทีนั้นเรียนว่า มีขอรับผม มีการทะเลาะกับภิกษุรูปหนึ่ง เพราะอาศัยอัชฌาจารของผม ถ้าภิกษุนั้นมาที่นี้จักบอกเรื่องนั้นไซร้ โปรดอย่าวินิจฉัยตามวินิจฉัย. พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า การไม่วินิจฉัยเรื่องที่เกิดตามวินิจฉัยไม่ควร. พระอธรรมวาทีนั้นเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อท่านทำการวินิจฉัยอย่างนั้น กระผมจะไม่มีที่พึ่งในศาสนา ความชั่วนั่นจงยกให้แก่กระผมเถิด ขอท่านทั้งหลายอย่าวินิจฉัยเรื่องนั้น. พระวินัยธรเหล่านั้นถูกพระอธรรมวาทีบีบคั้นอยู่จึงยอมรับ พระอธรรมวาทีนั้นรับปฏิญญาของพระวินัยธรเหล่านั้นแล้ว ไปสู่อาวาสนั้นอีกกล่าวว่า เรื่องทั้งหมดจบแล้ว ในสำนักของพระวินัยธรทั้งหลาย ดูหมิ่นพระธรรมวาทีนั้นให้หนักข้อยิ่งขึ้น จึงพูดคำหยาบคาย. พระธรรมวาทีคิดว่า พระอธรรมวาทีนี้มีที่อิงอาศัย จึงออกไปทันที เข้าไปหาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ซึ่งเป็นบริวารของพระเถระทั้งหลาย แล้วกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระเถระควรวินิจฉัยเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมมิใช่หรือ? หรือไม่ให้ระลึก ให้แสดงความล่วงเกินกะกันและกันแล้ว พึงทำความสามัคคี แต่พระเถระเหล่านี้ไม่วินิจฉัยเรื่องเลย ไม่ทำความสามัคคี นั่นเรื่องอะไรกัน. ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นฟังแล้วก็นิ่งเสีย ด้วยคิดว่า เรื่องอะไรๆ พระอาจารย์ทั้งหลายรู้แล้วมิใช่หรือ? แต่นั้น พระอธรรมวาทีได้โอกาสจึงเบียดเบียนพระธรรมวาทีนั้นว่า ในกาลก่อนท่านพูดว่า พระวินัยธรทั้งหลายจักรู้ บัดนี้ ท่านจงบอกเรื่องนั้นแก่พระวินัยธรเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ท่านแพ้แล้วแต่วันนี้ จงอย่ามาสู่อาวาสนั้นดังนี้ ก็หลีกไป. แต่นั้น พระธรรมวาทีเข้าไปหาพระเถระ ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นสลดจิต เกิดความรังเกียจว่า พวกเรารักษาบุคคลโยนรัตนะคือพระศาสนาลงในเหว เธอเหล่านั้นถึงแล้ว ประกอบแล้วด้วยความรังเกียจนั้นนั่นแล พวกเธอทำกาละแล้วไม่อาจเพื่อเกิดในสวรรค์. อาจารย์คนหนึ่งเกิดในเหมวตบรรพตในหิมวันตประเทศ เป็นยักษ์ชื่อว่าเหมวตะ. อาจารย์คนที่สองเกิดในสาตบรรพตในมัชฌิมประเทศ เป็นยักษ์ชื่อว่าสาตาคิระ. ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นผู้เป็นบริวารของอาจารย์ทั้งสองนั้น ปฏิบัติตามอาจารย์เหล่านั้น ไม่อาจเพื่อเกิดในสวรรค์ ก็เกิดเป็นยักษ์ผู้เป็นบริวารของยักษ์ทั้งสองนั้น. ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ถวายปัจจัยแก่ภิกษุเหล่านั้นเกิดในเทวโลก. เหมวตยักษ์และสาตาคิรยักษ์เป็นเจ้ายักษ์ที่มีอานุภาพมากในภายในเสนาบดียักษ์ ๒๘ ตน. ก็ธรรมดาของเสนาบดียักษ์ทั้งหลายนี้ คือเทวดาทั้งหลายประชุมกันในภคลวติมณฑป บน ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์กล่าวกะเหมวตยักษ์นั้นว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์! ธรรมดา ฝ่ายเหมวตยักษ์ก็กล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์! ธรรมดามัชฌิมประเทศสมมติกันว่ามีความอัศจรรย์ ท่านเห็นหรือฟังความอัศจรรย์ไรๆ พึงบอกแก่เราด้วย. เมื่อสหายทั้งสองนั้นทำกติกากะกันและกันแล้วไม่ละอุบัตินั้นนั่นเทียวอยู่อย่างนี้ พุทธันดรหนึ่งก็สิ้นไป มหาปฐวีก็หนาขึ้นประมาณ ๑ โยชน์ ๓ คาวุต. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของพวกเรามีปณิธานอันตนกระทำแล้วแทบบาทมูลของพระพุทธเจ้า ทีปังกร. บำเพ็ญบารมีทั้งหลายจนถึงการเกิดเป็นพระเวสสันดรแล้ว อุบัติในชั้นดุสิต ดำรงอยู่ในชั้นดุสิตนั้นตลอดอายุ ผู้อันเทวดาทั้งหลายเชื้อเชิญ โดยนัยที่กล่าวแล้วในธรรมบทนิทานนั่นเทียว แลดูมหาวิโลกนะ ๕ อย่างบอกแก่เทวดาทั้งหลาย เมื่อบุรพนิมิต ๓๒ ประการเป็นไปอยู่ ได้ถือปฏิสนธิในโลกนี้ยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว เจ้ายักษ์เหล่านี้ แม้เห็นมหาโลกนะเหล่านั้นก็ไม่รู้ว่าเกิดเพราะเหตุนี้. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ไม่เห็นเลย เพราะเจ้ายักษ์เหล่านั้นมัวเล่นอยู่ ในการประสูติ การออกอภิเนษกรมณ์และการตรัสรู้ ก็นัยนี้. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกปัญจวัคคีย์ ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ มีปริวัฏ ๓ มีอาการ ๓๒ ให้เป็นไปอยู่ ในคราวประกาศพระธรรมจักร บรรดาสหายทั้งสองนั้น สาตาคิร ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระอาทิตย์แม้อัสดงแล้ว ก็ยังไม่จบเทศนา ขณะนั้น สาตาคิรยักษ์คิดว่า เราจักพาสหายมาพร้อมกับสหายนั้นฟังพระธรรมเทศนา ได้นิรมิตยานทั้งหลายมีม้าช้างและครุฑเป็นต้น อันยักษ์ ๕๐๐ แวดล้อมแล้วไปมุ่งหน้าต่อหิมวันตประเทศ. ในกาลนั้น ฝ่ายเหมวตยักษ์ เพราะเหตุอันเป็นบุรพนิมิต ๓๒ ประการ ในการปฏิสนธิ ประสูติ อภิเนษกรมณ์ การตรัสรู้และการปรินิพพานนั้นแลหายไป ไม่ตั้งอยู่นาน แต่ในการประกาศพระธรรมจักร เหตุการณ์เหล่านั้นมีพิเศษ ตั้งอยู่นานกว่าจึงดับ เพราะฉะนั้น จึงเห็นความปรากฏแห่งความอัศจรรย์นั้นในหิมวันตประเทศ เห็นว่าตั้งแต่เราเกิดมา ภูเขาลูกนี้ไม่เคยเป็นที่รื่นรมย์อย่างนี้ในกาลไหนเลย เอาเถิด บัดนี้ เราจักพาสหายของเรามาชมสิริแห่งดอกไม้นี้กับสหายนั้น จึงมามุ่งหน้าต่อมัชฌิมประเทศ. ยักษ์แม้ทั้งสองนั้นมาพบกันเหนือกรุงราชคฤห์ ได้ถามถึงเหตุการมาของกันและกัน. เหมวตยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ตั้งแต่เราเกิดมา ภูเขาลูกนี้ไม่เคยเป็นที่รื่น สาตาคิรยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ก็ท่านรู้เหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดปาฏิหาริย์ให้ดอกไม้บานในฤดูมิใช่กาลหรือ? เห. ไม่รู้ ท่านผู้นิรทุกข์. สา. ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ปาฏิหาริย์นี้ไม่ได้เกิดในหิมวันต์แห่งเดียวเท่านั้น แต่โดยแท้ เกิดในหมื่นโลกธาตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปในวันนี้ ด้วยเหตุนั้น ปาฏิหาริย์จึงเกิดขึ้น. สาตาคิรยักษ์กล่าวถึงการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าแก่เหมวตยักษ์อย่างนี้แล้ว ประสงค์จะนำเหมวตยักษ์นั้นมาสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถานี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ สาตาคิรยักษ์นี้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า อชฺช ปณฺณรโส ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺช ได้แก่ คืนและวันนี้เป็นวันที่ ๑๕ ตามปักขคณนา เป็นอุโบสถ เพราะเป็นวันพึงอยู่จำ หรือในอุโบสถทั้งสาม วันนี้เป็นอุโบสถที่ ๑๕ ไม่ใช่เป็นอุโบสถที่ ๑๔ ไม่ใช่อุโบสถสามัคคี หรือเพราะอุโบสถศัพท์ย่อมเป็นไปในอรรถมากอย่างมีปาฏิโมกขุทเทส องค์ ๘ อุปวาสะ บัญญัติ และวันเป็นต้น. จริงอยู่ อุโบสถศัพท์ เป็นไปในปาฏิโมกขุทเทส ในประโยคเป็นต้นว่า อายามาวุโส กปฺปิน อุโปสถํ คมิสฺสาม มาเถิด กัปปินะผู้มีอายุ พวกเราจักไปสู่อุโบสถ, เป็นไปในองค์ ๘ มีเจตนางดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น ในประโยคมีอาทิว่า เอวํ อิฏฺฐงฺคสมนฺนาคโต โข วิสาเข อุโปสโถ อุปวุฏฺโฐ ดูก่อนวิสาขา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์แปดแล อันท่านเจ้าจำแล้วหรือ.๑- เป็นไปในอุปวาสะ ในประโยคมีอาทิว่า สุทฺธสฺส เว สทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ ผัคคุฤกษ์ย่อมบริสุทธิ์สำหรับท่านผู้บริสุทธิ์แล ในกาลทุกเมื่อ อุโบสถย่อมบริสุทธิ์สำหรับผู้บริสุทธิ์.๒- เป็นไปในบัญญัติ ในประโยคมีอาทิว่า อุโปสโถ นาม นาคราชา พญานาคชื่ออุโบสถ.๓- เป็นไปในวัน ในประโยคมีอาทิว่า ตทหุโปสเถ ปณฺณรเส สีสนฺหาตสฺส พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสนานพระเศียร ในวันอุโบสถนั้นที่ ๑๕.๔- เพราะเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์ห้ามเนื้อความที่เหลือลง กำหนดวันเพ็ญที่ ๑๕ ค่ำแห่ง ____________________________ ๑- องฺ. อฏฺฐก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๑๓๓ ๒- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๙๘ วัตถูปมสุตฺต. ๓- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๘๓ มหาสุทสฺสนสุตฺต. ๔- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๖๔ มหาสุทสฺสนสุตฺต. ชื่อว่า ราตรีอันเป็นทิพย์ เพราะอรรถว่ามีความเป็นทิพย์ สิ่งอันเป็นทิพย์ทั้งหลายมีอยู่ในราตรีนี้ เพราะเหตุนั้น ราตรีนั้นจึงชื่อว่าเป็นทิพย์. ราตรีมีรูปเหล่านั้นเป็นเช่นไร จริงอยู่ ในราตรีนั้น ชมพูทวีปทั้งสิ้นประดับประดาแล้วด้วยแสงสว่างแห่งร่างกาย ผ้า อาภรณ์และวิมานของเทวดาทั้งหลายที่มาประชุมจากหมื่นโลกธาตุ และแสงสว่างแห่งพระจันทร์อันเว้นเครื่องเศร้าหมองมีหมอกเป็นต้น และตกแต่งเป็นพิเศษด้วยแสงสว่างแห่งพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเทพวิสุทธิ์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์จึงกล่าวว่า ราตรีอันเป็นทิพย์ สาตาคิรยักษ์เมื่อจะยังความเลื่อมใสแห่งจิตให้เกิดแก่สหาย แม้ด้วยการอ้างถึงการพรรณ ในคาถานั้น ชื่อว่า มีพระนามอันไม่ทราม เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงมีพระนามด้วยพระคุณทั้งหลายอันไม่ทราม คือไม่ชั่ว บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง. จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงมีพระนามด้วยพระคุณทั้งหลายอันไม่ทรามว่า พุทโธ โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่าพุทธะ เพราะอรรถว่าผู้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย. ชื่อว่าพุทธะ เพราะอรรถว่าผู้ยัง ในพระคุณทั้งหลายมีอาทิว่า เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ก็นัยนี้. หรือพระองค์ทรงพร่ำสอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในประโยชน์ทั้งหลายมีทิฏฐธรรมิกประโยชน์เป็นต้นว่า จงละสิ่งนี้ จงสมาทานสิ่งนี้ประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงทรงเป็นพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ผู้เป็นพระศาสดาแม้โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในนิเทศมีอาทิว่า เป็นครู เป็นผู้มีโชค เป็นผู้นำหมู่ เหมือนผู้นำกองเกวียน นำหมู่ให้ข้ามทางกันดาร ฉะนั้น. ผู้เป็นพระศาสดามีพระนามอันไม่ทรามนั้น. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่า เชื้อเชิญ. บทว่า ปสฺสาม เป็นการกล่าวถึงปัจจุบันกาล สงเคราะห์ตนเข้ากับเหมวตยักษ์นั้น. บทว่า โคตมํ ได้แก่ พระโคดมโคตร. มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ท่านอย่าทำความสงสัยว่า เป็นพระศาสดา หรือไม่ใช่พระศาสดา จงเป็นผู้มีความชำนาญโดยส่วนเดียว มาเถิด เราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม. เมื่อสาตาคิรยักษ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เหมวตยักษ์คิดว่า สาตาคิระนี้เมื่อกล่าวว่า ผู้เป็นพระศาสดามีพระนามอันไม่ทราม ชื่อว่าประกาศความที่พระโคดมนั้นเป็นสัพพัญญู และสัพพัญญูทั้งหลายหาได้ยากในโลก โลกถูกผู้ปฏิญญาว่าเป็นสัพพัญญูเช่นกับปูรณะเป็นต้นนั่นเทียวทำลายแล้ว ก็ถ้าพระโคดมนั้นเป็นสัพพัญญูไซร้ จักเป็นผู้ถึงลักษณะของผู้คงที่แน่แท้ ด้วยเหตุนั้น เราจักพิจารณาพระโคดมนั้นอย่างนี้ เมื่อจะถามถึงลักษณะผู้คงที่แล จึงกล่าวว่า กจฺจิ มโน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺจิ เป็นคำถาม. บทว่า มโน ได้แก่ จิต. บทว่า สุปณิหิโต ความว่า ตั้งมั่นแล้วด้วยดี คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ไม่คลอนแคลนในสัตว์ทั้งปวง คือในภูตทั้งปวง. บทว่า ตาทิโน ได้แก่ เป็นผู้ถึงลักษณะผู้คงที่นั่นเทียวหรือ. คาถานี้เป็นคำถามเท่านั้นว่า พระศาสดาของท่านนั้นเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวงแลหรือ. บทว่า อิฏฺเฐ อนิฏฺเฐ จ ความว่า ในอารมณ์เห็นปานนั้น. บทว่า สงฺกปฺปา ได้แก่ วิตก. บทว่า วสีกตา ได้แก่ ไปสู่อำนาจ. มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ท่านกล่าวถึงพระศาสดาใด พระทัยของพระศาสดาของท่านนั้นผู้ถึงลักษณะ แต่นั้น สาตาคิรยักษ์ยอมรับรู้สัพพัญญุคุณทั้งหมด เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญพิเศษในความเป็นสัพพัญญู จึงกล่าวว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปณิหิโต ความว่า ทรงตั้งไว้ดีแล้ว คือเสมอด้วยแผ่นดิน เพราะอรรถว่าไม่ยินดียินร้าย เสมอด้วยภูเขาสิเนรุ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวโดยตั้งมั่นดีแล้ว เสมอด้วยเสาเขื่อน เพราะอรรถว่ามารสี่อย่างและคุณแห่งปรวาทีไม่พึงให้หวั่นไหว. ข้อที่พระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ดำรงอยู่ในความเป็นพระสัพพัญญู เพราะพระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวงตั้งมั่นดีแล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในบัดนี้นั่น ไม่น่าอัศจรรย์ แต่ที่น่าอัศจรรย์ ก็คือพระองค์แม้เป็นสัตว์ดิรัจฉานในกาลมีราคะเป็นต้น เกิดในตระกูลพญาช้างฉัททันต์ถูกแทงด้วยลูกศรอันอาบด้วยยาพิษ ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ประทุษร้ายในผู้ฆ่านั้น ทั้งให้จำเริญงาทั้งหลายของตนให้แก่ผู้ฆ่านั้นด้วย. อนึ่ง พระองค์คราวเป็นมหากปิ แม้ถูกทุบศีรษะด้วยศิลาก้อนใหญ่ ก็ยังบอกหนทางให้แก่ผู้ทุบนั้นเอง. อนึ่ง พระองค์ในคราวเป็นวิธุรบัณฑิต แม้ถูกจับที่เท้าทั้งสองเหวี่ยงลงเหวกาฬบรรพต ซึ่งลึก ๖๐ โยชน์ ก็ยังแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ยักษ์นั้นอีก. เพราะเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์กล่าวชอบทีเดียวว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว. บทว่า สพฺพภูเตสุ ตาทิโน ความว่า พระทัยของพระองค์ผู้ทรงถึงลักษณะของผู้คงที่นั่นเทียว ตั้งมั่นดีแล้วในสัตว์ทั้งปวง ไม่ใช่ปรากฏราวกะว่าตั้งมั่น ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปัจจัย. ในคาถานั้น นักศึกษาพึงทราบลักษณะของผู้คงที่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการ ๕ อย่าง ดังท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้คงที่โดยอาการ ๕ อย่าง คือ คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงเสียสละ ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงพ้นแล้ว ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงข้ามแล้ว ๑ คงที่เพราะทรงแสดงขยายอาการนั้น ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างไร คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคงที่ในลาภบ้าง ดังนี้เป็นต้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในนิทเทส.๕- ____________________________ ๕- ขุ. มหานิทฺเทส. เล่ม ๒๙/ข้อ ๑๘๐ ก็ธรรมทั้งหลายมีลาภเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยนัยอันให้พิสดารแล้ว ในมหาอัฏฐกถาแห่งนิทเทสนั้น หรือคาถานี้เป็นคำถามเท่านั้นว่า พระศาสดาของท่านนั้นเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวงหรือไม่ ในวิกัปนี้. มีอธิบายว่า พระศาสดาของเราทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะพระองค์ทรงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งปวง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งปวง เพราะทรงใคร่ในการนำสุขเข้ามา และเพราะทรงใคร่เพื่อนำทุกข์ออกไป คือในพระองค์ทรงมีพระทัยเช่นใด ในสัตว์เหล่าอื่นก็เช่นนั้น ในพระมารดามหามายาเช่นใด ในนางจิญจมาณวิกาก็เช่นนั้น ในพระบิดาสุท เพราะเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์กล่าวชอบทีเดียวว่า พระองค์เป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวงดังนี้. ก็เนื้อความในคาถานี้ว่า อโถ อิฏฺเฐ อนิฏฺเฐ จ ผู้ศึกษาพึงเห็นอย่างนี้ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งจะน่าปรารถนาก็ตาม ไม่น่าปรารถนาก็ตาม ความดำริด้วยอำนาจแห่งราคะและโทสะเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นในอารมณ์นั้นโดยประการทั้งปวง พระองค์ทรงกระทำความดำริเหล่านั้นให้อยู่ในอำนาจแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นพระองค์ทรงละได้แล้วด้วยมรรคอันยอดเยี่ยม ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจของความดำริเหล่านั้นในกาลไหนๆ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระดำริไม่ขุ่นมัว มีพระทัยอันพ้นดีแล้ว มีพระปัญญาอันพ้นดีแล้ว. ก็ในคาถานี้ สาตาคิรยักษ์กล่าวความไม่มีอโยนิโสมนสิการ ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว พระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ทั้งหลายจะพึงมีในอารมณ์ใด อารมณ์นั้น ท่านกล่าวเป็น ๒ อย่างโดยแยกเป็นสัตว์และสังขาร กล่าวถึงการละกิเลสโดยความไม่มีมนสิการนั้น เพราะพระองค์ทรงชำนาญในความดำริ. กล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางมโนสมาจาร เพราะพระองค์ทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว และกล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางกายสมาจาร เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง และกล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางวจีสมาจารด้วยพระวาจา เพราะพระองค์ทรงมีวิตกเป็นมูลโดยความที่พระองค์ทรงชำนาญในความดำริ. อนึ่ง กล่าวถึงความไม่มีโทษทั้งปวงมีโลภะเป็นต้น เพราะพระองค์ทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว กล่าวถึงความเกิดขึ้นแห่งคุณมีเมตตาเป็นต้น เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง กล่าวถึงฤทธิ์ของพระอริยะอันต่างโดยความเป็นผู้มีความสำคัญในของปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลเป็นต้น โดยความที่พระองค์ทรงชำนาญในความดำริ และความที่พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู. ผู้ศึกษาพึงทราบว่า สาตาคิรยักษ์กล่าวแล้ว ด้วยฤทธิ์อันเป็นอริยะนั้น. เหมวตยักษ์ถามถึงความที่พระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ด้วยอำนาจแห่งมโนทวารนั่นเทียวในบทก่อนอย่างนี้แล้ว และพิจารณาถึงพระองค์ผู้ทรงรู้เฉพาะซึ่งความเป็นผู้คงที่นั้น บัดนี้ เพื่อกระทำให้มั่นจึงถามถึงความบริสุทธิ์ทางกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร แม้ด้วยอำนาจแห่งไตรทวาร หรือโดยสังเขปในบทก่อนและพิจารณาถึงพระองค์ผู้ทรงรู้เฉพาะซึ่งความบริสุทธิ์นั้น เมื่อจะถามแม้โดยพิสดาร เพื่อทำให้มั่นคงนั้นแล จึงกล่าว กจฺจิ อทินฺนํ. ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ถามถึงเจตนางดเว้นจากถือเอาของที่คนอื่นไม่ได้ให้ก่อน เพื่อประโยชน์แก่ความสะดวกในการผูกคาถา. บทว่า อารา ปมาทมฺหา ความว่า เหมวตยักษ์ถามถึงเจตนางดเว้นจากอพรหมจรรย์ โดยความเป็นผู้อยู่ห่างไกลจากการปล่อยจิตในกามคุณทั้งห้า หรือสวดกันว่า อารา ปมทมฺหา ดังนี้ก็มี. มีอธิบายว่า ห่างไกลจากมาตุคาม. ก็เหมวตยักษ์ถามถึงความที่พระองค์ทรงมีกำลังในการงดเว้นจากกายทุจริต ๓ อย่างนั้นนั่นแล ด้วยบทนี้ว่า ฌานํ น ริญฺจติ ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌานแลหรือ เพราะวิรัติของผู้ประกอบด้วยฌานมีกำลังแล. ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงงดเว้นจากอทินนาทานเป็นต้นในปัจจุบันอย่างเดียวก็หาไม่ แม้ในอดีตกาล ก็ทรงงดเว้นจากอทินนาทานเป็นต้นตลอดกาลนาน จึงทรงได้รับมหาปุริสลักษณะนั้นๆ ด้วยอานุภาพแห่งวิรัตินั้นนั่นเทียว และโลกพร้อมทั้งเทวโลก กล่าวสรรเสริญพระองค์โดยนัยว่า พระสมณโคดมทรงงดเว้นจากอทินนาทานเป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อบันลือสีหนาทด้วยวาจาอันสละสลวย จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ดังนี้ บทนั้นโดยอรรถปรากฏชัดแล้วแล. ในบาทที่ ๓ แห่งคาถาแม้นี้ บาลีมี ๒ อย่างคือ ปมาทมฺหา ปมทมฺหา ในบาทที่ ๔ เท่านั้น ผู้ศึกษาทราบเนื้อความว่า บทว่า ฌานํ น รญฺจติ ความว่า พระองค์ย่อมไม่ทรงทำฌานให้ว่าง คือสูญ ได้แก่ไม่ทรงสละ. เหมวตยักษ์ฟังความบริสุทธิ์ในกายทวารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะถามถึงความบริสุทธิ์ในวจีทวาร จึงกล่าวว่า กจฺจิ มุสา น ภณติ แปลว่า พระโคดมไม่ตรัสคำเท็จแลหรือ. ในคาถานั้น ชื่อว่าขีณะ เพราะอรรถว่าย่อมสิ้นไป. อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียน ย่อมบีบคั้น. ทางแห่งวาจาชื่อว่าพยปถะ ทางแห่งวาจาของบุคคลนั้นสิ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ขีณพยปถะ ผู้มีทางแห่งวาจาสิ้นแล้ว. เหมวตยักษ์ปฏิเสธทางแห่งวาจานั้นด้วย นอักษร จึงถามว่า มีพระวาจาไม่สิ้นแล้วแลหรือ. อธิบายว่า มีพระวาจาหยาบคาย บาลีว่า นาขีณพฺยปโถ อธิบายว่า มีพระวาจาไม่สิ้นแล้ว. จริงอยู่ คำหยาบคายสิ้นไปในหทัยทั้งหลายของคนเหล่าอื่นดำรงอยู่. มีอธิบายว่า พระโคดมนั้นไม่มีพระวาจาคงที่แลหรือ. บทว่า วิภูติ ได้แก่ ความพินาศ. คำใดย่อมประกาศหรือย่อมกระทำความพินาศ เพราะเหตุนั้น คำนั้นชื่อว่า วิภูติกะ คำที่ทำความพินาศ วิภูติกะนั่นเทียวชื่อว่าเวภูติกะ เรียกว่า เวภูติยํ ดังนี้บ้าง คำว่า เวภูติยํ นั้นเป็นชื่อแห่งคำส่อเสียด. จริงอยู่ คำส่อเสียดนั้น ย่อมทำความพินาศแก่สัตว์ทั้งหลายโดยการทำลายกันและกัน จากกันและกัน. บทที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ในปัจจุบันอย่างเดียวหามิได้ แม้ในอดีตกาลก็ทรงงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้นตลอดกาลนาน และทรงได้มหาปุริสลักษณะนั้นๆ ด้วยอานุภาพแห่งวิรัตินั้นนั่นเทียว และโลกพร้อมทั้งเทวโลกก็กล่าวสรรเสริญพระโคดมนั้นว่า พระสมณโคดมทรงงดเว้นจากมุสาวาท เพราะฉะนั้น เมื่อจะบันลือสีหนาทด้วยวาจาอันสละสลวย จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ. ในคาถานั้น บทว่า มุสา เป็นคำตั้งใจกล่าวให้คนอื่นแตกจากกันแห่งคนทั้งหลายมีคนที่เคยเห็นเป็นต้น พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จนั้น. ก็ในบาทที่ ๒ บาลีว่า น ขีณพฺยปโถ ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความครั้งที่ ๑ บาลีว่า นาขีณพฺยปโถ ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความครั้งที่ ๒. ในบาทที่ ๔ ปัญญา เรียกว่า มนฺตา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะทรงกำหนดด้วยพระปัญญาจึงตรัสแต่คำที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว คือคำที่ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่ตรัสคำส่อเสียด ด้วยว่าคำที่ไร้ประโยชน์มีความไม่รู้เป็นเบื้องหน้า ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระองค์ตรัสคำที่เป็นประโยชน์ด้วยพระปัญญา ดังนี้. บทที่เหลือในคาถานี้ปรากฏชัดแล้วแล. เหมวตยักษ์ได้ฟังแม้ความบริสุทธิ์ทางวจีทวารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะถามถึงความบริสุทธิ์ทางมโนทวาร จึงกล่าวว่า กจฺจิ น รชฺชติ กาเมสุ พระโคดมไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลายแลหรือ. ในคาถานั้น คำว่า กามา ได้แก่ กิเลสกาม วัตถุกาม. เหมวตยักษ์เมื่อถามว่า พระโคดมไม่ทรงยินดีด้วยกิเลสกามในกามเหล่านั้นแลหรือ ชื่อว่าย่อมถามถึงความที่พระองค์ไม่ทรงมีอภิชฌา. เมื่อถามว่า พระหฤทัยไม่ขุ่นมัวแลหรือ ชื่อว่าย่อมถามถึงความที่พระองค์ไม่ทรงมีพยาบาท หมายถึงความขุ่นมัวด้วยพยาบาท. เมื่อถามว่า ทรงล่วงโมหะได้แล้วแลหรือ ชื่อว่าย่อมถามถึงความที่พระองค์ทรงมีสัมมาทิฏฐิ เพราะทรงก้าวล่วงโมหะ อันเป็นเหตุให้บุคคลผู้หลงแล้ว ยึดถือมิจฉาทิฏฐิ. เมื่อถามว่า ทรงมีพระจักษุในธรรมทั้งหลายแลหรือ ชื่อว่าย่อมถามถึงความที่พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญูด้วยอำนาจแห่งญาณจักษุอันไม่ติดขัดในธรรมทั้งปวง หรือด้วยอำนาจแห่งจักษุแม้ทั้งห้าในธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นวิสัยแห่งจักษุทั้งห้า เพราะคิดว่า พระองค์ไม่ทรงเป็นพระสัพพัญญู แม้ด้วยความบริสุทธิ์ทางไตรทวารเท่านั้น. ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบรรลุพระอรหัตเลยก็ชื่อว่าไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย ไม่มีพระหฤทัยขุ่นมัวด้วยพยาบาท เพราะความที่กามราคะและพยาบาท อันพระองค์ทรงละได้แล้วด้วยอนาคามิมรรค และชื่อว่าทรงล่วงโมหะ เพราะความที่โมหะอันปิดบังสัจจะซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย อันพระองค์ทรงละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรคนั่นเทียว ทรงตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เอง จึงทรงได้พระนามอันมีวิโมกข์เป็นที่สุดว่า พุทโธ และทรงได้จักษุทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อจะป่าวประกาศความบริสุทธิ์ทางมโนทวาร และความเป็นพระสัพพัญญูแก่เหมวตยักษ์นั้น จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย. เหมวตยักษ์ได้ฟังความบริสุทธิ์ทางไตรทวารและความเป็นพระสัพพัญญูของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ก็ดีใจ เบิกบาน มีคลองแห่งคำไม่ติดขัดด้วยปัญญาอันคล่องแคล่วในพาหุสัจจะในอดีตชาติ ประสงค์จะฟังสัพพัญญูคุณทั้งหลายอันน่าอัศจรรย์ จึงกล่าวว่า พระโคดมทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาแลหรือ. ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ถามถึงทัสสนสมบัติด้วยบทนี้ว่า ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาแลหรือ ถามถึงคมนสมบัติด้วยบทนี้ว่า ทรงมีจรณะบริสุทธิ์แลหรือ. ก็กล่าว จาอักษร เพราะทำให้เป็นทีฆะในบทว่า สํสุทฺธจารโณ นี้ด้วยอำนาจแห่งฉันทลักษณะ. อธิบายว่า สํสุทฺธจรโณ ถามถึงการบรรลุนิพพานธาตุที่ ๑ ที่เข้าใจกันว่า เป็นการสิ้นไปแห่งอาสวะซึ่งจะพึงบรรลุด้วยทัสสนสมบัติ และคมนสมบัตินั่น ด้วยบทนี้ว่า อาสวะทั้งหลายของพระองค์นั้นสิ้นไปแล้วแลหรือ ถามถึงความที่พระองค์ทรงสามารถบรรลุนิพพานธาตุที่ ๒ หรือความที่พระองค์ทรงทราบสมบัติ คือความยินดีอย่างยิ่ง ดำรงอยู่ด้วยปัจจเวกขณญาณ ด้วยบทนี้ว่า ภพใหม่ไม่มีแลหรือ. แต่นั้น เพราะวิชชานั่นใดอันพระองค์ตรัสไว้แล้วในสูตรทั้งหลายมีภยเภรวสูตรเป็นต้น โดยนัยว่า พระองค์ทรงระลึกถึงปุพเพนิวาสหลายอย่าง๖- เป็นต้น. วิชชา ๘ อย่างนั่นใดที่ตรัสไว้ในสูตรทั้งหลายมีอัมพัฏฐสูตรเป็นต้น โดยนัยว่า พระอริยสาวกนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว ฯลฯ ไม่ถึงความหวั่นไหวแล้ว ย่อมนำจิตออกไปด้วยญาณทัสสนะ๗- เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าถึงด้วยวิชชานั้นแม้ทั้งหมด ที่ถึงพร้อมด้วยอาการทุกอย่างและจรณะ ๑๕ ประเภทนั่นใด อันท่านพระอานนท์ยกขึ้น ____________________________ ๖- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๘ ๗- ที. สี.เล่ม ๙/ข้อ ๑๖๓ ๘- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๒๖ แต่นั้น เหมวตยักษ์หมดความสงสัยในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่ในอากาศนั่นแล สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า และชมเชยสาตาคิรยักษ์ว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนีถึงพร้อมแล้ว ดังนี้. คาถานั้นมีเนื้อความว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนีถึงพร้อมแล้ว เป็นอันอธิบายว่า ถึงพร้อมแล้วอีก ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้ในบทนี้ว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว ถึงพร้อมแล้วด้วยกายกรรมที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้ในบทนี้ว่า พระโคดมไม่ทรงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ และถึงพร้อมแล้วอีกด้วยมโน เหมวตยักษ์แสดงว่า ก็พระหฤทัยที่ถึงพร้อมแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เพราะความที่พระองค์ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาสัมปทา ต่อแต่นั้น ฝ่ายสาตาคิรยักษ์เมื่อจะสรรเสริญเหมวตยักษ์นั้นแล โดยอธิบายว่า ท่านมาริส! ข้อนั้นท่านรู้ดีแล้ว และชมเชยแล้วอย่างนี้ จึงกล่าวว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนีถึงพร้อมแล้ว ฯลฯ ท่านชมเชยโดยธรรมดังนี้ ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะชมเชยเหมวตยักษ์นั้นในการเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก จึงกล่าวว่า มา เราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว ฯลฯ ดังนี้. ลำดับนั้น เหมวตยักษ์เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยกำลังแห่งพาหุสัจจะในชาติก่อน โดยพระคุณอันตนชอบใจอย่างยิ่ง จึงกล่าวว่า มาเถิด เราจงไปเฝ้าพระโคดมผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทราย ฯลฯ ดังนี้. คาถานั้นมีเนื้อความว่า พระชงฆ์ทั้งหลายของพระโคดมนั้น เพียงปลีแข้งเนื้อทราย เพราะเหตุนั้น พระโคดมนั้นจึงมีพระนามว่า เอณิชงฺโฆ ผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทราย. จริงอยู่ พระชงฆ์ทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เรียวกลมโดยลำดับ ดุจแข้งแห่งเนื้อทราย ด้านหน้าไม่มีพระมังสา ด้านหลังอูมขึ้น เหมือนท้องจระเข้ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ซูบผอม คือไม่อ้วน เหมือนบุรุษอื่น เพราะความถึงพร้อมด้วยอวัยวะน้อยใหญ่เห็นปานนั้น ในที่ควรยาว สั้น เสมอและกลม หรือชื่อว่าซูบผอม เพราะความที่พระองค์ทรงกำจัดกิเลสด้วยปัญญา ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกภายในและภายนอก ชื่อว่ามีพระกระยาหารน้อย เพราะทรงเสวยครั้งเดียว และทรงเสวยมีกำหนด ไม่ใช่มีพระกระยาหารน้อย เพราะทรงเสวยเพียง ๒-๓ คำ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๙- ดูก่อนอุทายี ก็เราแลบางครั้งบริโภคอาหารเสมอขอบปากบาตรนี้ บางครั้งก็บริโภคมาก. ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายพึงสักการะเคารพนับถือบูชา ครั้นสักการะเคารพแล้ว พึงอยู่อาศัยเรา ด้วยคิดว่า พระสมณโคดมมีพระกระยาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อยไซร้. ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายของเราเหล่านั้นใด มีอาหารโกสะหนึ่งบ้าง กึงโกสะบ้าง เวฬุวะหนึ่งบ้าง กึงเวฬุวบ้าง สาวกเหล่านั้นไม่พึงสักการะ ฯลฯ ไม่พึงอยู่อาศัยเรา โดยธรรมนี้ ดังนี้. ____________________________ ๙- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๓๒๔ มหาสกุลุทายิสุตฺต ชื่อว่าไม่โลภ เพราะไม่มีฉันทราคะในอาหาร ทรงเสวยพระกระยาหารที่ประกอบด้วยองค์แปด. ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะความถึงพร้อมด้วยโมเนยยะ ทรงฌานอยู่ในป่า เพราะทรงเป็นอนาคาริก และเพราะมีพระหฤทัยโน้มมาในวิเวก. ด้วยเหตุนั้น เหมวตยักษ์จึงกล่าวว่า ผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทราย ฯลฯ มาเถิด เราจงไปเฝ้าพระโคดม ดังนี้. ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า สีหํ เอกจรํ เพราะความเป็นผู้ใคร่จะฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นอีก. คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า สีหํ ว ความว่า เป็นเช่นกับไกสรสีหะ เพราะอรรถว่าให้ยินดีได้ยาก เพราะอรรถว่าอดทน และเพราะอรรถว่าปลอดภัย. ชื่อว่าเสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว เพราะไม่มีตัณหาที่เรียกว่า ตัณหาเป็นเพื่อนสองของคน. ชื่อว่าเสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว แม้เพราะพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ไม่ทรงอุบัติในโลกธาตุเดียว. ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความนั้นๆ แม้โดยนัยที่กล่าวแล้วในขัคควิสาณสูตร. บทว่า นาคํ ได้แก่ ไม่เสด็จมาสู่ภพใหม่ คือไม่ไปไม่มาสู่ภพใหม่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่านาค เพราะอรรถว่าไม่ทำบาปบ้าง มีกำลังบ้าง. นาคนั้น. บทว่า กาเมสุ อนเปกฺขินํ ได้แก่ ไม่มีความห่วงใย เพราะไม่มีฉันทราคะในกามแม้ทั้งสองอย่าง. บทว่า อุปสงฺกมฺม ปุจฺฉาม มจฺจุปาสปโมจนํ ความว่า พวกเราเข้าไปเฝ้าพระโคดมนั้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เห็นปานนั้น ทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมารอันเป็นวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิสาม ได้แก่ วิวัฏฏ นิพพาน คือทูลถามถึงอุบายเป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร กล่าวคือทุกข์และสมุทัย. เหมวตยักษ์กล่าวคาถานี้ หมายถึงสาตาคิรยักษ์ บริษัทของสาตาคิรยักษ์และบริษัทของตน. ก็โดยสมัยนั้น นักษัตรประจำเดือนอาสาฬหะได้ถูกประกาศแล้ว ในกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อุบาสิกาชื่อ กาฬี กุรรฆริกา ในกรุงราชคฤห์ซึ่งประดับประดาตกแต่งโดยรอบ ดุจเสวยอยู่ซึ่งสิริในเทวนคร ขึ้นสู่ปราสาทเปิดหน้าต่าง กำลังบรรเทาความแพ้ครรภ์ อยู่ในประเทศที่รับลมเพื่อตากอากาศ ได้ฟังการสนทนาที่ประกอบด้วยพุทธคุณนั้นของเสนาบดียักษ์เหล่านั้นโดยเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ครั้นฟังแล้วก็เกิดปีติมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงพร้อมด้วยพระคุณต่างๆ อย่างนี้ ข่มนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปีตินั้น ยืนอยู่ในประเทศนั้นแล ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ก็ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งนางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา กาฬี กุรรฆริกา เป็นผู้เลิศแห่งอุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเราที่เลื่อมใสในการฟัง. เสนาบดียักษ์แม้เหล่านั้น มียักษ์ ๑,๐๐๐ เป็นบริวาร ถึงอิสิปตนะในสมัยแห่ง คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ตรัสบอกด้วยถ้อยคำกำหนดสัจจะทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า เว้นตัณหาในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลชื่อทุกข ____________________________ ๑๐- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๖๑๕ บทว่า สพฺพธมฺมานํ ได้แก่ แห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหลาย. บทว่า ปารคุํ ความว่า ผู้ทรงถึงฝั่งด้วยอาการ ๖ คือ อภิญญา ๑ ปริญญา ๑ ปหานะ ๑ ภาวนา ๑ สัจฉิกิริยา ๑ สมาบัติ ๑. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อภิญญาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยอภิญญา ทรงกำหนดรู้อุปาทานักขันธ์ ๕ ถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปริญญาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยปริญญา. ทรงสละซึ่งกิเลสทั้งปวงถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปหานปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยปหานะ. ทรงเจริญมรรค ๔ ถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภาวนาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยภาวนา. ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งนิโรธถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจฉิกิริยาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยสัจฉิกิริยา. ทรงเข้าสมาบัติทั้งปวงถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมาปัตติปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยสมาบัติ. ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวงด้วยประการฉะนี้. บทว่า พุทฺธํ เวรภยาตีตํ ความว่า ชื่อว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะความที่พระองค์ทรงตื่นแล้ว จากความหลับคือความไม่รู้ คือทรงตรัสรู้ประโยชน์ทั้งหลาย โดยนัยที่กล่าวแล้วในสรณวัณณนา ชื่อว่าผู้ทรงล่วงเวรภัยได้แล้ว เพราะความที่พระองค์ทรงล่วงเวรภัย ๕ อย่างได้แล้ว. เสนาบดียักษ์เมื่อสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว จึงทรงให้กระทำโอกาสว่า พวกเราจงทูลถามพระโคดม ดังนี้. ลำดับนั้น เหมวตยักษ์ซึ่งเลิศกว่ายักษ์เหล่านั้น ด้วยเดชปัญญาและความต้องการ เมื่อจะทูลถามปัญหาอันควรถาม ตามความต้องการแล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า กิสฺมึ โลโก เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น ดังนี้. ในบาทต้นแห่งคาถานั้น บทว่า กิสฺมึ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในลักษณะภาวะโดยภาวะ (ลักขณวันตะ) เมื่ออะไรเกิด โลกจึงเกิดขึ้น ก็นี้เป็นอธิบายคาถานี้ เหมวตยักษ์ทูลถามหมายถึงสัตวโลก และสังขารโลก. บทว่า กิสฺมึ กุพฺพติ สนฺถวํ ความว่า โลกย่อมกระทำความเชยชิด ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิว่า เรา ว่า ของเรา ในอะไร. คำว่า กิสฺมึ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถอธิกรณะ. บทว่า กิสฺส โลโก เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. ก็เนื้อความนี้เป็นข้ออธิบายในคาถานี้ว่า โลกย่อมถึงการนับว่า โลกยึดถืออะไรไว้. บทว่า กิสฺมึ โลโก เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งลักขณวันตะ และอธิกรณะ ก็อธิบายในคาถานี้ว่า เมื่ออะไรมี โลกจึงเดือดร้อน คือถูกเบียดเบียน ถูกให้เจ็บปวด เพราะเหตุอะไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเมื่ออายตนะภายในและภายนอกทั้งหกเกิดขึ้น สัตวโลกจึงเกิดขึ้น และสังขารโลกก็ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งทรัพย์และ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนใดพึงกล่าวว่า จักษุเป็นตัวตนคนนั้น (พึงยึดถือจักษุนั้นนั่นเทียว) ข้อนั้นไม่ควร เป็นต้น.๑๑- เพราะโลกแม้ทั้งสองยึดถืออายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นเทียว ย่อมถึงการนับว่า โลกและเมื่อมีอายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล. สัตวโลกก็ย่อมเดือดร้อน เพราะทุกข์ปรากฏ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๑๒- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีมือก็ย่อมมีการถือและการวาง เมื่อมีเท้าก็มีการก้าวไปและการถอยกลับ เมื่อมีไขข้อก็มีการคู้เข้าและการเหยียดออก เมื่อมีท้องก็ต้องมีหิวและกระหาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีจักษุ สุขและทุกข์ภายในก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นต้น. ____________________________ ๑๑- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๘๑๘ ๑๒- สํ. สฬา. เล่ม ๑๘/ข้อ ๓๐๗ อนึ่ง เมื่อมีเครื่องรองรับเหล่านั้น สังขารโลกที่ถูกเบียดเบียน ก็ย่อมเดือดร้อน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๑๓- เมื่อมีจักษุ คนก็ย่อมเดือดร้อน ในรูปที่เห็นไม่ได้ กระทบได้ หรือว่า๑๔- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุย่อมเดือดร้อน ในเพราะรูปที่พอใจและไม่พอใจ ดังนี้เป็นต้น. ____________________________ ๑๓- อภิ. สงฺ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๕๑๖ ๑๔- สํ. สฬา. เล่ม ๑๘/ข้อ ๓๐๖ อนึ่ง โลกแม้ทั้งสองย่อมเดือดร้อน เพราะอายตนะภายในและภายนอกที่เป็นเหตุเหล่านั้นนั่นแล เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จักษุย่อมติดอยู่ ในรูปทั้งหลายที่พอใจและไม่พอใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือราคะเป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหานั้นด้วยอำนาจแห่งอายตนะภายในและภายนอก ๖ จึงตรัสว่า ฉสุ โลโก สมุปฺปนฺโน แปลว่า เมื่ออายตนะภายในและภายนอก ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น ดังนี้. ลำดับนั้น ยักษ์นั้นกำหนดได้ไม่ดีซึ่งปัญหาที่ตนทูลถามด้วยอำนาจแห่งวัฏฏะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาอย่างย่อ ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ ๖ มีความประสงค์เพื่อรู้เนื้อความนั้น และข้อปฏิปักษ์ต่อเนื้อความนั้น เมื่อจะทูลถามวัฏฏะและวิวัฏฏะโดยย่อเท่านั้น จึงทูลว่า กตมนฺตํ แปลว่า อุปาทานที่เป็นเหตุให้โลกต้องเดือดร้อนเป็นไฉน ดังนี้. ในคาถานั้น ชื่อว่าอุปาทาน เพราะอรรถว่าอันสัตว์พึงเข้าไปยึดมั่น. คำว่า อุปาทาน นั่นเป็นชื่อของทุกขสัจจะนั่นแล. บาทคาถาว่า ยตฺถ โลโก วิหญฺญติ ความว่า เหมวตยักษ์ผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า เมื่อมีอายตนะภายในและภายนอก ๖ โลกจึงเดือดร้อน ก็เพราะว่า โลกย่อมเดือดร้อนในเพราะอุปาทาน ๖ จึงทูลถามถึงทุกขสัจจะโดยย่อเท่านั้น ด้วยคาถากึ่งอย่างนี้ว่า โลกย่อมเดือดร้อนในเพราะอุปาทานใด อุปาทานนั้นเป็นไฉน. ส่วนสมุทัยสัจจะก็เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้ว โดยความเป็นเหตุแห่งทุกขสัจจะนั้นแล. เหมวตยักษ์ทูลถามถึงมรรคสัจจะด้วยคาถากึ่งนี้ว่า นิยฺยานํ ปุจฺฉิโต แปลว่า พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ถึงธรรมที่เป็นเครื่องนำออกจากโลก. จริงอยู่ พระอริยสาวกกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ และเจริญมรรค ย่อมออกจากโลกด้วยมรรคสัจจะ เพราะฉะนั้น มรรคสัจจะนั้นจึงเรียกว่า นิยฺยานํ แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องนำออก. บทว่า กถํ ได้แก่ โดยประการไร. บทว่า ทุกฺขา ปมุญฺจติ ความว่า บุคคลจะบรรลุถึงความพ้นจากวัฏทุกข์ที่กล่าวว่า อุปาทาน. ทูลถามถึงมรรคสัจจะโดยย่อเท่านั้นในคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้ ส่วนนิโรธสัจจะเป็นอันทรงถือเอาแล้ว โดยความเป็นวิสัยของมรรคสัจจะนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันยักษ์ทูลถามปัญหา ด้วยอำนาจแห่งสัจจะสี่ที่ทรงแสดงแล้ว และที่ไม่ได้ทรงแสดง โดยสรุปอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงวิสัชนาโดยนัยนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า ปญฺจ กามคุณา แปลว่า กามคุณ ๕ ดังนี้. ในคาถานั้น อายตนะ ๕ ซึ่งเป็นอารมณ์ของใจนั้น เป็นอันทรงถือเอาแล้วด้วยโคจรศัพท์ กล่าวคือกามคุณ ๕ ใจเป็นที่ ๖ ของอายตนะเหล่านั้น เพราะฉะนั้น อายตนะเหล่านั่น ชื่อว่า มโนฉฏฺฐา แปลว่า มีใจเป็นที่ ๖. บทว่า ปเวทิตา ได้แก่ ประกาศแล้ว. ก็ธรรมายตนะอันเป็นอารมณ์ของใจนั้น เป็นอันทรงถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์คือมนายตนะที่ ๖ ในบรรดาอายตนะภายใน ในคาถานี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหานี้ว่า อุปาทานเป็นไฉน ดังนี้ อัน ก็เอกเทศแห่งมนายตนะและธรรมายตนะที่เป็นโลกุตระ ท่านมิได้สงเคราะห์ไว้ในที่นี้ เพราะท่านแสดงหมายถึงอายตนะที่เป็นเหตุให้โลกเดือดร้อน. บทว่า เอตฺถ ฉนฺทํ วิราเชตฺวา ความว่า บุคคลกำหนดอายตนะเหล่านั้นเทียว ในทุกขสัจจะอันต่างด้วยอายตนะ ๑๒ โดยประการนั้นๆ คือโดยขันธ์ โดยธาตุ โดยนามรูป ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะเห็นแจ้งอยู่ คลาย คือนำออก ได้แก่กำจัดความพอใจ คือตัณหาในกามคุณ ๕ นี้ ด้วยวิปัสสนามีอรหัตมรรคเป็นที่สุดได้โดยประการทั้งปวง. บทว่า เอวํ ทุกฺขา ปมุญฺจติ ความว่า ย่อมพ้นจากวัฏทุกข์นั่นด้วยประการนี้. ปัญหานี้ว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกซึ่งธรรมชาติเครื่องออกจากโลก บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร เป็นอันทรงวิสัชนาแล้ว ด้วยคาถากึ่งนี้ ด้วยประการฉะนี้. และมรรคสัจจะก็เป็นอันทรงประกาศแล้ว ก็สมุทัยสัจจะและนิโรธสัจจะ พึงทราบว่าเป็นอันทรงประกาศแล้วเทียว เพราะสงเคราะห์โดยนัยก่อนนั่นแล. หรือทรงประกาศทุกขสัจจะด้วยคาถากึ่ง สมุทัยสัจจะด้วยฉันทะ นิโรธสัจจะด้วยวิรัชในบทว่า คลายแล้ว มรรคสัจจะ โดยพระบาลีว่า ย่อมพ้นเพราะวิราคะ หรือทรงประกาศมรรคสัจจะด้วยนิทัสสนะที่หมายถึง เอวํ ศัพท์ ทรงประกาศนิโรธสัจจะด้วยการพ้นจากทุกข์ว่า บุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ โดยพระบาลีว่า ทุกฺขนิโรธํ เพราะฉะนั้น สัจจะสี่พึงทราบว่า ทรงประกาศแล้วในคาถานี้ด้วยประการฉะนี้. ทรงประกาศธรรมชาติเครื่องออกจากโลก โดยลักษณะ ด้วยคาถาอันบรรจุสัจจะสี่อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงประมวลนิยยานธรรมนั้นนั่นเทียวด้วยความชำนิชำนาญทางนิรุตติของพระองค์ จึงตรัสว่า เอตํ โลกสฺส นิยฺยานํ ซึ่งธรรมชาติเครื่องออกจากโลกนี้. ในคาถานี้ บทว่า เอตํ เป็นการแสดงไขถึงบทที่กล่าวแล้วในบทก่อน. บทว่า โลกสฺส ได้แก่ จากโลกธาตุทั้งสาม. บทว่า ยถาตถํ ได้แก่ ไม่ผิด. บทว่า เอตํ โว อหมกฺขามิ ความว่า ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึงถามเราพันครั้ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่านทั้งหลาย คือจะไม่บอกข้ออื่น. เพราะเหตุไร เพราะบุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ได้ด้วยอาการอย่างนี้ อธิบายว่าไม่ใช่โดยประการอื่น. อนึ่ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่านทั้งหลายแม้ออกไปแล้ว ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง และ ๓ ครั้ง ด้วยนิยยานธรรมนี้. อธิบายว่า เราจะบอกนิยยานธรรมนั้นแล แม้เพื่อบรรลุคุณวิเศษชั้นสูง เพราะเหตุไร เพราะบุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ที่เหลือและไม่มีส่วนเหลือได้ด้วยอาการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้จบลงด้วยยอด คือพระอรหัต ในเวลาจบเทศนา เสนาบดียักษ์แม้ทั้งสองก็ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล พร้อมกับยักษ์ ๑,๐๐๐. ลำดับนั้น เหมวตยักษ์แม้โดยปกติ ก็เป็นผู้หนักในธรรม บัดนี้ตั้งอยู่แล้วในอริยภูมิ ยังไม่อิ่มโดยดี เพื่อจะทูลถามเสกขภูมิและอเสกขภูมิกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเทศนาที่มีปฏิภาณอันวิจิตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถาว่า โกสูธ ตรติ โอฆํ แปลว่า ในโลกนี้ ใครเล่าข้ามโอฆะได้. ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ทูลถามถึงเสกขภูมิว่า ใครเล่าข้ามโอฆะสี่ได้ ด้วยบทนี้ว่า ในโลกนี้ ใครเล่าข้ามโอฆะได้. โดยไม่แปลกกัน เพราะคำว่า อณฺณวํ ได้แก่ ห้วงน้ำซึ่งมีประมาณไม่กว้างและไม่ลึก. ก็อีกอย่างหนึ่ง อรรณพเช่นกับที่ท่านกล่าวว่า ทั้งกว้างกว่าและลึกกว่านั้นแล ชื่อว่าอรรณพ คือสังสารวัฏ ก็อรรณพคือสังสารวัฏนี้ โดยรอบก็กว้าง เพราะไม่มีที่สุด โดยเบื้องต่ำก็ลึก เพราะไม่มีที่ตั้ง โดยเบื้องบนก็ลึก เพราะไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เพราะฉะนั้น เหมวตยักษ์จึงทูลถามถึงอเสกขภูมิว่า ในโลกนี้ ใครเล่าข้ามอรรณพได้ และใครย่อมไม่จมลงในอรรณพที่ลึกซึ้งนั้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะภิกษุใดไม่ทำการล่วงละเมิดแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ถึงพร้อมด้วยศีลทุกเมื่อ และมีปัญญา ด้วยปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ตั้งมั่นดีแล้วด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ และมรรคผลเบื้องต่ำทุกอิริยาบถ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ มีปกติคิดซึ่งธรรมภายในอันนำออกจากทุกข์ด้วยวิปัสสนา และถึงพร้อมแล้วด้วยสติ คือความไม่ประมาทอันนำมาซึ่งการกระทำติดต่อ ภิกษุนั้นย่อมข้ามโอฆะนี้ที่ข้ามได้แสนยากโดยไม่มีส่วนเหลือด้วยมรรคที่สี่ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงวิสัชนาเสกขภูมิ จึงตรัสคาถาที่บรรจุไตรสิกขานี้ว่า สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีลทุกเมื่อ. ก็ในคาถานี้ สิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขาด้วยสีลสัมปทา อธิจิตตสิกขาด้วยสติและสมาธิ อธิปัญญาสิกขาด้วยปัญญา คือการคิดถึงธรรมภายใน ท่านกล่าวว่ามีอุปการะและมีอานิสงส์. จริงอยู่ สิกขาทั้งหลายมีโลกิยปัญญาและสติเป็นอุปการะ มีสามัญผลเป็นอานิสงส์. ครั้นทรงแสดงเสกขภูมิ ด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอเสกขภูมิ จึงตรัสคาถาที่สอง. คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า วิรโต กามสญฺญาย ความว่า ผู้เว้นจาก บทว่า โส ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพเช่นนั้น ย่อมไม่จมลงในอรรณพ คือสังสารวัฏอันลึก เข้าถึงผลแห่งนิพพานธาตุอันมีเบญจขันธ์เหลือ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และไม่มีเบญจขันธ์เหลือ เพราะสิ้นภพ. ลำดับนั้น เหมวตยักษ์แลดูสหายและยักษ์บริษัท เกิดปีติแลโสมนัส ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถามีอย่างนี้ว่า คมฺภีรปญฺญํ เป็นต้น อภิวาทแล้ว พร้อมกับสหายและบริษัทใหญ่ทั้งหมดทำประทักษิณแล้ว ไปสู่ที่อยู่ของตน. ก็คาถาเหล่านั้นมีอรรถวรรณนาดังนี้ บทว่า คมฺภีรปญฺญํ ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยพระปัญญาอันลึกซึ้ง. คัมภีรปัญญาในคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในปฏิสัมภิทานั้นแหละ. จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทานั้น ท่านกล่าวไว้มีอาทิว่า๑๕- ที่ชื่อว่าคัมภีรปัญญา เพราะอรรถว่าญาณเป็นไปอยู่ในขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง. ผู้มีพระปัญญาอันลึกซึ้งอย่างนี้. ____________________________ ๑๕- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๖๖๘ บทว่า นิปุณตฺถทสฺสึ ความว่า ผู้ทรงแสดงเนื้อความแห่งปัญหาทั้งหลายที่ชนทั้งหลายมีกษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้น ผู้ละเอียดอ่อนปรุงแต่งแล้ว หรือผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียดโดยทรงแสดงเหตุทั้งหลายอันละเอียดแห่งอรรถทั้งหลายที่คนเหล่าอื่นแทงตลอดได้ยาก. ชื่อว่าไม่มีความกังวล เพราะไม่มีความกังวลมีราคะเป็นต้น ชื่อว่าไม่ข้องแล้วในกามภพ เพราะไม่ทรงติดอยู่ในกามทั้งสอง และในภพสามอย่าง ชื่อว่าพ้นวิเศษแล้วในอารมณ์ทั้งปวง เพราะไม่มีความผูกพันด้วยฉันทราคะในอารมณ์ทั้งปวงอันต่างด้วยขันธ์เป็นต้น. บทว่า ทิพฺเพ ปเถ กมมานํ ความว่า ทรงดำเนินไปในทางอันเป็นทิพย์อันต่างด้วยสมาบัติแปด ด้วยสามารถแห่งการเข้า. ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงดำเนินไปในทางอันเป็นทิพย์ ในเวลานั้น ก็จริง ถึงกระนั้น เหมวตยักษ์กล่าวอย่างนั้น ก็เพราะพระองค์ทรงมีความสามารถที่จะก้าวไป ซึ่งหมายถึงการก้าวไปในกาลก่อน หรือเพราะพระองค์ทรงมีความชำนาญอันได้แล้วในทางอันเป็นทิพย์นั้น ท่านกล่าวคำนี้ไว้ แม้โดยการก้าวไปในธรรมเป็นเครื่องอยู่ตั้งร้อยๆ อย่างอันเป็นทางแห่งพระอรหันต์ทั้งหลายผู้เป็นวิสุทธิเทพ. ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ เพราะทรงแสวงหาคุณทั้งหลายอันใหญ่. ในคาถาที่ ๒ เหมวตยักษ์ได้แสดงขยายนิปุณัตถทัสสิศัพท์อีก เพราะทำอธิบายว่า ตนปรารภความชมเชย โดยปริยายอื่น. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียด. บทว่า ปญฺญาททํ ได้แก่ ผู้ทรงให้ปัญญา เพราะตรัสข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อได้ปัญญา. บทว่า กามาลเย อสตฺตํ ได้แก่ ไม่ข้องแล้วในอาลัย ๒ อย่างด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิในกามทั้งหลาย. บทว่า สพฺพวิทุํ ได้แก่ ทรงรู้ธรรมทั้งปวง มีอธิบายว่า ทรงเป็นพระสัพพัญญู. บทว่า สุเมธํ ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยพระเมธา กล่าวคือบารมีปัญญา อันเป็นทางแห่งความเป็นพระสัพพัญญูนั้น. บทว่า อริเย ปเถ ความว่า ในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปด หรือในผลสมาบัติ. บทว่า กมมานํ ได้แก่ ทรงหยั่งลงด้วยพระปัญญา คือทรงก้าวไป เพราะทรงรู้ลักษณะแห่งมรรคแล้วทรงแสดง หรือพึงก้าวไปด้วยกำลังแห่งการก้าวไป กล่าวคือ มรรคภาวนา ๔ อย่าง เพราะทรงเข้าผลสมาบัติได้ทุกๆ ขณะ. บทว่า สุทิฏฺฐํ วต โน อชฺช ความว่า วันนี้ เราทั้งหลายเห็นดีแล้ว อธิบายว่า การเห็น. บทว่า สุปฺปภาตํ สุหุฏฺฐิตํ ความว่า วันนี้ พวกเราเห็นดีแล้ว หรือในวันนี้ ความงามของพวกเราดีแล้ว สว่างแล้ว ได้แก่แจ่มแจ้งแล้ว วันนี้ พวกเราตั้งดีแล้วหนอ คือตั้งขึ้นดีแล้ว เพราะไม่มีอันตราย เพราะเหตุไร เพราะเหมวตยักษ์ประกาศความปราโมทย์ปรารภสมบัติ คือลาภของตนว่า พวกเราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า เราทั้งหลายได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าแล้ว. บทว่า อิทฺธิมนฺโต ความว่า ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยฤทธิ์อันเกิดแต่กรรมวิบาก. บทว่า ยสสฺสิโน ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยลาภอันเลิศและบริวารอันเลิศ. บทว่า สรณํ ยนฺติ ความว่า ยักษ์ทั้งหลายถึงสรณะด้วยมรรคแล้วก็จริง ถึงกระนั้น เหมวตยักษ์ย่อมเปล่งวาจาเพื่อแสดงความที่ตนเป็นพระโสดาบัน และเพื่อแสดงความเลื่อมใส. บทว่า คามา คามํ ความว่า จากเทวคาม สู่เทวคาม. บทว่า นคา นคํ ได้แก่ จากเทวบรรพตสู่เทวบรรพต. บทว่า นมสฺสมานา สมฺพุทฺธํ ธมฺมสฺส จ สุธมฺมตํ มีอธิบายว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายจักชมเชย ขอนอบน้อมซึ่งความที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ดี และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี โดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองหนอ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วหนอ และความปฏิบัติดีแห่งสงฆ์ โดยนัยมีอาทิว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีหนอดังนี้แล้ว เป็นผู้ประกาศธรรมเที่ยวไป. บทที่เหลือในคาถานี้ ตื้นทั้งนั่นแล. จบอรรถกถาเหมวตสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถโชติกา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค เหมวตสูตร จบ. |