ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ
เรื่องในวันอุโบสถ ภิกษุผู้มีบาปถูกไล่ ๓ ครั้ง ไม่ยอมออกไป ถูกพระโมคคัลลานะฉุดออกไป เรื่องความอัศจรรย์ในพระธรรมวินัย คือ มีการศึกษาไปตามลำดับ เปรียบด้วยมหาสมุทรที่ต่ำลาดลึกลงตามลำดับ พระสาวกไม่ละเมิดสิกขาบท เปรียบด้วยมหาสมุทรมีปกติไม่ล้นฝั่ง สงฆ์ย่อมขับไล่ผู้ทุศีลออก เปรียบด้วยมหาสมุทรซัดซากศพขึ้นฝั่ง วรรณะ ๔ มาบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม เปรียบด้วยแม่น้ำใหญ่ ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อเดิม ภิกษุจำนวนมากปรินิพพาน เปรียบด้วยน้ำไหลลงมหาสมุทร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๐๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ

พระธรรมวินัยมีวิมุตติรสอย่างเดียว เปรียบด้วยมหาสมุทรมีรสเค็มอย่างเดียว พระธรรมวินัยมีรัตนะมาก เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก เปรียบด้วยมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของสัตว์ขนาดใหญ่ แล้วยังคุณในพระศาสนาให้ดำรงอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้งดปาติโมกข์ แก่ผู้มีอาบัติติดตัวในวันอุโบสถ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่าใครๆ ไม่รู้จักเรา ทั้งที่มีอาบัติติดตัวก็ยังทำอุโบสถแล้วกลัวว่า ภิกษุผู้มีศีลดีงามจะงดปาติโมกข์แก่ตน จึงรีบกล่าวโทษผู้อื่นก่อน การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๐๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ

การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๔ อย่าง คือ สีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ และอาชีววิบัติ (ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม) ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะอาบัติ ๕ กอง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ (ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม) ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๖ คือ สีลวิบัติ อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติที่ภิกษุทำและไม่ได้ทำ (ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม) ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะอาบัติ ๗ กอง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏและ ทุพภาสิต(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม) ภิกษุงดปาติโมกข์ เพราะวิบัติ ๘ คือ สีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติและอาชีววิบัติ ที่ภิกษุทำและไม่ได้ทำ (ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม) ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๙ วิธี คือ เพราะสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ ที่ภิกษุทำ ไม่ได้ทำ ทั้งที่ทำและไม่ได้ทำ (ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม) พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ผู้รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ภิกษุงดปาติโมกข์มีลักษณะ ๑๐ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๑๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ

(๑) ภิกษุเป็นปาราชิก (๒) ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่ (๓) ภิกษุบอกคืนสิกขา (๔) ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่ (๕) ภิกษุไม่ร่วมสามัคคี (๖) พูดค้านสามัคคี (๗) คำค้านสามัคคีค้างอยู่ (๘-๑๐) มีผู้ได้เห็นได้ยินและนึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติ ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะเห็นเอง ผู้อื่นบอกเธอหรือ ผู้เป็นปาราชิกนั้นบอกความจริงแก่เธอ บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่าง คือ พระราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต และพรหมจรรย์ อธิบายความเรื่องงด ปาติโมกข์ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรมตามที่กำหนดไว้ ภิกษุผู้โจทก์พึงตั้งคุณสมบัติภายในตน คือ กล่าวโดยกาลที่ควร กล่าวคำจริง คำที่มีประโยชน์ จะเป็นพรรคพวกมีทะเลาะกันเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย วาจาบริสุทธิ์ มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต รู้ปาติโมกข์ทั้งสองฝ่าย ภิกษุพึงโจทโดยกาลอันควร กล่าวด้วยเรื่องจริง ด้วยคำสุภาพ ด้วยคำที่มีประโยชน์ ด้วยเมตตาจิตเพราะถูกโจทโดยไม่ ชอบธรรมภิกษุเดือดร้อน ก็พึงบรรเทาความเดือดร้อน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๑๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ

ภิกษุผู้โจทก์และผู้ถูกโจทชอบธรรม พึงบรรเทาความเดือดร้อน พระผู้มีพระภาคทรงประกาศข้อปฎิบัติของภิกษุผู้จะโจทไว้ ๕ อย่าง คือ ความการุณ มุ่งประโยชน์ มีความเอ็นดู การออกจากอาบัติและยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในความจริงและไม่ขุ่นเคือง
ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๐๘-๓๑๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=79              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=6061&Z=6117                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=512              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=512&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=512&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/horner-brahmali#BD.5.350



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :