บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า ปริวาสิยฉนฺททาเนน คือ โดยให้ฉันทะค้าง. ในคำว่า การให้ฉันทะค้างนั้น การค้างมี ๔ อย่างคือ ค้างโดยที่ประชุม ๑ ค้างโดยราตรี ๑ ค้างโดยฉันทะ ๑ ค้างโดยอัธยาศัย ๑. ที่ชื่อว่า ค้างโดยที่ประชุม คือ พวกภิกษุกำลังประชุมกันด้วยวกรณียกิจบาง ก็การค้างโดยที่ประชุม ควรจะทำกรรมได้ เพราะภิกษุทั้งหลายยังไม่ได้สละฉันทะ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ตกกลางคืนพวกภิกษุประชุมกันอีก ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักทำกรรมมีอุโบสถเป็นต้น จึงเชื้อเชิญภิกษุรูปหนึ่ง ด้วยตั้งใจว่า จักฟังธรรมจนกว่าภิกษุจะมาประชุมกันทั้งหมด. เมื่อภิกษุนั้นกำลังแสดงธรรมกถาอยู่นั่นแหละ อรุณขึ้นเสีย. ถ้าพวกภิกษุนั่งประชุมกันด้วยตั้งใจว่า จักทำจาตุทสีอุโบสถ แล้วทำด้วยตกลงกันว่า ปัณณรสีอุโบสถ ก็ได้. ถ้านั่งประชุมกันเพื่อทำปัณณรสีอุโบสถ วันแรมค่ำ ๑ ไม่ใช่วันอุโบสถ จะทำอุโบสถ ไม่ควร แต่จะทำสังฆกิจอย่างอื่น ควรอยู่. นี้ชื่อว่า ค้างโดยราตรี. พวกภิกษุประชุมกันอีกด้วยตั้งใจว่า จักทำสังฆกรรมมีอัพภานเป็นต้นบาง ในการค้างนั่น จะไม่นำฉันทะและปาริสุทธิมาใหม่ทำกรรม ย่อมไม่ควร. สองบทว่า วุฏฺฐิตาย ปริสาย ความว่า เมื่อที่ประชุมสละฉันทะ แล้วเลิกประชุมไปด้วยกายก็ดี ด้วยอาการเพียงสละฉันทะเท่านั้นก็ดี. ข้อว่า อนาปตฺติอวุฏฺฐิตาย ปริสาย มีความว่า เมื่อที่ประชุมยังไม่สละฉันทะ ยังไม่เลิกประชุม ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล. อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ. |