บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ครั้งนั้น พระศาสดายอดนรสัตว์พระนามว่านารทะ ผู้ทรงกำลัง ๑๐ มีวิชชา ๓ ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชชญาณ ๔ ผู้ประทานวิมุตติสาร อุบัติขึ้นในโลก. พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาสี่อสงไขยแสนกัป ทรงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอโนมาเทวี ผู้มีพระโฉมไม่มีที่เปรียบพระอัครมเหสีในราชสกุลพระเจ้าสุเทวะ วาสุเทพแห่งวีริยรัฐของพระองค์ กรุงธัญญวดี ครบทศมาส พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ ธนัญชัยราชอุทยาน. ในวันเฉลิมพระนาม เมื่อกำลังเฉลิมพระนาม เครื่องอาภรณ์ทั้งหลายที่สมควรเหมาะแก่การใช้สำหรับมนุษย์ทั้งหลายทั่วชมพูทวีป ก็หล่นจากต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นทางอากาศ ด้วยเหตุนั้น เขาจึงถวายเครื่องอาภรณ์ทั้งหลายที่สมควรสำหรับนรชนทั้งหลายแด่พระองค์ เพราะฉะนั้น พวกโหรและพระประยูรญาติทั้งหลายจึงเฉลิมพระนามว่า นารทะ. พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี มีปราสาท ๓ หลังเหมาะฤดูทั้ง ๓ ชื่อว่าวิชิตะ วิชิตาวีและวิชิตาภิรามะ. พระชนกชนนีได้ทรงทำขัตติยกัญญาผู้มีบุญอย่างยิ่ง พระนามว่าวิชิตเสนา ผู้ถึงพร้อมด้วยสกุลศีลาจารวัตรและรูปสมบัติให้เป็นอัครมเหสีแก่นารทกุมารนั้น. พระสนมนารีจำนวนแสนสองหมื่นนางมีพระนางวิชิตเสนานั้นเป็นประธาน. เมื่อพระนันทุตตรกุมารผู้นำความบันเทิงใจแก่โลกทั้งปวง ของพระนางวิชิตเสนาเทวีนั้น ประสูติแล้ว พระนารทะกุมารนั้นก็ทรงเห็นนิมิต ๔ อันจตุรงคเสนาทัพใหญ่แวดล้อมแล้วทรงเครื่องนุ่งห่มอันเบาดี สีต่างๆ สวมกุณฑลมณีมุกดาหาร ทรงพาหุรัดพระมงกุฏและทองพระกรอย่างดี ทรงประดับด้วยดอกไม้กลิ่นหอมอย่างยิ่ง ดำเนินด้วยพระบาทสู่พระราชอุทยาน ทรงเปลื้องเครื่องประดับทั้งหมด มอบไว้ในมือ ท้าวสักกเทวราชทรงรับด้วยผอบทอง นำไปภพดาวดึงส์ ทรงสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เหนือยอดขุนเขาสิเนรุ สูง ๓ โยชน์. ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงครองผ้ากาสายะที่เทวดาถวาย ทรงผนวช ณ อุทยานนั้นนั่นเอง บุรุษแสนคนก็บวชตามเสด็จ. พระมหาบุรุษทรงทำความเพียรอยู่ในที่นั้น ๗ วัน วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่พระนางวิชิตเสนาอัครมเหสีถวาย ทรงพักกลางวัน ณ พระราชอุทยานทรงรับหญ้า ๘ กำที่พนักงานเฝ้าพระสุทัสสนราชอุทยานถวาย ทรงทำประทักษิณต้นมหาโสณะโพธิพฤกษ์ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๘ ศอก ประทับนั่ง. ทรงกำจัดกองกำลังมาร ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓ แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แล้วทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ประทานคำรับรอง แล้วอันภิกษุแสนรูปที่บวชกับพระองค์ ณ ธนัญชัยราช อุทยานแวดล้อมแล้วทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ต่อจากสมัยของพระปทุมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่านารทะ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ. พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นเชษฐโอรส น่าเอ็นดูของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสวมอาภรณ์แก้ว มณีเสด็จเข้าพระราชอุทยาน. ณ พระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้งามกว้างใหญ่ สะอาดสะอ้าน เสด็จถึงต้นไม้นั้นแล้วประทับนั่งภาย ใต้ต้นมหาโสณะ. ณ ต้นไม้นั้น ก็เกิดญาณอันประเสริฐไม่มีที่สุด คมเปรียบด้วยวชิระ ก็ทรงพิจารณาความเกิดความดับ ของสังขารทั้งหลาย. ทรงขจัดกิเลสทุกอย่างไม่เหลือเลย ณ ต้นไม้นั้น ทรงบรรลุพระโพธิญาณและพระพุทธญาณ ๑๔ สิ้นเชิง. ครั้นทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ก็ทรงประกาศ พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ. แก้อรรถ บทว่า เชฏฺโฐ ได้แก่ เกิดก่อน. บทว่า ทยิตโอรโส ได้แก่ พระโอรส พระราชบุตรที่น่าเอ็นดูน่ารัก. บุตรที่เขาเอ็นดูแล้ว อันเขากอดประทับไว้ที่อก ชื่อว่าทยิตโอรส. บทว่า อามุกฺกมาลาภรโณ๑- ได้แก่ สวมพาหุรัดทองกรมงกุฏและกุณฑลมุกดาหารเป็นมาลัย. ____________________________ ๑- บาลีเป็น อามุตฺตมณฺยาภรโณ. บทว่า อุยฺยานํ ความว่า ได้ไปยังอารามชื่อธนัญชัยราชอุทยาน นอกพระนคร. บทว่า ตตฺถาสิ รุกฺโข ความว่า เขาว่า ในราชอุทยานนั้นมีต้นไม้ต้นหนึ่งชื่อว่ารัตตโสณะ. เขาว่าต้นรัตตโสณะนั้นสูง ๙๐ ศอก ลำต้นเกลากลม มีค่าคบและกิ่งก้านสะพรั่ง มีใบเขียวหนาและกว้าง มีเงาทึบเพราะมีเทวดาสิงสถิต จึงปราศจากหมู่นกนานาชนิดสัญจร เป็นดิลกจุดเด่นของพื้นธรณี กระทำประหนึ่งราชาแห่งต้นไม้ ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ทุกกิ่งประดับด้วยดอกสีแดง เป็นจุดรวมแห่งดวงตาของเทวดาและมนุษย์. บทว่า ยสวิปุโล ได้แก่ มียศไพบูลย์. อธิบายว่า อันโลกทั้งปวงกล่าวถึง ปรากฏเลื่องลือไปในที่ทั้งปวงเพราะสมบัติของต้นไม้เอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตตฺถาสิ รุกฺโข วิปุโล ดังนี้ก็มี. บทว่า พฺรหา แปลว่า ใหญ่ อธิบายว่า เช่นเดียวกับต้นปาริฉัตตกะของทวยเทพ. บทว่า ตมชฺฌปฺปตฺวา ความว่า ถึง ถึงทับ คือเข้าไปยังต้นโสณะนั้น. บทว่า เหฏฺฐโต ได้แก่ ภายใต้ต้นไม้นั้น. บทว่า ญาณวรุปฺปชฺชิ ได้แก่ ญาณอันประเสริฐเกิดขึ้น. บทว่า อนนฺตํ ได้แก่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้. บทว่า วชิรูปมํ ได้แก่ คมเช่นวชิระ. คำนี้เป็นชื่อของวิปัสสนาญาณมีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า เตน วิจินิ สงฺขาเร ได้แก่ พิจารณาสังขารทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ด้วยวิปัสสนาญาณนั้น. บทว่า อุกฺกุชฺชมวกุชฺชกํ ความว่า พิจารณาความเกิดและความเสื่อมของสังขารทั้งหลาย. อธิบายว่า เพราะฉะนั้น พระองค์พิจารณาปัจจยาการ ออกจากจตุตถฌานมีอานาปานสติเป็นอารมณ์ หยั่งลงในขันธ์ ๕ ก็เห็นลักษณะ ๕๐ ถ้วนด้วยอุทยัพพยญาณ เจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ ก็ได้พระพุทธคุณทั้งสิ้นโดยลำดับแห่งพระอริยมรรค. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ ต้นโสณะ. บทว่า สพฺพกิเลสานิ ได้แก่ สพฺเพปิ กิเลเส กิเลสแม้ทั้งหมด. ท่าน บทว่า อเสสํ แปลว่า ไม่เหลือเลย. บทว่า อภิวาหยิ ได้แก่ ขจัดกิเลสทั้งหมด โดยเขตมรรคและเขตกิเลส. อธิบายว่า นำเข้าไปสู่ความสูญหาย. บทว่า โพธิ ได้แก่ อรหัตมรรคญาณ. บทว่า พุทฺธญาเณ จ จุทฺทส ได้แก่ พุทฺธญาณานิ จุทฺทส พุทธญาณ ๑๔ อย่าง. ๑๔ อย่าง คืออะไร. คือญาณเหล่านี้อย่างนี้คือ มรรคญาณผลญาณ ๘ อสาธารณญาณ ๖ ชื่อว่าพุทธญาณของพระพุทธเจ้า. จ ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ ด้วย จศัพท์นั้นความว่า แม้ประการอื่นทรงบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เวสารัชชญาณ ๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณกำหนดคติ ๕ ทศพลญาณ ย่อมรวมลงในพระพุทธคุณทั้งสิ้น. พระมหาบุรุษนารทะทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม ทรงทำภิกษุแสนโกฏิซึ่งบวชกับพระองค์ ณ ธนัญชัยราชอุทยาน ไว้เฉพาะพระพักตร์แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร. ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ. ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระยานาคชื่อโทณะ มีฤทธานุภาพมาก มหาชนสักการะเคารพนับถือบูชา อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้ มหาโทณนคร พวกมนุษย์ชาวชนบทในถิ่นใดไม่ทำการบวงสรวงพระยานาคนั้น พระยานาคนั้นก็จะทำถิ่นนั้นของมนุษย์พวกนั้นให้พินาศโดยทำไม่ให้ฝนตกบ้าง ให้ฝนตกมากเกินไปบ้าง ทำฝนก้อนกรวดให้ตกลงบ้าง. ลำดับนั้น พระนารทศาสดาผู้ทรงเห็นฝั่ง ทรงเห็นอุปนิสัยของสัตว์เป็นอันมากในการแนะนำพระยานาคโทณะ อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมแล้วจึงเสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระยานาคนั้น. แต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระศาสดาแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระยานาคมีพิษร้าย มีเดชสูง มีฤทธานุภาพมาก อาศัยอยู่ในที่นั้น มันจักเบียดเบียนพระองค์ ไม่ควรเสด็จไปพระเจ้าข้า. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทำประหนึ่งไม่ฟังคำของมนุษย์เหล่านั้นเสด็จไป. ครั้นเสด็จไปแล้วก็ประทับนั่งบนเครื่องลาดดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง ซึ่งพวกมนุษย์เซ่นสรวงพระยานาคนั้นในที่นั้น. เขาว่า มหาชนประชุมกันด้วยหมายว่าจะเห็นการยุทธของสองฝ่าย คือพระนารทจอมมุนีและพระยานาคโทณะ. ครั้งนั้น พระยานาคเห็นพระนาคมุนีนั่งอย่างนั้น ทนการลบหลู่ไม่ได้ก็ปรากฏตัวบังหวนควัน. แม้พระทศพลก็ทรงบังหวนควัน พระยานาคบันดาลไฟอีก. แม้พระมุนีเจ้าก็ทรงบันดาลไฟบ้าง. พระยานาคนั้นมีเนื้อตัวลำบากอย่างเหลือเกิน เพราะเปลวควันที่พลุ่งออกจากพระสรีระของพระทศพล ทนทุกข์ไม่ได้ก็ปล่อยพิษออกไป หมายจะฆ่าพระองค์ด้วยความเร็วแห่งพิษ ทั่วทั้งชมพูทวีปพึงพินาศด้วยความเร็วแห่งพิษ. แต่พิษนั้นไม่สามารถจะทำพระโลมาแม้เส้นเดียวในพระสรีระของพระทศพลให้สั่นสะเทือนได้. ทีนั้น พระยานาคนั้นก็ตรวจดูว่า พระสมณะมีความเป็นไปอย่างไรหนอ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพักตร์งามผ่องใส รุ่งเรืองด้วยพระพุทธรัศมี ๖ พรรณะเต็มที่ดุจพระอาทิตย์และพระจันทร์ในฤดูสารท ก็คิดว่า โอ! พระสมณะนี้มีฤทธิ์มาก เราไม่รู้กำลังของตัวเองผิดพลาดไปเสียแล้ว แสวงหาที่ช่วยตัวเอง ก็ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละเป็นสรณะ. ลำดับนั้น พระนารทมุนีเจ้าฝึกพระยานาคนั้นแล้ว ก็ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ เพื่อยังจิตของมหาชนที่ประชุมกันในที่นั้นให้เลื่อมใส. ครั้งนั้น สัตว์เก้าหมื่นโกฏิก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า พระมหามุนีทรงฝึกพระยานาคมหาโทณะ เมื่อจะทรง แสดงแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ได้ทรงทำปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น. ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิก็ข้ามพ้นความ สงสัยทั้งปวง ในการประกาศธรรม. แก้อรรถ ปาฐะว่า ตทา เทวมนุสฺสา วา ดังนี้ก็มี. ในปาฐะนั้น ปฐมาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติว่า เทวมนุสฺสานํ เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ. บทว่า ตรึสุ ได้แก่ ก้าวล่วงพ้น. ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทพระนันทุตตรกุมารพระโอรสของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ครั้งที่พระมหาวีระ ทรงโอวาทพระโอรสของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ. ก็ครั้งที่พราหมณ์สหาย ๒ คน ชื่อภัททสาละและวิชิตมิตตะ กำลังแสวงหาห้วงน้ำคืออมฤตธรรม ก็ได้เห็นพระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้ายิ่ง ประทับนั่งในบริษัท. เขาเห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตกลงใจว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยบริวารก็บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อสองสหายนั้นบวชแล้วบรรลุพระอรหัตแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ. นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า พระนารทพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ทรงมีสันนิบาต ประชุมสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ. สมัยที่พระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพุทธวงศ์ จำเดิมแต่ทรงตั้งปณิธานของพระองค์ ในสมาคมพระญาติ ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อม ทั้งเหตุ ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิผู้ไร้มลทินประชุมกัน. แก้อรรถ ครั้งที่พระยานาคชื่อเวโรจนะ ผู้เลื่อมใสในการฝึกพระยานาคชื่อมหาโทณะ เนรมิตมณฑปที่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ คาวุตในแม่น้ำคงคา อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริวารให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น พร้อมทั้งบริวารก็นิมนต์เพื่อทรงชมโรงทานของตน ณ ชนบทของตน ให้เหล่านาฏกะนักฟ้อนรำนาคและนักดนตรีผู้บรรเลงดนตรีชื่อตาละ ซึ่งทรงเครื่องประดับแต่งตัวนานาชนิด ได้ถวายมหาทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวารด้วยสักการะใหญ่ เสวยเสร็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำอนุโมทนาเสมือนเสด็จลงสู่มหาคงคา. ในกาลนั้นทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุแปดล้านผู้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ครั้งเวโรจนนาค ถวายทานแด่พระศาสดา ภิกษุชินบุตร แปดล้านก็ประชุมกัน. แก้อรรถ ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราบวชเป็นฤาษี เป็นผู้ชำนาญในอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ สร้างอาศรมอาศัยอยู่ข้างภูเขาหิมพานต์. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านารทะอันพระอรหันต์แปดสิบโกฏิและอุบาสกผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผลหนึ่งหมื่นแวดล้อม เสด็จไปยังอาศรมนั้น เพื่ออนุเคราะห์ฤาษีนั้น. ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นก็ปลื้มใจ สร้างอาศรมเพื่อเป็นที่ประทับอยู่ของพระผู้มี วันรุ่งขึ้นก็ไปอุตตรกุรุทวีป นำอาหารมาจากที่นั้น ได้ถวายมหาทานแด่พระ ครั้งนั้น พระทศพลอันเทวดาและมนุษย์แวดล้อมแล้ว ตรัสธรรมกถาแล้วทรงพยากรณ์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง ถึงฝั่งอภิญญา ๕ ท่องเที่ยวไปในอากาศได้. แม้ครั้งนั้น เราเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ พร้อมทั้งพระสงฆ์ ทั้งบริวาร ชน ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำแล้วบูชาด้วยจันทน์ แดง. แม้ครั้งนั้น พระนารทพุทธเจ้าผู้นำโลกพระองค์ นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่ หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป. พระตถาคต ทรงตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้า ของท่านผู้นี้. เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วก็ยิ่งร่าเริงใจ จึง อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ บริบูรณ์. แก้อรรถ บทว่า อสมสมํ ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่าไม่มีผู้เสมอ, ผู้เสมอ คือวัดได้ด้วยอดีตพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอเหล่านั้น ชื่อว่าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ. อีกนัยหนึ่ง ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอ. สาธุชนผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอหามิได้. บรรดาผู้เสมอด้วยท่านผู้ไม่มีผู้เสมอเหล่านั้น ผู้เสมอ เมื่อควรจะกล่าวว่า อสมสมสโม ผู้เสมอเสมอกับท่านผู้ไม่มีผู้เสมอ. พึงทราบว่า ท่าน ความว่า ผู้เสมอด้วยผู้ไม่มีผู้เสมอ คือผู้ปราศจากผู้เสมอ. บทว่า สปริชฺชน์ ได้แก่ ทั้งชนผู้เป็นอุบาสก. ปาฐะว่า โสปิ มํ ตทา นรมรูนํ มชฺเฌ พฺยากาสิ จกฺขุมา ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นมีความง่ายเหมือนกัน. บทว่า ภิยฺโย หาเสตฺว มานสํ ได้แก่ ยังหัวใจให้ร่าเริง ให้ยินดียิ่งขึ้นไป. บทว่า อธิฏฺฐหึ วตํ อุคฺคํ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตรสูงขึ้น. ปาฐะว่า อุตฺตรึ วตมธิฏฺฐาสี ทสปารมิปูริยา ดังนี้ก็มี. พระผู้มีพระภาคเจ้านารทะพระองค์นั้นมีพระนครชื่อว่าธัญญวดี พระชนกเป็นกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าสุเทวะ พระชนนีพระนามว่าอโนมา คู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระภัททสาละและ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า พระนารทพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระนครชื่อว่าธัญญวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า สุเทวะ พระชนนีพระนามว่า พระนางอโนมา. พระนารทพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี พระอัครสาวกชื่อว่า พระภัททสาละและพระชิตมิตตะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระวาเสฏฐะ. พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระอุตตราและพระผัคคุนี โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นมหาโสณะ. พระมหามุนีทรงสูง ๘๘ ศอก เช่นเดียวกับรูป ปฏิมาทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า. พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของ พระองค์แผ่ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ แผ่ไปโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันกลางคืน ไม่มีระหว่างทุกเมื่อ. สมัยนั้น ชนบางพวกจุดคบเพลิงและตามประทีป ให้ติดสว่าง ในที่รอบๆ โยชน์หนึ่งไม่ได้ เพราะพระพุทธ รัศมีครอบงำไว้เสีย. ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระนารทพุทธ เจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังหมู่ชน เป็นอันมาก ให้ข้ามโอฆสงสาร. ท้องฟ้างามไพจิตร ด้วยดวงดาวทั้งหลายฉันใด ศาสนาของพระองค์ก็งามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายฉันนั้น เหมือนกัน. พระนราสภพระองค์นั้น ทรงทำสะพานคือธรรม เพื่อยังผู้ปฏิบัติที่เหลือให้ข้ามกระแสสังสารวัฎ แล้วเสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพาน. พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้ เสมอ พระองค์นั้นก็ดี พระขีณาสพทั้งหลายผู้มีเดชที่ชั่ง ไม่ได้เหล่านั้นก็ดี ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้ง ปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้. แก้อรรถ บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า พระรัศมีวาหนึ่งแล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยามปฺปภา กายา ได้แก่ เหมือนพระรัศมีวาหนึ่ง เหตุนั้นจึงชื่อว่า พฺยามปฺปภา. อธิบายว่า เหมือนพระรัศมีวาหนึ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา. น อักษรในคำว่า น เกจิ นี้เป็นปฏิเสธัตถะ [ความปฏิเสธ]. พึงเห็นการเชื่อมความของ นอักษรนั้นกับศัพท์ว่า อุชฺชาเลนฺติ. บทว่า อุกฺกา ได้แก่ ประทีปมีด้าม. ชนบางพวกไม่ยังคบเพลิงหรือดวงประทีปให้ติดโพลงไม่ให้ลุกโพลงได้. ถ้าจะถามว่า เพราะเหตุไร. ก็ตอบได้ว่า เพราะแสงสว่างของพระรัศมีแห่งพระพุทธสรีระ. บทว่า พุทฺธรํสีหิ แปลว่า พระพุทธรัศมีทั้งหลาย. บทว่า โอตฺถฏา ได้แก่ ทับไว้. บทว่า อุฬูหิ แปลว่า ดวงดาวทั้งหลาย ความว่า ท้องฟ้างามวิจิตรด้วยดวงดาวทั้งหลายฉันใด พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็งดงามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า สํสารโสตํ ตรณาย ได้แก่ เพื่อข้ามสาครคือ บทว่า เสสเก ปฏิปนฺนเก ความว่า ยังเสกขบุคคลที่เ บทว่า ธมฺมเสตุํ ได้แก่ สะพานคือมรรค. ความว่า ทรงตั้งสะพานธรรมเพื่อยังบุคคลที่เหลือให้ข้าม คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น เพราะกล่าวไว้แล้วแต่หนหลังแล. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์ จบ. |