ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 16อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 17อ่านอรรถกถา 40 / 18อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร อินทริยปัจจัย

               วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย               
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยอินทริยปัจจัยนิทเทสต่อไป.
               บทว่า จกฺขุนฺทฺริยํ แปลว่า อินทรีย์คือจักษุ.
               บทว่า อินฺทฺริยปจฺจเยน ความว่า จักขุนทรีย์เป็นต้นนั้น ตัวเองเกิดก่อนแล้วเป็นปัจจัยแก่อรูปธรรม ตั้งแต่เกิดไปจนถึงดับ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. แม้ในโสตินทรีย์เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้อรูปชีวิตินทรีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงสงเคราะห์เข้าในคำนี้ว่า อินทรีย์ที่ไม่มีรูป.
               ในคำว่า ตํสมุฏฐานานํ นี้ ทรงสงเคราะห์แม้กัมมชรูปโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
               สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัญหาวาระดังนี้ว่า อินทรีย์ที่เป็นวิปากกาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและกัมมชรูป ในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
               พรรณนาบาลีในนิทเทสแห่งอินทริยปัจจัยนี้เพียงเท่านี้.
               ก็อินทริยปัจจัยนี้ คืออินทรีย์ ๒๐ ถ้วนเว้นอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์.
               จริงอยู่ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ เป็นกำเนิดแห่งเพศหญิงและเพศชาย แม้ก็จริง แต่ในกาลที่เป็นกลละเป็นต้น แม้เมื่ออิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์เหล่านั้นจะมีอยู่ ก็ยังไม่สำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัยแก่เพศหญิงและเพศชายเหล่านั้น เพราะเพศชายและเพศหญิงยังไม่มี ทั้งไม่เป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมเหล่าอื่นด้วย.
               จริงอยู่ ธรรมที่เป็นอินทริยปัจจัย จะชื่อว่าไม่สำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่แยกกัน ในขณะที่ตนมีอยู่ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์เหล่านั้น จึงไม่เป็นอินทริยปัจจัย.
               ก็อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ เหล่านี้เป็นพืชแห่งเพศหญิงและเพศชายเหล่าใด โดยบรรยายที่มาในพระสูตร อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์เหล่านั้นนับว่าเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แก่เพศหญิงและเพศชายเหล่านั้นด้วย.
               อินทริยปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ อินทรีย์ ๒๐ ถ้วน. อินทริยปัจจัยนั้นโดยชาติจำแนกออกเป็น ๕ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยาและรูป. ใน ๕ ชาตินั้น กุศลว่าด้วยอำนาจแห่งภูมิมี ๔ ภูมิ อกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ รูปเป็นกามาวจรภูมิเท่านั้น.
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในอินทริยปัจจัยนี้ อย่างนี้ก่อน.
               ก็ในอินทริยปัจจัยซึ่งจำแนกแล้วอย่างนี้ ปัจจัยคืออินทรีย์ที่เป็นกุศลทั้ง ๔ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, อินทรีย์ที่เป็นอกุศลก็เหมือนกัน. กุศลและอกุศลที่เหลือเว้นรูปาวจรกุศล เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตในอรูปภพ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
               อินทรีย์ที่เป็นวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตโดยส่วนเดียว.
               ก็บรรดาอินทรีย์ที่เป็นวิบากเหล่านี้ อินทรีย์ที่เป็นกามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบาก เมื่อเกิดในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล และกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. อินทรีย์ที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปอย่างเดียว. อินทรีย์ที่เป็นโลกุตตรวิบาก ซึ่งเกิดขึ้นในอรูปภพ ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่รูป.
               อินทรีย์ที่เป็นกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและจิตตชรูปในปัญจโวการภพ. ส่วนอินทรีย์ที่เป็นกามาวจรกิริยาและอรูปาวจรกิริยา ย่อมสำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในอรูปภพ.
               ในรูปอินทรีย์ทั้ง ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณจิต ๒ พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตในฝ่ายกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. โสตินทรีย์เป็นต้นก็เป็นอินทริยปัจจัยแก่โสตวิญญาณเป็นต้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
               รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่รูปที่เกิดร่วมกับตนในฐิติขณะ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. ความเป็นสหชาตปัจจัย ย่อมไม่มีแก่รูปชีวิตินทรีย์นั้น.
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอินทริยปัจจัย อย่างนี้แล.

               วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร อินทริยปัจจัย จบ.
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 16อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 17อ่านอรรถกถา 40 / 18อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=40&A=208&Z=219
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=9786
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=9786
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๗  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :