บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ก็ท่านกล่าวคำว่า นเหตุยา จตฺตาริ ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ เป็นต้น เพื่อแสดงจำนวนวิสัชนาที่ได้ในปัจจนียนัยอันใดไว้ ในวิสัชนานั้นมีการกำหนด ๖ อย่าง คือวิสัชนา ๔ วาระ ๑๗ วาระ ๕ วาระ ๓ วาระ ๑ วาระ ในการเทียบเคียงปัจจัยที่มีมูล ๒ และมูล ๓ เป็นต้น พึงทราบการนับด้วยอำนาจการกำหนดเหล่านั้น เพราะว่า ปัจจัยใด ๑- ที่ได้วิสัชนาถึง ๑๗ วาระ เพราะเทียบเคียงกับปัจจัยที่เช่นเดียวกันกับปัจจัยนั้น. ____________________________ ๑- อรรถกถาบาลีไทยหน้า ๕๗๗ บรรทัดที่ ๔ ว่า โน ฉบับอื่นเป็น โย แปลตามฉบับอื่น เพราะตรงตามสภาวะ. การกำหนดจำนวนได้แม้ทั้ง ๖ อย่างที่เหลือ ก็เพราะเทียบเคียงกับปัจจัยที่มีจำนวนต่ำกว่า. แม้ในการกำหนดจำนวนที่เหลือก็อย่างนี้. เมื่อเว้นการกำหนดจำนวนที่สูงกว่า ก็ย่อมได้จำนวนที่เท่ากันและต่ำกว่ากัน ในการนี้จะไม่ได้การกำหนดจำนวนที่สูงกว่า ฉะนั้น นี้จึงเป็นข้อนิยมในเรื่องการกำหนดจำนวนนี้. ก็จำนวนที่เท่ากัน และจำนวนที่ต่ำกว่ากัน เมื่อความผิดแผกกันมีอยู่ เนื้อความก็ไม่ได้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมเณ เอกํ เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมม ความจริงในเรื่องนี้ น่าจะมีคำกล่าวว่า วิสัชนา ๔ วาระ ควรได้ด้วยอำนาจแห่งนเหตุปัจจัยเพราะพระบาลีมาแล้วว่า ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ. แต่เพราะวิสัชนาเหล่านั้นเข้ากันกับอารัมมณธรรม สารัมมณธรรมจึงผิด เพราะฉะนั้น วิสัชนา ๓ วาระจึงลดไป คืออกุศลธรรมอิงอาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น, อกุศลธรรมอิงอาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น, อกุศลธรรมอิงอาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น. วิสัชนา ๑ วาระเท่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งรูปว่า อัพยา บัณฑิตครั้นทราบวิสัชนาที่ผิดแผกแตกต่างกันไปในปัจจัยทั้งปวงแล้วพึงทราบการกำหนดที่จะมีได้ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการนี้มีการแสดงเพียงนัยดังต่อไปนี้. สองบทว่า นาธิปติยา จตฺตาริ ในนอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ คือวิสัชนาที่ได้แล้วในวิสัชนานเหตุปัจจัย. แม้ในจตุกะที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. สองบทว่า นานนฺตเร เอกํ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ คือ อัพยากตะกับอัพยากตะ ด้วยอำนาจรูปที่มีอเหตุกจิตเป็นสมุฏฐาน และรูปที่เหลือ. บัณฑิตพึงทราบรูปที่ประกอบได้ในปัจจัยหนึ่งๆ ทั้งหมดอย่างนี้. แม้ในคำนี้ว่า นปุเรชาเต เทฺว ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ก็ควรจะกล่าวว่า ได้วิสัชนา ๔ วาระด้วยอำนาจนเหตุปัจจัย. แต่เพราะนเหตุปัจจัยเข้ากันได้กับนปุเรชาตปัจจัย วิสัชนา ๒ ข้อด้วยอำนาจวัตถุปุเรชาตะว่า อกุศลเกิดขึ้นเพราะอิงอาศัยอัพยากตธรรม อกุศลเกิดขึ้นเพราะอิงอาศัยอกุศลและอัพยา สองบทว่า นวิปฺปยุตเต เทฺว ในนวิปปยุตตปัจจัยมี ๒ วาระ คือวิสัชนา ๒ ข้อด้วยอำนาจอเหตุก ใน โนนตฺถิ โนวิคเต คำว่า เอกํ = ๑ พึงทราบว่าได้แก่อัพยากตะกับอัพยา ส่วนในนารัมมณทุมูลกนัย คำว่า นาธิปติยา ปญฺจ ในนอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ คือวิสัชนาที่ได้ในนอารัมมณปัจจัยนั่นเอง. ในคำนี้ว่า นกมฺเม เอกํ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ บัณฑิตไม่พึงถือเอาจิตตชรูปและกัมมชรูป พึงทราบเฉพาะอัพยากตะกับอัพยากตะ ด้วยอำนาจรูปที่เหลือ. ในนาธิปติมูลกนัย คำว่า นปุเรชาเต สตฺต ในนปุเร คำว่า นปจฺฉาชาเต สตฺตรส ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ได้แก่วิสัชนา ๑๗ ข้อ ในนปัจฉาชาตปัจจัยเท่านั้น. วิสัชนาที่มีนอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย เป็นมูล เหมือนกับปัจจัยที่มีนอารัมมณปัจจัยเป็นมูล. วิสัชนาที่ผ่านมาแล้วและยังไม่ถึง และวิสัชนาที่มีได้และมีไม่ได้ในปัจจัยทั้งหมด พึงทราบโดยการแสดงเพียงนัยนี้เท่านั้น. อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปัจจยวาร ปัจจยปัจจนียนัย จบ. |