![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระ พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่าพรหมาลี บรรลุ สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- เราได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทองแด่พระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระ ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๙๕ ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดแต่มรรคและด้วยความสุขอันเกิดแต่ผล. วันหนึ่ง เมื่อจะกำหนดการประกอบความเพียรอันพระเถระผู้กำหนดความเพียรกล่าวไว้ เจาะจงเฉพาะภิกษุทั้งหลาย (ผู้อยู่) ในราวป่านั้น ได้ อินทรีย์ของใครถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถี ฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลายย่อมรักใคร่ต่อผู้นั้น ผู้มีมานะ อันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่ อินทรีย์ทั้งหลายของเราก็ถึง ความสงบแล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดา ทั้งหลายก็พากันรักใคร่ต่อเรา ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มี อาสวะ เป็นผู้คงที่ ดังนี้. คาถาทั้งสองนั้นมีอธิบายว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายอยู่กันในราวป่านี้ อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ของใคร คือของภิกษุผู้เป็นเถระหรือนวกะหรือมัชฌิมะ ถึงความสงบคือความเป็นอินทรีย์ที่ฝึกแล้ว ได้แก่ความเป็นอินทรีย์ที่หมดพยศ เหมือนม้าอัสดรที่ถูกนายสารถีผู้ฉลาดฝึกแล้ว ฉะนั้น. แม้เทวดาก็กระหยิ่ม แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ปรารถนาดี โดยการแสดงสัมมาปฏิบัติเป็นต้นต่อใคร ผู้ชื่อว่ามีมานะอันละได้แล้ว เพราะละมานะมีอย่าง ๙ ได้แล้วตั้งอยู่ ผู้ชื่อว่าไม่มีอาสวะ เพราะไม่มีอาสวะแม้ทั้ง ๔ อย่าง ผู้ชื่อว่าคงที่ด้วยการปฏิบัติลักษณะของผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น. ก็โดยกึ่งหนึ่งของบาทแรกในคาถานั้น พระเถระถามถึงการบรรลุพระ การได้เฉพาะซึ่งพระอรหัตมรรคย่อมมี ด้วยบาทคาถานอกนี้ เพราะว่า พระอรหันต์ ท่านเรียกว่าเป็นผู้ละมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ และเป็นผู้คงที่. ครั้งนั้น ท่านพระพรหมาลิเถระกล่าวย้ำคาถามีอาทิว่า กสฺสินฺทฺริยานิ ซึ่ง บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺหินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์มีจักษุเป็นต้นของเรา. บทที่เหลือมีนัยดังข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น. จบอรรถกถาพรหมาลิเถรคาถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๕ ๓. พรหมาลิเถรคาถา จบ. |