![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัยแห่งจตุกกะ ____________________________ ๑- คำว่า จตุกกนยะ ได้แก่โดยนัยแห่งหมวด ๔ เช่น ๑. รูปเป็นบุคคลหรือ ๒. บุคคลในรูปหรือ ๓. บุคคลนอกจากรูปหรือ ๔. รูปในบุคคลหรือ. ปัญหาเช่นนี้ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิปัญหา เพื่อให้เห็นสภาพตามความเป็นจริงว่า การยึดว่าเป็นบุคคล เป็นอัตตาเป็นสัตว์มีมากมาย เมื่อท่านซักถาม เนื้อความนี้แต่ละข้อแล้วก็จะปรากฏทีเดียวว่าไม่มีบุคคลหรืออัตตาอย่างที่ยึดถือนั้นเลย. เป็นแต่สภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า "รูปเป็นบุคคลหรือ" เป็นคำซักถามของสกวาที ฯ คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ. การยกนิคคหะขึ้นเป็นของสกวาที แม้ท่านกล่าวว่า ก็ข้อนั้นถูกต้องแล้วหรือ นั่นเป็นรูปเป็นเวทนามิใช่หรือ ดังนี้ ท่านปฏิเสธทั้งสิ้น. อนึ่งคำนั้น ท่านพึงปฏิเสธโดยรับว่าบุคคลเป็นอย่างหนึ่ง ไม่ใช่รูปไม่ใช่เวทนา แต่ไม่นอกจากรูปและเวทนา ก็ปรวาทีนี้ไม่ปรารถนาความเป็นอย่างอื่นของบุคคลแม้แต่ธรรมอย่างหนึ่งในบรรดาธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงตอบรับรองว่า ใช่. ก็คำซักถามนี้ว่า รูปเป็นบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ดังนี้ ท่านปรารภหมายเอาปรมัตถสัจจะทั้งสิ้น แต่ว่าใครๆ ไม่อาจกล่าวว่าปรมัตถธรรมทั้งสิ้นเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งปัจจัตตลักขณะ คือลักษณะที่มีเฉพาะตัวเรียกว่าปัจจัตตลักขณะ เพราะฉะนั้น คำนี้ท่านตั้งไว้แล้วสักว่าเป็นลักษณะแห่งการซักถามด้วยสามารถแห่งแบบแผน ด้วยเหตุนั้น วิญญูชนทั้งหลายควรยังธรรมนี้ให้แจ่มแจ้ง. ฝ่ายสกวาทีผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวถือเอาลักษณะนี้แล้ว ไม่ให้โอกาสแก่ปรวาทีโดยประการใดๆ พึงกล่าวโดยประการนั้นๆ. คำนี้เป็นอันถูกต้องแล้วนั่นเทียว เพราะความที่ลักษณะแห่งการซักถาม ท่านตั้งไว้แล้วด้วยสามารถแห่งแบบแผน ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบเนื้อความซักถามทั้งปวงโดยนัยนี้. ก็แต่เนื้อความที่แปลกกันในคำทั้งหลายว่า บุคคลในรูปหรือ เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า การกล่าวว่ามหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ วิญญาณในรูปอาศัยวัตถุรูปดังนี้ ย่อมควร ฉันใด บุคคลในรูปตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ การกล่าวว่า ก็อรูปธรรมทั้งปวงมีเวทนาเป็นต้น หรือนามขันธ์ ๔ หรือพระนิพพานนั่นแหละ โดยการแยกสภาวะเป็นธรรมเว้นจากรูป ดังนี้ ย่อมควรฉันใด บุคคลตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ การกล่าวว่า เหมือนอย่างว่า รูปในเวทนา รูปในวิญญาณ ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นที่อาศัยแห่งรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมควรฉันใด บุคคลตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ ดังนี้. ก็ในคำซักถามทั้งปวง ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวแต่อุจเฉททิฏฐิ และเพราะผิดจากลัทธิ. คำที่เหลือในที่นี้ชัดเจนแล้วโดยอรรถทั้งนั้น. ว่าโดยธรรม คือโดยหัวข้อแล้ว ท่านแสดงหมวด ๕ คืออนุโลมปัญจกะ ไว้ถึง ๒๒๘ ข้อ (๕๗x๔=๒๒๘) เพราะกระทำอรรถอันหนึ่งๆ ในสัจฉิกัตถะ ๕๗ ประเภทให้เป็นหมวดละ ๔ ด้วยสามารถแห่งนิคคหะที่เป็นฝ่ายของสกวาทีผู้กระทำ ฯ แม้ในฝ่ายปรวาทีก็มีประมาณเท่านั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งปฏิกรรม. อนึ่ง ในที่นี้ คำที่ปรวาทีกล่าวว่า บุคคลมีอยู่ คำนั้นสกวาทีรับรองด้วยความสามารถแห่งสมมติที่มาแล้วในพระสูตร ฯ ในคำทั้งหลายว่า รูปเป็นบุคคลหรือ เป็นต้น ท่านปฏิเสธ เพราะความที่ปัญหาว่าด้วยสักกายทิฏฐิเป็นปัญหาที่ไม่ควรตอบ. ปฏิกรรมของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งคำอันมีเลศนัยนั่นเทียว ดังนี้. อรรถกถาจตุกกนยสังสันทนาและสังสันทนากถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ ปุคคลกถา จตุกกนยสังสันทนา จบ. |