![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ท่านกล่าวว่า เถรปัญหสูตรบ้าง. พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร? การเกิดพระสูตรนี้มีอยู่ว่า เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้ปุ่มไม้จันทน์แดง แล้วเอา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเรื่องเหล่านี้ และชาดกให้พิสดารเป็นลำดับๆ ไป ตลอดถึงพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลพากันบูชา เสด็จลงที่สังกัสสนคร โดยบันไดแก้วในท่ามกลาง ประทับยืน ณ เชิงบันได เมื่อจะตรัสพระคาถาในธรรมบทนี้ จึงตรัสว่า๑- ชนเหล่าใดขวนขวายแล้วในฌาน เป็นนักปราชญ์ ยินดีในเนกขัมมะและความสงบ แม้เทวดาทั้งหลายก็รัก ชนเหล่านั้นผู้ตรัสรู้พร้อมแล้ว ผู้มีสติ ดังนี้. ____________________________ ๑- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๔ ท่านพระสารีบุตรเถระถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับยืนอยู่ ณ เชิงบันได ก่อนใครทั้งหมด. ต่อไปภิกษุณีอุบลวรรณา ลำดับต่อไปหมู่ชนอื่นๆ. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ณ บริษัทนี้พระโมคคัลลานะปรากฏว่าเป็นผู้เลิศทางฤทธิ์ พระอนุรุทธะเป็นผู้เลิศทางทิพยจักษุ พระปุณณะทางธรรมกถึก แต่บริษัทนี้ไม่รู้จักพระสารีบุตรว่าเป็นผู้เลิศด้วยคุณอะไรๆ ถ้ากระไร เราจะพึงประกาศพระสารีบุตรด้วยปัญญาคุณในบัดนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามปัญหากะพระเถระ พระเถระแก้ ในครั้งนั้น ชนจึงได้รู้จักพระสารีบุตรว่าเป็นผู้เลิศทางปัญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตรมิได้เป็นผู้มีปัญญาแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตก็เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา จึงทรงนำชาดกมาตรัสเล่า. ในอดีตกาล ฤาษีมากกว่าพันมีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อาศัยอยู่ ณ เชิงภูเขา. อาจารย์ของฤาษีเหล่านั้นเกิดอาพาธ จึงต้องช่วยกันอุปัฏฐาก. อันเต อาจารย์กล่าวว่า นตฺถิ กิญฺจิ ไม่มีอะไร หมายถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ. พวก บุรุษผู้มีปัญญาใด รู้ความของภาษิตแม้ผู้เดียว ยังประเสริฐว่า บุรุษผู้ไม่มีปัญญา ผู้ไม่รู้ความของ ภาษิต แม้มากกว่า ๑,๐๐๐ คนเหล่านั้น ผู้มา ประชุมกันคร่ำครวญอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ดังนี้. ____________________________ ๒- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๙๙ ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชาดกแล้ว ท่านพระสารีบุตรเพื่อจะทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแก้ความนั้นได้ตรัสคาถาที่เหลือต่อจากนั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า อิโต ปุพฺเพ ในกาลก่อนแต่นี้ คือในกาลก่อนแต่เสด็จลงที่สัง บทว่า ตุสิตา คณิมาคโต เสด็จมาแต่ชั้นดุสิตสู่หมู่คณะ คือ พระพุทธองค์เสด็จมาจากชั้นดุสิต เพราะทรงจุติจากชั้นดุสิตแล้วมาปฏิสนธิยังพระครรภ์พระมารดา, ที่ชื่อว่าคณี (หมู่ พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองต่อไป. บทว่า สเทวกสฺส โลกสฺส ยถา ทิสฺสติ เหมือนปรากฏแก่โลกพร้อมทั้งเทว บทว่า จกฺขุมา คือ มีจักษุยอดเยี่ยม. บทว่า เอโก พระองค์ผู้เดียว คือพระองค์ผู้เดียวด้วยการนับเนื่องในบรรพชาเป็นต้น. บทว่า รตึ คือ ทรงยินดีในเนกขัมมะเป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สามต่อไป. บทว่า พหุนฺนมิธ พทฺธานํ คือ ศิษย์ทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นเป็นอันมากอันนับเนื่องกันในที่นี้. จริงอยู่ ศิษย์ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า พทฺธา นับเนื่องกัน เพราะมีความประพฤติผูกพันในอาจารย์. บทว่า อตฺถิ ปญฺเหน อาคมํ มาด้วยปัญหามีอยู่ คือมีความต้องการด้วยปัญหาจึงมา หรือมีปัญหาจึงมา. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สี่ต่อไป. บทว่า วิชิคุจฺฉโต เมื่อเกลียดชัง คืออึดอัดด้วยทุกข์มีชาติเป็นต้น. บทว่า ริตฺตมาสนํ ที่นั่งอันสงัด คือเตียงและตั่งอันสงัด. บทว่า ปพฺพตานํ คุหาสุ วา ในถ้ำแห่งภูเขา พึงเชื่อมความด้วยบทว่า ริตฺตมาสนํ ภชโต เสพที่นั่งอันสงัด. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ห้า. บทว่า อุจฺจาวเจสุ สูงและต่ำ คือประณีตและเลว. บทว่า สยเนสุ คือ ในเสนา พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่หก. บทว่า กตี ปริสฺสยา คืออันตรายมีประมาณเท่าไร. บทว่า อมตํ ทิสํ ทิศที่ไม่เคยไป คือ นิพพาน. เพราะทิศที่ไม่เคยไปนั้น ชื่อว่าทิศเพราะควรชี้แจงอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อมตํ ทิสํ ทิศที่ไม่เคยไป. บทว่า อภิสมฺภเว คือ พึงครอบงำเสีย. บทว่า ปนฺตมฺหิ ที่นอนที่นั่งอันสงัด คืออยู่สุดท้าย. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่เจ็ดต่อไป. บทว่า กฺยาสฺส พฺยปถโย อสฺสุ คือ ภิกษุนั้นพึงมีถ้อยคำอย่างไร. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่แปดต่อไป. บทว่า เอโกทิ นิปโก เป็นผู้มีจิตแน่วแน่ มีปัญญารักษาตน คือมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นบัณฑิต. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นท่านพระสารีบุตรสรรเสริญด้วยคาถา ๓ คาถาแล้วทูลถามถึงเสนาสนะโคจรศีลและพรตเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ศิษย์ ๕๐๐ ด้วยคาถา ๕ คาถา เพื่อทรงประกาศความนั้น จึงทรงเริ่มแก้ปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า วิชิคุจฺฉมานสฺส ของภิกษุผู้เกลียดชัง ในบทเหล่านั้น พึงทราบความในคาถาที่หนึ่งก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ถ้าว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญ และธรรมที่สมควรนี้ใดของภิกษุผู้เกลียดชังแต่ทุกข์มีชาติเป็นต้น. ผู้ใคร่จะตรัสรู้ เสพที่นั่งและที่นอนอันสงัด เราจะกล่าวธรรมเป็นที่อยู่สำราญและธรรมที่สมควรนั้นตามที่รู้แก่เธอ. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองต่อไป. บทว่า ปริยนฺตจารี ประพฤติอยู่ในเขตแดน คือประพฤติอยู่ในเขตแดน ๔ มีศีลเป็นต้น. บทว่า ฑํสาธิปาตานํ ได้แก่ เหลือบและยุง เพราะยุงทั้งหลายก้มลงดูด ฉะนั้น จึงเรียกว่า อธิปาตา ก้มดูดเลือด. บทว่า มนุสฺสผสฺสานํ ผัสสะแห่งมนุษย์ คือผัสสะแต่ภัยมีโจรภัยเป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สามต่อไป. สหธรรมิก ๗ จำพวกชื่อว่าผู้ประพฤติธรรมอื่น ทั้งหมดก็เป็นคนภายนอก. บทว่า กุสลานุเอสี คือ ผู้แสวงหากุศลธรรมอยู่เนืองๆ. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สี่ต่อไป. บทว่า อาตงฺกผสฺเสน คือ อันผัสสะแต่โรค. บทว่า สีตํ อจฺจุณฺหํ ได้แก่ เย็นและร้อน. บทว่า โส เตหิ ผุฏฺโฐ พหุธา ภิกษุนั้นอันผัสสะแต่โรคถูกต้องแล้ว คือแม้เป็นผู้ถูกอาการไม่น้อยมีโรคเป็นต้นเหล่านั้นถูกต้องแล้ว. บทว่า อโนโก คือ มิได้ทำโอกาสให้แก่อภิสังขารและวิญญาณเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแก้ปัญหาที่พระสารีบุตรถามแล้ว ด้วยคาถา ๓ คาถามีอาทิว่า ภิกฺขุโน วิชิคุจฺฉโต ภิกษุผู้เกลียดชังอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแก้ปัญหาที่พระสารีบุตรถาม โดยนัยมีอาทิว่า กฺยาสฺส พฺยปถโย ภิกษุนั้นพึงมีถ้อยคำอย่างไร จึงตรัสคำมีอาทิว่า เถยฺยํ น กเรยฺย ไม่พึงทำการขโมยดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ผสฺเส คือ พึงแผ่ไป. บทว่า ยถาวิลตฺตํ มนโส วิชญฺญา พึงรู้เท่าความที่ใจเป็นธรรมชาติขุ่นมัว คือพึงบรรเทาความขุ่นมัวทั้งหมดนั้นด้วยคิดว่า นี้เป็นฝ่ายแห่งธรรมดำ. บทว่า มูลมฺปิ เตสํ ปลิขญฺเญ ติฏฺเฐ พึงขุดรากเหง้าแห่งความโกรธและความดูหมิ่นผู้อื่นเหล่านั้นแล้วดำรงอยู่ คือพึงขุดรากเหง้ามีอวิชชาเป็นต้นแห่งความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้นแล้วดำรงอยู่. บทว่า อทฺธา ภวนฺโต อภิสมฺภเวยฺย คือ เมื่อจะครอบงำก็พึงครอบงำความรักหรือความไม่รักเสียโดยแท้อย่างนี้. อธิบายว่า ไม่พึงพยายามให้หย่อนในข้อนั้น. บทว่า ปุญฺญํ ปุรกฺขิตฺวา มุ่งบุญเป็นเบื้องหน้า คือทำบุญไว้ก่อน. บทว่า กลฺยาณปีติ มีปิติงาม คือประกอบด้วยปีติอันงาม. บทว่า จตุโร สเหถ ปริเทวธมฺเม พึงครอบงำธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไร ๔ คือพึงครอบงำธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไรรำพัน ดังกล่าวไว้ในคาถาตามลำดับ. บทว่า กึสุ อสิสฺสามิ คือ เราจักบริโภคอะไร. บทว่า กุวํ วา อสฺสิสฺสํ คือ หรือเราจักบริโภคที่ไหน. บทว่า ทุกฺขํ วต เสตฺถ กุวชฺช เสสฺสํ คือ เมื่อคืนนี้เรานอนเป็นทุกข์หนัก ค่ำวันนี้เราจักนอนที่ไหน. บทว่า เอเต วิตกฺเก ได้แก่วิตก ๔ อย่าง คือ วิตกอาศัยบิณฑบาต ๒ วิตกอาศัยเสนาสนะ ๒. บทว่า อนิเกตจารี ไม่มีความกังวลเที่ยวไป คือไม่มีความห่วงใยเที่ยวไปและไม่มีความทะเยอทะยานเที่ยวไป. บทว่า กาเล อธิบายว่า ได้ข้าว คือบิณฑบาตในเวลาบิณฑบาต หรือได้เครื่องนุ่งห่ม คือจีวร ในจีวรกาล โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ. บทว่า มตฺตํ โส ชญฺญา คือ ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณในการรับและในการบริโภค. บทว่า อิธ คือ ในศาสนา. หรือว่า บทนี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า โตสนตฺถํ คือ เพื่อความสันโดษ. ท่านอธิบายว่า พึงรู้ประมาณความต้องการนี้. บทว่า โส เตสุ คุตฺโต คือ ภิกษุนั้นคุ้มครองแล้วในปัจจัยเหล่านั้น. บทว่า ยตจารี สำรวมระวังเที่ยวไป คือสำรวมการอยู่ สำรวมอิริยาบถ. อธิบายว่า รักษากายทวาร วจีทวารและมโนทวาร. ปาฐะว่า ยถาจารี ดังนี้บ้าง. ความอย่างเดียวกัน. บทว่า รุสิโต โกรธเคือง คือเสียดสี. อธิบายว่า โกรธ. บทว่า ฌานานุยุตฺโต คือ เป็นผู้ขวนขวายในฌานด้วยการทำฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและเสพฌานที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อุเปกฺขมารพฺภ สมาหิตตฺโต ภิกษุปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่นแล้ว คือ ยังอุเบกขาในจตุตตฌานให้เกิดแล้วมีจิตตั้งมั่น. บทว่า ตกฺกาสยํ กุกฺกุจฺจิยูปฉินฺเท พึงตัดเสียซึ่งธรรมเป็นที่อยู่แห่งความวิตกและความคะนอง คือพึงตัดเสียซึ่งวิตกมีกามวิตกเป็นต้น, ธรรมเป็นที่อยู่แห่งความตรึกถึงกามสัญญาเป็นต้น และความคะนองมีคะนองมือเป็นต้น. บทว่า จุทิโต วจีภิ สติมาภินนฺเท ความว่า ภิกษุผู้อันอุปัชฌาย์ตักเตือนแล้วด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติยินดีรับคำตักเตือนนั้น. บทว่า วาจํ ปมุญฺเจ กุสฺลํ พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล คือพึงเปล่งวาจาอันตั้งขึ้นแล้วด้วยญาณ ไม่พึงเปล่งวาจาให้เกินเวลา คือไม่พึงเปล่งวาจาล่วงกาลเวลาและล่วงศีล. บทว่า ชนวาทธมฺมาย ได้แก่ ไม่พึงคิดกล่าวติเตียนผู้อื่น. บทว่า น เจตเยยฺย ไม่พึงคิด คือไม่ให้เกิดเจตนา (ตั้งใจ). บทว่า อถาปรํ ต่อแต่นั้น คือต่อจากนี้ไป. บทว่า ปญฺจ รชานิ ได้แก่ ธุลี ๕ มีรูปราคะเป็นต้น. บทว่า เยสํ สติมา วินยาย สิกฺเข พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดธุลี คือพึงเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ศึกษาไตรสิกขาเพื่อปราบธุลี. เมื่อศึกษาอยู่อย่างนี้ครอบงำความกำหนัดในรูป เสียง กลิ่น รสและผัสสะ มิใช่อย่างอื่น. แต่นั้น ภิกษุนั้นศึกษาเพื่อกำจัดธุลีเหล่านั้น. พึงทราบคาถาว่า เอเตสุ ธมฺเมสุ ดังนี้ตามลำดับ. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอเตสุ ได้แก่ ในรูปเป็นต้น. บทว่า กาเลน โส สมฺมา ธมฺมํ ปริวีมํสมาโน ภิกษุนั้นพิจารณาธรรมโดยชอบโดยกาลอันสมควร คือภิกษุนั้นพิจารณาธรรมอันเป็นสังขตธรรมทั้งหมดโดยนัยมีความไม่เที่ยงเป็นต้นตามกาล ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า๓- เมื่อยกระดับจิตขึ้นก็เป็นกาลของสมาธิ. ____________________________ ๓- สํ. มหา. เล่ม ๑๙/ข้อ ๕๗ บทว่า เอโกทิภูโต วิหเน ตมํ โส ภิกษุนั้นมีจิตแน่วแน่พึงกำจัดความมืดเสีย คือภิกษุนั้นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเพื่อกำจัดความมืดมีโมหะเป็นต้นทั้งหมดเสีย ไม่มีสงสัยในข้อนี้. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตด้วยประการฉะนี้. ในเวลาจบเทศนา พระภิกษุ ๕๐๐ รูปบรรลุพระอรหัตแล้ว ธรรมาภิสมัยได้มีแล้วแก่พวกเทวดาและมนุษย์ ๓๐ โกฏิแล. จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๑๖ แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา ----------------------------------------------------- ๑. กามสูตร ๒. คุหัฏฐกสูตร ๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร ๔. สุทธัฏญกสูตร ๕. ปรมัฏฐกสูตร ๖. ชราสูตร ๗. ติสสเมตเตยยสูตร ๘. ปสูรสูตร ๙. มาคันทิยสูตร ๑๐. ปุราเภทสูตร ๑๑. กลหวิวาทสูตร ๑๒. จูฬวิยูหสูตร ๑๓. มหาวิทยูหสูตร ๑๔. ตุวฏกสูตร ๑๕. อัตตทัณฑสูตร ๑๖. สารีปุตตสูตร พระสูตรเหล่านี้ทั้งหมดมีในอัฏฐกวรรคที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้. .. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อัฏฐกวรรค สารีปุตตสูตร จบ. |