บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
มีอุบัติอย่างไร? อุบัติแห่งอาฬวกสูตรนั้น จักแจ่มแจ้งโดยนัยแห่งอัตถวัณณนานั่นเทียว ก็ในอัตถวัณณนา บทว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา นั่น มีเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแล. ก็ในบทว่า อาฬวิยํ วิหรติ อาฬวกสฺส ยกฺขสฺส ภวเน นี้มีคำถามว่า อาฬวิคืออะไร และพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์นั้น เพราะเหตุไร? ข้าพเจ้าจะตอบคำถาม. คำว่า อาฬวิ นั้น เรียกว่า รัฐบ้าง นครบ้าง แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ควรในสูตรนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ ในที่ใกล้อาฬวินครก็เรียกว่าประทับอยู่ ใกล้เมืองอาฬวี และในที่ใกล้ คือในที่ไม่ไกลแห่งนครนั้น ประมาณคาวุตหนึ่ง ที่อยู่นั้นก็เรียกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ในรัฐอาฬวี ประทับอยู่ใกล้เมืองอาฬวี ที่อยู่นั่นมีในรัฐอาฬวี. ทรงล่าเนื้อ ลำดับนั้น พระราชาทรงฆ่าเนื้อนั้นซึ่งหมดกำลัง ลงน้ำยืนอยู่ ตัดแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน แม้พระองค์ไม่ทรงต้องการเนื้อ เพื่อทรงปลดเปลี้องความผิดพลาดว่า พระราชาไม่อาจเพื่อพาเนื้อไปได้ จึงทรงหาบเนื้อเสด็จมา ทรงเห็นต้นไทรใหญ่ซึ่งมีใบเขียวหนาแน่นในที่ไม่ไกลพระนคร เสด็จเข้าสู่โคนต้นไทรนั้น เพื่อทรงบรรเทาความเมื่อยล้า. ก็ในต้นไทรนั้นมียักษ์ชื่ออาฬวกะ ได้พรจากสำนักของท้าวเวสวัณมหาราช กินสัตว์ทั้งหลายที่เข้าไปสู่โอกาสที่เงาของต้นไม้นั้นแผ่ไปถึงในสมัยเที่ยงวัน อาศัยอยู่. ยักษ์นั้นเห็นพระราชานั้นก็เข้ามาเพื่อจะเคี้ยวกิน. พระราชาทรงกระทำกติกากับยักษ์นั้นว่า จงปล่อยฉัน ฉันถูกปล่อยจักส่งมนุษย์และถาดอาหารทุกๆ วัน. ยักษ์ทูลว่า ท่านมัวเมาด้วยราชูปโภคจักทรงลืมเสีย ส่วนข้าพเจ้าจะไม่ได้เพื่อกินคนที่ไม่เข้ามาสู่ที่อยู่และคนที่ไม่ได้อนุญาต ข้าพเจ้านั้นต้องกินท่าน จึงเป็นอยู่ได้ดังนี้ จึงไม่ปล่อย. พระราชาจึงทรงยินยอมว่า ข้าพเจ้าไม่ส่งในวันใด ท่านจงจับข้าพเจ้ากินในวันนั้น ผู้อันยักษ์นั้นปล่อยแล้ว จึงเสด็จหลีกไปบ่ายพระพักตร์สู่พระนคร. พลกายตั้งค่ายรออยู่ในทาง เห็นพระราชาแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช พระ ร. แน่ะพนาย! ไม่ได้ทำการกำหนดกาล. น. ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์ทรงทำไม่ดีแล้ว เพราะอมนุษย์ทั้งหลายย่อมได้กาลที่สักว่ากำหนดแล้วเท่านั้น แต่เมื่อพระองค์ไม่ทรงกำหนดกาล ชนบทจักมีความลำบาก. เอาเถิดพระเทวะ พระองค์ทรงกระทำอย่างนี้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อย เสวยราชสมบัติเถิด ข้าพระองค์จักกระทำสิ่งที่ควรทำในเรื่องนี้. ส่งคนให้ยักษ์กิน จำเดิมแต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายโจษจันกันว่า พระราชาจับโจรให้แก่ยักษ์ ได้งดเว้นจากโจรกรรม โดยสมัยอื่นจากนั้น เรือนจำทั้งหลายจึงว่างเปล่า เพราะพวกโจรเก่าสิ้นไป เพราะโจรใหม่ทั้งหลายไม่มี. ลำดับนั้น คนรักษาพระนครจึงทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสสั่งให้ทิ้งพระราชทรัพย์ของพระองค์ที่ตรอกแห่งพระนครทั้งหลาย ด้วยทรงหวังว่า จะพึงมีใครๆ ถือเอาทรัพย์ด้วยความโลภบ้าง ก็ไม่มีใครจับต้องทรัพย์นั้น แม้ด้วยเท้า. คนรักษาพระนครนั้น เมื่อไม่ได้โจรทั้งหลาย จึงบอกแก่อำมาตย์ทั้งหลาย. อำมาตย์ทั้งหลายจึงทูลว่า พวกข้าพระองค์จะส่งคนแก่ตามลำดับตระกูลๆ ละ ๑ คนไปให้ แม้โดยปกติคนแก่นั้นก็ใกล้ตายแล้ว. พระราชาตรัสห้ามว่า มนุษย์ทั้งหลายจักกระทำการต่อต้านว่า พระราชาทรงส่งบิดาของพวกเรา ปู่ของพวกเรา พวกท่านอย่าชอบใจข้อนั้นเลย. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ ถ้าอย่างนั้น พวกข้าพระองค์จะส่งทารกซึ่งกำลังนอนหงาย เพราะทารกเช่นนั้น ย่อมไม่มีความเยื่อใยว่า แม่ของเรา พ่อของเรา. พระราชาทรงอนุญาต. อำมาตย์เหล่านั้นก็ได้กระทำอย่างนั้น. พวกมารดาของทารกในพระนครก็พาพวกทารก และพวกสตรีมีครรภ์ก็พากันหนีให้ทารกทั้งหลายเจริญในชนบทอื่นแล้ว จึงนำกลับมา เป็นอย่างนี้จนสิ้น ๑๒ ปี. แต่นั้นในวันหนึ่ง พวกอำมาตย์ค้นหาทั่วพระนครก็ไม่ได้ทารกแม้คนหนึ่ง จึงทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ ในพระนครไม่มีทารกเว้นแต่อาฬวกุมาร พระราชโอรสของพระองค์ในภายในบุรี. พระราชาตรัสว่า บุตรของเราย่อมเป็นที่รักฉันใด ผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนย่อมไม่มีแก่สรรพโลกฉันนั้น จงไปเถิด จงให้อาฬวกุมารแม้นั้นแล้ว รักษาชีวิตของเราไว้. ก็โดยสมัยนั้น พระราชมารดาของพระอาฬวกุมารทรงให้พระโอรสทรงสนานแล้ว ประดับตกแต่ง สวมเทริดที่ทำด้วยผ้าเปลือกไม้ ให้บรรทมบนพระเพลา ประทับนั่งอยู่แล้ว. ราชบุรุษทั้งหลายไปในที่นั้นด้วยคำสั่งของพระราชา ได้มาเอาพระราชกุมารนั้นจากพระมารดานั้นผู้กำลังทรงรำพันอยู่ พร้อมด้วยหญิงพี่เลี้ยง ๑๖,๐๐๐ คน หลีกไป ด้วยกล่าวว่า พระราชกุมารจะเป็นอาหารของยักษ์ในวันพรุ่งนี้. ทรงทรมานอาฬวกยักษ์ ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคนต้นไทรซึ่งเป็นที่อยู่ของ ตอบว่า ในที่อยู่เท่านั้น ด้วยว่า ยักษ์ทั้งหลายย่อมเห็นที่อยู่ของตนโดยประการใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทับอยู่โดยประการนั้น พระองค์ทรงไปในที่นั้น ประทับยืนอยู่ที่ประตูที่อยู่ ในกาลนั้น อาฬวกยักษ์ไปสู่สมาคมแห่งยักษ์ในหิมวันตประเทศ แต่นั้น ยักษ์ชื่อคัทรภะ ผู้รักษาประตูของอาฬวกยักษ์ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ไหว้แล้ว ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาในวิกาลหรือ? ภ. อย่างนั้น คัทรภะ เรามาแล้ว ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขอพักอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์คืนหนึ่ง. ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่หนักใจ แต่ว่า ยักษ์นั้นร้ายกาจ หยาบคาย ไม่กระทำกิจมีการอภิวาทน์เป็นต้นแม้แก่มารดาและบิดา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอย่าชอบพระทัยอยู่ในที่นี้เลย. ภ. ดูก่อนคัทรภะ เรารู้ว่ายักษ์นั้นร้ายกาจ แต่อันตรายไรๆ จักไม่มีแก่เรา ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขอพักอยู่คืนหนึ่ง. คัทรภยักษ์ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ครั้งที่สองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาฬวกยักษ์เป็นเช่นกับกระเบื้องเผาไฟ ย่อมไม่รู้ว่า มารดาบิดา หรือ แม้ในครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เรารู้ คัทรภะ ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขอพักอยู่คืนหนึ่ง. แม้ในครั้งที่สาม คัทรภยักษ์ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ แม้ในครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เรารู้ คัทรภะ ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขอพักอยู่คืนหนึ่ง. ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่หนักใจ แต่ยักษ์นั้นพึงฆ่าข้าพระองค์ผู้ไม่บอกแก่ตนแล้วอนุญาต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะบอกแก่ยักษ์นั้น. ภ. ดูก่อนคัทรภะ จงบอกตามสบายเถิด. คัทรภะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์นั้นแลจงรู้ ดังนี้ อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว หลีกไปมุ่งหน้าต่อหิมวันตประเทศ. แม้ประตูแห่งที่อยู่ก็เปิดเองแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในที่อยู่ ประทับนั่ง ณ รัตนบัลลังก์อันเป็นทิพย์ ซึ่งอาฬวกยักษ์นั่งเสวยสิริในวันทั้งหลายมีวันมงคลเป็นต้นที่กำหนดแล้ว ทรงเปล่งแสงสว่างแห่งทอง. หญิงทั้งหลายของยักษ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว มาไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปกิรณกธรรมกถาแก่หญิงเหล่านั้นว่า ในครั้งก่อน พวกท่านได้ให้ทานสมาทานศีล บูชาบุคคลอันควรบูชา จึงได้ถึงสมบัตินี้ แม้ในบัดนี้ ก็จงทำอย่างนั้นแล อย่าให้ความริษยาและความตระหนี่ครอบงำกะกันและกันอยู่เลย หญิงเหล่านั้นฟังพระสุรเสียงอันไพเราะของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ให้สาธุการถึงพันครั้ง นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล. ฝ่ายคัทรภะไปสู่หิมวันตประเทศบอกแก่อาฬวกยักษ์ว่า ข้าแต่ท่านนิรทุกข์ เชิญท่านทราบเถิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ วิมานของท่าน อาฬวกยักษ์นั้นได้ทำสัญญาแก่คัทรภะว่า จงนิ่ง เราจักไปทำสิ่งที่ควรทำ. ได้ยินว่า อาฬวกยักษ์นั้นละอายแล้วด้วยมานะของบุรุษ เพราะฉะนั้น จึงห้ามว่า ใครๆ ในท่ามกลางบริษัทอย่าพึงได้ยิน. ในกาลนั้น สาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์ตกลงกันว่า พวกเราไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระเชตวันแล้ว จักไปสู่สมาคมแห่งยักษ์ พร้อมกับบริวารไปทางอากาศด้วยยานต่างๆ. ก็ยักษ์ทั้งหลายไม่มีทางในอากาศทั้งปวง มีแต่ทางในที่เป็นทางจรดวิมานทองทั้งหลายที่ตั้งบนอากาศ. ส่วนวิมานของอาฬวกยักษ์ตั้งอยู่บนดินแวดล้อมไปด้วยกำแพงที่รักษาดีแล้ว มีประตู ป้อมและซุ้มประตูที่จัดไว้เป็นอย่างดี ในเบื้องบนปกปิดด้วยข่ายสำริด เป็นเช่นกับหีบสูง ๓ โยชน์ ทางย่อมมีบนวิมานนั้น ยักษ์เหล่านั้นไม่สามารถเพื่อจะไปมาสู่ประเทศนั้น. จริงอยู่ ใครๆ ไม่สามารถเพื่อไปโดยส่วนเบื้องบนแห่งโอกาสที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับ จนถึงภวัครพรหม. ยักษ์เหล่านั้นนึกว่านี้อะไรกัน เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ลงมาดุจก้อนดินที่โยนไปในอากาศฉะนั้น ไหว้แล้วฟังธรรม ทำประทักษิณ ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จะไปสู่สมาคมของยักษ์ สรรเสริญวัตถุสามแล้ว ไปสู่สมาคมของยักษ์. อาฬวกยักษ์เห็นสาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์เหล่านั้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงนั่งในที่นี้ ถอยให้โอกาส ยักษ์ทั้งสองนั้นประกาศแก่อาฬวกยักษ์ว่า ดูก่อนอาฬวกะ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่ของท่านเป็นลาภของท่าน ไปเถิดอาวุโส จงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่นั่นเทียวอย่างนี้แล หาได้ประทับอยู่ที่โคนต้นไทรซึ่งเป็นที่อยู่ของอาฬวกะไม่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ใกล้เมืองอาฬวี. ลำดับนั้นแล อาฬวกยักษ์ ฯลฯ ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าจงออกไปเถิด สมณะ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร อาฬวกยักษ์นี้ จึงทูลอย่างนั่นเล่า? ข้าพเจ้าจะตอบ เพราะความที่อาฬวกยักษ์ประสงค์จะด่า. ในข้อนี้ พึงทราบความสัมพันธ์จำเดิมแต่ต้นอย่างนี้ ก็อาฬวกยักษ์นี้เพราะสัทธากถาทำได้ยากแก่คนผู้ไม่มีศรัทธา ดุจกถามีศีลเป็นต้นทำได้ยากแก่คนทั้งหลายมีคนทุศีลเป็นต้น เพราะฉะนั้น ได้ฟังการสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าจากสำนักของยักษ์เหล่านั้นแล้ว เป็นผู้มีดวงหทัยเดือดพล่านด้วยความโกรธในภายในดุจก้อนเกลือที่ใส่ลงในไฟ ฉะนั้น จึงพูดว่า ผู้ที่เข้าไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าที่ชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น คือใคร? ยักษ์เหล่านั้นเมื่อกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า อาวุโส ท่านไม่รู้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของพวกเรา ซึ่งดำรงอยู่ในดุสิตภพแล้ว ทรงตรวจดูมหาวิโลกน์ ๕ อย่างดอกหรือ จนถึงทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไป กล่าวถึงบุพนิมิต ๓๒ อย่างในกาลทั้งหลายมีปฏิสนธิเป็นต้นแล้ว เตือนว่า อาวุโส ท่านไม่เห็นอัศจรรย์เหล่านี้. อาฬวกยักษ์นั้นแม้เห็นแล้ว ก็กล่าวว่าไม่เห็น เพราะอำนาจแห่งความโกรธ. ยักษ์ทั้งสองจึงกล่าวว่า อาวุโสอาฬวกะ ท่านพึงเห็นหรือไม่ก็ตาม ประโยชน์อะไรด้วยท่านผู้เห็นอยู่ หรือไม่เห็น ท่านจักทำอะไรแก่พระศาสดาของพวกเรา ซึ่งท่านกระทบพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว จะปรากฏเหมือนลูกโคที่เกิดในวันนั้น ปรากฏในที่ใกล้โคอุสภะตัวใหญ่ซึ่งมีเครื่องประดับที่หนอกโค ดุจลูกช้างอยู่ใกล้ช้างตกมัน ดุจสุนัขจิ้งจอกแก่อยู่ใกล้พญาเนื้อมีร่างสวยงามประดับด้วยขนคอห้อยลงมางดงาม ดุจลูกกาปีกหักใกล้พญาครุฑซึ่งมีร่างกายแผ่ไปถึง ๑๕๐ โยชน์ฉะนั้น. ท่านจงไป จงทำสิ่งที่ท่านจะพึงกระทำเถิด. เมื่อยักษ์ทั้งสองกล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬวกยักษ์โกรธลุกขึ้นเหยียบพื้นมโนศิลาด้วยเท้าเบื้องซ้าย เหยียบยอดภูเขาไกลาสประมาณ ๖๐ โยชน์ด้วยเท้าเบื้องขวา ด้วยกล่าวว่า บัดนี้ จงดูศาสดาของพวกท่านมีอานุภาพมาก หรือเราเป็นผู้มีอานุภาพมากกันแน่ ยอดภูเขาไกลาสนั้นก็ปล่อยสะเก็ดออกมา ดุจก้อนเหล็กซึ่งถูกทุบด้วยแท่งเหล็กกระจายออกมาฉะนั้น อาฬวกยักษ์นั้นยืนอยู่ในที่นั้น ประกาศก้องว่า ฉัน คือ อาฬวกะ เสียงแผ่ไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น. ได้ยินว่า เสียง ๔ ประเภทได้ยินในชมพูทวีปทั้งสิ้น คือ ๑. เสียงที่ปุณณกะ ยักขเสนาบดีชนะพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะด้วยการพนัน ปรบมือประกาศก้องว่า เราชนะแล้ว. ๒. เสียงที่ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เมื่อพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป กำลังเสื่อม ทรงทำวิสสุกรรมเทพบุตรให้เป็นสุนัข ให้ประกาศทั่วไปว่า เราจักกัดกินภิกษุชั่ว ภิกษุณีชั่ว อุบาสกอุบาสิกาและคนทั้งหลายที่เป็นอธรรมวาที. ๓. เสียงที่พระมหาบุรุษ ในเมื่อกษัตริย์ ๗ พระองค์เข้ายึดพระนครได้แล้ว เพราะเหตุแห่งนางประภาวดี จึงได้ยกนางประภาวดีขึ้นคอช้างไปกับตน ออกจากพระนครแล้ว ประกาศก้องในกุสชาดกว่า ฉันนี้แหละ คือ สีหัสสรกุสมหาราช. ๔. เสียงที่อาฬวกยักษ์ยืนบนยอดเขาไกลาสประกาศว่า เรา คือ อาฬวกะ. ก็ในกาลนั้น เสียงนั้นก็เป็นเช่นกับเสียงที่ยักษ์ยืนที่ประตูๆ ในชมพูทวีปทั้งสิ้นประกาศก้อง และแม้หิมวันตประเทศซึ่งมีส่วนกว้างสามพันโยชน์ ก็หวั่นไหวด้วย แต่นั้น อาฬวกยักษ์ก็ทำฝนห่าใหญ่ให้ตกลงด้วยคิดว่า เราจักให้น้ำท่วมให้สมณะตาย ฝนทั้งหลายอันต่างด้วยก้อนเมฆ ตั้งร้อยตั้งพันเป็นต้นก่อตัวขึ้นแล้วก็ตกลงมาด้วยความเร็วของกระแสน้ำฝน แผ่นดินก็เป็นช่องๆ ต่อแต่นั้น มหาเมฆก็มาเบื้องบนของราวป่าก็ไม่อาจที่จะทำแม้สักว่า หยาดน้ำค้างให้เปียกที่จีวรของพระทศพลได้. ต่อแต่นั้น อาฬวกยักษ์ก็ทำฝนแผ่นหินให้ตกลงมา ยอดเขาใหญ่ๆ พ่นควันลุกโพลงมาทางอากาศ ถึงพระทศพลแล้วก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์และพวงดอกไม้ทิพย์. แต่นั้นก็ทำฝนเครื่องประหารให้ตกลงมา อาวุธทั้งหลายที่มีคมข้างเดียวที่มีคม ๒ ข้างมีดาบหอกและมีดโกนเป็นต้น ก็พุ่งควันลุกโพลงมาทางอากาศ ถึงพระทศพลแล้วก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์. ต่อแต่นั้นก็ทำฝนถ่านเพลิงตกลงมา ถ่านเพลิงมีสีดังดอกทองกวาวก็มาทางอากาศได้กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ตกเรี่ยรายอยู่ที่ใกล้พระบาทของพระทศพล. ต่อแต่นั้นก็ทำฝนเถ้ารึงตรลบขึ้นมาทางอากาศ ก็กลายเป็นจุณจันทน์ตกลงที่บาทมูลของพระทศพล. ต่อแต่นั้นก็ทำฝนทรายให้ตกลงมา ทรายละเอียดอย่างยิ่งพ่นควันลุกโพลงมาทางอากาศ กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ตกลงที่บาทมูลของพระทศพล. ต่อแต่นั้นก็ทำฝนเปือกตมตกลงมา ฝนเปือกตมนั้นพ่นควันลุกโพลงมาทางอากาศ กลายเป็นของหอมอันเป็นทิพย์ตกลงที่บาทมูลของพระทศพล. ต่อแต่นั้นก็บันดาลให้เกิดความมืดมนอันธการด้วยหวังว่า เราจะทำให้สมณะกลัวแล้วหนีไป ความมืดมนนั้นเป็นเช่นกับความมืดมนที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ถึงพระทศพลแล้วก็อันตรธานไป ดุจถูกกำจัดด้วยแสงพระอาทิตย์ฉะนั้น. ยักษ์เมื่อไม่อาจเพื่อจะให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหนีไป ด้วยลมฝน ฝนหิน ฝนเครื่องประหาร ฝนถ่านเพลิง ฝนเถ้ารึง ฝนทราย ฝนเปือกตมและความมืดมน ๘ อย่างอย่างนี้แล้ว ตนเองจึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเสนาประกอบด้วยองค์ ๔ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ภูตผี ซึ่งมีรูปเป็นอเนกประการ มีมือถือเครื่องประหารนานาชนิด คณะภูตเหล่านั้นกระทำสิ่งแปลกๆ เป็นอเนกประการ เป็นดุจมาเบื้องบนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำพูดว่า ท่านทั้งหลายจงจับ จงฆ่าเสีย. อีกอย่างหนึ่ง ภูตเหล่านั้นก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เลย ดุจแมลงวันไม่อาจเข้าใกล้ก้อนเหล็กที่กระเด็นออก แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ มารที่โพธิมณฑลกลับไปในขณะที่ตนมาเท่านั้นฉันใด ภูตพวกนี้ไม่กลับเหมือนอย่างนั้น ได้กระทำความวุ่นวายต่างๆ อยู่ประมาณครึ่งคืน. อาฬวกยักษ์ เมื่อไม่อาจทำพระผู้มีพระภาคเจ้าให้หวั่นไหวได้ แม้ด้วยเหตุว่าการแสดงสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอันมีเป็นอเนกประการ ในเมื่อครึ่งคืนล่วงไปแล้วอย่างนี้ จึงคิดว่า ไฉนหนอ เราจะพึงปล่อยทุสสาวุธซึ่งใครไม่พึงชนะได้. ได้ยินว่า อาวุธที่ประเสริฐที่สุดในโลกมี ๔ อย่าง คือ วชิราวุธของท้าวสักกะ คทาวุธของท้าวเวสวัณ นยนาวุธของพระยายม ทุสสาวุธของอาฬวกยักษ์. ก็ผิว่า ท้าวสักกะทรงพิโรธแล้ว พึงประหาร คทาที่ท้าวเวสวัณปล่อยในกาลที่ตนยังเป็นปุถุชน ทำลายศีรษะของพวกยักษ์หลายพันแล้วกลับมาสู่กำมือตั้งอยู่อีก. ครั้นเมื่อพระยายมพิโรธแล้วสักว่ามองดูด้วยนยนาวุธ กุมภัณฑ์หลายพันก็จะลุกเป็นไฟพินาศ ดุจหญ้าและใบไม้บนกระเบื้องร้อนฉะนั้น. อาฬวกยักษ์โกรธ ถ้าพึงปล่อยทุสสาวุธในอากาศไซร้ ฝนก็ไม่พึงตกตลอด ๑๒ ปี ถ้าปล่อยในแผ่นดินไซร้ วัตถุมีต้นไม้และหญ้าทั้งปวงเป็นต้นก็จะเหี่ยวแห้งไม่งอกอีก ภายใน ๑๒ ปี ถ้าพึงปล่อยในสมุทรไซร้ น้ำทั้งหมดก็พึงเหือดแห้งดุจหยาดน้ำใน อาฬวกยักษ์นั้นปล่อยทุสสาวุธอันมีอานุภาพอย่างนี้ จับยกชูขึ้น. ปวงเทวดาในหมื่นโลกธาตุโดยมาก ก็รีบมาประชุมกันด้วยคิดว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรมานอาฬวกะ พวกเราจักฟังธรรมในที่นั้น. เทวดาทั้งหลายแม้ใคร่จะเห็นการรบก็ประชุมกัน อากาศแม้ทั้งสิ้นก็เต็มด้วยทวยเทพด้วยประการฉะนี้ อาฬวกยักษ์ท่องเที่ยวเบื้องบน ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วปล่อยวัตถาวุธ วัตถาวุธนั้นทำเสียงดังน่าสะพรึงกลัวในอากาศ ดุจอสนิจักรพ่นควันลูกโพลง มาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็กลายเป็นผ้าเช็ดพระบาทตกอยู่ที่บาทมูล เพื่อจะย่ำยีมานะของยักษ์. อาฬวกยักษ์เห็นเหตุนั้นแล้วก็หมดเดช หมดมานะ ดุจโคอุสภะตัวใหญ่ที่มีเขาขาดแล้ว ดุจงูที่ถูกถอนเขี้ยวเสียแล้วฉะนั้น เป็นผู้มีธงคือมานะที่ถูกนำออกเสียแล้ว คิดว่าแม้ทุสสาวุธไม่ทำให้สมณะกลัวได้ เหตุอะไรหนอแล ได้เห็นเหตุนี้ว่า สมณะประกอบด้วยเมตตาวิหารธรรม เอาเถอะ เราจะทำให้สมณะนั้นโกรธแล้ว จักพรากเสียจากเมตตาดังนี้. พระอานนท์จึงกล่าวข้อความนี้ โดยเชื่อมกันนี้ว่า อถโข อาฬวโก ยกฺโข เยน ภควา ฯ เป ฯ นิกฺขม สมณ แปลว่า ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ จงออกไปเถิด สมณะ. ในบาลีนั้น มีอธิบายอย่างนี้ว่า เพราะท่านอันข้าพเจ้าไม่ได้อนุญาตแล้ว เข้าไปสู่ที่อยู่ของข้าพเจ้า นั่งในท่ามกลางเรือนหญิง (นางสนม) ดุจเป็นเจ้าของเรือน การบริโภคสิ่งที่ไม่ได้ให้และการคลุกคลีกับหญิง ไม่สมควรแก่สมณะมิใช่หรือ เพราะฉะนั้น ถ้าท่านตั้งอยู่ในสมณธรรมก็จงออกไปเถิด สมณะ. ฝ่ายอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อาฬวกยักษ์นี้ได้กล่าวคำเหล่านี้และคำหยาบคายเหล่าอื่นแล้วนั่นเทียว จึงได้ทูลคำนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อาฬวกยักษ์เป็นผู้แข็งกระด้างอันใครๆ ไม่อาจเพื่อแนะนำด้วยความแข็งกระด้างได้ ก็อาฬวกยักษ์นั้น เมื่อบุคคลทำความแข็งกระด้างอยู่ เขาก็จะพึงดุร้ายยิ่งประมาณ จะเป็นผู้แข็งกระด้างมากขึ้น ดุจทำลายน้ำดีที่จมูกของลูกสุนัขตัวดุร้ายฉะนั้น แต่อาจเพื่อแนะนำเขาด้วยคำอ่อนโยนได้ จึงทรงรับคำของอาฬวกยักษ์นั้น ด้วยคำน่ารักว่า ดีละ ท่าน ดังนี้แล้ว เสด็จออกไป ด้วยเหตุนั้น พระอานนท์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ท่าน แล้วได้เสด็จออกไป. แต่นั้น อาฬวกยักษ์เป็นผู้มีจิตอ่อนว่า สมณะนี้เป็นผู้ว่าง่ายหนอ ออกไปด้วยคำพูดคำเดียวเท่านั้น การออกไปอย่างนี้เป็นสุข เราต่อยุทธ์กับสมณะตลอดคืนด้วยเหตุอันไม่สมควรทีเดียว ดังนี้แล้ว จึงคิดอีกว่า ก็บัดนี้ เราอาจเพื่อชนะได้ สมณะออกไปเพราะความเป็นผู้ว่าง่ายหรือหนอแล หรือเพราะความโกรธ เอาเถอะ เราจักทดลองสมณะนั้น แต่นั้นจึงกล่าวว่า จงเข้ามาเถิด สมณะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสคำอันน่ารักแม้อีก เพื่อทรงกระทำจิตที่อ่อนให้มั่นคงว่าเป็นผู้ว่าง่าย จึงตรัสว่า ดีละ ท่าน แล้วเสด็จเข้าไป. อาฬวกยักษ์เมื่อจะทดลองความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ว่าง่ายนั้นบ่อยๆ จึงกล่าวว่า จงออกไปเถิด จงเข้ามาเถิด ในครั้งที่ ๒ บ้าง ในครั้งที่ ๓ บ้าง. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกระทำเช่นนั้น ผิว่าไม่พึงกระทำอย่างนั้น จิตของยักษ์อันแข็งกระด้างแม้โดยปกติก็จะแข็งกระด้างมากขึ้น ก็ไม่พึงเป็นภาชนะเพื่อรองรับธรรมกถา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทำสิ่งที่ยักษ์นั้นได้พูด เพื่อให้ยักษ์ซึ่งร้องไห้อยู่ด้วยการร้องไห้คือกิเลส ยอมรับ เหมือนมารดาให้หรือทำสิ่งที่บุตรต้องการ เพื่อให้บุตรนั้นผู้ร้องไห้อยู่ยอมรับฉะนั้น เหมือนอย่างว่านางนมให้สิ่งบางอย่างแก่ทารกผู้ไม่ดื่มนม พูดปลอบโยนแล้ว ย่อมให้ดื่มได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงพูดปลอบโยนด้วยการตรัสคำที่ยักษ์ปรารถนา เพื่อให้ยักษ์นั้นได้ดื่มน้ำนม คือโลกุตรธรรม จึงได้ตรัสอย่างนี้. เหมือนอย่าง บุรุษต้องการที่จะให้รสหวาน ๔ อย่าง เต็มในเต้าน้ำ จึงให้ชำระภายในของเต้าน้ำนั้นให้สะอาดฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงประสงค์จะยังน้ำหวาน ๔ อย่าง คือโลกุตรธรรมให้เต็มในจิตของยักษ์ จึงได้ทรงกระทำการเสด็จออกไปและเข้ามาถึง ๓ ครั้ง เพื่อชำระมลทิน คือความโกรธในภายในแห่งยักษ์นั้น. ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์ยังจิตชั่วให้เกิดขึ้นว่า สมณะนี้เป็นผู้ว่าง่าย ถูกเราพูดว่าจงออกไปเถิด ก็ออกไป ถูกเราพูดว่าจงเข้ามาเถิด ก็เข้ามา ไฉนหนอ เราพึงยังสมณะนี้ให้ลำบากตลอดคืนอย่างนี้นั่นแล แล้วจับเท้าทั้งสองขว้างไปที่ฝั่งโน้นของแม่น้ำคงคาดังนี้ จึงกล่าวครั้งที่ ๔ ว่า จงออกไปเถิด สมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุนั้นจึงตรัสว่า น ขฺวาหํ ทรงทราบว่า เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว ยักษ์แสวงหาสิ่งที่ควรทำให้ยิ่งกว่านั้น จักสำคัญปัญหาอันจะพึงถาม ข้อนั้นก็จักเป็นการสะดวกแก่ธรรมกถา จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺตํ แปลว่า เรายังไม่มองเห็นบุคคลผู้ที่จะพึงควักดวงจิตของเราเป็นต้น. ในบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า น ใช้ในการปฏิเสธ. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอวธารณะ. บทว่า อหํ ได้แก่ การแสดงถึงตน. บทว่า ตํ เป็นการกล่าวถึงเหตุ. ด้วยเหตุนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ท่านคิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่าน ข้าพเจ้าจักไม่ออกไป ท่านจงทำสิ่งที่ท่านพึงกระทำเถิด ดังนี้. แต่นั้น อาฬวกยักษ์เพราะแม้ในกาลก่อนได้ถามปัญหากะดาบสและปริพาชกผู้มีฤทธิ์มาสู่วิมานของตนในเวลาไปในอากาศอย่างนี้ว่า วิมานนี้เป็นวิมานทอง หรือวิมานเงินและวิมานแก้วมณีอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจักเข้าไปสู่วิมานนั้นดังนี้แล้ว จึงได้เบียดเบียนดาบสและปริพาชกเหล่านั้นผู้ไม่อาจเพื่อจะตอบได้ ด้วยการทำจิตให้ฟุ้งซ่านเป็นต้น. อย่างไร? ก็อมนุษย์ทั้งหลายย่อมทำจิตให้ฟุ้งซ่าน ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยการแสดงรูปอันน่าสะพรึงกลัว หรือด้วยการขยี้ดวงหทัย. ก็ยักษ์นี้รู้ว่า ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายย่อมสะดุ้งด้วยการแสดงรูปที่น่าสะพรึงกลัว แล้วเนรมิตอัตภาพอันละเอียดด้วยอำนาจฤทธิ์ของตน เข้าไปในภายในของท่านผู้มีฤทธิ์เหล่านั้น แล้วขยี้ดวงหทัย แต่นั้นความสืบต่อแห่งจิตก็ไม่ปรากฏ เมื่อความสืบต่อแห่งจิตนั้นไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายก็จะเป็นบ้า หรือมีจิตฟุ้งซ่าน ยักษ์ก็จะผ่าอกของผู้ฟุ้งซ่านเหล่านั้นอย่างนี้บ้าง แล้วจับเขาเหล่านั้นที่เท้าขว้างไปที่ฝั่งโน้นของแม่น้ำคงคาบ้าง ด้วยคิดว่า ท่านผู้มีฤทธิ์เห็นปานนี้ อย่ามาสู่ที่อยู่ของเราอีกเลย เพราะฉะนั้น จึงระลึกถึงปัญหาเหล่านั้น แล้วคิดว่า ไฉนหนอ บัดนี้เราพึงเบียดเบียนสมณะนี้อย่างนี้ จึงกล่าวว่า ปญฺหนฺตํ สมณ เป็นต้น. ถามว่า ก็ปัญหาเหล่านั้น ยักษ์นั้นได้มาจากไหน? ตอบว่า ได้ยินว่า มารดาและบิดาของอาฬวกยักษ์นั้น เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ได้เรียนปัญหา ๘ อย่างพร้อมกับคำแก้ ท่านได้ให้อาฬวกะเรียนปัญหาเหล่านั้นในกาลยังเป็นเด็ก อาฬวกยักษ์นั้นโดยกาลล่วงไปก็ลืมคำแก้ แต่นั้นก็ใช้ชาดเขียนลงในแผ่นทองคำด้วยคิดว่า ปัญหาเหล่านี้จงอย่าพินาศ จึงเก็บไว้ในวิมาน พุทธปัญหาเหล่านั้นเป็นพุทธวิสัยอย่างนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับดังนั้นแล้ว เพราะอันตรายแห่งลาภที่บริจาคแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย หรืออันตรายแห่งชีวิต หรือการทำลายสัพพัญญุตญาณและรัศมีวาหนึ่ง อันใครๆ ไม่อาจเพื่อทำได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงพุทธานุภาพอันไม่ทั่วไปในโลกนั้น จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺตํ อาวุโส ปสฺสามิ สเทวเก โลเก ดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสังเขปด้วยการทรงแสดงสักว่าเนื้อความแห่งบทเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า ทรงถือเอากามาวจรเทพ ๕ ชั้นด้วยคำว่า สเทวกะ ในบทเหล่านั้น ไม่ตรัสความพิสดาร ด้วยลำดับแห่งการประกอบตามอนุสนธิ ความพิสดารนี้นั้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ก็เมื่อเทพทั้งปวงแม้ทรงถือเอาแล้ว โดยการกำหนดอย่างสูง ด้วยคำว่า สเทวกะ เมื่อหมู่เทพประชุมในที่นั้น เทพเหล่าใดมีความสงสัยว่า วสวัตตีมารมีอานุภาพมากเป็นใหญ่ในกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น ยินดีในธรรมที่เป็นข้าศึก เกลียดธรรม มีการงานหยาบ มารนั้นจะไม่พึงทำความฟุ้งซ่านแห่งจิตเป็นต้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหรือหนอแล ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สมารเก เพื่อทรงป้องกันความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น. แต่นั้น เทวดาเหล่าใดมีความสงสัยว่า พรหมมีอานุภาพมากย่อมทำจักรวาลพันหนึ่งให้สว่างไสว ด้วยนิ้วมือหนึ่ง ด้วย ๒ นิ้ว ฯลฯ ในหมื่นจักรวาล เสวยสุขในฌานและสมาบัติอันยอดเยี่ยม พรหมแม้นั้นไม่พึงทำหรือเพื่อทรงป้องกันความสงสัยของเทพเหล่านั้น จึงตรัสว่า สพฺรหฺมเก. ลำดับนั้น เทพเหล่าใดมีความสงสัยว่า สมณพราหมณ์ผู้ปุถุชนเป็นข้าศึก เป็นปัจจามิตรต่อศาสนา ถึงพร้อมด้วยกำลังมีมนต์เป็นต้น แม้สมณพราหมณ์ผู้ปุถุชนเหล่านั้นไม่พึงทำหรือ เพื่อทรงป้องกันความสงสัยของเทพเหล่านั้น จึงตรัสว่า สสฺสมณพฺราหฺมณิยา. ครั้นทรงแสดงความไม่มีใครในฐานะสูงสุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงมุ่งถึงสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือทั้งหลายด้วยคำว่า สเทวมนุสฺสาย แล้วทรงแสดงความไม่มีใครแม้ในสัตวโลกที่เหลือด้วยอำนาจแห่งการกำหนดอย่างสูงสุด เพราะฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบลำดับแห่งการประกอบอนุสนธิในที่นี้ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธความลำบากแห่งพระทัยแก่ยักษ์นั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงยังอุตสาหะให้เกิดในการถามปัญหา จึงตรัสว่า ดูก่อนท่าน ก็และท่านหวังจะถามปัญหา ก็จงถามเถิด ดังนี้. พระบาลีนั้นมีเนื้อความว่า จงถาม ถ้าหวังจะถาม เราไม่มีความหนักใจในการแก้ปัญหา อนึ่ง ทรงปวารณาถึงสัพพัญญุปวารณาที่ไม่ทั่วไปกับพระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวกและมหา ท่านทั้งหลายตั้งใจจะถามสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ท่านได้โอกาสแล้วก็พึงถามข้อสงสัยทั้งปวงของ พาวรีพราหมณ์ หรือของท่านเอง หรือของคน ทั้งปวง ดังนี้. ____________________________ ๑- ที. ม. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๕๔ ๒- ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๔๒๔ ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพุทธภูมิแล้ว พึงปวารณาซึ่งปวารณานั้น ไม่อัศจรรย์เลย แต่ที่อัศจรรย์ก็คือ พระโพธิสัตว์แม้เป็นไปอยู่ในปเทสญาณ ในภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ ถูกฤาษีทั้งหลายขอร้องอย่างนี้ว่า๓- ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านจงตอบปัญหา ทั้งหลาย นี้คือธรรมในมนุษย์ทั้งหลาย ภาระนี้ย่อม นำมาซึ่งความรู้อันใด ฤๅษีทั้งหลายผู้ทรงคุณธรรม ย่อมร้องขอซึ่งความรู้อันนั้น. เที่ยวไปสู่ชมพูทวีปทั้งสิ้นถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้พบผู้ที่ตอบปัญหาได้ มีอายุ ๗ ปีโดยกำเนิด กำลังเล่นฝุ่นอยู่บนถนน อันพราหมณ์ผู้ประพฤติสุจริตถามแล้ว ในกาลที่ท่านเป็นสรภังคดาบส และในสัมภวชาดกอย่างนี้ว่า๔- ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้โอกาสแล้ว ก็จงถามปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่งที่ท่านคิดไว้ด้วยใจ ก็ข้าพเจ้ารู้ โลกนี้และโลกอื่นด้วยตนเองแล้ว ก็จะตอบปัญหา นั้นแก่ท่านทั้งหลาย. ได้ปวารณาซึ่งสัพพัญญุปวารณาอย่างนี้ว่า๕- เอาเถิด ฉันจะบอกแก่ท่าน เหมือนอย่างผู้ฉลาดได้บอก ก็ถ้าเขาจะทำหรือไม่ได้ทำก็ตาม พระราชานั้นแลทรง ทราบสิ่งนั้นได้ ดังนี้. ____________________________ ๓- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๔๕๕ ๔- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๔๕๖ ๕- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๓๖๘ เมื่อสัพพัญญุปวารณาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาแล้วแก่อาฬวกยักษ์อย่างนี้แล้ว ลำดับนั้นแล อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า กึสูธ วิตฺตํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ เป็นคำถาม. ศัพท์ว่า สุ เป็นนิบาตใช้ในเหตุสักว่าทำบทให้เต็ม. บทว่า อิธ ได้แก่ ในโลกนี้. บทว่า วิตฺตํ ความว่า ชื่อว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจ เพราะอรรถว่าทำความปลื้มใจ. คำว่า วิตฺตํ นั่นเป็นชื่อแห่งทรัพย์. บทว่า สุจิณฺณํ ได้แก่ ทำดีแล้ว. บทว่า สุขํ ได้แก่ ความสำราญทางกายและทางจิต. บทว่า อาวหาติ ความว่า ย่อมนำมา นำมาให้ มีอธิบายว่า ย่อมให้ ย่อมให้ถึง. บทว่า หเว เป็นนิบาตลงในอรรถว่ามั่น. บทว่า สาธุตรํ ได้แก่ ยังประโยชน์ให้สำเร็จอย่างยิ่ง. บาลีว่า สาทุตรํ ดังนี้บ้าง. บทว่า รสานํ ได้แก่ กว่าธรรมทั้งหลายที่สำคัญแล้วว่าเป็นรส. บทว่า กถํ ได้แก่ โดยประการไร. ชีวิตของบุคคลเป็นอยู่อย่างไร ชื่อว่า กถํชีวิชีวิตํ แต่ท่านเรียกตามนาสิก เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา หรือบาลีว่า กถํชีวึ ชีวิตํ อธิบายว่า บรรดาบุคคลผู้เป็นอยู่เขามีชีวิตอย่างไร. บทที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏชัดแล้วแล. อาฬวกยักษ์ทูลถามปัญหา ๔ ข้อเหล่านี้ว่า อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตของบุคคลเป็นอยู่อย่างไรว่า ประเสริฐที่สุด ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงตอบแก่อาฬวกยักษ์นั้น โดยนัยที่พระทศพลพระนามว่ากัสสป ทรงตอบแล้ว จึงตรัสคาถานี้ว่า สทฺธีธ วิตฺตํ ดังนี้. ในคาถานั้นมีอธิบายว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันมีเงินและทองเป็นต้น ย่อมนำมาซึ่งอุปโภคสุข คือย่อมป้องกันทุกข์มีความหิวกระหายเป็นต้น ย่อมยังความยากจนนั่นแลให้สงบ เป็นเหตุแห่งการได้มาซึ่งรัตนะมีแก้วมุกดาเป็นต้น และย่อมนำมาซึ่งโลกิยสุข ฉันใด แม้ศรัทธาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระก็ฉันนั้น ย่อมนำมาซึ่งวิบากสุขอันเป็นโลกิยะและโลกุตระตามความเป็นจริง คือป้องกันทุกข์มีชาติชราเป็นต้น แก่ผู้ปฏิบัติด้วยธุระคือศรัทธา ย่อมยังความยากจนในคุณให้สงบระงับ เป็นเหตุได้มาซึ่งรัตนะมีสติ ตามพระบาลีว่า๖- บุคคลผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยยศและโภคะ จะไปอยู่ที่ใดๆ ก็ย่อมได้บูชาในที่นั้นๆ. ____________________________ ๖- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๑ ก็เพราะทรัพย์เครื่องปลื้มใจคือศรัทธานั่นติดตามตนไป ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เป็นเหตุแห่งสมบัติทั้งปวง เป็นต้นเหตุแม้แห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจมีเงินและทองเป็นต้นที่เป็นโลกิยะ เพราะคนมีศรัทธาเท่านั้น ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ย่อมบรรลุถึงทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ส่วนทรัพย์เครื่องปลื้มใจของคนผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมมีเพื่อความฉิบหายเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ประเสริฐที่สุด. บทว่า ปุริสสฺส เป็นการแสดงกำหนดอย่างสูงสุด เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ศรัทธาของบุรุษอย่างเดียวเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดหามิได้ ศรัทธาของคนทั้งหลายมีสตรีเป็นต้น ก็เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดเหมือนกันแล. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง หรือธรรม คือทาน ศีลและภาวนา. บทว่า สุจิณฺโณ คือ ที่ทำดีแล้ว ประพฤติดีแล้ว. บทว่า สุขมาวหาติ ความว่า ย่อมนำมาซึ่งสุขของมนุษย์ ดุจสุขของโสณเศรษฐีบุตรและรัฐบาลเป็นต้น ทิพยสุขดุจสุขของทวยเทพมีท้าวสักกะเป็นต้น และในที่สุดย่อมนำมาซึ่งนิพพานสุข ดุจสุขของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระมหาปทุมเป็นต้น. บทว่า สจฺจํ ความว่า ก็สัจจศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถหลายประการ คือย่อมปรากฏในวาจาสัจ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า๗- พึงกล่าวคำสัจ ไม่พึงโกรธ. ปรากฏในวิรัติสัจ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า๘- สมณะและพราหมณ์ตั้งอยู่ในความสัจ. ปรากฏในทิฏฐิสัจ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า๙- บุคคลกล่าวคำพูดที่เป็นกุศลต่างๆ แล้ว จึงกล่าวคำสัจ เพราะเหตุไร. ปรากฏในพราหมณสัจ ดุจในประโยคมีอาทิว่า๑๐- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณสัจจะ ๔ อย่างเหล่านี้. ปรากฏใน ปรากฏในอริยสัจจะ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า๑๒- บรรดาสัจจะทั้ง ๔ สัจจะที่เป็นกุศลมีเท่าไร. ____________________________ ๗- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๗ ๘- ขุ. ชา. เล่ม ๒๘/ข้อ ๓๕๘ ๙- ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๔๑๙ ๑๐- องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๑๘๕ ๑๑- ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๔๑๙ ๑๒- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๕๕๑ แต่ในที่นี้ ชนทั้งหลายย่อมทำน้ำเป็นต้นให้เป็นไปในอำนาจได้ ย่อมข้ามไปสู่ฝั่งแห่งชาติชราและมรณะได้ ด้วยอานุภาพแห่งวาจาสัจอันใด วาจาสัจนั้นท่านประสงค์เอาแล้ว เพราะทำปรมัตถสัจจะให้เป็นพระนิพพาน หรือเพราะทำวิรัติสัจจะให้เป็นไปในภายใน เหมือนอย่างที่ บุคคลย่อมทดแม้น้ำได้ด้วยสัจจวาจา บัณฑิตทั้งหลายย่อมกำจัดแม้พิษได้ด้วยสัจจะ เทพย่อมหลั่งน้ำนมด้วยสัจจะ บัณฑิตทั้งหลาย ดำรงอยู่ในสัจจะ ย่อมปรารถนาพระนิพพาน. รสเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะเทียว ดีกว่ารสเหล่านั้น สมณะและพราหมณ์ดำรงอยู่ ในสัจจะ ย่อมข้ามฝั่งแห่งชาติมรณะได้๑๓- ดังนี้. ____________________________ ๑๓- ขุ. ชา. เล่ม ๒๘/ข้อ ๓๕๘ บทว่า สาธุตรํ ได้แก่ หวานกว่า ประณีตกว่า. บทว่า รสานํ ความว่า ธรรมควรลิ้มเหล่าใดเหล่าหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า๑๔- รสเกิดแต่ราก รสเกิดแต่ลำต้น. ธรรมมีการติเตียนรสแห่งวาจา และพยัญชนะที่เหลือเป็นต้นเหล่าใดเหล่าหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรสเกิดแต่ผลทั้งหมด.๑๕- พระโคดมผู้เจริญมีรูปไม่เป็นรส ดูก่อนพราหมณ์ รูปรส สัททรสเหล่าใดแล.๑๖- ไม่ ____________________________ ๑๔- อภิ. สํ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๕๒๔ ๑๕- วิ. มหา. เล่ม ๕/ข้อ ๘๖ ๑๖- วิ. มหาวิ. เล่ม ๑/ข้อ ๒ ๑๗- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๘๓๓ ๑๘- องฺ. อฏฺฐก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๑๐๙ ๑๙- ขุ. จูฬ. เล่ม ๓๐/ข้อ ๖๕ จริงอยู่ รสทั้งหลายมีรสเกิดแต่รากเป็นต้น พอกพูนสรีระและนำมาซึ่งสุขอันประกอบด้วยสังกิเลส. ในสัจจรส รสคือวิรัติสัจจะและวาจาสัจจะ ย่อมพอกพูนจิตด้วยสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น และย่อมนำมาซึ่งสุขอันประกอบด้วยอสังกิเลส. วิมุตติรส ชื่อว่ายังประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะความเป็นธรรมอันท่านอบรมแล้วด้วยปรมัตถสัจจรส และชื่อว่าเป็นอรรถรสและธรรมรส เพราะอาศัยอรรถและธรรมที่เป็นอุบายจะให้บรรลุปรมัตถสัจจรสนั้นเป็นไปดังนี้แล. ก็ในบทนี้ว่า ปญฺญาชีวึ ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ในบุคคลผู้บอด ผู้มีตาข้างเดียวและผู้มีตาสองข้างทั้งหลาย บุคคลผู้มีตาสองข้างนี้ใดเป็นคฤหัสถ์ยินดีข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์มีการขยันทำการงาน ถึงสรณะจำแนกทาน สมาทานศีล และอุโบสถกรรมเป็นต้น หรือเป็นบรรพชิตยินดีข้อปฏิบัติสำหรับบรรพชิต กล่าวคือศีลอันทำความไม่เดือดร้อน หรืออันต่างด้วยจิตตวิสุทธิเป็นต้นอันยิ่งกว่านั้น ชื่อว่าเป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตอันเป็นอยู่ด้วยปัญญาของบุคคลนั้น หรือปัญญาชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้นว่า ประเสริฐที่สุด. ยักษ์ได้ฟังปัญหาแม้ทั้งสี่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบแล้วอย่างนี้ มีใจเป็นของตน เมื่อจะทูลถามปัญหาทั้งสี่แม้ที่เหลือจึงกล่าวคาถาว่า กถํสุ ตรตี โอฆํ บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาแก่ยักษ์นั้น โดยนัยมีในก่อนนั่นเทียว จึงตรัสคาถาว่า สทฺธาย ตรตี โอฆํ บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา. ในคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ บุคคลใดข้ามโอฆะทั้ง ๔ อย่างได้ บุคคลนั้นย่อมข้ามอรรณพคือ สังสารบ้าง ย่อมล่วงทุกข์ในวัฏฏะบ้าง ย่อมบริสุทธิ์จากมลทิน คือกิเลสบ้าง แม้ก็จริง แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลไม่มีศรัทธา เมื่อไม่เชื่อการข้ามโอฆะ ย่อมไม่แล่นไป ประมาทด้วยการปล่อยจิตในกามคุณทั้งห้า ชื่อว่าย่อมไม่ข้ามอรรณพคือสังสารได้ เพราะตนข้องและ ด้วยคาถานั่น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เพราะสัทธินทรีย์เป็นปทัฏฐานแห่งโสดาปัตติยังคะ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประกาศการข้ามทิฏโฐฆะ คือโสดาปัตติมรรคและโสดาบัน ด้วยบทนี้ว่า บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ก็พระโสดาบันถึงพร้อมแล้วด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือการกระทำติดต่อด้วยการเจริญกุศลธรรม ยินดีมรรคที่ ๒ ย่อมข้ามอรรณพคือสังสารอันเป็นที่ตั้งแห่งภโวฆะ อันข้ามไม่ได้ด้วยโสดาปัตติมรรคที่เหลือลง ยกเว้นเหตุสักว่ามาสู่โลกนี้ครั้งเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงประกาศการข้ามภโวฆะ คือสกทาคามิมรรคและสกทาคามี ด้วยบทนี้ว่า ย่อมข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท เพราะสกทาคามียินดีมรรคที่ ๓ ย่อมล่วงทุกข์อันเป็นที่ตั้งแห่งกาโมฆะ และที่สำคัญว่ากาโมฆะ อันข้ามไม่ได้ด้วยสกทาคามิมรรค เพราะเหตุนั้น จึงทรงประกาศการข้ามกาโมฆะ คืออนาคามิมรรคและอนาคามี ด้วยบทนี้ว่า ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ก็เพราะอนาคามียินดีมรรคปัญญาที่ ๔ อันบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ซึ่งปราศจากเปือกตม ละมลทินอย่างละเอียด กล่าวคืออวิชชา อันละไม่ได้ด้วยอนาคามิมรรค เพราะเหตุนั้น จึงทรงประกาศการข้ามอวิชโชฆะ คืออรหัตมรรคและพระอรหันต์ด้วยบทนี้ว่า ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ก็ครั้นตรัสคาถานี้ด้วยยอดคือพระอรหัตในที่สุด ยักษ์ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. บัดนี้ อาฬวกยักษ์ถือเอาบทว่า ปัญญาที่ตรัสในคาถานี้ว่า ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญานั้นแล เมื่อจะทูลถามปัญหาอันคละไปด้วยโลกิยะและโลกุตระด้วยปฏิภาณของตน จึงกล่าวคาถา ๖ บทนี้ว่า กถํสุ ลภเต ปญฺญํ แปลว่า บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร. ในบทเหล่านั้น บทว่า กถํ สุ เป็นการถามถึงการประกอบประโยชน์ในที่ทั้งปวงนั่นเทียว. ก็อาฬวกยักษ์นี้รู้อรรถมีปัญญาเป็นต้น จึงทูลถามถึงการประกอบซึ่งอรรถนั้นว่า บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร คือด้วยการประกอบอย่างไร ด้วยการณ์อย่างไร. ในทรัพย์เป็นต้นก็นัยนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการได้ปัญญาด้วยการณ์ ๔ อย่างแก่อาฬวกยักษ์นั้น จึงตรัสว่า สทฺทหาโน เป็นต้น. คาถานั้นมีอธิบายว่า พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้อรหันต์บรรลุนิพพานด้วยธรรมใด ในบุพภาคอันต่างด้วยกายสุจริตเป็นต้น ในอปรภาคอันต่างด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ บุคคลเชื่อธรรมนั้นคือธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมได้ปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระเพื่อบรรลุพระนิพพาน. ก็แล ย่อมได้ปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยเหตุสักว่าศรัทธาเท่านั้นหามิได้ ก็เพราะบุคคลเกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสต เงี่ยโสตแล้วย่อมฟังธรรม เพราะฉะนั้น ฟังอยู่ด้วยดี จำเดิมแต่เข้าไปหาจนถึงการฟังธรรม ย่อมได้ปัญญา. มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า แม้เชื่อธรรมนั้นแล้ว เข้าไปหาพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ตามกาล เข้าไปนั่งใกล้ด้วยการทำวัตร ในกาลใด พระอาจารย์และอุปัชฌาย์มีจิตอันการเข้าไปนั่งใกล้ให้ยินดีแล้ว ประสงค์จะกล่าวคำไรๆ ในกาลนั้นก็เงี่ยโสตด้วยความเป็นผู้ใคร่จะฟังอันถึงแล้วฟังอยู่ ย่อมได้ปัญญา ก็แม้ฟังอยู่ด้วยดีอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท ด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติ และมีปัญญาเครื่องสอดส่องด้วยความเป็นผู้รู้สุภาษิตและทุพภาษิตนั่นแล ย่อมได้ปัญญา บุคคลนอกนี้ย่อมไม่ได้ปัญญา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง เพราะบุคคลปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ด้วยศรัทธาอย่างนี้แล้ว ฟังอุบายอันเป็นเครื่องบรรลุปัญญา ด้วยการฟังด้วยดี คือโดยเคารพ ไม่หลงลืมสิ่งถือเอาแล้ว ด้วยความไม่ประมาทและถือเอาสิ่งไม่หย่อนไม่เกิน และไม่ผิดด้วยความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ย่อมกระทำให้กว้างขวาง หรือเงี่ยโสตลงด้วยการฟังด้วยดี ย่อมฟังธรรมอันเป็นเหตุได้เฉพาะซึ่งปัญญา ครั้นฟังด้วยความไม่ประมาทแล้วย่อมทรงธรรม ย่อมใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมทั้งหลายที่ทรงจำ ด้วยความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่องในลำดับนั้น ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง บัดนี้ เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหา ๓ ข้ออื่นจากนั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า ปฏิรูปการี. ในคาถานั้น บุคคลใดไม่ทำประโยชน์ทั้งหลายมีเทศะกาละเป็นต้นให้เสียไป ย่อมกระทำอุบายเป็นเครื่องบรรลุทรัพย์ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระตามสมควร เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ปฏิรูปการี กระทำสมควร. บทว่า ธุรวา ได้แก่ ผู้ไม่ทอดทิ้งธุระด้วยอำนาจแห่งความเพียรอันเป็นไปทางจิต. บทว่า อุฏฺฐานตา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือมีความ ____________________________ ๒๐- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๑๘๕ บทว่า วินฺทเต ธนํ ความว่า ย่อมได้โลกิยทรัพย์ ดุจจูฬกันเตวาสีได้ทรัพย์จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ กหาปณะด้วยหนูตัวเดียวต่อกาลไม่นานนัก และโลกุตรทรัพย์ ดุจมหาติสสเถระผู้แก่ ฉะนั้น. ก็พระเถระนั้นคิดว่า เราจักอยู่ด้วยอิริยาบถสาม ทำวัตรในเวลาถีนมิทธะมาครอบงำ ทำเทริดใบไม้ให้เปียกแล้ว วางบนศีรษะลงไปในน้ำประมาณแค่คอ ห้ามถีนมิทธะอยู่ ได้บรรลุพระอรหัตโดย ๑๒ ปี. บทว่า สจฺเจน ความว่า บุคคลย่อมได้ชื่อเสียงอย่างนี้ คือผู้พูดคำสัตย์ พูดคำจริง ย่อมได้ชื่อเสียง ด้วยสัจจะบ้าง พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกย่อมได้ชื่อเสียงด้วยปรมัตถ บทว่า ททํ ความว่า เมื่อให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการที่ปรารถนา ย่อมผูกมิตรไว้ได้ คือย่อมให้ถึงพร้อม ย่อมกระทำมิตร หรือผู้ให้สิ่งที่ให้โดยยาก ย่อมผูกมิตรไว้ได้ หรือสังคหวัตถุทั้ง ๔ นักศึกษาพึงทราบว่า ทรงถือเอาแล้วด้วยหัวข้อว่าทาน. มีอธิบายว่า ย่อมทำมิตรด้วยสังคหวัตถุเหล่านั้น. ครั้นทรงวิสัชนาปัญหาทั้ง ๔ โดยนัยอันคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระอันทั่วไปแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๕ ด้วยอำนาจแห่งคฤหัสถ์นี้ว่า กถํ เปจฺจ น โสจติ จึงตรัสว่า ยสฺเสเต ดังนี้. คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดชื่อว่ามีศรัทธา เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา อันยังกัลยาณธรรมทั้งปวงให้เกิดขึ้น ที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า สทฺทหาโน อรหตํ ผู้ครองเรือน คือแสวงหา เสาะหากามคุณ ๕ ในการครองเรือน ผู้บริโภคกามเป็นคฤหัสถ์มีธรรม ๔ เหล่านี้ คือ สัจจะ มีประการที่ตรัสว่า บุคคลย่อมถึงชื่อเสียงด้วยสัจจะ ธรรม ที่ตรัสโดยชื่อว่า ปัญญา เกิดจากการฟังด้วยดี ในบทนี้ว่า ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ปัญญา ธิติ ที่ตรัสโดยชื่อว่า ธุระ และโดยชื่อว่า อุฏฐานะ ในบทนี้ว่า ผู้มีธุระ มีความหมั่น และจาคะ มีประการที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ ผู้นั้นแลละไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก คือผู้นั้นแลไปจากโลกนี้สู่ปรโลก ย่อมไม่เศร้าโศก ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นวิสัชนาปัญหาแม้ที่ ๕ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงเตือนยักษ์นั้น จึงตรัสว่า อิงฺฆ อญฺเญปิ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ตักเตือน. บทว่า อญฺเญปิ ความว่า เชิญท่านถามธรรมทั้งหลายกะสมณพราหมณ์เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด หรือท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นที่ปฏิญญาว่าเป็นสัพพัญญูมีปูรณะเป็นต้น. ในคาถานี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการพรรณนาเนื้อความพร้อมกับโยชนาโดยย่อนี้ว่า ถ้าเหตุแห่งการถึงเกียรติ ยิ่งไปกว่าสัจจะมีประการอันเรากล่าวแล้วในบทนี้ว่า บุคคลย่อมได้เกียรติ ด้วยสัจจะก็ดี เหตุแห่งการได้โลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญา ยิ่งไปกว่าทมะ ที่เรากล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งปัญญาซึ่งเกิดจากการฟังด้วยดีในบทว่า ผู้ฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญาก็ดี. เหตุแห่งการผูกมิตร ยิ่งไปกว่าจาคะมีประการที่เรากล่าวแล้วในบทนี้ว่า ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ก็ดี. เหตุแห่งการได้โลกิยทรัพย์และโลกุตรทรัพย์ ยิ่งไปกว่าขันติ กล่าวคือความเพียรอันถึงความเป็นผู้มีอุตสาหะ ด้วยอรรถว่าทนต่อภาระมาก ที่เรากล่าวโดยชื่อว่า ธุระ และโดยชื่อว่า อุฏฐานะ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นั้นๆ ในบทนี้ว่า ผู้มีธุระ มีความหมั่นก็ดี เหตุแห่งการละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น แล้วไม่มีความเศร้าโศก ยิ่งไปกว่าธรรมทั้ง ๔ เหล่านี้นั่นแลที่เรากล่าวอย่างนี้ว่า สัจจะ ธรรม ธิติ จาคะก็ดี มีอยู่ในโลกนี้ไซร้ (เชิญท่านถามสมณพราหมณ์ เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด) แต่โดยพิสดาร ผู้ศึกษาพึงแยกแต่ละบท โดยนัยแห่งการพรรณนาบทที่ยกเนื้อความขึ้นและยกบทขึ้นอธิบายแล้ว พึงทราบการพรรณนาเนื้อความ. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ยักษ์ทูลว่า บัดนี้ ข้าพระองค์จะพึงถาม ในบทเหล่านี้ บทว่า อชฺช อธิบายว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป. บทว่า ปชานามิ ความว่า ทราบชัดโดยประการตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า โย จตฺโถ ความว่า ยักษ์แสดงประโยชน์ในปัจจุบันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส โดยนัยมีอาทิว่า ผู้ฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญา ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ แสดงประโยชน์ในภพหน้าอันกระทำความที่ละโลกนี้ไปแล้วไม่มีความเศร้าโศกที่ตรัสว่า ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา ด้วยบทนี้ว่า สมฺปรายิโก. ก็คำว่า อตฺโถ นั่นเป็นชื่อของการณ์. จริงอยู่ อัตถศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถแห่งบาลี ดุจในประโยคมีอาทิว่า๒๒- สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ มีอรรถ มีพยัญชนะ. เป็นไปในการบอก ดุจในประโยคมีอาทิว่า๒๓- ดูก่อนคหบดี เราต้องการเงินและทอง. เป็นไปในความเจริญ ดุจในประโยคมีอาทิว่า๒๔- ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีศีลทั้งหลาย. เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูล ดุจในประโยคมีอาทิว่า๒๕- ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย. เป็นไปในเหตุว่า๒๖- เมื่อเหตุเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต. ก็ในที่นี้ย่อมเป็นไปในเหตุ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความโดยย่อในที่นี้อย่างนี้ว่า เหตุแห่งการได้ปัญญาเป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบันใด และเหตุแห่งความที่ละโลกนี้ไปแล้วไม่มีความเศร้าโศก อันเป็นไปในภพหน้าใด วันนี้ เราทราบชัดซึ่งเหตุนั้นด้วยตนเอง โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั่นแล บัดนี้ เรานั้นจะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากทำไมเล่า. ____________________________ ๒๒- วิ. มหาวิ. เล่ม ๑/ข้อ ๑ ๒๓- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๖๙ ๒๔- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๑ ๒๕- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๖๓๓ ๒๖- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๙๒ ยักษ์ทูลว่า ข้าพระองค์ทราบชัดประโยชน์อันเป็นไปในภพหน้าอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความที่ญาณนั้นมีภพเป็นมูล จึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้า... เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ. ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อความรู้. บทว่า ยตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลํ ความว่า ทานที่บุคคลให้แล้วในพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศใด ด้วยการบริจาคที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา เป็นทานที่มีผลมากกว่า ข้าพระองค์ทราบชัดพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศนั้น. ส่วนพวกเกจิอาจารย์กล่าวว่า อาฬวก อาฬวกยักษ์แสดงการบรรลุประโยชน์เกื้อกูลของตน ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงการปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น จึงกราบทูลว่า โส อหํ วิจริสฺสามิ. เนื้อความแห่งคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเหมวตสูตรนั่นแล. ทรงโปรดพระอาฬวกกุมาร ราชบุรุษทั้งหลายฟังเสียงสาธุการแล้ว นึกอยู่ว่า เสียงสาธุการเห็นปานนี้ เว้น ครั้นเห็นแล้วได้กล่าวกะยักษ์ว่า ข้าแต่มหายักษ์ พระราชกุมารนี้ถูกนำมาเพื่อพลีกรรมแก่ท่าน เชิญท่านจงเคี้ยว หรือจงกินพระราชกุมารนี้ หรือจงทำตามใจชอบเถิด ดังนี้. อาฬวกยักษ์นั้นละอายแล้วเพราะค่าที่ตนเป็นพระโสดาบัน และถูกกล่าวอย่างนี้ข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพิเศษ. ลำดับนั้น จึงรับพระกุมารนั้นด้วยมือทั้งสองน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระกุมารนี้เขาส่งให้แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอถวายพระกุมารนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเกื้อกูลและอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับทารกนี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พระราชกุมารนี้ และกล่าวคาถานี้ว่า ข้าพระองค์มีจิตเบิกบาน มีใจดี ขอมอบถวาย พระกุมารนี้ผู้มีลักษณะแห่งบุญตั้งร้อย มีอวัยวะ ทั้งปวงสมบูรณ์ เพรียบพร้อมด้วยพยัญชนะแด่ พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ ขอพระองค์จง ทรงรับพระกุมารนี้ไว้ เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระกุมารแล้ว ก็เมื่อทรงรับได้ตรัสคาถาเครื่องรักษา เพื่อทรงทำมงคลแก่ยักษ์และกุมาร ยักษ์ให้พระกุมารนั้นถึงสรณะให้เต็มด้วยบาทที่ ๔ ถึงสามครั้ง คือ ขอพระกุมารนี้จงทรงมีพระชนมายุยืนนาน ดูก่อนยักษ์ และท่านจงมีความสุขด้วย ขอท่านทั้ง สองจงไม่มีโรคเบียดเบียน ดำรงอยู่เพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชาวโลกเถิด ขอพระกุมารนี้ถึงพระพุทธ เจ้า ฯลฯ พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานพระกุมารให้แก่ราชบุรุษทั้งหลายว่า ขอพวกท่านจงยังพระกุมารนี้ให้เจริญเติบโตแล้วให้แก่เราอีก. ด้วยประการดังนี้ พระกุมารนั้นจึงเกิดมีพระนามว่า หัตถก ชนทั้งหลายมีชาวนาและผู้ทำการงานในป่าเป็นต้น ได้เห็นราชบุรุษทั้งหลายผู้พาพระกุมารนั้นกลับมา มีความกลัวจึงถามว่า ยักษ์ไม่ต้องการพระกุมาร เพราะเป็นเด็กเกินไปหรือ? ราชบุรุษทั้งหลายได้บอกเรื่องทั้งหมดว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำความปลอดภัยแล้ว. แต่นั้น ชาวอาฬวินครทั้งสิ้นก็หันหน้าไปทางยักษ์ด้วยเสียงโกลาหลเป็นอันเดียวกันว่า สาธุ สาธุ. ฝ่ายยักษ์ เมื่อกาลเพื่อภิกขาจารของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ถึง ก็ถือบาตรและจีวรมาถึงกลางทางแล้วกลับ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จบิณฑบาตในพระนคร ทรงทำภัตกิจแล้ว ประทับนั่งบนบวรพุทธาสนะที่ปูแล้ว ณ โคนต้นไม้อันสงัดแห่งหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร. แต่นั้น พระราชาพร้อมกับหมู่มหาชนและชาวพระนครทั้งหลายชุมนุมรวมกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไหว้แวดล้อมแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทรมานยักษ์ผู้ทารุณเห็นปานนี้อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอาฬวกสูตรนั้นนั่นแล เริ่มต้นแต่การรบเป็นต้นแก่ชนเหล่านั้นว่า ยักษ์นี้บันดาลให้ฝนตก ๙ ชนิดเห็นปานนี้ ได้ทำสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างนี้ ได้ถามปัญหาอย่างนี้ เราตถาคตได้แก้แล้วอย่างนี้แก่ยักษ์นั้น ในเวลาจบคาถา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ธรรมาภิสมัย. ต่อแต่นั้น พระราชาและชาวพระนครได้ทำที่อยู่ให้แก่ยักษ์ ในที่ใกล้ภพของท้าวเวสวัณมหาราช ยังพลีกรรมอันถึงพร้อมด้วยสักการะมีดอกไม้และของหอมเป็นต้นให้เป็นไปเป็นนิตย์ และปล่อยพระกุมารนั้นผู้ทรงบรรลุนิติภาวะแล้วว่า พระองค์ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงได้ชีวิต ขอจงเสด็จไป จงทรงนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล และพระภิกษุสงฆ์. พระกุมารนั้นเสด็จเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ ต่อกาลไม่นานนักก็ทรงดำรงอยู่ในอนาคามิผล ทรงเรียนพระพุทธพจน์ทั้งหมด เป็นผู้มีอุบาสก ๕๐๐ เป็นบริวาร และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระกุมารนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หัตถกอาฬวกะเป็นเลิศแห่งสาวกทั้งหลายของเราผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุสี่ ดังนี้. จบอรรถกถาอาฬวกสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถโชติกา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค อาฬวกสูตร จบ. |