บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] หน้าต่างที่ ๗ / ๗. คาถาที่ ๑
บทว่า รเสสุ ในรสทั้งหลาย คือในของควรลิ้มมีรสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม เฝื่อน ฝาด เป็นต้น. บทว่า เคธํ อกรํ ไม่ทำความติดใจ คือไม่ทำความติดใจ คือความพอใจ. ท่านอธิบายว่า ไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้น. บทว่า อโลโล ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล คือไม่วุ่นวายในรสวิเศษอย่างนี้ว่า เราจักลิ้มรสนี้ดังนี้. บทว่า อนญฺญโปสี ไม่เลี้ยงผู้อื่น คือไม่มีสัทธิวิหาริกที่จะต้องเลี้ยงเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า ยินดีเพียงทรงกายอยู่ได้. อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงว่าแมลงผี้งซึ่งติดในรสทั้งหลาย (ของดอกไม้) ในอุทยาน อีกอย่างหนึ่ง กิเลสทั้งหลาย ท่านเรียกว่าผู้อื่น เพราะอรรถว่าหักรานประโยชน์. อธิบายว่า พระปัจเจก บทว่า สปทานจารี เที่ยวไปตามลำดับตรอก คือไม่เที่ยวและเวียน คือเที่ยวไปตามลำดับ. อธิบายว่า ไม่ทิ้งลำดับเรือน เข้าไป บทว่า กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล ความว่า มีจิตไม่เกี่ยวข้องด้วยอำนาจกิเลสในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บรรดาตระกูลกษัตริย์เป็นต้น. เปรียบเหมือนพระจันทร์ใหม่อยู่เป็นนิจ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. คาถาที่ ๒
บทว่า อาวรณานิ เครื่องกั้นจิต คือนิวรณ์นั่นเอง. นิวรณ์เหล่านั้นท่านกล่าวไว้แล้วในอุรคสูตรโดยอรรถ. แต่เพราะนิวรณ์เหล่านั้นกั้นจิต ดุจหมอกเป็นต้นบังดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ฉะนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละนิวรณ์เหล่านั้นได้ด้วยอุปจาระหรือด้วยอัปปนา. บทว่า อุปกฺกิเลเส กิเลสเครื่องเศร้าหมองจิต คืออกุศลธรรมอันเข้าไปเบียดเบียนจิต หรืออภิชฌาเป็นต้น ดังได้ตรัสไว้แล้วในวัตโถปมสูตรเป็นต้น. บทว่า พฺยปนุชฺช สลัดเสียแล้ว คือบรรเทา บรรเทาวิเศษ ละด้วยวิปัสสนาและมรรค. บทว่า สพฺเพ คือ กิเลสไม่มีส่วนเหลือ. ท่านอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละทิฏฐินิสัยด้วย บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. คาถาที่ ๓
บทว่า วิปิฏฐิตฺวาน ละแล้ว คือละทิ้งไว้ข้างหลัง. บทว่า สุขญฺจ ทุกฺขํ คือ ความยินดียินร้ายทางกาย. บทว่า โสมมสฺสโทมนสฺสํ คือ ความยินดียินร้ายทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ คือ อุเบกขาในจตุตถฌาน. บทว่า สมถํ คือ สมถะในจตุตถฌานนั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า ชื่อว่าหมดจดอย่างยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก ๙ ประการ คือนิวรณ์ ๕ วิตก วิจาร ปีติ สุข. อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจทองคำที่หลอมดีแล้วนั่นเอง. ส่วนโยชนาแก้ไว้ดังนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุขและทุกข์ก่อนๆ แล้ว. อธิบายว่า ละทุกข์ ในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งปฐมฌาน และสุขในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ จอักษรที่กล่าวไว้ข้างต้นไปไว้ข้างหลัง ได้รูปเป็นดังนี้ โสม ด้วยบทนั้น ท่านแสดงว่า โสมนัสในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งจตุตถฌาน โทมนัสในภูมิเป็นอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌานเหล่านี้เป็นฐานะแห่งการละทุกข สุขโทมนัสโสมนัสเหล่านั้นโดยปริยาย แต่โดยตรง ปฐมฌานเป็นฐานละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานละโทมนัส ตติยฌานเป็นฐานละสุข จตุตถฌานเป็นฐานละโสมนัส. เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ภิกษุเข้าถึง พึงถึอเอาบททั้งหมดนั้นตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังต่อไป. บทว่า ปุพฺเพว ก่อนๆ คือละทุกข์ โทมนัสและสุขได้ในฌานทั้งสามมี บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง. คาถาที่ ๔
ชื่อว่า อารทฺธวิริโย เพราะมีความเพียรอันปรารภแล้ว. ด้วยบทนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรเบี้องต้น เริ่มด้วยวิริยะของตน. นิพพาน ท่าน ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต มีจิตมิได้ย่อหย่อนนี้ พระปัจเจก ด้วยบทว่า อกุสีตวุตฺติ มีความประพฤติ ไม่เกียจคร้าน พระปัจเจก ด้วยบทว่า ทฬฺห นิกฺกโม มีความพยายามมั่นคงนี้ พระปัจเจก ท่านกล่าวว่า เริ่มในอนุปุพพสิกขาเป็นต้น กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจทางกาย. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทนี้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรอัน ชื่อว่ามีความเพียร เพราะถึงความบริบูรณ์ในการเจริญภาวนาอย่างมั่นคง และเพราะออกจากฝ่ายตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฬฺหปรกฺกโม เพราะเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรมนั้น มีความเพียรมั่นคง. บทว่า ถามพลูปปนฺโน เข้าถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง คือเกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทางกาย และด้วยกำลังญาณในขณะแห่งมรรค. อีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นด้วยกำลังอันเป็นเรี่ยวแรง ชื่อว่า ถามพลูปปนฺโน. ท่านอธิบายว่า เกิดด้วยกำลังคือญาณอันมั่นคง ด้วยบทนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงถึงการประกอบพร้อมด้วยญาณแห่งวิริยะนั้น จึงยังความเพียรโดยแยบคายให้สำเร็จ. พึงประกอบบททั้งหลายแม้ ๓ บทด้วยอำนาจแห่งความเพียรอันเป็นส่วนเบื้องต้น ท่ามกลางและอุกฤษฏ์. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. คาถาที่ ๕
บทว่า ปฏิสลฺลานํ คือ การไม่กลับเข้าไปหาสัตว์และสังขารเหล่านั้นๆ หลีกเร้นอยู่. อธิบายว่า ความเป็นผู้เดียวเพราะเสพเฉพาะตนผู้เดียว ชื่อว่ากายวิเวก. บทว่า ฌานํ ท่านเรียกว่า จิตตวิเวก เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกและเพราะเพ่งอารมณ์และลักษณะ. ในบทนั้น สมาบัติ ๘ ท่านเรียกว่าฌาน เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะเพ่งถึงอารมณ์วิปัสสนา มรรคและผล ท่านเรียกว่าฌาน เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึก พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีกเร้นและฌานนี้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อริญฺจมาโน คือ ไม่ละไม่สละ. บทว่า ธมฺเมสุ คือ ในธรรมมีขันธ์ ๕ เป็นต้นอันเป็นเครื่องให้เข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า นิจฺจํ คือ สงบ ไม่วุ่นวาย เนืองๆ. บทว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติธรรมสมควร คือปรารภธรรมเหล่านั้นแล้วประพฤติวิปัสสนาธรรมไปตามสมควร. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙. ชื่อว่า อนุธมฺโม คือ เพราะเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตรธรรมเหล่านั้น. บทนี้เป็นชื่อของวิปัสสนา. ในบทนั้นเมื่อควรจะกล่าวว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมทั้งหลายเป็นนิจ ก็กล่าวเสียว่า ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย ด้วยการแปลงวิภัตติเพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. คือควรจะเป็น ธมฺมานํ แต่ในคาถาเป็น ธมฺเมสุ. บทว่า อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย คือพิจารณาเห็นโทษมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นในภพ ๓ ด้วยวิปัสสนา อันได้แก่ความเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น ควรกล่าวว่าท่านได้บรรลุแล้วด้วยปฏิปทา กล่าวคือกายวิเวก จิตตวิเวกและวิปัสสนาอันถึงความเป็นยอดนี้อย่างนี้. พึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า เอโก จเร พึงเที่ยวไปผู้เดียว.
บทว่า ตณฺหกฺขยํ ความสิ้นตัณหา คือนิพพาน. หรือความไม่เป็นไปแห่งตัณหา อันมีโทษอันตนเห็นแล้วอย่างนี้นั่นเอง. บทว่า อปฺปมตฺโต ไม่ประมาท คือเป็นผู้มีปกติทำติดต่อ. บทว่า อเนลมูโค ไม่โง่เขลา คือไม่ใบ้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่บ้าไม่ใบ้. ท่านกล่าวว่าเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด. ชื่อว่ามีสุตะ เพราะมีสุตะอันให้ถึงประโยชน์สุข. ท่าน บทว่า สติมา คือ ระลึกถึงสิ่งที่ทำไว้แล้วแม้นานเป็นต้นได้. บทว่า สงฺขาตธมฺโม มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว คือมีธรรมอันกำหนดแล้วด้วยการพิจารณาธรรม. บทว่า นิยโต มีธรรมอันแน่นอน คือถึงความแน่นอนด้วยอริยมรรค. บทว่า ปธานวา มีความเพียร คือถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน (คือความเพียร). พึงประกอบบาทนี้โดยผิดลำดับ. ด้วยว่าผู้ประกอบธรรม มีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้แล้ว มีความเพียรด้วยการตั้งใจให้ถึงความแน่นอน ชื่อว่า นิยโต เป็นผู้เที่ยง เพราะมีธรรมอันแน่นอน คืออริยมรรคอันตนถึงแล้วด้วยความเพียรนั้น ต่อแต่นั้นจึงชื่อว่ามีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เพราะการบรรลุพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหันต์ ท่านเรียกว่า เป็นผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะพึงกำหนดรู้อีก. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เป็นเสกขะมีอยู่มากในโลกนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. คาถาที่ ๗
บทว่า สีโห ได้แก่ สีหะ ๔ จำพวก คือติณสีหะ ๑ ปัณฑุสีหะ ๑ กาฬสีหะ ๑ ไกรสรสีหะ ๑. ไกรสรสีหะท่านกล่าวว่าเลิศกว่าสีหะเหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาไกรสรสีหะนั้น. ลมมีหลายชนิดมีลมพัดมาทางทิศตะวันออกเป็นต้น. ดอกบัวมีหลายชนิดมีดอกบัวสีแดงและดอกบัวสีขาวเป็นต้น. บรรดาลมและดอกบัวเหล่านั้น ลมชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกบัวชนิดใดชนิดหนึ่ง ควรทั้งนั้น. เพราะความสะดุ้งย่อมมีด้วยความรักตน. อนึ่ง ความรักตนฉาบด้วยตัณหา แม้ความรักตนนั้นก็ย่อมมีด้วยความโลภอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ หรือวิปปยุตด้วยทิฏฐิ. ความรักตนนั้นก็คือตัณหานั้นเอง. ความข้องของผู้ปราศจากความสอบสวนย่อมมีด้วยโมหะ. อนึ่ง โมหะก็คืออวิชชา. การละตัณหาย่อมมีด้วยสมถะ. การละอวิชชาย่อมมีด้วยวิปัสสนา. เพราะฉะนั้น พระปัจเจก ในบทนี้ศีลเป็นปทัฏฐานแห่งสมถะ สมถะเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ วิปัสสนา และปัญญาด้วยประการฉะนี้. เมื่อธรรมสองเหล่านั้นสำเร็จ เป็นอันขันธ์แม้ ๓ ก็สำเร็จด้วย. ในขันธ์เหล่านั้น ความเป็นผู้กล้าย่อมสำเร็จด้วยศีลขันธ์ ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความเป็นผู้ใคร่จะโกรธในอาฆาตวัตถุทั้งหลาย เหมือนสีหะไม่สะดุ้งในเพราะเสียงทั้งหลาย. เป็นผู้มีสภาวะแทงตลอดด้วยปัญญาขันธ์ ไม่ติดอยู่ในประเภทแห่ง พึงทราบว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้ง ไม่ข้อง ไม่ติดด้วยการละอวิชชาตัณหาและอกุศลมูล ๓ ตามที่เกิดด้วยสมถะและวิปัสสนา และด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ ด้วยประการฉะนี้. คาถาที่ ๘
ชื่อว่าสีหะ เพราะอดทน เพราะฆ่าและวิ่งเร็ว. ในที่นี้ประสงค์เอาไกรสรสีหะ. ชื่อว่าทาฐพลี เพราะสีหะมีเขี้ยวเป็นกำลัง. บททั้งสอง คือ ปสยฺห อภิภุยฺห พึงประกอบ จารี ศัพท์เข้าไปเป็น ปสยฺหจารี เที่ยวข่มขี่ อภิภุยฺยจารี เที่ยวครอบงำ. ในสองบทนั้น ชื่อว่า ปสยฺหจารี เพราะเที่ยวข่มขี่. ชื่อว่า อภิภุยฺยจารี เพราะเที่ยวครอบงำทำให้หวาดสะดุ้ง ทำให้อยู่ในอำนาจ. สีหะนั้นเที่ยวข่มขี่ด้วยกำลังกาย เที่ยวครอบงำด้วยเดช. หากใครๆ พึงกล่าวว่าเที่ยวข่มขี่ครอบงำอะไร. แต่นั้นพึงทำฉัฏฐีวิภัตติ บทว่า ปนฺตานิ อันสงัด คือไกล. บทว่า เสนาสนานิ คือ ที่อยู่. บทที่เหลือสามารถจะรู้ได้โดยนัยดังกล่าวในก่อน เพราะเหตุนั้นจึงไม่กล่าวให้พิสดาร. คาถาที่ ๙
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อนำประโยชน์และความสุขเข้าไปให้โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สตฺตา สุขิตา ภวนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขเถิด ดังนี้ ชื่อว่าเมตตา. ความเป็นผู้ใคร่เพื่อปลดเปลื้องสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และความทุกข์ออกไปโดยนัยมีอาทิว่า อโห วต อิมฺมหา ทุกฺขา วิมุจฺเจยฺยุํ โอหนอ ขอสัตว์ทั้งปวงพึงพ้นจากทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่ากรุณา. ความเป็นผู้ใคร่เพื่อไม่พรากจากประโยชน์สุขโดยนัยมีอาทิว่า ท่านผู้เจริญ สัตว์ทั้งปวงย่อมบันเทิงหนอ ดีละ ขอสัตว์ทั้งปวงจงบันเทิงด้วยดีเถิด ชื่อว่ามุทิตา. ความเป็นผู้เข้าไปเพ่งในสุขและทุกข์ว่า สัตว์ทั้งหลายจักปรากฏด้วยกรรมของตน ดังนี้ ชื่อว่าอุเบกขา. ท่านกล่าวเมตตา แล้วกล่าวอุเบกขา มุทิตา ในภายหลังสับลำดับ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๔ เหล่านี้ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะพ้น จากธรรมเป็นข้าศึกของตน. ด้วยเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเสพเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตลอดกาล ดังนี้ ในบทเหล่านั้น บทว่า อาเสวมาโน เสพอยู่ คือเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา ๓ อย่างด้วยอำนาจแห่งฌานในจตุกกนัย ๓ ฌาน เจริญอุเบกขาด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน. บทว่า กาเล คือ เสพเมตตา ออกจากเมตตาเสพกรุณา ออกจากกรุณาเสพมุทิตา ออกจากมุทิตาหรือจากฌานอันไม่มีปีติเสพอุเบกขา ท่านกล่าวว่าเสพอยู่ตลอดกาล. หรือเสพในเวลาสบาย. บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชัง คืออันสัตว์โลกทั้งหมดในสิบทิศไม่เกลียดชัง. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้ไม่น่าเกลียด เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาเป็นต้น. ความขัดเคืองอันเป็นความพิโรธในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบ. ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลไม่เกลียดชังดังนี้. บทที่เหลือเช่นกับที่ได้กล่าวแล้วนั้นแล. คาถาที่ ๑๐
บทว่า สญฺโญชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทำลายสังโยชน์ ๑๐ เหล่านั้นด้วยมรรคนั้นๆ. บทว่า อสนฺตสํ ชีวิต สงฺขยมฺหิ ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต คือความแตกแห่งจุติจิต ท่านเรียกว่าความสิ้นชีวิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิตนั้น เพราะละความเยื่อใยในชีวิตได้แล้ว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าครั้นแสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุของตนแล้ว เมื่อจบคาถาก็ได้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุด้วยประการฉะนี้. คาถาที่ ๑๑
บทว่า ภชนฺติ ย่อมคบ คือเข้าไปนั่งชิดกัน. บทว่า เสเวนฺติ ย่อมเสพ คือย่อมบำเรอด้วยอัญชลีกรรมเป็นต้น และด้วยยอมรับทำการงานให้. ชื่อว่า การณตฺถา เพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ. อธิบายว่าไม่มีเหตุอื่นเพื่อจะคบและเพื่อจะเสพ. ท่าน บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺชมิตฺตา มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก คือมิตรในวันนี้ไม่มีเหตุ เพราะเหตุแห่งการได้ประโยชน์อย่างนี้ว่า เราจักได้อะไรจากมิตรนี้ประกอบด้วยความเป็นมิตร อันพระอริยะกล่าวไว้อย่างนี้ว่า มิตรใดมีอุปการะ ๑ มิตรใดร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรใดแนะนำประโยชน์ ๑ มิตรใดมีความรักใคร่ ๑ ดังนี้. อย่างเดียว หาได้ยาก ชื่อว่า มิตรในวันนี้. ชื่อว่า อตฺตทตฺถปญฺญา เพราะมีปัญญาอันสำเร็จประโยชน์ด้วยมุ่งตนเท่านั้น ไม่มุ่งถึงคนอื่น (เห็นแก่ตัว). นัยว่าคัมภีร์เก่าใช้ว่า ทิฏฺฐตฺถปญฺญา มีปัญญามุ่งประโยชน์ปัจจุบัน. ท่านอธิบายว่า มีปัญญาเพ่งถึงประโยชน์ที่ตนเห็นเดี๋ยวนั้น. บทว่า อสุจี สกปรก คือประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมอันไม่สะอาด คือไม่ประเสริฐ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในก่อนนั้นแล. บทใดที่ยังมิได้กล่าวเพราะเกรงว่าจะพิสดารเกินไปในระหว่างๆ บทนั้นทั้งหมด พึงทราบตามทำนองแห่งปาฐะนั้นแล. จบอรรถกถาจตุตวรรค จบอรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส แห่ง อรรถกถาขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ชื่อว่าสัทธัมมปัชโชติกา นิคมคาถา ____________________________ ๑- พระสารีบุตรเถระ. มหาวิหารใด ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองอนุราธบุรี อันประเสริฐ พระมหาสถูปใดซึ่งเป็นยอดแห่งมหาวิหาร นั้นก่อด้วยศิลาสวยงาม ประดับด้วยแก้วผลึก ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันตกของเมืองอนุราธบุรีนั้น. พระราชาทรงพระนามว่า กิตติเสน เป็นนักเขียน ทรงมีพระจริยาวัตรงดงาม สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ สะอาด ทรงประกอบในกุศลธรรม ทรงให้สร้างบริเวณ มีต้นไม้ที่มีเงาร่มเย็น พรั่งพร้อมด้วยธารน้ำ ล้อมด้วย รั้วไม้. พระมหาเถระชื่อว่า อุปเสน ผู้อยู่ในบริเวณกว้าง เป็นนักเขียน ประกอบด้วยกุศลธรรม พระกิตติเสนราชา ทรงถวายบริเวณแก่พระอุปเสนมหาเถระนั้น พระอุปเสน เถระผู้มีศีลมั่นคง เป็นครู อยู่ในบริเวณนั้น ได้รวบรวม คัมภีร์สัทธัมมปัชโชติกานี้ไว้. อรรถกถานิทเทสสำเร็จลงในปีที่ ๒๖ แห่งพระเจ้า สิริสังฆโพธิ ผู้ประทับอยู่ในนิเวศอันเป็นสิริ อรรถกถานี้ แสดงเถรวาทะของพระเถระทั้งหลาย อนุโลมตามสมัย ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวโลก จบลงแล้ว ฉันใด ขอ มโนรถของสัตว์ทั้งปวง ซึ่งอนุโลมตามพระสัทธรรม จง ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จ ถึงความ สำเร็จ ฉันนั้น. ก็ภาณวารทั้งหลายมากกว่า ๔๐ ภาณวาร ประกอบด้วยธรรมะที่ควรทราบในอรรถกถาชื่อว่าสัทธัมมปัชโชติกา อันท่านกำหนดแล้วด้วยกุศลธรรมที่ท่านกำหนดไว้ในอรรถกถานี้ ก็ฉันท์ทั้งหลายแห่งอรรถกถานั้น ท่านกำหนดด้วยการประพันธ์ นับได้กว่าหมื่นคาถา พึงทราบว่าเป็นคาถา. บุญนี้ใดมิใช่น้อย ไพบูลย์ อันข้าพเจ้ารจนาอยู่ซึ่งอรรถกถานี้ด้วยความเอื้อเฟื้อ เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระศาสนา และเพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลกได้ประสบบุญนั้นแล้ว ขอชาวโลกจงได้ลิ้มรสแห่งพระสัทธรรมของพระทศพลเจ้า จงบรรลุถึงความสุขที่ไม่มีมลทิน ด้วยความสะดวกนั้นเที่ยว. คำปรารถนาของผู้รจนา ข้าพเจ้าต้องสมาคมกับคนพาล ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ ทรงพระไตรปิฎกในสำนักของพระศรีอริยเมตไตรย พระองค์นั้น เทอญ. .. อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ขัคควิสาณสุตตนิทเทส จบ. |