ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๙. ปฐมอิธโลกิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๑
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา- มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึง ได้ตรัสดังนี้ว่า “วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้๑- ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ มาตุคามในโลกนี้ ๑. จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียง ๓. ปฏิบัติถูกใจสามี ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงมีความขยันหมั่นเพียร มุ่งทำการงานในโลกนี้ให้สำเร็จโดยเรียบร้อย (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๙-๕๐/๒๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. อุโปสถวรรค ๙. ปฐมอิธโลกิกสูตร

มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างไร คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้านสามี คือ การทอผ้าขนสัตว์ หรือผ้าฝ้าย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็น อุบาย ในการงานเหล่านั้น สามารถทำ สามารถจัดได้ มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างนี้แล มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างไร คือ มาตุคามในโลกนี้รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือ กรรมกรว่าทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ รู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็ไข้ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง และแบ่งปันของกิน ของใช้ให้ตามส่วนที่ควร มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างนี้แล มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างไร คือ มาตุคามในโลกนี้ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี แม้เพราะเหตุ แห่งชีวิต มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างนี้แล มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างไร คือ มาตุคามในโลกนี้รักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ เป็นทรัพย์ ข้าว เงิน หรือทองก็ตาม ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ผลาญ ทรัพย์สมบัติ มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างนี้แล วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้ วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะ ในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. อุโปสถวรรค ๙. ปฐมอิธโลกิกสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ มาตุคามในโลกนี้ ๑. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล ๓. ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๔. ถึงพร้อมด้วยปัญญา มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างไร คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น พระผู้มีพระภาค’ มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างนี้แล มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไร คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพ ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างไร คือ มาตุคามในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ครองเรือน มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างนี้แล มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. อุโปสถวรรค ๑๐. ทุติยอิธโลกิกสูตร

วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า” ภรรยาเป็นผู้จัดการงานดี สงเคราะห์คนข้างเคียง ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑- ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีอยู่ในชาติหน้าอยู่เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้ มีอยู่แก่สตรีใด สตรีนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า ‘ผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคำสัตย์’ อุบาสิกาเช่นนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นผู้มีศีล ย่อมเกิดในเทวโลกชื่อว่ามนาปกายิกะ
ปฐมอิธโลกิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยอิธโลกิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๒
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้ @เชิงอรรถ : @ รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ในที่นี้หมายถึงรู้อาการของผู้ขอ เช่น เห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตยืนที่ประตูเรือน @ของตน แม้ท่านจะนิ่งไม่ออกปากขอก็รู้ความหมายได้ว่า ‘ท่านกำลังขอซึ่งเป็นการขออย่างพระอริยะ’ เมื่อรู้ @แล้วก็จัดแจงไทยธรรมถวายท่านด้วยคิดว่า ‘พวกเราหุงต้มเองได้ แต่ท่านหุงต้มเองไม่ได้แล้วท่านจะหาภัตร @ได้ที่ไหน’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๓๖-๓๗/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๒๔-๓๒๗. http://84000.org/tipitaka/book/m_siri.php?B=23&siri=122              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=5634&Z=5695                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=139              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=139&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5846              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=139&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5846                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i131-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an8.49/en/sujato https://suttacentral.net/an8.49/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :