![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระ ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลที่มั่นคั่ง แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ จำเดิมแต่วันที่เขาเกิด พอถึงมือมาตุคามก็ร้องไห้ ได้ยินว่า เขาจุติจากพรหมโลก มาในมนุษยโลกนี้ เพราะเหตุที่เขาทนการถูกต้องของมาตุคามไม่ได้ ฉะนั้น จึงได้นามว่าวัชชิตะ เพราะเว้นจากการถูกต้องของมาตุคาม. เขาเจริญวัยแล้ว เห็นยมกปาฎิหาริย์ของพระศาสดา แล้วได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในวันนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- ก็พระสัมพุทธเจ้าผู้สงบระงับ อาศัยอยู่ในระหว่างภูเขา เราถือเอา ในกัปที่ ๖๕ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระ ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๒/ข้อ ๓๗๐ ก็พระเถระผู้มีอภิญญา ๖ แล้วระลึกบุพเพนิวาสญาณของตนได้ ได้กล่าวคาถาสองคาถาด้วยธรรมสังเวชความว่า เมื่อเรายังเป็นปุถุชน มืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจ จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาอยู่ในคติทั้งหลาย ตลอดกาลนาน บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว กำจัดสงสารได้แล้ว คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํสรํ แปลว่า ท่องเที่ยวไปอยู่ ได้แก่วิ่งไปๆ มาๆ ในภพนั้นๆ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือไว้และการปล่อยวาง. บทว่า ทีฆมทฺธานํ ความว่า ท่องเที่ยวไปในสงสารอันมีเบื้องต้นและที่สุดไม่ปรากฏ ตลอดกาลนานคือตลอดกาลหาประมาณมิได้. บทว่า คตีสุ ความว่า ในสุคติและทุคติทั้งหลายด้วยสามารถแห่งกรรมทั้งหลายที่ตนทำดี ทำชั่ว. บทว่า ปริตสฺสํ ความว่า เมื่อหมุนไปรอบๆ ดุจเครื่องสูบน้ำ ชื่อว่าวนเวียนไปๆ มาๆ ด้วยสามารถแห่งการจุติและอุปบัติ. ก็พระเถระกล่าวเหตุแห่งการท่องเที่ยววนเวียนนั้นว่า เมื่อเรายังเป็นปุถุชนมืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจทั้งหลาย ดังนี้. ประกอบความว่า บุคคลเมื่อไม่เห็นอริยสัจทั้งหลายมีทุกขสัจเป็นต้น ด้วยญาณจักษุ เพราะยังไม่ได้แทงตลอด ชื่อว่าเป็นคนบอด เพราะความมืดมน คืออวิชชานั่นเอง ชื่อว่าเป็นปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลายอันให้เกิดความหนา (กิเลส) เป็นต้น จักวนเวียนไปในคติทั้งหลาย เพราะ ความที่ตนยังเป็นปุถุชน. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๒- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ ทั้งเราและเธอทั้งหลายจึงวิ่งไปแล้ว ท่อง ____________________________ ๒- สํ. มหาวาร. เล่ม ๑๙/ข้อ ๑๖๙๙ เมื่อเรานั้นยังเป็นปุถุชนอยู่ในกาลก่อน โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล บัดนี้ ไม่ประมาทแล้ว โดยนัยอันพระศาสดาทรงประทานแล้ว ยังสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาให้ถึงที่สุดแล้ว ด้วยข้อปฏิบัติคือความไม่ประมาท ตั้ง อยู่แล้ว. บทว่า สํสารา วนฬีกตา ความว่า กรรมกิเลสทั้งหลายอันได้นามว่าสงสาร เพราะเป็นที่ท่องเที่ยวไปของสัตว์ทั้งหลาย อันเรากระทำให้หมดราก เพราะตัดขาดได้แล้วด้วยมรรคอันเลิศ ดังไม้อ้อที่มีรากปราศไปแล้ว. บทว่า สพฺพา คตี สมุจฺฉินฺนา ความว่า คติทั้งหลายแม้ทั้งปวงมีนรกเป็นต้น ชื่อว่าอันเราตัดขาดแล้วคือกำจัดแล้ว โดยชอบทีเดียว เพราะกรรมวัฏและกิเลสวัฏทั้งหลาย เราตัดได้ขาดแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นแล บัดนี้จึงไม่มีภพใหม่อีกต่อไป. ก็และคาถาทั้งสองนี้แหละได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระดังพรรณนามานี้แล. จบอรรถกถาวัชชิตเถรคาถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๕ ๘. วัชชิตเถรคาถา จบ. |