ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖]อรรถกถา เล่มที่ 9 ข้อ 1อ่านอรรถกถา 9 / 91อ่านอรรถกถา 9 / 365
อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พรหมชาลสูตร

หน้าต่างที่ ๒ / ๖.

               อรรถกถาพรหมชาลสูตร               
               ปริพฺพาชกกถาวณฺณนา               
               เมื่อปฐมมหาสังคายนานี้กำลังดำเนินไปอยู่ เวลาสังคายนาพระวินัยจบลง ท่านพระมหากัสสป เมื่อถามพรหมชาลสูตร ซึ่งเป็นสูตรแรกแห่งนิกายแรกในสุตตันตปิฎก ได้กล่าวคำอย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหมชาลสูตรที่ไหน ดังนี้เป็นต้นจบลง
               ท่านพระอานนท์ เมื่อจะประกาศสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหมชาลสูตร และบุคคลที่พระองค์ตรัสปรารภให้เป็นเหตุนั้นให้ครบกระแสความ จึงกล่าวคำว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้เป็นต้น.
               ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้พรหมชาลสูตรก็มีคำเป็นนิทานว่า เอวมฺเม สุตํ ที่ท่านพระอานนท์กล่าวในคราวปฐมมหาสังคายนาเป็นเบื้องต้น ดังนี้.
               ในคำเป็นนิทานแห่งพระสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

               แก้อรรถบท เอวํ               
               บทว่า เอวํ เป็นบทนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม ในคำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ บทว่า ปฏิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า โหติ เป็นบทอาขยาต. พึงทราบการจำแนกบทโดยนัยเท่านี้ก่อน.
               แต่โดยอรรถ เอวํ ศัพท์ แจกเนื้อความได้หลายอย่างเป็นต้นว่า ความเปรียบเทียบ ความแนะนำ ความยกย่อง ความติเตียน ความรับคำ อาการะ ความแนะนำ ความห้ามความอื่น.
               จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์นี้ ที่มาในความเปรียบเทียบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ ชาเตน มฺจเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ สัตว์เกิดมาแล้วควรบำเพ็ญกุศลให้มากฉันนั้น.๑-
               ที่มาในความแนะนำ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ เต อภิกฺกมิตพฺพํ เอวํ ปฏิกฺกมิตพฺพํ เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้.๒-
               ที่มาในความยกย่อง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมตํ ภควา เอวเมตํ สุคต ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ พระสุคต.๓-
               ที่มาในความติเตียน เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมวํ ปนายํ วสลี ยสฺมึ วา ตสฺมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส สมณกสฺส วณฺณํ ภาสติ ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวสรรเสริญสมณะโล้นนั้น อย่างนี้อย่างนี้ ทุกหนทุกแห่ง.๔-
____________________________
๑- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๑๔   ๒- องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๑๒๒
๓- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๒๙๓   องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๕๐๕
๔- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๖๒๗

               ที่มาในความรับคำ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ ภนฺเตติ โข เต ภิกขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
               ที่มาในอาการะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ พฺยาโข อหํ ภนฺเต ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้จริง.
____________________________
๕- วิ. มหาวิ. เล่ม ๑/ข้อ ๗๙   ม.มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๑
๖- วิ. มหาวิ. เล่ม ๑/ข้อ ๑๐   ม.มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๔๐

               ที่มาในความชี้แจง เช่นในประโยคมีอาทิว่า๗-
               เอหิ ตวํ มาณวก เยน สมโณ อานนฺโท เตนุปสงฺกม อุปสงฺกมิตฺวา มม วจเนน สมณํ อานนฺทํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉ สุโภ มาณโว โตเทยฺยปุตฺโต ภวนฺตํ อานนฺทํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉตีติ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภวํ อานนฺโท เยน สุภสฺส มาณวสฺส โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสนํ เตนุปสงกมตุ อนุกมฺปํ อุปาทาย
               มานี่แน่ะ พ่อหนุ่มน้อย เธอจงเข้าไปหาพระอานนท์ แล้วเรียนถามพระอานนท์ถึงความมีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกำลัง ความอยู่สำราญ และจงพูดอย่างนี้ว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียนถามพระอานนท์ผู้เจริญ ถึงความมีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกำลัง ความอยู่สำราญ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ขอประทานโอกาส ได้ยินว่า ขอพระอานนท์ผู้เจริญ โปรดอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด.
____________________________
๗- ๔. ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๓๑๕

               ที่มาในอวธารณะ ห้ามความอื่น เช่นในประโยคมีอาทิว่า๘-
               ตํ กึ มญฺญถ กาลามา อิเม ธมฺมา ฯ เป ฯ เอวํ โน เอตฺถ โหติ
               ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล. พวกชนชาวกาลามะต่างกราบทูลว่า เป็นอกุศล พระเจ้าข้า. มีโทษ หรือไม่มีโทษ? มีโทษพระเจ้าข้า. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ? ท่านผู้รู้ติเตียนพระเจ้าข้า. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ หรือหาไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้? ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า.
____________________________
๘- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๕๐๕

               เอวํ ศัพท์นี้นั้นในพระบาลีนี้พึงเห็นใช้ในอรรถ คือ อาการะ ความชี้แจง ความห้ามความอื่น.
               บรรดาอรรถ ๓ อย่างนั้น ด้วย เอวํ ศัพท์ซึ่งมีอาการะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์แสดงเนื้อความนี้ว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นละเอียดโดยนัยต่างๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่างๆ ลึกซึ้งโดยธรรม อรรถ เทศนาและปฏิเวธ มาสู่คลองโสตสมควรแก่ภาษาของตนๆ ของสัตว์โลกทั้งปวง ใครเล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าแม้ใช้เรี่ยวแรงทั้งหมดให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับ ก็ได้สดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าก็ได้สดับมาโดยอาการอย่างหนึ่ง.
               ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีนิทัสสนะเป็นอรรถ
               ท่านพระอานนท์ เมื่อจะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้ามิใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้กระทำให้แจ้ง จึงแสดงพระสูตรทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวมฺเม สุตํ คือ ข้าพเจ้าเองได้ยินมาอย่างนี้.
               ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีอวธารณะเป็นอรรถ
               ท่านพระอานนท์ เมื่อจะแสดงพลังด้านความทรงจำของตนอันควรแก่ภาวะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า๙- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์นี้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ซึ่งเป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ (ความทรงจำ) เป็นอุปฐาก ดังนี้
               และที่ท่านธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรเถระสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า๑๐- ท่านพระอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในคำเบื้องต้นและคำเบื้องปลายดังนี้ ย่อมให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับแก่สัตว์โลกทั้งหลาย โดยกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ และที่สดับนั้นก็ไม่ขาดไม่เกินทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ คืออย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็นอย่างอื่น.
____________________________
๙- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๑๔๙   ๑๐- องฺ. ปญฺจก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๑๖๙

               แก้อรรถบท เม               
               เม ศัพท์ เห็นใช้ในเนื้อความ ๓ อย่าง.
               จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นี้มีเนื้อความเท่ากับ มยา เช่นในประโยคมีอาทิว่า คาถาภิคีตํ เม อโภชเนยฺยํ โภชนะที่ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.๑-
               มีเนื้อความเท่า มยฺหํ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด.๒-
               มีเนื้อความเท่ากับ มม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ธมฺมทายาทา เม ภิกฺขเว ภวถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเรา.
               แต่ในพระสูตรนี้ เม ศัพท์ ควรใช้ในอรรถ ๒ อย่าง คือ มยา สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา และ มม สุตํ การสดับของข้าพเจ้า.๓-
____________________________
๑- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๖๕๖   ๒- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๕๙๙
๓- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒๑

               แก้อรรถบทว่า สุตํ               
               สุต ศัพท์นี้ มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค จำแนกเนื้อความได้หลายอย่าง เช่นเนื้อความว่าไป ว่าปรากฏ ว่ากำหนัด ว่าสั่งสม ว่าขวนขวาย ว่าสัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต และว่ารู้ตามโสตทวาร เป็นต้น.
               จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่าไป เช่นในประโยคมีอาทิว่า เสนาย ปสุโต เสนาเคลื่อนไป. มีเนื้อความว่า เดินทัพ.
               มีเนื้อความว่าปรากฏ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต ผู้มีธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่.๑- มีเนื้อความว่า ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว.
____________________________
๑- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๖๕๖   ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๕๑

               มีเนื้อความว่ากำหนัด เช่นในประโยคมีอาทิว่า อวสฺสุตา อวสฺสุตสฺส ภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการที่ชายผู้มีความกำหนัดมาลูบคลำจับต้องกาย.๒- มีเนื้อความว่า ภิกษุณีมีจิตชุ่มด้วยราคะ ยินดีการที่ชายผู้มีจิตชุ่มด้วยราคะมาจับต้องกาย.
               มีเนื้อความว่าสั่งสม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ ปสุตํ อนปฺปกํ บุญเป็นอันมาก ท่านทั้งหลายได้สั่งสมแล้ว.๓- มีเนื้อความว่า เข้าไปสั่งสมแล้ว.
               มีเนื้อความว่าขวนขวาย เช่นในประโยคมีอาทิว่า เย ฌานปสุตา ธีรา ปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใดผู้ขวยขวายในฌาน.๔- มีเนื้อความว่า ประกอบเนืองๆ ในฌาน.
____________________________
๒- วิ. ภิกฺขุนี. เล่ม ๓/ข้อ ๑   ๓- ขุ. ขุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๘
๔- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๔

               มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทิฏฺฐํ สุตํ มุตํ รูปารมณ์ที่จักษุเห็น สัททารมณ์ที่โสตฟัง และอารมณ์ทั้งหลายที่ทราบ.๕- มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต.
               มีเนื้อความว่า รู้ตามโสตทวาร เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธโร สุตสนฺนิจฺจโย ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ.๖- มีเนื้อความว่า ทรงธรรมที่รู้ตามโสตทวาร.
____________________________
๕- วิ. ภิกฺขุนี. เล่ม ๓/ข้อ ๑   ๖- วิ. จุล. เล่ม ๖/ข้อ ๖๗๕

               แต่ในพระสูตรนี้ สุต ศัพท์นี้มีเนื้อความว่า จำหรือความจำตามโสตทวาร.
               ก็ เม ศัพท์ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา คือจำตามโสตทวารอย่างนี้ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า คือความจำตามโสตทวารของข้าพเจ้า อย่างนี้.

               แก้อรรถ เอวมฺเม สุตํ               
               บรรดาบททั้ง ๓ ดังกล่าวมานี้ บทว่า เอวํ แสดงกิจแห่งวิญญาณมีโสตวิญญาณเป็นต้น. บทว่า เม แสดงบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณที่กล่าวแล้ว. บทว่า สุตํ แสดงการรับไว้อย่างไม่ขาดไม่เกิน และไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน.
               อนึ่ง บทว่า เอวํ ประกาศภาวะที่เป็นไปในอารมณ์ที่ประกอบต่างๆ ตามวิถีวิญญาณที่เป็นไปตามโสตทวารนั้น. บทว่า เม เป็นคำประกาศตน. บทว่า สุตํ เป็นคำประกาศธรรม.
               ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้ามิได้กระทำสิ่งอื่น แต่ได้กระทำสิ่งนี้ คือได้สดับธรรมนี้ ตามวิถีวิญญาณอันเป็นไปในอารมณ์โดยประการต่างๆ.
               อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นคำประกาศข้อควรชี้แจง. บทว่า เม เป็นคำประกาศถึงตัวบุคคล. บทว่า สุตํ เป็นคำประกาศถึงกิจของบุคคล.
               อธิบายว่า ข้าพเจ้าจักชี้แจงพระสูตรใด พระสูตรนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
               อนึ่ง บทว่า เอวํ ชี้แจงอาการต่างๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับอรรถและพยัญชนะต่างๆ ด้วยเป็นไปโดยอาการต่างกัน.
               จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอวํ นี้ เป็นอาการบัญญัติ. ศัพท์ เม เป็นคำชี้ถึงผู้ทำ. ศัพท์ สุตํ เป็นคำชี้ถึงอารมณ์
               ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันจิตสันดานที่เป็นไปโดยอาการต่างกัน กระทำการตกลงรับอารมณ์ ของผู้ทำที่มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตสันดานนั้น.
               อีกประการหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ เป็นคำชี้กิจของบุคคล. ศัพท์ว่า สุตํ เป็นคำชี้ถึงกิจของวิญญาณ. ศัพท์ เม เป็นคำชี้ถึงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้งสอง.
               ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า คือบุคคลผู้ประกอบด้วยโสตวิญญาณ ได้สดับมาด้วยโวหารว่า สวนกิจที่ได้มาด้วยอำนาจวิญญาณ.
               บรรดาศัพท์ทั้ง ๓ นั้น ศัพท์ว่า เอวํ และศัพท์ว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติ ด้วยอำนาจสัจฉิกัตถปรมัตถ์ เพราะในพระบาลีนี้ ข้อที่ควรจะได้ชี้แจงว่า เอวํ ก็ดี ว่า เม ก็ดี นั้น ว่าโดยปรมัตถ์จะมีอยู่อย่างไร. บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ เพราะอารมณ์ที่ได้ทางโสต ในบทนี้นั้น ว่าโดยปรมัตถ์มีอยู่.
               อนึ่ง บทว่า เอวํ และ เม เป็นอุปาทาบัญญัติ เพราะมุ่งกล่าวอารมณ์นั้นๆ.
               บทว่า สุตํ เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวอ้างถึงอารมณ์มีอารมณ์ที่เห็นแล้วเป็นต้น.
               ก็ในพระบาลีนี้ ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่หลง. เพราะคนหลงย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่างๆ ได้.
               ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ลืมถ้อยคำที่ได้สดับมา เพราะผู้ที่ลืมถ้อยคำที่ได้สดับมานั้น ย่อมไม่รู้ชัดว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยกาลพิเศษ.
               ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระอานนท์นี้ย่อมมีความสำเร็จทางปัญญา ด้วยความไม่หลง และย่อมมีความสำเร็จทางสติ ด้วยความไม่ลืม.
               ในความสำเร็จ ๒ ประการนั้น สติอันมีปัญญานำ สามารถห้าม (ความอื่น) โดยพยัญชนะ ปัญญาอันมีสตินำ สามารถแทงตลอดโดยอรรถ. โดยที่มีความสามารถทั้ง ๒ ประการนั้น ย่อมสำเร็จภาวะที่ท่านพระอานนท์จะได้นามว่าขุนคลังแห่งพระธรรม เพราะสามารถจะอนุรักษ์คลังพระธรรม ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ.

               อีกนัยหนึ่ง               
               ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการ เพราะผู้ที่ไม่มีโยนิโสมนสิการ ไม่แทงตลอดโดยประการต่างๆ.
               ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะผู้ที่มีจิตฟุ้งซ่านฟังไม่ได้.
               จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้เขาจะพูดด้วยความสมบูรณ์ทุกอย่าง ก็ยังพูดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ขอจงพูดซ้ำ.
               ก็ในคุณ ๒ ข้อนี้ ท่านพระอานนท์ทำอัตตสัมมาปณิธิ และปุพเพกตปุญญตาให้สำเร็จได้ ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน จะไม่มีโยนิโสมนสิการ ท่านพระอานนท์ทำการฟังพระสัทธรรมและการพึ่งสัตบุรุษให้สำเร็จได้ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่สามารถจะฟังได้ และผู้ไม่พึ่งสัตบุรุษ ก็ไม่มีการสดับฟัง.
               อีกนัยหนึ่ง เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า บทว่า เอวํ แสดงไขอาการต่างๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับอรรถะและพยัญชนะต่างๆ ด้วยเป็นไปโดยอาการต่างกัน และอาการอันเจริญอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน ฉะนั้น ด้วยคำว่า เอวํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือจักร ๒ ข้อเบื้องปลายของตนด้วยอาการอันเจริญนี้.
               ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติ คือจักรธรรม ๒ ข้อเบื้องต้นของตนด้วยการประกอบการฟัง เพราะผู้ที่อยู่ในถิ่นฐานอันมิใช่เป็นปฏิรูปเทศก็ดี ผู้ที่เว้นการพึ่งสัตบุรุษก็ดี ย่อมไม่มีการฟังด้วยประการฉะนี้.
               ความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยย่อมเป็นอันสำเร็จแก่ท่าน เพราะความสำเร็จแห่งจักรธรรม ๒ ข้อเบื้องปลาย ความบริสุทธิ์แห่งความเพียรย่อมเป็นอันสำเร็จ เพราะความสำเร็จแห่งจักร ๒ ข้อเบื้องต้น และด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยนั้นย่อมเป็นอันสำเร็จความฉลาดในปฏิเวธ ด้วยความบริสุทธิ์แห่งความเพียรย่อมเป็นอันสำเร็จความฉลาดในปริยัติด้วยประการฉะนี้ ถ้อยคำของท่านพระอานนท์ผู้มีความเพียรและอัธยาศัยบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยปริยัติและปฏิเวธ ย่อมควรที่จะเป็นคำเริ่มแรกแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนความขึ้นไปแห่งอรุณเป็นเบื้องต้นของดวงอาทิตย์ที่กำลังอุทัยอยู่ และเหมือนโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เหตุดังนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อจะตั้งคำเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
               อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำแสดงการแทงตลอดมีประการต่างๆ ว่า เอวํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติ คืออัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน. ด้วยคำแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่งธรรมที่ควรสดับว่า สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติคือธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา.
               อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวคำอันแสดงโยนิโสมนสิการว่า เอวํ นี้ย่อมแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ เมื่อกล่าวคำอันแสดงการประกอบด้วยการสดับว่า สุตํ นี้ย่อมแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้สดับแล้ว ทรงจำไว้แล้ว คล่องปาก. เมื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ แม้ด้วยคำทั้งสองนั้น ย่อมให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง เพราะว่าผู้ไม่สดับธรรมที่บริบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อ ย่อมเหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุดังนี้นั้น กุลบุตรควรจะให้เกิดความเอื้อเฟื้อฟังธรรมนี้โดยเคารพแล.
               อนึ่ง ด้วยคำทั้งหมดว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์มิได้ตั้งธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เพื่อตนย่อมล่วงพ้นภูมิอสัตบุรุษ เมื่อปฏิญาณความเป็นสาวกย่อมก้าวลงสู่ภูมิสัตบุรุษ.
               อนึ่ง ย่อมยังจิตให้ออกพ้นจากอสัทธรรม ย่อมยังจิตให้ดำรงอยู่ในพระสัทธรรม เมื่อแสดงว่า ก็พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยสิ้นเชิงทีเดียว ชื่อว่าย่อมเปลื้องตน ย่อมแสดงอ้างพระบรมศาสดา ทำพระดำรัสของพระชินเจ้าให้แนบแน่นประดิษฐานแบบแผนพระธรรมไว้.
               อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญาณว่าธรรมอันตนให้เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ เปิดเผยการสดับในเบื้องต้น ย่อมยังความไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศรัทธาในธรรมนี้ให้เกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ข้าพเจ้าได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณทั้งสี่ ผู้ทรงกำลังสิบ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรมาธิบดี ผู้มีธรรมเป็นประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐ คือพระสัทธรรมให้หมุนไป ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในพระดำรัสนี้ ใครๆ ไม่ควรทำความสงสัยหรือเคลือบแคลงในอรรถหรือธรรม ในบทหรือพยัญชนะ เพราะฉะนั้น พระอานนท์ย่อมยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้นในธรรมนี้ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า.
                         พระอานนทเถระผู้เป็นสาวกของพระโคดม กล่าวอย่างนี้ว่า
                         ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ย่อมยังความไม่ศรัทธาให้พินาศ
                         ย่อมยังศรัทธาในพระศาสนาให้เจริญ ดังนี้.

               แก้อรรถบท เอกํ สมยํ               
               บทว่า เอกํ แสดงการกำหนดนับ. บทว่า สมยํ แสดงสมัยที่กำหนด. สองบทว่า เอกํ สมยํ แสดงสมัยที่ไม่แน่นอน.
               สมย ศัพท์ ในบทว่า สมยํ นั้น ปรากฏในความว่าพร้อมเพรียง ขณะ กาล ประชุม เหตุ ลัทธิ ได้เฉพาะ ละ และแทงตลอด.
               จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์นั้นมีเนื้อความว่า พร้อมเพรียง เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อปฺเปวนาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลํ จ สมยํ จ อุปาทาย ชื่อแม้ไฉน เราทั้งหลายกำหนดกาลและความพร้อมเพรียงแล้ว พึงเข้าไปหาแม้ในวันพรุ่งนี้.๑-
               มีเนื้อความว่า ขณะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอกาสและขณะเพื่อการอยู่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้นแล.๒-
               มีเนื้อความว่า กาล เช่นในประโยคมีอาทิว่า อุณฺหสมโย ปริฬาหสมโย กาลร้อน กาลกระวนกระวาย.๓-
               มีเนื้อความว่า ประชุม เช่นในประโยคมีอาทิว่า มหาสมโย ปวนสฺมึ การประชุมใหญ่ ในป่าใหญ่.๔-
____________________________
๑- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๓๑๖   ๒- องฺ. อฏฺฐก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๑๑๙
๓- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๖๑๑   ๔- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๓๖

               มีเนื้อความว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า๕-
               สมโยปิ โข เต ภทฺทาลิ อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ ภควา โข สาวตฺถิยํ วิหรติ ภควาปิ มํ ชานิสฺสติ ภทฺทาลิ นาม ภิกฺขุ สตฺถุ สาสเน สิกฺขาย น ปริปูริการีติ อยํปิ โข เต ภทฺทาลิ สมโย อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ.
               ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุนี้แล เป็นเหตุอันเธอไม่แทงตลอดแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้นครสาวัตถี แม้พระองค์จักทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดังนี้
               ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล ได้เป็นเหตุอันเธอไม่แทงตลอดแล้ว.
____________________________
๕- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๑๖๓

               มีเนื้อความว่า ลัทธิ เช่นในประโยคมีอาทิว่า๖-
               เตน โข ปน สมเยน อุคฺคหมาโน ปริพฺพาชโก สมณมุณฺฑกาปุตฺโต สมยปฺปวาทเก ติณฺฑุกาจิเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม ปฏิวสฺติ.
               ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอุคคหมาน บุตรของนางสมณมุณฑิกาอยู่อาศัยในอารามของพระนางมัลลิกา ซึ่งมีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับเรียงรายอยู่รอบ เป็นสถานที่สอนลัทธิ.
____________________________
๖- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๓๕๖

               มีเนื้อความว่า ได้เฉพาะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า๗-
                         ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ    โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
                         อตฺถาภิสมยา ธีโร    ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.
                         ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เราเรียกว่าบัณฑิต
                         เพราะการได้เฉพาะ ซึ่งประโยชน์ทั้งภพนี้และ
                         ภพหน้า.
____________________________
๗- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๓๘๐

               มีเนื้อความว่า ละ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมฺมา มานาภิสมยา อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ.๘-
               มีเนื้อความว่า แทงตลอด เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส ปีฬนฺฏโฐ สงฺขตฏฺโฐ สนฺตาปฏฺโฐ วิปริณามฏฺโฐ อภิสมยฏฺโฐ บีบคั้น ปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.๙-
____________________________
๘- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๑๙   ๙- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๕

               สำหรับในพระสุตตันตปิฎกนี้ สมย ศัพท์มีเนื้อความว่า กาล เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงแสดงว่า สมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลายอันเป็นประเภทแห่งกาล เป็นต้นว่า ปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน กลางคืน กลางวัน เช้า เที่ยง เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม และครู่.
               ในคำว่า สมัยหนึ่ง นั้น ในบรรดาสมัยทั้งหลายมีปีเป็นต้นเหล่านี้ พระสูตรใดๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในปี ในฤดู ในเดือน ในปักษ์ ในกาลอันเป็นส่วนกลางคืน หรือในกาลอันเป็นส่วนกลางวันใดๆ ทั้งหมดนั้น พระอานนทเถระก็ทราบดี คือกำหนดไว้อย่างดีด้วยปัญญาแม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักษ์โน้น กาลอันเป็นส่วนแห่งกลาง คืนโน้น หรือกาลอันเป็นส่วนกลางวันโน้น ดังนี้ ใครๆ ก็ไม่อาจทรงจำได้หรือแสดงได้ หรือให้ผู้อื่นแสดงได้โดยง่าย และเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวมาก ฉะนั้น พระอานนทเถระจึงประมวลเนื้อความนั้นไว้ด้วยบทเดียวเท่านั้น กล่าวว่าสมัยหนึ่ง ดังนี้.
               อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ย่อมแสดงว่า สมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นประเภทของกาลมิใช่น้อยทีเดียว ที่ปรากฏมากมายในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือสมัยเสด็จก้าวลงสู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยทรงสลดพระทัย สมัยเสด็จออกผนวช สมัยทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา สมัยทรงชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยประทับเป็นสุขในทิฏฐธรรม สมัยตรัสเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพานเหล่านี้ใด ในบรรดาสมัยเหล่านั้น สมัยหนึ่ง คือสมัยตรัสเทศนา.
               อนึ่ง ในบรรดาสมัยแห่งญาณกิจและกรุณากิจ สมัยแห่งกรุณากิจนี้ใด ในบรรดาสมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์พระองค์และทรงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่น สมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นนี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะทั้งสองแก่ผู้ประชุมกัน สมัยตรัสธรรมีกถานี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งเทศนาและปฏิบัติ สมัยแห่งเทศนานี้ใด ท่านพระอานนท์กล่าวว่า สมัยหนึ่ง ดังนี้ หมายถึงสมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลายแม้เหล่านั้น.
               ถามว่า ก็เหตุไร ในพระสูตรนี้ท่านจึงทำนิเทศ ด้วยทุติยาวิภัตติว่า เอกํ สมยํ ไม่กระทำเหมือนอย่างในพระอภิธรรม ซึ่งท่านได้ทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ และในสุตตบทอื่นๆ จากพระอภิธรรมนี้ ก็ทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า๑๐- ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ส่วนในพระวินัยท่านทำนิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า๑๑- เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา ?
____________________________
๑๐- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒๐๕   ๑๑- วิ. มหาวิ. เล่ม ๑/ข้อ ๑

               ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรมและพระวินัยนั้น มีอรรถเป็นอย่างนั้น ส่วนในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น.
               จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นั้น ในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นจากพระอภิธรรมนี้ ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอธิกรณะและอรรถแห่งการกำหนดภาวะด้วยภาวะ. ก็อธิกรณะ คือสมัยที่มีกาลเป็นอรรถและมีประชุมเป็นอรรถ และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ท่านกำหนดด้วยภาวะแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ ความพร้อมเพรียง และเหตุแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรมและสุตตบทอื่นนั้นๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องอรรถนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นนั้น. ส่วนในพระวินัยย่อมสำเร็จอรรถแห่งเหตุและอรรถแห่งกรณะ.
               จริงอยู่ สมัยแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้นก็ยังรู้ยาก โดยสมัยนั้นอันเป็นเหตุและเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย และทรงพิจารณาถึงเหตุแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบท ได้ประทับอยู่ในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยตติยาวิภัตติในพระวินัยนั้น. ส่วนในพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นที่มีกำเนิดอย่างนี้ ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ.
               จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้หรือพระสูตรอื่น ตลอดสมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอดสมัยนั้นทีเดียว เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้.
               เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า
                         ท่านพิจารณาอรรถนั้นๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎกอื่นด้วย
                         สัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ในพระสุตตันตปิฎก
                         นี้ กล่าวสมยศัพท์นั้นด้วยทุติยาวิภัตติ.

               แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายอธิบายว่า สมยศัพท์นี้ต่างกันแต่เพียงโวหารว่า ตสฺมึ สมเย หรือว่า เตน สมเยน หรือว่า ตํ สมยํ เท่านั้น ทุกปิฎกมีเนื้อความเป็นสัตตมีวิภัตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ถึงท่านกล่าวว่า เอกํ สมยํ ก็พึงทราบเนื้อความว่า เอกสฺมึ สมเย ในสมัยหนึ่ง.

               แก้อรรถบท ภควา               
               บทว่า ภควา แปลว่า ครู.
               จริงอยู่ บัณทิตทั้งหลายเรียกครูว่า ภควาในโลก. และพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ก็ทรงเป็นครูของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะทรงเป็นผู้ประเสริฐที่สุดโดยคุณทั้งปวง ฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงเป็นภควา.
               แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า
                         คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด
                         เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงควรแก่ความเคารพโดย
                         ฐานเป็นครู ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

               อีกอย่างหนึ่ง
                         พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีโชค ทรงหักกิเลส ทรงประกอบ
                         ด้วยภคธรรม ทรงจำแนกแจกธรรม ทรงคบธรรม และ
                         ทรงคายกิเลสเป็นเครื่องไปในภพทั้งหลายได้แล้ว เหตุนั้น
                         จึงทรงพระนามว่า ภควา.

               บทว่า ภควา นี้มีเนื้อความที่ควรทราบโดยพิสดารด้วยสามารถแห่งคาถานี้ และเนื้อความนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในนิเทศแห่งพุทธานุสสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

               แก้อรรถบท เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา               
               ก็ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ในบรรดาคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ชื่อว่าย่อมกระทำพระธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์. ด้วยคำนั้น ท่านย่อมยังประชาชนผู้กระวนกระวายเพราะไม่ได้เห็นพระศาสดาให้เบาใจว่า ปาพจน์คือ พระธรรมวินัยนี้มีพระศาสดาล่วงไปแล้ว หามิได้ พระธรรมกายนี้เป็นพระศาสดาของท่านทั้งหลาย ดังนี้.
               ด้วยคำว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีอยู่ในสมัยนั้น ชื่อว่าย่อมประกาศการเสด็จปรินิพพานแห่งพระรูปกาย. ด้วยคำนั้น ท่านพระอานนท์ย่อมยังประชาชนผู้มัวเมาในชีวิตให้สลด และยังอุตสาหะในพระสัทธรรมให้เกิดแก่ประชาชนนั้นว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระวรกายเสมอด้วยกายเพชร ทรงไว้ซึ่งกำลังสิบ ทรงแสดงอริยธรรมชื่ออย่างนี้ ยังเสด็จปรินิพพาน คนอื่นใครเล่าจะพึงยังความหวังในชีวิตให้เกิดได้.
               อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวว่า อย่างนี้ ชื่อว่าย่อมแสดงซึ่งเทศนาสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา ชื่อว่าย่อมแสดงสาวกสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า สมัยหนึ่ง ชื่อว่าย่อมแสดงกาลสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าย่อมแสดงเทสกสมบัติ.

               แก้อรรถคำ อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาลนฺทํ               
               อนฺตรา ศัพท์ในคำว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาลนฺทํ เป็นไปในเนื้อความว่า เหตุ ขณะ จิต ท่ามกลาง และระหว่าง เป็นต้น
               อนฺตราศัพท์เป็นไปในเนื้อความว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตทนฺนตรํ โก ชาเนยฺย อญฺญตฺร ตถาคตา ใครจะพึงรู้เหตุนั้น นอกจากพระตถาคต๑- และว่า ชนา สงฺคมฺม มนฺเตนติ มญฺจ ตญฺจ กิมนฺตรํ ชนทั้งหลายมาประชุมปรึกษาเหตุอะไรกะข้าพเจ้าและกะท่าน.๒-
____________________________
๑- องฺ. ฉกฺก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๓๑๕   ๒- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๗๘๑

               ในเนื้อความว่า ขณะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อทฺทส มํ ภนฺเต อนฺตรา อิตฺถี วิชฺชนฺตริกาย ภาชนํ โธวนฺตี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญิงคนหนึ่งล้างภาชนะ ฟ้าแลบ ได้เห็นข้าพระองค์.๓-
               ในเนื้อความว่า จิต เช่นในประโยคมีอาทิว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา ความกำเริบไม่มีในจิตของบุคคลใด.๔-
               ในเนื้อความว่า ท่ามกลาง เช่นในประโยคมีอาทิว่า อนฺตรา โวสานมาปาทิ ถึงที่สุดในท่ามกลาง.
               ในเนื้อความว่า ระหว่าง เช่นในประโยคมีอาทิว่า อปิจายํ ตโปทา ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนฺตริกายาคจฺฉนฺติ อีกอย่างหนึ่ง บ่อน้ำร้อน ชื่อตโปทานี้ มาในระหว่างมหานรกทั้งสอง.
____________________________
๓- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๑๗๖   ๔- วิ. จุล. เล่ม ๗/ข้อ ๓๔๗

               อนฺตรศัพท์นี้นั้น ในที่นี้เป็นไปในเนื้อความว่า ระหว่าง เพราะฉะนั้น ในที่นี้พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ในระหว่างแห่งกรุงราชคฤห์และนาลันทา. แต่เพราะท่านประกอบด้วยอนฺตรศัพท์ ท่านจึงทำเป็นทุติยาวิภัตติ. ก็ในฐานะเช่นนี้ นักอักษรศาสตร์ทั้งหลายใช้อนฺตราศัพท์เดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า อนฺตรา คามญฺจ นทิญฺจ ยาติ ไประหว่างบ้านและแม่น้ำ. อนฺตราศัพท์นั้นควรใช้ในบทที่สองด้วย เมื่อไม่ใช้ย่อมไม่เป็นทุติยาวิภัตติ. แต่ในที่นี้ ท่านใช้ไว้แล้วจึงกล่าวไว้อย่างนี้แล.

               แก้อรรถบท อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ เป็นต้น               
               บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ ความว่า ทรงดำเนินสู่ทางไกล. อธิบายว่า ทางยาว. จริงอยู่ แม้กึ่งโยชน์ก็ชื่อว่าทางไกล โดยพระบาลีในวิภังค์แห่งสมัยเดินทางไกลมีอาทิว่า พึงบริโภคด้วยคิดว่าเราจักเดินทางกึ่งโยชน์.
               ก็จากกรุงราชคฤห์ถึงเมืองนาลันทา ประมาณโยชน์หนึ่ง.
               บทว่า ใหญ่ ในคำว่า กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. ความว่า ใหญ่ทั้งโดยคุณทั้งโดยจำนวน. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้นชื่อว่าใหญ่โดยคุณ เพราะประกอบด้วยคุณธรรมมีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ชื่อว่าใหญ่โดยจำนวน เพราะมีจำนวนถึงห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์ ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น. อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะ กล่าวคือเป็นพวกที่มีความเสมอกันด้วยทิฏฐิและศีล.
               บทว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน.
               บทว่า ภิกษุประมาณห้าร้อย มีวิเคราะห์ว่า
               ประมาณของภิกษุเหล่านั้น ห้า เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีประมาณห้า. ประมาณท่านเรียกว่า มัตตะ. เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ก็มีความว่ารู้จักประมาณ คือรู้จักขนาดในการบริโภคฉันใด แม้ในบทว่า มีประมาณห้า นี้ก็พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ประมาณห้า คือขนาดห้าของภิกษุจำนวนร้อยเหล่านั้น. ร้อยของภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าร้อยหนึ่ง. ด้วยภิกษุประมาณห้าร้อยเหล่านั้น.
               บทว่า สุปปิยะ ในคำว่า แม้สุปปิยปริพาชกแล เป็นชื่อของปริพาชกนั้น. ปิอักษร มีเนื้อความประมวลบุคคล เพราะเป็นเพื่อนเดินทาง. โขอักษรเป็นคำต่อบท ท่านกล่าวด้วยอำนาจเป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ.
               คำว่า ปริพาชก ได้แก่ ปริพาชกนุ่งผ้า เป็นศิษย์ของสญชัย. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินทางไกลนั้นในกาลใด แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางในกาลนั้น.
               ก็ โหติ ศัพท์ในพระบาลีนี้ มีเนื้อความเป็นอดีตกาล.
               ในคำว่า กับด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้
               ชื่อว่า อันเตวาสี เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน. อธิบายว่า เที่ยวไปในที่ใกล้ ท่องเที่ยวไปในสำนัก ได้แก่เป็นศิษย์.
               คำว่า พรหมทัต เป็นชื่อของศิษย์นั้น.
               คำว่า มาณพ ท่านเรียกสัตว์บ้าง โจรบ้าง ชายหนุ่มบ้าง.
               จริงอยู่ สัตว์ เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า มาณพเหล่าใดถูกเทวทูตเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่ มาณพเหล่านั้นเป็นนระผู้เข้าถึงหมู่ที่เลว ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน.๑-
____________________________
๑- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๕๒๕

               โจร เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมาคมกับพวกมาณพผู้กระทำกรรมบ้าง ไม่ได้กระทำกรรมบ้าง.
               ชายหนุ่ม เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อัมพัฏฐมาณพ มัณฑัพยมาณพ.
               แม้ในพระบาลีนี้ ก็มีเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. อธิบายว่า กับด้วยพรหมทัตศิษย์หนุ่ม.
               บทว่า ตตฺร แปลว่า ในทางไกลนั้น หรือในคน ๒ คนนั้น. บทว่า สุทํ เป็นเพียงนิบาต.
               ปริยาย ศัพท์ ในบทว่า โดยอเนกปริยาย เป็นไปในอรรถว่าวาระ เทศนาและเหตุเท่านั้น.
               ปริยาย ศัพท์เป็นไปในอรรถว่าวาระ เช่นในประโยคมีอาทิว่า กสฺส นุ โข อานนฺท อชฺช ปริยาโย ภิกฺขุนิโย โอวทิตุํ ดูก่อนอานนท์ วันนี้เป็นวาระของใครที่จะให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลาย.๒-
               เป็นไปในอรรถว่าเทศนา เช่นในประโยคมีอาทิว่า มธุปิณฺฑิกปริยาโยติ นํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำธรรมนั้นว่าเป็นมธุปิณฑิกเทศนา.๓-
               เป็นไปในอรรถว่าเหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อิมินาปิ โข เต ราชญฺญ ปริยาเยน เอวํ โหตุ ดูก่อนท่านเจ้าเมือง โดยเหตุแม้นี้ของท่าน จึงต้องเป็นอย่างนั้น.๔-
____________________________
๒- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๗๖๗   ๓- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๕๒๕
๔- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๓๐๒

               แม้ในพระบาลีนี้ ปริยาย ศัพท์นี้นั้นย่อมเป็นไปในอรรถว่าเหตุ ฉะนั้น เนื้อความในพระบาลีนี้ดังนี้ว่า โดยเหตุมากอย่าง. อธิบายว่า โดยเหตุเป็นอันมาก.
               บทว่า สุปปิยปริพาชกกล่าวโทษพระพุทธเจ้า ความว่า กล่าวติ คือกล่าวโทษ กล่าวตำหนิพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าผู้เว้นจากโทษอันไม่ควรสรรเสริญ ผู้แม้ประกอบด้วยคุณที่ควรสรรเสริญหาประมาณมิได้อย่างนั้นๆ โดยกล่าวเหตุอันไม่สมควรนั้นๆ นั่นแหละว่า เป็นเหตุอย่างนี้ ว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรส เพราะเหตุที่พระสมณโคดมไม่มีการกระทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้นอันควรกระทำในผู้ใหญ่โดยชาติในโลกที่เรียกว่าสามัคคีรส. พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวการไม่กระทำ พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ พระสมณโคดมเป็นคนเกลียดชัง พระสมณโคดมเป็นคนเจ้าระเบียบ พระสมณโคดมเป็นคนตบะจัด พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด พระสมณโคดมไม่มีธรรมอันยิ่งของมนุษย์ซึ่งเป็นญาณและทัศนะอันวิเศษที่ควรแก่พระอริยเจ้า พระสมณโคดมแสดงธรรมที่ตรึกเอง ที่ตรองเอง ที่รู้เอง พระสมณโคดมไม่ใช่สัพพัญญู ไม่ใช่โลกวิทู ไม่ใช่คนยอดเยี่ยม ไม่ใช่อัครบุคคล ดังนี้
               และกล่าวเหตุอันไม่ควรนั้นๆ นั่นแหละว่า เป็นเหตุ กล่าวโทษแม้พระธรรม เหมือนอย่างกล่าวโทษพระพุทธเจ้าโดยประการนั้นๆ ว่า ธรรมของพระสมณโคดมกล่าวไว้ชั่ว รู้ได้ยาก ไม่เป็นธรรมที่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ.
               และกล่าวเหตุอันไม่สมควร ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเองว่า เป็นเหตุ กล่าวโทษแม้พระสงฆ์ เหมือนอย่างพระธรรมโดยประการนั้นๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระสมณโคดมปฏิบัติผิด ปฏิบัติคดโกง ปฏิบัติปฏิปทาที่ขัด ปฏิปทาที่แย้ง ปฏิปทาอันไม่เป็นธรรมสมควรแก่ธรรมดังนี้ โดยอเนกปริยาย.
               ฝ่ายพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชกนั้นผุดคิดขึ้นโดยอุบายอันแยบคายอย่างนี้ว่า อาจารย์ของพวกเราแตะต้องสิ่งที่ไม่ควรแตะต้อง เหยียบสิ่งที่ไม่ควรเหยียบ อาจารย์ของพวกเรานี้นั้นกล่าวติพระรัตนตรัยซึ่งควรสรรเสริญเท่านั้น จักถึงความพินาศย่อยยับเหมือนคนกลืนไฟ เหมือนคนเอามือลูบคมดาบ เหมือนคนเอากำปั้นทำลายภูเขาสิเนรุ เหมือนคนเล่นอยู่แถวซี่ฟันเลื่อย และเหมือนคนเอามือจับช้างซับมันที่ดุร้าย.
               ก็เมื่ออาจารย์เหยียบคูถ หรือไฟ หรือหนาม หรืองูเห่าก็ดี ขึ้นทับหลาวก็ดี เคี้ยวกินยาพิษอันร้ายแรงก็ดี กลืนน้ำกรดก็ดี ตกเหวลึกก็ดี ไม่ใช่ศิษย์จะต้องทำตามนั้นไปเสียทุกอย่าง ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ย่อมไปสู่คติตามควรแก่กรรมของตนแน่นอน มิใช่บิดาจะไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตรจะไปด้วยกรรมของบิดา มิใช่มารดาจะไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตรจะไปด้วยกรรมของมารดา มิใช่พี่ชายจะไปด้วยกรรมของน้องสาว มิใช่น้องสาวจะไปด้วยกรรมของพี่ชาย มิใช่อาจารย์จะไปด้วยกรรมของศิษย์ มิใช่ศิษย์จะไปด้วยกรรมของอาจารย์.
               ก็อาจารย์ของเรากล่าวติพระรัตนตรัย และการด่าพระอริยเจ้าก็มีโทษมากจริงๆ ดังนี้ เมื่อจะย่ำยีวาทะของอาจารย์ อ้างเหตุผลเหมาะควร เริ่มกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัยโดยอเนกปริยาย ทั้งนี้เพราะพรหมทัตมาณพเป็นกุลบุตรมีเชื้อชาติบัณฑิต ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ส่วนพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชกกล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย.

               อธิบาย วณฺณ ศัพท์               
               ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า วณฺณ ในบทว่า วณฺโณ ย่อมปรากฏในความว่า สัณฐาน ชาติ รูปายตนะ การณะ ปมาณะ คุณะและปสังสา.
               ในบรรดาเนื้อความเหล่านั้น สัณฐาน เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า มหนฺตํ สปฺปราชวณฺณํ อภินิมฺมินิตฺวา เนรมิตทรวดทรงเป็นพญางูตัวใหญ่.๑-
               ชาติ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พฺราหฺมณาว เสฏฺโฐ วณฺโณ หีโน อญฺโญ วณฺโณ พวกพราหมณ์เท่านั้น มีชาติประเสริฐ ชาติอื่นเลว.๒-
               รูปปายตนะ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ปรมาย วณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาตา ประกอบด้วยความงามแห่งรูปายตนะอย่างยิ่ง.๓-
____________________________
๑- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๔๓๒   ๒- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๔๖๔
๓- วิ. มหา. เล่ม ๕/ข้อ ๑๒๘

               เหตุ เรียกว่า วณฺณ เช่นในคาถามีอาทิว่า๔-
                         น หรามิ น ภญฺชามิ    อารา สึฆามิ วาริชํ
                         อถ เกน นุ วณฺเณน    คนฺธตฺเถโนติ วุจฺจติ
                         ข้าพเจ้ามิได้ขโมย ข้าพเจ้ามิได้หัก ข้าพเจ้าดมห่างๆ
                         ซึ่งดอกบัว เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุไรเล่า ท่านจึงกล่าวว่า
                         ขโมยกลิ่น.

____________________________
๔- สํ. ส. เล่ม ๑๕/ข้อ ๗๙๗

               ประมาณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตโย ปตฺตสฺส วณฺณา บาตร ๓ ขนาด.๕-
               คุณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า กทา สํญุฬฺหา ปน เต คหปติ อิเม สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา ดูก่อนคหบดี ท่านประมวลคุณของพระสมณโคดมเหล่านี้ไว้แต่เมื่อไร.๖-
               สรรเสริญ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า วณฺณารหสฺส วณฺณํ ภาสติ กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ.๗-
____________________________
๕- วิ. มหาวิ. เล่ม ๒/ข้อ ๑๑๙   ๖- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๘๓
๗- องฺ. ทุก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๓๗๙

               ในพระบาลีนี้ วณฺณ หมายถึง ทั้งคุณ ทั้งสรรเสริญ.
               ได้ยินว่า พรหมทัตมาณพนี้ได้อ้างเหตุที่เป็นจริงนั้นๆ กล่าวสรรเสริญประกอบด้วยคุณแห่งพระรัตนตรัย โดยอเนกปริยาย.
               ในข้อนั้น พึงทราบคุณของพระพุทธเจ้า โดยนัยมีอาทิว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
               มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ.๘-
               และมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก ไม่มีผู้เสมอ สมกับเป็นผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นในโลก๙- ดังนี้.
               พึงทราบคุณของพระธรรม โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า พระธรรมถอนอาลัย ตัดวัฏฏะ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ ๘ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ.๘-
               อนึ่ง พึงทราบคุณของพระสงฆ์ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ๘- ดังนี้.
____________________________
๘- องฺ. จตุกฺก เล่ม ๒๑/ข้อ ๓๔   ๙- องฺ. เอก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๑๔๓

               ก็พระธรรมกถึกผู้สามารถพึงประมวลนวังคสัตถุศาสน์ในนิกายทั้ง ๕ เข้าสู่พระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ประกาศคุณของพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. พรหมทัตมาณพ เมื่อประกาศคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นในฐานะนี้ ใครๆ ก็ไม่อาจจะกล่าวว่าเป็นพระธรรมกถึกแล่นไปผิดท่า. แลพึงทราบกำลังความสามารถของพระธรรมกถึกในฐานะเช่นนี้.
               ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย โดยกำลังความสามารถของตน ซึ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วยเพียงข่าวที่ฟังมาเป็นต้น.
               คำว่า อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี ความว่า ด้วยประการฉะนี้ อาจารย์และศิษย์ทั้งสองนั้น. บทว่า อญฺญมญฺญสฺส ตัดบทเป็น อญฺโญ อญฺญสฺส ความว่า คนหนึ่งเป็นข้าศึกแก่อีกคนหนึ่ง.
               บทว่า อุชุวิปจฺจนิกวาทา ความว่า มีวาทะเป็นข้าศึกหลายอย่างโดยตรงทีเดียว มิได้หลีกเลี่ยงกันแม้แต่น้อย. อธิบายว่า มีวาทะผิดแผกกันหลายวาระทีเดียว ด้วยว่า เมื่ออาจารย์กล่าวติพระรัตนตรัย ศิษย์กล่าวชม คือคนหนึ่งกล่าวติ อีกคนหนึ่งกล่าวชม โดยทำนองนี้แล. อาจารย์กล่าวติพระรัตนตรัยบ่อยๆ อย่างนี้ เหมือนตอกลิ่มไม้เนื้ออ่อนลงบนแผ่นไม้เนื้อแข็ง. ฝ่ายศิษย์กล่าวชมพระรัตนตรัยบ่อยๆ เหมือนเอาลิ่มที่ทำด้วยทอง เงิน และแก้วมณี ป้องกันลิ่มนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ต่างมีถ้อยคำเป็นข้าศึกโดยตรง ดังนี้.
               คำว่า ภควนฺตํ ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต อนุพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ ความว่า เป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ ยังมองเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ โดยการติดตามอิริยาบถ. อธิบายว่า ยังแลเห็นศีรษะตามไป.
               ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเดินทางไกล? เพราะเหตุไร สุปปิยปริพาชกจึงติดตามไป? และเพราะเหตุไร เขาจึงกล่าวติเตียนพระรัตนตรัย?
               ตอบว่า เริ่มแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มหาวิหารแห่งหนึ่งในบรรดามหาวิหาร ๑๘ แห่ง ที่เรียงรายอยู่รอบกรุงราชคฤห์ ในกาลนั้น เวลาเช้าตรู่ทรงปฏิบัติพระพุทธสรีระ ถึงเวลาภิกษาจารมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ วันนั้น พระองค์ทรงทำให้ภิกษุสงฆ์หาบิณฑบาตได้ง่าย ในเวลาภายหลังอาหาร เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ให้ภิกษุสงฆ์รับบาตรและจีวร มีพระพุทธดำรัสว่า จักไปเมืองนาลันทา เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จดำเนินทางไกลนั้น.
               ในกาลนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็อยู่ในอารามปริพาชกแห่งหนึ่งที่เรียงรายอยู่ รอบกรุงราชคฤห์ มีปริพาชกแวดล้อมเที่ยวภิกษาจารในกรุงราชคฤห์ วันนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็กระทำให้บริษัทปริพาชกหาภิกษาได้ง่าย บริโภคอาหารเช้าแล้ว ให้พวกปริพาชกรับบริขารแห่งปริพาชก กล่าวว่าจักไปเมืองนาลันทาเหมือนกัน ไม่ทราบเลยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางนั้น ชื่อว่าติดตามไป ถ้าทราบก็จะไม่ติดตามไป. สุปปิยปริพาชกนั้นไม่ทราบเลย เมื่อเดินไป ชะเง้อคอขึ้นดู จึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้างามด้วยพระพุทธสิริ ปานประหนึ่งยอดภูเขาทองเดินได้ที่แวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง.
               ได้ยินว่า ในสมัยนั้น พระฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระทศพล วนเวียนรอบเนื้อที่ประมาณแปดสิบศอก. บริเวณป่านั้นย่อมเป็นดังเกลื่อนกล่นไปด้วยช่อรัตนะ พวงรัตนะและผงรัตนะ ดั่งแผ่นทองที่วิจิตรด้วยรัตนะอันแผ่ออก ดั่งประพรมด้วยน้ำทองสีแดงก่ำดั่งเกลื่อนกล่นด้วยกลุ่มดาวร่วง ดั่งฝุ่นชาดที่คลุ้งขึ้นด้วยแรงพายุ และดั่งแวบวาบปลาบแปลบด้วยแสงรัศมีแห่งสายรุ้งสายฟ้า และหมู่ดาราก็ปานกัน.
               ก็และพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะแปดสิบ ดั่งสระที่มีดอกบัวหลวง และบัวขาบแย้ม ดั่งต้นปาริฉัตตกออกดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น ดั่งจะเย้ยพื้นทิฆัมพร ซึ่งประหนึ่งแย้มด้วยพยับดาราด้วยพระสิริ.
               อนึ่ง มาลัย คือพระลักษณะอันประเสริฐสามสิบสองประการของพระองค์ ที่งามวิลาศด้วยวงด้วยพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ก็ปานดั่งเอาพระสิริมาข่มเสียซึ่งพระสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิสามสิบสองพระองศ์ เทวราชสามสิบสองพระองค์และมหาพรหมสามสิบสองพระองค์ ที่วางไว้ตั้งไว้ตามลำดับแห่งพวงมาลัยคือพระจันทร์สามสิบสองดวง พวงมาลัยคือพระอาทิตย์สามสิบสองดวงที่ร้อยแล้ว.
               ก็และภิกษุทั้งหลายที่ยืนล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีกัน ตักเตือนกัน ติเตียนบาป ว่ากล่าวกัน ผู้เต็มใจทำตาม ทนคำสั่งสอน ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ. ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบดั่งเสาทอง ล้อมด้วยกำแพงคือผ้ากัมพลแดง ดั่งเรือทองที่อยู่กลางดงปทุมแดง ดั่งกองอัคคีที่วงด้วยไพที่แก้วประพาฬ ดั่งพระจันทร์เพ็ญอันล้อมด้วยหมู่ดาว ย่อมเจริญตาแม้แห่งฝูงมฤคชาติและปักษีทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงเทวดาและมนุษย์เล่า.
               ก็ในวันนั้นแล โดยมากพระอสีติมหาเถระต่างก็ทรงผ้าบังสุกุลมีสีดังเมฆเฉวียงบ่าข้างหนึ่งถือไม้เท้า ราวกะว่าช้างตระกูลคันธวงศ์ที่ได้รับการฝึกหัดเป็นอย่างดี ปราศจากโทษแล้ว คายโทษแล้ว ทำลายกิเลสแล้ว สางเครื่องรุงรังแล้ว ตัดเครื่องผูกพันแล้ว พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์เองทรงปราศจากราคะแล้ว แวดล้อมด้วยไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากราคะแล้ว พระองค์เองทรงปราศจากโทสะแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากโทสะแล้ว พระองค์เองทรงปราศจากตัณหาแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากตัณหาแล้ว พระองค์เองทรงไม่มีกิเลส แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ไม่มีกิเลส.
               พระองค์เองเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว แวดล้อมไปด้วยพระสาวกผู้รู้ตามเสด็จทั้งหลาย ราวกะว่าไกรสรราชสีหแวดล้อมไปด้วยมฤคชาติ ราวกะว่าดอกกัณณิการ์แวดล้อมด้วยเกสร ราวกว่าพญาช้างฉัททันต์แวดล้อมด้วยช้างแปดพันเชือก ราวกะว่าพญาหงส์ชื่อธตรฐแวดล้อมด้วยหงส์เก้าหมื่น ราวกะว่าพระเจ้าจักรพรรดิแวดล้อมด้วยเสนางคนิกร ราวกว่าท้าวสักกเทวราชแวดล้อมด้วยหมู่เทวดา ราวกะว่าท้าวหาริตมหาพรหมแวดล้อมด้วยหมู่พรหม ได้เสด็จดำเนินไปทางนั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ เป็นอจินไตยที่ใครๆ ไม่ควรคิดซึ่งบังเกิดด้วยผลบุญที่ทรงสั่งสมมาตลอดกาลประมาณมิได้ ดังดวงจันทร์ที่โคจรตลอดพื้นทิฆัมพรฉะนั้น.

               สุปปิยปริพาชกพบพระผู้มีพระภาคเจ้า               
               ครั้งนั้น ปริพาชกครั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ และเห็นภิกษุทั้งหลายมีจักษุทอดลง มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ กำลังถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นดั่งดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นอยู่บนนภากาศ ฉะนั้น อย่างนี้แล้ว ได้เหลียวดูบริษัทของตน. บริษัทของปริพาชกนั้นมากไปด้วยหาบบริขารมิใช่น้อย มีตั่งเล็กๆ สามง่าม บาตรดินมีสีดังแววหางนกยูง กะทอและคนโทน้ำเป็นต้น ซึ่งห้อยอยู่ที่ไม้คานหาบมาพะรุงพะรัง ทั้งปากกล้า กล่าววาจาหาประโยชน์มิได้ มีอาทิอย่างนี้ว่า มือของคนโน้นงาม เท้าของคนโน้นงาม มีวาจาเพ้อเจ้อ ไม่น่าดู ไม่น่าเลื่อมใส. ครั้นเห็นดังนั้น เขาเกิดวิปฏิสาร. ในกาลบัดนี้ ควรที่เขาจะกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่เพราะเหตุที่ปริพาชกนี้ริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตลอดกาลเป็นนิจ เพราะความเสื่อมแห่งลาภสักการะ และความเสื่อมพรรคพวก ด้วยว่าลาภสักการะย่อมบังเกิดแก่อัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังมิได้เสด็จอุบัติในโลก แต่จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น อัญเดียรถีย์ทั้งหลายก็พากันเสื่อมลาภสักการะ ถึงความเป็นผู้ไร้สง่าราศี ดั่งหิ่งห้อยเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น.
               ก็ในเวลาที่อุปติสสะและโกลิตะบวชในสำนักของสัญชัยนั้น พวกปริพาชกได้มีบริษัทมาก แต่เมื่ออุปติสสะและโกลิตะหลีกไป บริษัทของพวกเขาแม้นั้นก็พากันแตกไป. ด้วยเหตุ ๒ ประการดังกล่าวมานี้ พึงทราบว่าสุปปิยปริพาชกนี้เมื่อคายความริษยานั้นออกมา กล่าวติพระรัตนตรัยทีเดียว เพราะริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เป็นนิจ.
               คำว่า อถโข ภควา อมฺพลฏฺฐิกายํ ราชาคารเก เอกรตฺติวาสํ อุปคญฺฉิ สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน ความว่า ในครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วยพุทธลีลานั้น ถึงประตูพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกาโดยลำดับ ทอดพระเนตรดูพระอาทิตย์ มีพระพุทธดำริว่า บัดนี้มิใช่กาลที่จะไป พระอาทิตย์ใกล้อัสดงคต จึงเสด็จเข้าประทับพักแรมราตรีหนึ่ง ณ พระตำหนักหลวง ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา.
               ในพระบาลีนั้น อุทยานของพระราชา ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา.
               ได้ยินว่า ณ ที่ใกล้ประตูแห่งอุทยานนั้นมีต้นมะม่วงหนุ่มอยู่ ซึ่งคนทั้งหลายเรียกว่า อัมพลัฏฐิกา แม้อุทยานก็พลอยชื่อว่าอัมพลัฏฐิกาด้วย เพราะอยู่ใกล้มะม่วงหนุ่มต้นนั้น. อุทยานนั้นสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ มีกำแพงล้อมรอบ มีประตูประกอบไว้อย่างดี คุ้มครองอย่างดี ปานดังหีบฉะนั้น. ในอุทยานนั้นได้สร้างพระตำหนักอันวิจิตรด้วยประดิษฐกรรม เพื่อเป็นที่เล่นทรงสำราญพระราชหฤทัย พระตำหนักนั้นจึงเรียกกันว่า พระตำหนักหลวง.
               คำว่า สุปฺปิโยปิ โข ความว่า แม้สุปปิยปริพาชกแลดูพระอาทิตย์ ณ ที่ตรงนั้นแล้ว ดำริว่า บัดนี้มิใช่กาลที่จะไป ปริพาชกทั้งผู้น้อยและผู้ใหญ่มีอยู่มาก และทางนี้ก็มีอันตรายอยู่มาก ด้วยโจรบ้าง ด้วยยักษ์ร้ายบ้าง ด้วยสัตว์ร้ายบ้าง ก็พระสมณโคดมนี้เสด็จเข้าไปยังอุทยาน ในสถานที่ประทับของพระสมณโคดม เทวดาย่อมพากันอารักขา อย่ากระนั้นเลย แม้เราก็จักเข้าไปพักแรมราตรีหนึ่งในอุทยานนี้แล พรุ่งนี้จึงค่อยไป ครั้นดำริดังนี้แล้วจึงเข้าไปสู่อุทยานนั้นแล.
               ลำดับนั้น ภิกษุสงฆ์แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กำหนดสถานที่พักของตนๆ. แม้สุปปิยปริพาชกก็ให้วางบริขารของปริพาชกที่ด้านหนึ่งของอุทยาน แล้วเข้าพักแรมกับบริษัทของตน. แต่ในพระบาลีท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจคำที่ยกขึ้นเป็นประธานอย่างเดียวว่า กับด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของตน.
               ก็ปริพาชกนั้นเข้าพักแรมอยู่อย่างนี้ ได้แลดูพระทศพลในตอนกลางคืน. และในสมัยนั้นก็ตามประทีปไว้สว่าง ดุจดาราเดียรดาษโดยรอบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ตรงกลางและภิกษุสงฆ์ก็พากันนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้ภิกษุสักรูปหนึ่งในที่ประชุมนั้น ก็มิได้มีการคะนองมือ คะนองเท้า หรือเสียงไอ เสียงจามเลย. ด้วยว่าบริษัทนั้นนั่งประชุมกันสงบเงียบราวกะเปลวประทีปในที่อับลม ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการเป็นผู้ศึกษาอบรมแล้ว และด้วยความเคารพในพระศาสดา.
               ปริพาชกเห็นคุณสมบัติดังนั้น จึงแลดูบริษัทของตน. ในที่ประชุมปริพาชกนั้น บางพวกก็นอนยกมือ บางพวกก็นอนยกเท้า บางพวกก็นอนละเมอ บางพวกก็นอนแลบลิ้น น้ำลายไหล กัดฟัน กรนเสียงดังครอกๆ. แม้เมื่อควรจะกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย สุปปิยปริพาชกนั้นก็กล่าวติเตียนอยู่นั่นเองอีก ด้วยอำนาจความริษยา
               ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ได้ยินว่า แม้ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกานั้น สุปปิยปริพาชก ดังนี้ ควรกล่าวคำทั้งหมด. ในพระบาลีนั้น บทว่า ตตฺรปิ ความว่า ในอุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกาแม้นั้น.

               อธิบายคำว่า ภิกษุหลายรูป และคำว่า สงฆ์               
               บทว่า สมฺพหุลานํ ความว่า มากรูปด้วยกัน.
               ในข้อนั้นตามบรรยายในพระวินัย ภิกษุ ๓ รูปเรียกว่าหลายรูป เกินกว่านั้นไปเรียกว่าสงฆ์ แต่ตามบรรยายในพระสูตร ภิกษุ ๓ รูปเรียกว่า ๓ รูปนั้นเอง มากกว่านั้นเรียกว่าหลายรูป.
               ในที่นี้พึงทราบว่าหลายรูป ตามบรรยายในพระสูตร.
               บทว่า มณฺฑลมาเล ความว่า บางแห่งกูฏาคารศาลาที่เขาติดช่อฟ้า สร้างไว้ด้วยการมุงแบบหงส์ เรียกว่ามัณฑลมาลก็มี บางแห่งอุปัฏฐานศาลา ศาลาที่เขาติดช่อฟ้าไว้ตัวเดียว สร้างเสาระเบียงไว้รอบ เรียกว่ามัณฑลมาลก็มี.
               แต่ในที่นี้พึงทราบว่า หอนั่ง เรียกว่ามัณฑลมาล.
               บทว่า สนฺนิสินฺนานํ นั่งประชุม ท่านกล่าวเนื่องด้วยการนั่ง.
               บทว่า สนฺนิปติตานํ ประชุม ท่านกล่าวเนื่องด้วยการรวมกัน.
               ถ้อยคำ อธิบายว่า กถาธรรม เรียกว่าการสนทนา ในบทว่า อยํ สงฺขิยธมฺโม.
               บทว่า อุทปาทิ แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว.
               ก็ข้อสนทนานั้นเป็นอย่างไร? คือ คุยกันอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ดังนี้เป็นต้น.
               ในพระบาลีนั้น ที่ว่าน่าอัศจรรย์ เพราะไม่มีอยู่เป็นนิจ เช่นคนตาบอดขึ้นเขา. นัยแห่งศัพท์ก็เท่านี้. ส่วนนัยแห่งอรรถกถา มีดังต่อไปนี้
               ข้อว่า น่าอัศจรรย์ เพราะควรดีดนิ้วมือ. อธิบายว่า ควรแก่การดีดนิ้ว.
               ข้อว่า ไม่เคยมี เพราะไม่เคยมีมามีขึ้น.
               ทั้ง ๒ บทนี้เป็นชื่อแห่งความประหลาดใจนั่นเอง.
               บทว่า ยาวญฺจิทํ ตัดเป็น ยาว จ อิทํ. ด้วยบทนั้น ท่านแสดงความที่คำนั้นหาประมาณมิได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้ว. ในคำว่า เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา ฯ เป ฯ สุปฏิวิทิตา นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้
               พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศแล้ว ทรงทำลายกิเลสทั้งปวง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงทราบอาสยะและอนุสยะของเหล่าสัตว์นั้นๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวง ดุจมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่าพระหัตถ์.
               อนึ่ง ทรงทราบด้วยพระญาณมีปุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นต้น ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ ก็หรือทรงทราบด้วยวิชชา ๓ บ้าง ด้วยอภิญญา ๖ บ้าง ทรงเห็นด้วยพระสมันตจักษุที่ไม่มีอะไรขัดข้องในธรรมทั้งปวง หรือทรงทราบด้วยพระปัญญาอันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง ทรงเห็นรูปอันพ้นวิสัยจักษุแห่งสัตว์ทั้งปวง หรือแม้รูปที่อยู่นอกฝาเป็นต้น ด้วยพระมังสจักษุอันบริสุทธิ์ยิ่ง หรือทรงทราบด้วยพระปัญญาเครื่องแทงตลอด อันมีพระสมาธิเป็นปทัฏฐานให้สำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ ทรงเห็นด้วยพระปัญญาเป็นเครื่องแสดง อันมีพระกรุณาเป็นปทัฏฐานให้สำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกคือกิเลส และเพราะทรงเป็นผู้ควรแก่สักการะมีปัจจัยเป็นต้น ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง หรือทรงทราบธรรมที่ทำอันตราย ทรงเห็นธรรมที่นำออกจากทุกข์ ทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกคือกิเลส และเพราะทรงเป็นผู้ควรแก่สักการะมีปัจจัยเป็นต้น ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง ทรงได้รับสดุดี โดยอาการทั้ง ๔ ด้วยอำนาจแห่งเวสารัชญาณ ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้ ทรงทราบดีถึงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติต่างๆ กัน และมีอัธยาศัยต่างๆ กัน และทรงทราบตลอดด้วยดีเพียงใด.
               บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงทราบดีแล้ว ท่านจึงกล่าวคำว่า ก็สุปปิยปริพาชกนี้ ดังนี้เป็นต้น. มีคำอธิบายว่า ก็ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน มีอัธยาศัยต่างกัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกันนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันเป็นเครื่องรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน ดุจทรงตวงด้วยทะนาน และดุจทรงชั่งด้วยตาชั่ง
               โดยพระบาลีอย่างนี้ว่า๑-
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงกันเข้าได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี.
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อดีตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็เทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี.
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อนาคตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายจักเทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี.
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ปัจจุบันกาลเดี๋ยวนี้ ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดังนี้
____________________________
๑- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๓๖๔

               ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้วเพียงใด ขึ้นชื่อว่าสัตว์ถึงสองคนมีอัธยาศัยอย่างเดียวกัน หาได้ยากในโลก เมื่อคนหนึ่งต้องการจะเดิน คนหนึ่งต้องการจะยืน เมื่อคนหนึ่งต้องการจะดื่ม คนหนึ่งต้องการจะบริโภค และแม้ในอาจารย์และศิษย์สองคนนี้ สุปปิยปริพาชกนี้กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของสุปปิยปริพาชก คงกล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และศิษย์ทั้งสองนั้นมีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ ด้วยประการฉะนี้.
               ในพระบาลีนั้น บทว่า อิติหเม ตัดบทเป็น อิติห อิเม มีความว่า เหล่านี้ ... ด้วยประการฉะนี้.
               คำที่เหลือก็นัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
               ในคำว่า อถโข ภควา เตสํ ภิกฺขูนํ อิมํ สงฺขิยธมฺมํ วิทิตฺวา นี้ บทว่า วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
               จริงอยู่ ในบาลีประเทศบางแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นด้วยมังสจักษุ จึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นไม้ท่อนใหญ่ถูกกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาพัดไป.๒-
               ในบาลีประเทศบางแห่งทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ จึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นนับเป็นพันๆ กำลังหวงแหนพื้นที่ทั้งหลายในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์.๓-
____________________________
๒- สํ. สฬา. เล่ม ๑๘/ข้อ ๓๒๒   ๓- วิ. มหา. เล่ม ๕/ข้อ ๗๑

               ในบาลีประเทศบางแห่งทรงสดับด้วยพระโสตธรรมดา จึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับท่านพระอานนท์สนทนาปราศรัยกับสุภัททปริพาชก.๔-
               ในบาลีประเทศบางแห่ง ทรงฟังด้วยทิพยโสตแล้วทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับสันธานคหบดีสนทนาปราศรัยกับนิโครธปริพาชกด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตมนุษย์.๕-
____________________________
๔- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๓๘   ๕- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๒๑

               ก็ในพระบาลีนี้ทรงเห็นด้วยพระสัพพัญญุตญาณ จึงได้ทรงทราบ.
               ทรงทำอะไรจึงได้ทรงทราบ? ทรงทำกิจในปัจฉิมยาม.

               พรรณนาพุทธกิจ ๕ ประการ               
               ขึ้นชื่อว่ากิจนี้มี ๒ อย่าง คือ กิจที่มีประโยชน์และกิจที่ไม่มีประโยชน์.
               บรรดากิจ ๒ อย่างนั้น กิจที่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเพิกถอนแล้วด้วยอรหัตมรรค ณ โพธิบัลลังก์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีกิจแต่ที่มีประโยชน์เท่านั้น.
               กิจที่มีประโยชน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมี ๕ อย่าง คือ
                         ๑. กิจในปุเรภัต
                         ๒. กิจในปัจฉาภัต
                         ๓. กิจในปุริมยาม
                         ๔. กิจในมัชฌิมยาม
                         ๕. กิจในปัจฉิมยาม
               ในบรรดากิจ ๕ อย่างนั้น กิจในปุเรภัตมีดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ มีบ้วนพระโอฐเป็นต้น เพื่อทรงอนุเคราะห์อุปฐากและเพื่อความสำราญแห่งพระสรีระ เสร็จแล้วทรงประทับยับยั้งอยู่บนพุทธอาสน์ที่เงียบสงัด จนถึงเวลาภิกษาจาร ครั้งถึงเวลาภิกษาจาร ทรงนุ่งสบง ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวร ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว บางครั้งแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังคามหรือนิคม บางครั้งเสด็จเข้าไปตามปกติ บางครั้งก็เสด็จเข้าไปด้วยปาฏิหาริย์หลายประการ.
               คืออย่างไร?
               เมื่อพระบรมโลกนาถเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ลมที่พัดอ่อนๆ พัดไปเบื้องหน้าแผ้วพื้นพสุธาให้สะอาดหมดจด พลาหกก็หลั่งหยาดน้ำลงระงับฝุ่นละอองในมรรคา กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน กระแสลมก็หอบเอาดอกไม้ทั้งหลายมาโรยลงในมรรคา ภูมิประเทศที่สูงก็ต่ำลง ที่ต่ำก็สูงขึ้น ภาคพื้นก็ราบเรียบสม่ำเสมอในขณะที่ทรงย่างพระยุคลบาท หรือมีปทุมบุปผชาติอันมีสัมผัสนิ่มนวลชวนสบายคอยรองรับพระยุคลบาท พอพระบาทเบื้องขวาประดิษฐานลงภายในธรณีประตู พระฉัพพรรณรังสีก็โอภาสแผ่ไพศาล ซ่านออกจากพระพุทธสรีระพุ่งวนแวบวาบประดับปราสาทราชมณเฑียรเป็นต้น ดั่งแสงเลื่อมพรายแห่งทอง และดั่งล้อมไว้ด้วยผืนผ้าอันวิจิตร.
               บรรดาสัตว์ทั้งหลายมีช้าง ม้าและนกเป็นต้นซึ่งอยู่ในสถานที่แห่งตนๆ ก็พากันเปล่งสำเนียงอย่างเสนาะ ทั้งดนตรีที่ไพเราะ เช่นเภรีและพิณเป็นต้น ก็บรรเลงเสียงเพียงดนตรีสวรรค์และสรรพาภรณ์แห่งมนุษย์ทั้งหลาย ก็ปรากฏสวมใส่ร่างกายในทันที.
               ด้วยสัญญาณอันนี้ ทำให้คนทั้งหลายทราบได้ว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในย่านนี้ เขาเหล่านั้นต่างก็แต่งตัวนุ่งห่มเรียบร้อย พากันถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ออกจากเรือนเดินไปตามถนน บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นโดยเคารพ ถวายบังคมแล้ว กราบทูลขอสงฆ์ว่า
               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๕๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป ดังนี้ แล้วรับบาตรแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมนำถวายบิณฑบาตโดยเคารพ.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงตรวจดูจิตสันดานของสัตว์เหล่านั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางพวกตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลอย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วตั้งอยู่ในพระอรหัต ซึ่งเป็นผลเลิศ ทรงอนุเคราะห์มหาชนดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จไปยังพระวิหาร ครั้นแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันบวรซึ่งปูลาดไว้ในมัณฑลศาลา ทรงรอคอยการเสร็จภัตกิจของภิกษุทั้งหลาย. ครั้นภิกษุทั้งหลายเสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว ภิกษุผู้อุปฐากก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี.
               นี้เป็นกิจในปุเรภัตก่อน.
               ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงบำเพ็ญกิจในปุเรภัต เสร็จแล้วอย่างนี้ ประทับนั่น ณ ศาลาปรนนิบัติใกล้พระคันธกุฎี ทรงล้างพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท ประทานโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
               และว่า
                                   ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ
                                   ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ
                                   ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ ปพฺพชฺชา จ ทุลฺลภา
                                   ทุลฺลภํ สทฺธมฺมสฺสวนํ

                         ความเป็นมนุษย์ หาได้ยาก
                         ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก
                         ความถึงพร้อมด้วยขณะ หาได้ยาก
                         พระสัทธรรม หาได้ยากอย่างยิ่ง
                         ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก
                         การบวช หาได้ยาก
                         การฟังพระสัทธรรม หาได้ยาก

               ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกทูลถามกรรมฐานกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทานกรรมฐานที่เหมาะแก่จริตของภิกษุเหล่านั้น.
               ลำดับนั้น ภิกษุทั้งปวงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปยังที่พักกลางคืนและกลางวันของตนๆ. บางพวกก็ไปป่า บางพวกก็ไปสู่โคนไม้ บางพวกก็ไปยังที่แห่งใดแห่งหนึ่งมีภูเขาเป็นต้น บางพวกก็ไปยังภพของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ฯ ล ฯ บางพวกก็ไปยังภพของเทวดาชั้นวสวัตตีด้วยประการฉะนี้.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ถ้ามีพระพุทธประสงค์ก็ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยาครู่หนึ่ง โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ครั้นมีพระวรกายปลอดโปร่งแล้ว เสด็จลุกขึ้นตรวจดูโลกในภาคที่สอง.
               ณ คามหรือนิคมที่พระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ มหาชนพากันถวายทานก่อนอาหาร ครั้นเวลาหลังอาหารนุ่งห่มเรียบร้อย ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น มาประชุมกันในพระวิหาร. ครั้นเมื่อบริษัทพร้อมเพรียงกันแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วยพระปาฏิหาริย์อันสมควร ประทับนั่งแสดงธรรมที่ควรแก่กาลสมัย ณ บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ณ ธรรมสภา.
               ครั้นทรงทราบกาลอันควรแล้วก็ทรงส่งบริษัทกลับ. เหล่ามนุษย์ต่างก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วพากันหลีกไป.
               นี้เป็นกิจหลังอาหาร.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ครั้นเสร็จกิจหลังอาหารอย่างนี้แล้ว ถ้ามีพระพุทธประสงค์จะโสรจสรงพระวรกาย ก็เสด็จลุกจากพุทธอาสน์ เข้าซุ้มเป็นที่สรงสนาน ทรงสรงพระวรกายด้วยน้ำที่ภิกษุผู้เป็นพุทธุปฐากจัดถวาย. ฝ่ายภิกษุผู้เป็นพุทธุปฐากก็นำพุทธอาสน์มาปูลาดที่บริเวณพระคันธกุฎี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวรสองชั้นอันย้อมดีแล้ว ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วเสด็จไปประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น. ทรงหลีกเร้นอยู่ครู่หนึ่งแต่ลำพังพระองค์เดียว.
               ครั้นนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมาจากที่นั้นๆ แล้วมาสู่ที่ปรนนิบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกก็ทูลถามปัญหา บางพวกก็ทูลขอกรรมฐาน บางพวกก็ทูลขอฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยับยั้งตลอดยามต้น ทรงให้ความประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นสำเร็จ.
               นี้เป็นกิจในปฐมยาม.
               ก็เมื่อสิ้นสุดกิจในปฐมยาม ภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น เมื่อได้โอกาสก็พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างทูลถามปัญหาตามที่เตรียมมา โดยที่สุดแม้อักขระ ๔ ตัว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เทวดา เหล่านั้น ให้มัชฌิมยามผ่านไป
               นี้เป็นกิจในมัชฌิมยาม.
               ส่วนปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสด็จจงกรมส่วนหนึ่ง เพื่อทรงเปลื้องจากความเมื่อยล้าแห่งพระสรีระอันถูกอิริยาบถนั่งตั้งแต่ก่อนอาหารบีบคั้นแล้ว. ในส่วนที่สอง เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา. ในส่วนที่สาม เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งแล้วทรงใช้พุทธจักษุตรวจดูสัตว์โลกเพื่อเล็งเห็นบุคคลผู้สร้างสมบุญญาธิการไว้ด้วยอำนาจทานและศีลเป็นต้น ในสำนักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ.
               นี้เป็นกิจในปัจฉิมยาม.
               ก็วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังกิจก่อนอาหารให้สำเร็จในกรุงราชคฤห์แล้ว ถึงเวลาหลังอาหารเสด็จดำเนินมายังหนทาง ตรัสบอกกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลายในเวลาปฐมยาม ทรงแก้ปัญหาแก่เทวดาทั้งหลายในมัชฌิมยาม เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม ทรงจงกรมอยู่ในปัจฉิมยาม ทรงได้ยินภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปสนทนาพาดพิงถึงพระสัพพัญญุตญาณนี้ ด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั่นแล ได้ทรงทราบแล้ว.
               ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า เมื่อทรงกระทำกิจในปัจฉิมยาม ได้ทรงทราบแล้ว.
               ก็และครั้นทรงทราบแล้ว ได้มีพระพุทธดำริดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้กล่าวคุณพาดพิงถึงสัพพัญญุตญาณของเรา ก็กิจแห่งสัพพัญญุตญาณไม่ปรากฏแก่ภิกษุเหล่านี้ ปรากฏแก่เราเท่านั้น เมื่อเราไปแล้ว ภิกษุเหล่านี้ก็จักบอกการสนทนาของตนตลอดกาล.
               แต่นั้น เราจักทำการสนทนาของภิกษุเหล่านั้นให้เป็นต้นเหตุ แล้วจำแนกศีล ๓ อย่าง บันลือสีหนาทอันใครๆ คัดค้านไม่ได้ ในฐานะ ๖๒ ประการ ประชุมปัจจยาการกระทำพุทธคุณให้ปรากฏ จักแสดงพรหมชาลสูตร อันจะยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว ให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต ปานประหนึ่งยกภูเขาสิเนรุราชขึ้น และดุจฟาดท้องฟ้าด้วยยอดสุวรรณกูฏ เทศนานั้นแม้เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ก็จักยังอมตมหานฤพานให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายตลอดห้าพันปี ครั้นมีพระพุทธดำริอย่างนี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังศาลามณฑลที่ภิกษุเหล่านั้นนั่งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
               บทว่า เยน ความว่า ศาลามณฑลนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเสด็จเข้าไปโดยทางทิศใด.
               อีกอย่างว่า บทว่า เยน นี้เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีเนื้อความว่า ได้เสด็จไป ณ ประเทศที่มีศาลามณฑลนั้น ดังนี้.
               คำว่า ปญฺญฺตเต อาสเน นิสีทิ ประทับเหนืออาสนะที่บรรจงจัดไว้ ความว่า ข่าวว่า ในครั้นพุทธกาล สถานที่ใดๆ ที่มีภิกษุอยู่แม้รูปเดียวก็จัดพุทธอาสน์ไว้ทุกแห่งทีเดียว.
               เพราะเหตุไร?
               เขาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการถึงเหล่าภิกษุที่รับกรรมฐานในสำนักของพระองค์แล้ว อยู่ในที่สำราญว่า ภิกษุรูปโน้นรับกรรมฐานในสำนักของเราไป สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นหรือไม่หนอ ครั้นทรงเห็นภิกษุรูปนั้นละกรรมฐาน ตรึกถึงอกุศลวิตกอยู่.
               ลำดับนั้น มีพระพุทธดำริว่า กุลบุตรผู้นี้รับกรรมฐานในสำนักของศาสดาเช่นเรา เหตุไฉนเล่า จักถูกอกุศลวิตกครอบงำให้จมลงในวัฏฏทุกข์อันหาเงื่อนต้นไม่ปรากฏ เพื่อจะทรงอนุเคราะห์ภิกษุรูปนั้นจึงทรงแสดงพระองค์ ณ ที่นั้นทีเดียว ประทานโอวาทกุลบุตรนั้น แล้วเสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ กลับไปยังที่ประทับของพระองค์ต่อไป.
               ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานโอวาทอยู่อย่างนี้ คิดกันว่า พระบรมศาสดาทรงทราบความคิดของพวกเรา เสด็จมาแสดงพระองค์ประทับยืน ณ ที่ใกล้พวกเรา เป็นภาระที่พวกเราจะต้องเตรียมพุทธอาสน์ไว้ สำหรับทูลเชิญในขณะนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทับนั่งบนพุทธอาสน์นี้ ขอพระองค์โปรดประทับนั่งบนพุทธอาสน์นี้. ภิกษุเหล่านั้นต่างจัดพุทธอาสน์ไว้แล้วอยู่.
               ภิกษุที่มีตั่งก็จัดตั่งไว้ ที่ไม่มีก็จัดเตียง หรือแผ่นกระดาน หรือไม้ หรือแผ่นศิลา หรือกองทรายไว้ เมื่อไม่ได้ดังนั้นก็ดึงเอาแม้ใบไม้เก่าๆ มาปูผ้าบังสุกุลตั้งไว้บนที่นั้นเอง แต่ในพระตำหนักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกานี้ มีพระราชอาสน์อยู่ ภิกษุเหล่านั้นช่วยกันปัดกวาดฝุ่นละออง พระราชอาสน์นั้นปูลาดไว้ นั่งล้อมสดุดีพระพุทธคุณ ปรารภถึงพระอธิมุติญาณ (ญาณรู้อัธยาศัยสัตว์) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               ท่านพระอานนท์หมายถึงพระราชอาสน์นั้น จึงกล่าวว่า ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาบรรจงจัดถวาย. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอย่างนี้ ทั้งที่ทรงทราบอยู่ ก็ตรัสถามภิกษุทั้งหลายเพื่อให้เกิดการสนทนา และภิกษุเหล่านั้นก็พากันกราบทูลแด่พระองค์ทุกเรื่อง.
               เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ าครั้นประทับนั่งแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
               ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า กายนุตฺถ ความว่า พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร? บาลีเป็น กายเนฺวตฺถ ก็มี. พระบาลีนั้นมีเนื้อความว่า พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไรในที่นี้. บาลีเป็น กายโนตฺถ ก็มี. ในธรรมบท แม้พระบาลีนั้นก็มีเนื้อความดังก่อนนั่นเอง.
               บทว่า อนฺตรา กถา ความว่า สนทนาระหว่างการมนสิการกรรมฐาน อุเทศและปริปุจฉาเป็นต้น คือในระหว่างเป็นเรื่องอื่นเรื่องหนึ่ง.
               บทว่า วิปฺปกตา ความว่า ยังไม่จบ คือยังไม่ถึงที่สุด เพราะตถาคตมาเสียก่อน.
               ด้วยบทนั้น ทรงแสดงไว้อย่าง?
               อธิบายว่า ตถาคตมาเพื่อหยุดการสนทนาของพวกเธอหามิได้ แต่มาด้วยหวังว่าจักแสดงให้การสนทนาของพวกเธอจบลง คือทำให้ถึงที่สุดด้วยความเป็นสัพพัญญู ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทับนั่ง ทรงห้ามอย่างพระสัพพัญญู.
               แม้ในคำว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สนทนาค้างอยู่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้.
               ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การสนทนาพระพุทธคุณปรารภพระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกข้าพระองค์ยังค้างอยู่ หาใช่ติรัจฉานกถามีราชกถาเป็นต้นไม่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง ขอพระองค์ได้โปรดแสดงให้การสนทนาของพวกข้าพระองค์นั้นจบลง ณ กาลบัดนี้เถิด.
               ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ท่านพระอานนท์ได้ภาษิตคำอันเป็นนิทาน ซึ่งประดับด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่อง บริษัทและที่อ้างอิงเพื่อให้เข้าใจโดยง่าย ซึ่งพระสูตรนี้ที่ชี้แจงอานุภาพแห่งพระพุทธคุณอันสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ อุปมาดังท่าน้ำมีภูมิภาคอันบริสุทธิ์สะอาด เต็มไปด้วยทรายดังใยแก้วมุกดาอันเกลื่อนกล่น มีบันไดแก้วอันงามพิลาสรจนาด้วยพื้นศิลาอันบริสุทธิ์ เพื่อให้หยั่งลงได้โดยสะดวก สู่สระโบกขรณีอันมีน้ำมีรสดีใสสะอาดรุ่งเรืองด้วยดอกอุบลและดอกปทุมฉะนั้น และอุปมาดังบันไดอันงามรุ่งเรืองเกิดแสงแห่งแก้วมณี มีแผ่นกระดานที่เกลี้ยงเกลาอ่อนนุ่มที่ทำด้วยงาอันเถาทองคำรัดไว้เพื่อให้ขึ้นได้โดยสะดวก สู่ปราสาทอันประเสริฐมีฝาอันจำแนกไว้เป็นอย่างดี แวดล้อมด้วยไพทีอันวิจิตร ทั้งทรวดทรงก็โสภิตโปร่งสล้าง ราวกะว่าประสงค์จะสัมผัสทางกลุ่มดาว และอุปมาดังมหาวิหาร อันมีบานประตูไพศาล ติดตั้งเป็นอย่างดี โชติช่วงด้วยรัศมีแห่งทองเงินแก้วมณีแก้วมุกดาและแก้วประพาฬเป็นต้น เพื่อเข้าได้โดยสะดวกสู่เรือนใหญ่ที่งามไปด้วยอิสริยสมบัติอันโอฬารมีการกรีดกรายร่ายรำของเหล่าเคหชนผู้มีเสียงไพเราะ เจรจาร่าเริงระคนกับเสียงกระทบกันแห่งอาภรณ์มีทองกรและเครื่องประดับเท้าเป็นต้นฉะนั้น.

               จบวรรณนาความของคำเป็นนิทานแห่งพระสูตร               

.. อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พรหมชาลสูตร
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖]
อรรถกถา เล่มที่ 9 ข้อ 1อ่านอรรถกถา 9 / 91อ่านอรรถกถา 9 / 365
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=9&A=1&Z=1071
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=1
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=1
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :