บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? ได้ยินว่า ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของดาบส จึงเสด็จประทับยืนบนผ้าเปลือกไม้กรองนั้น. ดาบสบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับยืนอยู่บนผ้าเปลือกไม้กรองนั้นด้วยของหอมอันสมควรด้วยสักการะ แล้วชมเชยด้วยคาถา ๑๐ คาถามีอาทิว่า สมุทฺธรสิมํ โลกํ ดังนี้. พระศาสดาทรงพยากรณ์พระดาบสว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่กัปนี้ ดาบสนี้จักบวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ จักเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ดังนี้ แล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก ต่อแต่นั้นก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนถึงเวลาเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เกิดในตระกูล สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- เราเป็นพราหมณ์ผู้ทรงชฎาและหนังสัตว์ เป็นผู้ซื่อตรงมีตบะ ได้เห็น ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ข้ามพ้นโอฆะแล้ว ทรงยังโลกนี้ให้ข้ามพ้น โชติช่วงด้วยแสงสว่างแห่งพระญาณ ทรงมีพระญาณประเสริฐสุด ทรงประกาศธรรมจักร ทรงย่ำยีเดียรถีย์อื่น ทรงเป็นผู้กล้าหาญ ทรงชนะสงครามแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว คลื่นในมหาสมุทร ย่อมแตกในที่สุดฝั่งฉันใด ทิฏฐิทั้งปวงย่อมแตกทำลายในเพราะพระญาณของพระองค์ฉันนั้น ข่ายตาเล็กๆ ที่เขาเหวี่ยงลงไปในสระแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ภายในข่ายเป็นผู้ถูกบีบคั้นในขณะนั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเดียรถีย์ในโลกผู้หลงงมงาย ไม่อาศัยสัจจะ ย่อมเป็นไปในภายในพระญาณ อันประเสริฐของพระองค์ ฉันนั้น พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของผู้ที่ว่ายอยู่ในห้วงน้ำ เป็นนาถะของผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ เป็นสรณะของผู้ที่ตั้งอยู่ในภัย เป็นผู้นำหน้าของผู้ต้องการความพ้น เสด็จเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีใครเหมือน ทรงประกอบด้วยพระเมตตากรุณา หาผู้เสมอเหมือนมิได้ เป็นผู้สม่ำเสมอ สงบระงับแล้ว มีความชำนาญ คงที่ มีชัยชนะสมบูรณ์ เป็นนักปราชญ์ ปราศ ในกาลนั้น ครั้นเราสรรเสริญพระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มียศใหญ่ ด้วยคาถา ๑๐ คาถา ถวายบังคมพระบาทพระศาสดาแล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่. พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา ประทับอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดสรรเสริญ ศีล ปัญญาและสัทธรรมของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจะรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดหกหมื่นกัป จักเสวยไอศวรรย์ล่วงเทวดาเหล่าอื่น ภายหลังอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว เขาจักออกบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมด้วยกาย กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน. เมฆครางกระหึ่มย่อมยังพื้นดินให้อิ่มฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ทรงยังข้า ครั้นเราชมเชย ศีล ปัญญา ธรรมและพระองค์ผู้เป็นนายกของโลกแล้ว ได้บรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมสงบระงับอย่างยิ่ง เป็นอัจจุตบท โอหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุพระองค์นั้น พึงดำรงอยู่นานแน่ เราจะพึงรู้แจ้ง พึงเห็นอมตบท ชาตินี้เป็นชาติที่สุดของเรา เราถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๒/ข้อ ๓๙๕ ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุทั้งหลายผู้มากไปด้วยความเกียจคร้าน ซึ่งอยู่ร่วมกับตน ได้กล่าวคาถาว่า เมื่อชีวิตจะสิ้นไป ความเป็นสมณะที่ดี จักมีแก่ภิกษุผู้ เกียจคร้าน ผู้ติดอยู่ในความสุขในร่างกาย แต่ที่ไหน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุฏฺฐุลฺลครุโน ความว่า การประกอบความไม่ดีงาม ชื่อว่าความชั่วหยาบ ความชั่วหยาบทางกาย ชื่อว่ากายทุฏฺฐุลละ กายทุฏฺฐุลละอันหนักมีอยู่แก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นชื่อว่า กายทุฏฐุลลครุ ผู้มีความเกียจคร้าน. อธิบายว่า เป็นผู้หมดอำนาจ ปราศจากปัญญา คือขวนขวายแต่การพอกพูนเลี้ยงกาย ได้แก่เป็นผู้เกียจคร้าน. แก่ภิกษุผู้มีความเกียจคร้านนั้น. บทว่า หิยฺยมานมฺหิ ชีวิเต ความว่า เมื่อชีวิตและสังขาร กำลังสิ้นไปโดยเร็ว ดุจน้ำของแม่น้ำน้อย กำลังขอดแห้งไป ฉะนั้น. บทว่า สรีรสุขคิทฺธสฺส ความว่า ถึงความโลภ เพราะความสุขทางกายของตน มีอาหารอันประณีตเป็นต้น. บทว่า กุโต สมณสาธุตา ความว่า ความดี โดยความเป็นสมณะ คือความเป็นสมณะที่ดี จะพึงมีแก่บุคคลเห็นปานนี้ ด้วยเหตุนั้น แต่ที่ไหน? อธิบายว่า ก็ความเป็นสมณะที่ดีจะมีแก่ภิกษุผู้ปราศจากความเพ่งเล็งในร่างกายและชีวิต ผู้สันโดษแล้ว ด้วยความสันโดษ ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ผู้ปรารภความเพียร แล้วโดยส่วนเดียวเท่านั้น. จบอรรถกถาอธิมุตตเถรคาถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๑๒ ๔. อธิมุตตเถรคาถา จบ. |