ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 177อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 185อ่านอรรถกถา 31 / 186อ่านอรรถกถา 31 / 737
อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
ญาณปัญจกนิทเทส

               ๒๐-๒๔. อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส               
               [๑๘๕] พึงทราบวินิจฉัยในญาณปัญจกนิทเทสดังต่อไปนี้.
               ท่านทำปุจฉาวิสัชนารวมเป็นอันเดียว เพราะมีความสัมพันธ์กันเป็นลำดับแห่งญาณ ๕ เหล่านั้น.
               บทว่า อภิญฺญาตา โหนฺติ - เป็นผู้รู้แจ้งธรรมแล้ว คือ เป็นผู้รู้ด้วยดี ด้วยสามารถรู้ลักษณะแห่งสภาวธรรม.
               บทว่า ญาตา โหนฺติ - เป็นอันรู้ธรรมแล้ว คือ ชื่อว่าเป็นอันรู้แล้ว เพราะรู้ตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งญาตปริญญา. เป็นอันรู้ธรรมเหล่านั้นแล้วด้วยญาณใด. ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ญาณนั้น.
               พึงทราบการเชื่อมว่า ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด. โดยนัยแม้นี้พึงประกอบแม้ญาณที่เหลือ.
               บทว่า ปริญฺญาตา โหนฺติ - เป็นอันกำหนดรู้แล้ว คือเป็นอันรู้โดยรอบด้วยสามารถแห่งสามัญลักษณะ.
               บทว่า ตีริตา โหนฺติ - เป็นอันพิจารณาแล้ว คือเข้าไปกำหนดให้ถึงพร้อมด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วยสามารถแห่งตีรณปริญญา.
               บทว่า ปหีนา โหนฺติ - เป็นอันละได้แล้ว คือเป็นอันละนิจสัญญาเป็นต้นด้วยอนิจจานุปัสสนาญาณเป็นต้นตั้งแต่ภังคานุปัสสนาญาณ.
               บทว่า ปริจฺจตฺตา โหนฺติ - เป็นอันสละแล้ว คือเป็นอันทอดทิ้งด้วยสามารถแห่งการละนั่นเอง.
               บทว่า ภาวิตา โหนฺติ - เป็นอันเจริญแล้ว คือเป็นอันเจริญแล้วและอบรมแล้ว.
               บทว่า เอกรสา โหนฺติ - มีรสเป็นอันเดียวกัน คือมีกิจอย่างเดียวกันด้วยการให้สำเร็จกิจของตน และด้วยการละฝ่ายตรงกันข้าม. หรือมีรสเป็นอันเดียวกันด้วยวิมุตติรส ด้วยการพ้นจากธรรมเป็นฝ่ายข้าศึก.
               บทว่า สจฺฉิกตา โหนฺติ - เป็นอันทำให้แจ้งแล้ว คือเป็นอันทำให้ประจักษ์ว่าผลธรรม ด้วยสามารถการได้นิพพานธรรมด้วยสามารถการแทงตลอด.
               บทว่า ผสฺสิตา โหนฺติ - เป็นอันถูกต้องแล้ว คือเป็นอันถูกต้อง คือได้รับผลด้วยการถูกต้อง ด้วยการได้และด้วยการถูกต้องด้วยการแทงตลอด.
               ท่านกล่าวญาณ ๕ เหล่านี้ ด้วยสามารถสุตมยญาณแล้วในหนหลัง. ในที่นี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถยังกิจของตนให้สำเร็จ.

               จบอรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา ญาณปัญจกนิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 31 / 0อ่านอรรถกถา 31 / 177อรรถกถา เล่มที่ 31 ข้อ 185อ่านอรรถกถา 31 / 186อ่านอรรถกถา 31 / 737
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=2119&Z=2129
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7160
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7160
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :