บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
หัวข้อประจำขันธกะ [๕๑๒] เรื่องปาปภิกษุในอุโบสถ ถูกไล่ ๓ ครั้ง ไม่ออกไป ถูก พระโมคคัลลานะฉุดออก เรื่องอัศจรรย์ในศาสนาของพระชินะเจ้า ทรงเปรียบเทียบ มหาสมุทร คือ อนุปุพพสิกขา เปรียบด้วยมหาสมุทรอันลุ่มลึกโดยลำดับ พระสาวกไม่ละเมิดสิกขาบท เปรียบด้วยมหาสมุทรตั้งอยู่ตามปกติไม่ล้นฝั่ง สงฆ์ ย่อมขับไล่บุคคลทุศีลออก เปรียบด้วยมหาสมุทรซัดซากศพขึ้นฝั่ง วรรณะ ๔ เหล่า บวชเป็นบรรพชิตแล้ว ละนามและโคตรเดิม ดุจแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ มหาสมุทรแล้ว ละนามและโคตรเดิม ภิกษุเป็นอันมากปรินิพพาน เปรียบด้วย น้ำไหลไปเต็มมหาสมุทร พระธรรมวินัยมีวิมุตติรสรสเดียว เปรียบด้วยมหา- *สมุทรมีรสเค็มรสเดียว พระธรรมวินัยมีรัตนะมาก เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก เปรียบด้วยมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ แล้วยังคุณในพระศาสนา ให้ดำรงอยู่ เรื่องงดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ เรื่องพระฉัพพัคคีย์คิดว่า ใครๆ ไม่รู้เรา เรื่องภิกษุยกโทษก่อน เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๑ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๒ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๓ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๔ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๕ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๖ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๗ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๘ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๙ เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เรื่องงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๔ อย่าง คือ ศีล อาจาระ ทิฐิ และอาชีวะ เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๕ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๖ มีวิธีอย่างนี้ คือ เพราะศีล อาจาระ ทิฐิวิบัติ ที่ภิกษุมิได้ทำและทำ เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต เรื่องงดปาติโมกข์ เพราะศีล อาจาระ ทิฐิ และอาชีววิบัติ ที่ภิกษุ มิได้ทำและทำ รวม ๘ อย่าง เรื่องงดปาติโมกข์มี ๙ วิธี คือ เพราะศีล อาจาระ ทิฐิ ที่ภิกษุมิได้ทำ และทั้งทำและไม่ทำ พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ผู้รู้ตามเป็นจริงอย่างนี้ จงทราบการงดปาติโมกข์ ๑๐ อย่าง คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ๑ กถา ปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปราชิกยังค้างอยู่ ๑ ภิกษุบอกลาสิกขา ๑ กถาปรารภภิกษุ ผู้บอกลาสิกขายังค้างอยู่ ๑ ภิกษุร่วมสามัคคี ๑ กถาค้านสามัคคี ๑ ค้านสามัคคี ที่ค้าง ๑ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ ๑ ด้วยอาจารวิบัติ ๑ ด้วยทิฐิวิบัติ ๑ เรื่องภิกษุเห็นภิกษุเอง ภิกษุอื่นบอกภิกษุนั้น หรือภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก นั้น บอกความจริงแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นงดปาติโมกข์ เรื่องบริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระ ราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต พรหมจรรย์ จงทราบการงดปาติโมกข์ที่เป็นธรรม และไม่เป็นธรรมตามแนวทาง เรื่องโจทโดยกาลอันควร โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยเรื่องเป็นประโยชน์ จักได้ฝักฝ่าย จักมีความทะเลาะเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย วาจา บริสุทธิ์ มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต รู้ปาติโมกข์ทั้งสอง เรื่องภิกษุโจทโดยกาลอันควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำสุภาพ ด้วยเรื่อง เป็นประโยชน์ ด้วยเมตตาจิต เรื่องภิกษุเดือดร้อน โดยอธรรม พึงบรรเทาเหมือนอย่างนั้น เรื่องภิกษุผู้โจทก์และถูกโจทเป็นธรรม พึงบรรเทาความเดือดร้อน เรื่อง พระสัมพุทธทรงประกาศข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้โจทก์ไว้ ๕ อย่าง คือ ความการุญ ความหวังประโยชน์ ความเอ็นดู ความออกจากอาบัติ ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า เรื่องตั้งอยู่ในความสัตย์และความไม่ขุ่นเคือง นี้เป็นธรรมดาของ จำเลยแล ฯหัวข้อประจำขันธกะ จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๖๐๖๑-๖๑๑๗ หน้าที่ ๒๕๐-๒๕๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=6061&Z=6117&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=7&siri=79 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=512 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [512] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=512&items=1 The Pali Tipitaka in Roman :- [512] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=512&items=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/horner-brahmali#BD.5.350
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]