![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() สองบทว่า นว อาฆาตวตฺถูนิ ได้แก่ อาฆาตวัตถุ ๙ มีผูกอาฆาตว่า เขาได้ประพฤติไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เป็นอาทิ. สองบทว่า นว อาฆาตปฏิวินยา ได้แก่ อุบายกำจัดอาฆาต ๙ มีข้อว่า บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตเสีย ด้วยคิดว่า เมื่อเราผูกอาฆาตอยู่ว่า เขาได้ประพฤติไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ความไม่ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์นั้น เราจะพึงได้ในบุคคลนี้ จากไหน ดังนี้เป็นอาทิ. สองบทว่า นว วินีตวตฺถูนิ ได้แก่ ความงด ความเว้น ความกำจัดเสียด้วยอริยมรรค จากวัตถุแห่งอาฆาต ๙. หลายบทว่า นวหิ สงฺโฆ ภิชฺชติ ได้แก่ ความแตกแห่งสงฆ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี ความร้าวแห่งสงฆ์และความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีภิกษุ ๙ รูปบ้าง เกินกว่า ๙ รูปบ้าง ดังนี้. สองบทว่า นว ปรมานิ ได้แก่ พึงทราบอย่างยิ่งทั้งหลายที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล แต่จัดด้วยอำนาจหมวด ๙. ธรรมชื่อว่ามีตัณหาเป็นมูล ได้แก่ ความแสวงอาศัยตัณหา ลาภอาศัยความแสวง. ตัดสินอาศัยลาภ. ความรักด้วยความพอใจอาศัยตัดสิน. ความตกลงใจอาศัยความรักด้วยความพอใจ. ความหวงอาศัยความตกลงใจ. ความ บทว่า นววิธมานา ได้แก่ มานะของบุคคล ผู้ดีกว่าว่า "เราเป็นคนดีกว่า" เป็นต้น. สองบทว่า นว จีวรานิ มีความว่า จีวรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยนัยมีอาทิว่า ไตรจีวร หรือว่า ผ้าอาบน้ำฝน.๑- บทว่า น วิกปฺเปตพฺพานิ มีความว่า จำเดิมแต่กาลที่ภิกษุอธิษฐานแล้ว ไม่ควรวิกัปป์. หลายบทว่า นว อธมฺมิกานิ ทานานิ มีความว่า ทานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อสงฆ์ ไปเพื่อสงฆ์หมู่อื่นก็ตาม เพื่อเจดีย์ก็ตาม เพื่อบุคคลก็ตาม. น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อเจดีย์ ไปเพื่อเจดีย์อื่นก็ตาม เพื่อสงฆ์ก็ตาม, เพื่อบุคคลก็ตาม น้อมลาภที่เขานำมาเพื่อบุคคล ไปเพื่อบุคคลอื่นก็ตาม เพื่อสงฆ์ก็ตาม เพื่อเจดีย์ก็ตาม. หลายบทว่า นวปฏิคฺคหา ปริโภคา ได้แก่ รับและบริโภคทานเหล่านั้นเอง. หลายบทว่า ตีณิ ธมฺมิกานิ ทานานิ ได้แก่ ทาน ๓ นี้ คือ ให้ของที่เขาถวายสงฆ์แก่สงฆ์เท่านั้น, ให้ของที่เขาถวายเจดีย์แก่เจดีย์เท่านั้น, ให้ของที่เขาถวายบุคคลแก่บุคคลเท่านั้น. แม้การรับและบริโภค ก็คือรับและบริโภคทาน ๓ นั้นแล. หลายบทว่า นว อธมฺมิกา สญฺญตฺติโย ได้แก่ ติกะ ๓ ที่ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะอย่างนี้ คือ บุคคลเป็นอธัมมวาที, ภิกษุมากหลายเป็นอธัมมวาที, สงฆ์เป็นอธัมมวาที. แม้บัญญัติที่ชอบธรรมก็ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะนั้นแล โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลเป็นธัมมวาที ดังนี้. หมวดเก้า ๒ หมวด ในกรรมไม่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจแห่งปาจิตตีย์ ในนิทเทสแห่งสิกขาบทที่ ๑ แห่งโอวาทวรรค.๒- หมวดเก้า ๒ หมวด ในกรรมเป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจแห่งทุกกฏ ในนิทเทสแห่งสิกขาบทที่ ๑ แห่งโอวาทวรรคนั้นเหมือนกัน. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล. ____________________________ ๑- ติจีวรนฺติ วา วสฺสิกสาฏิกาติ วา ๒- มหาวิภงฺค ๒/๑๗๑ พรรณนาหมวด ๙ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปริวาร เอกุตตริกะ หมวด ๙ จบ. |